กวาวเครือขาว ( White kwao krua ) สมุนไพรสำหรับเพศหญิง ทำให้มีน้ำมีนวล หน้าอกขยายเต่งตึง บำรุงผิวพรรณ บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้นมโต ช่วยชะลอวัย

กวาวเครือขาว สมุนไพร สมุนไพรนมโต

กวาวเครือขาว คือ สมุนไพรประเภทหนึ่ง พืชล้มลุก นิยมใช้หัวมาใช้ประโยชน์ ทำให้ผิวพรรณเต่งตึง นมโต กระตุ้นฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้กระชุ่มกระชวย จัดเป็นยาอายุวัฒนะ ต้นกวาวเครือเป็นอย่างไร โทษของกวาวเครือ สารเคมีในกวาวเครือมีอะไรบ้าง

กวาวเครือขาว ( White kwao krua ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกวาวเครือขาว คือ Pueraria candollei จัดเป็นไม้เลื้อยตระกูลถั่ว ( Fabaceae หรือ Leguminosae ) เป็นพืชที่มีการสะสมอาหารในรูปแป้งใต้ดินเป็นหัว เพื่อใช้สำหรับการเจริญเติบโตของต้นใหม่ แต่ละหัวจะมีลักษณะกลมสีน้ำตาล มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ สามารถหนักได้มากถึง 20 กก. เมื่อผ่าเนื้อข้างในจะมีสีขาวนวลคล้ายมันแกว มีน้ำสะสมอยู่ภายในเนื้อจำนวนมาก เป็นยาสมุนไพรประจำบ้านที่สามารถรับประทานได้ไม่เป็นอันตราย แต่ฤทธิ์จะคงอยู่จนกว่าจะหยุดรับประทานประมาณ 3 สัปดาห์ การรับประทานให้ปั้นเป็นลูกเท่าเม็ดพริกไทย รับประทานวันละ 1 เม็ด

ลักษณะต้นกวาวเครือขาว

ต้นกวาวเครือ เป็นพืชล้มลุกตระกูลถั่ว มีหัวอยู่ใต้ดิน พบมากตามป่าเบญจพรรณ พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 250 เมตร ถึง 800 เมตร พบมากในเขตภูเขาของประเทศไทย สามารถขยายพันธ์โดยใช้การเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นกวาวเครือขาว มีดังนี้

  • ลำต้นกวาวเครือขาว ลักษณะกลม ผิวเกลี้ยงลักษณะยาว ความยาวประมาณ 5 เมตร
  • ใบของกวาวเครือขาว เป็นในประกอบ มีใบย่อย 3 ใบเรียงสลับกันที่ปลายใบ ใบเป็นทรงรีปลายใบแหลม เนื้อใบเรียบ ด้านล่างของในมีขนสั้นๆ
  • ดอกกวาวเครือขาว ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกกิ่ง กลีบดอกลักษณะคล้ายกัน คือ งอนโค้งคล้ายปีกนก
  • ผลกวาวเครือขาว ออกผลเป็นฝัก ลักษณะแบน มีขน ฝักมีสีน้ำตาล ภายในฝักมีเมล็ด ลักษณะของเมล็ดกลม เมล็ดแก่จะมีลายสีเขียวปนม่วง หรือ สีน้ำตาลปนม่วง
  • หัวของกวาวเครือขาว ลักษณะเหมือนมันแกว หัวอยู่ใต้ดิน เป็นแหล่งสะสมของอาหารต่างๆ มีสรรพคุณุสูง มีฤทธิ์ทางยามากยิ่งหัวมีอายุมากขนาดก้จะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ น้ำหนักได้มากถึง 20 กิโลกรัม หัวกวาวเครือมียางสีขาวคล้ายน้ำนม เนื้อหัวกวาวเครือสีขาว เนื้อเปราะ มีเส้นมาก มีน้ำมาก

สรรพคุณของกวาวเครือ 

สรรพคุณสามารถแบ่งได้เป็นสรรพคุณบำรุงเพศหญิง สรรพคุณเพิ่มสรรถนะเพศชาย สรรพคุณบำรุงอวัยวะภายในต่างๆ สรรพคุณบำรุงร่างกายทั่วไป

สรรพคุณบำรุงเพศหญิง ด้านความงาม

  • บำรุงผิวพรรณ ให้เต่งตึง สดใส ลดรอยเหี่ยวย่น
  • บำรุงเส้นผมให้ดกดำ เงางาม ดูมีน้ำหนัก
  • ลดการเกิดสิว ฝ้า กระ
  • บำรุงฮอร์โมนเพศหญิง
  • บำรุงช่องคลอดกระชับกล้ามเนื้อ
  • ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก
  • กระชับผิวหนังลดรายแตกที่ต้นขา หน้าท้อง
  • เพิ่มขนาดหน้าอก ช่วยให้เต่งตึง

สรรพคุณบำรุงสมรรถนะเพศชาย

  • ลดการหลุดร่วงของเส้นผม ป้องกันการเกิดหัวล้าน
  • สร้างความกระชุ่มกระชวย คึกคักให้กับเพศชาย
  • เพิ่มกล้ามเนื้อ ในผู้ที่ผอมแห้ง
  • ลดอาการปวดเมื้อย อาการอ่อนเพลีย
  • เพิ่มการผลิตอสุจิ ช่วยให้มีลูกได้ง่ายขึ้น
  • ช่วยให้เกิดการผ่อนคลายจากความเครียด

สรรพคุณบำรุงระบบต่างๆในร่างกาย

  • บำรุงระบบข้อและกระดูก ลดการเกิดกระดูกพรุน ข้อเข่าเสื่อม
  • บำรุงระบบเลือด ช่วยให้มีการไหลเวียนของเลือดได้ดีขึ้น
  • บำรุงระบบตา ป้องกัน โรคต้อกระจก โรคสายตาผิดปกติ
  • บำรุงระบบสืบพันธุ์
  • บำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยให้จดจำได้มากขึ้น

สรรพคุณบำรุงร่างกายทั่วไป

  • ช่วยเรื่องการนอน ให้สามารถนอนหลับได้สนิท
  • การเคลื่อนไหวของร่างกาย กระฉับกระเฉงมากขึ้น
  • เพิ่มรสชาติให้การรับประทานอาหารอร่อยมากขึ้น
  • ชะลอการแก่ก่อนวัย ทำให้ดูเด็กลง

โทษของกวาวเครือขาว

ต้นกวาวเครือขาว มีความเป็นพิษหากรับประทานหรือใช้ประโยชน์ในปริมาณที่มากเกินไป โดยข้อห้ามใช้ประโยชน์จากกวาวเครือขาว ตามตำราแผนโบราณ ประกอบด้วย

  • ห้ามคนวัยหนุ่มสาวกิน รวมถึง หญิงวัยเจริญพันธุ์ เพราะ อาจทำให้ส่งผลต่อการทำงานของระบบฮอร์โมนเพศ และ ระบบประจำเดือน
  • เด็กหญิงวัยก่อนมีประจำเดือน ไม่ควรรับประทาน
  • สตรีที่อยู่ในระหว่างให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน
  • ผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง เนื้องอก หรือเป็นโรคต่อมไทรอยด์โต ไม่ควรรับประทาน
  • ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับทรวงอก มดลูกและรังไข่ เช่น เป็นซีสต์ พังผืด เนื้องอกเป็นก้อน มะเร็ง ก็ไม่ควรรับประทาน
  • กวาวเครือขาว ห้ามกินรวมกับของดองหมักดอง ของเปรี้ยว ของเค็ม และ ควรอาบน้ำวันละ 3 ครั้ง
  • ผู้ที่ดื่มสุรา และ ผู้ป่วยโรคตับไม่ควรรับประทาน
  • กวาวเครือขาวไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก และ ไม่ควรรับประทานต่อเนื่องติดต่อกันนานกว่า 2 ปี
  • การรับประทานกราวเครือขาวอาจทำให้ประจำเดือนมากกว่าปกติ แต่การที่ประจำเดือนมามากก็ถือเป็นผลดีต่อร่างกายในการขับของเสียในร่างกาย ทำให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
  • การรับประทานกวาวเครือขาวเกินขนาดเป็นอันตราย ทำให้มีอาการมึนเมา คลื่นไส้ อาเจียน

โสม ( Ginseng ) สมุนไพรบำรุงกำลัง ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า ลักษณะของต้นโสมเป็นอย่างไร ชนิดของโสม โสมใช้รักษาโรคอย่างไร โทษของโสมมีอะไรบ้าง
โสม สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณโสม
โสม ( Ginseng ) สมุนไพรโบราณ มีการบันทึกในตำราแพทย์แผนจีนว่ามีการใช้โสมในรักษาโรค รากโสมจะมีรูปร่างกคล้ายคน ซึ่งโสมมีลายสายพันธ์ เช่น โสมจีน โสมเกาหลี โสมอเมริกา โสมมีสรรพคุณทางยาเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงร่างกาย นิยมนำรากมาใช้ในการรักษาโรค เพราะเชื่อว่ารากโสมเป็นแหล่งสะสมของตัวยามากมาย

ต้นโสม ภาษาอังกฤษ เรียก Ginseng ชื่อวิทยาศาสตร์ของโสม คือ Panax ginseng C.A.Mey.  สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของโสม เช่น เหยินเซิน หยิ่งเซียม โสมจีน โสมเกาหลี เป็นต้น โสมเป็นพืชล้มลุกที่ปลูกยาก ซึ่งการเพาะปลูกโสมต้องอยู่ในสภาพอากาศเย็นที่สม่ำเสมอ ห่างไกลจากทะเล ดินและน้ำต้องสะอาด โสมในทางฝั่งประเทศเอเชีย สามารถเพาะปลูกได้ที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ส่วนทางอเมริการ สามารถปลูกได้ที่วิสคอนซิน หรือ แคนาดา

โสมในปัจจุบันใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆมากมาย เช่น โสมสกัด โสมเม็ด โสมผง หรือใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางและอาหารเสริมต่างๆ

ชนิดของโสม

โสมสามารถใช้ประโยชน์ทางยาและบำรุงร่างกายจากรากของโสม ซึ่งรากอยู่ใต้ดิน ซึ่งสามารถขุดรากที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปมาใช้ โดยโสมอายุ 6 ปี จะเป็นโสมที่มีตัวยาสำคัญมากที่สุด การแบ่งชนิดของโสม สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด ประกอบด้วย โสมขาวและโสมแดง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • โสมขาว คือ โสมแบบสดที่ขุดขึ้นมาจากดินแล้วล้างให้สะอาด ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทันทีหรือจะนำไปตากแห้ง เพื่อให้สามารถเก็บรักษาไว้ใช้ได้นานขึ้น
  • โสมแดง คือ โสมแบบสดๆที่ผ่านวิธีการอบ ทำให้แห้งโดยทำให้รากโสมเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมแดง ทีมีความชื้นเล็กน้อย โสมแดงถือเป็นโสมที่มีคุณค่าทางยามากที่สุดและราคาแพง

ลักษณะของต้นโสม

ต้นโสม เป็น สมุนไพรประเภทไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นอวบน้ำ พืชที่มีอายุยาวนานหลายสิบปี การผ่านฤดูหนาวในแต่ละปี ทำให้โสมต้องเก็บสะสมอาหารไว้ในรากและลำต้น ทำให้รากมีการแยกออกเป็นง่ามเห็นได้ชัดเจน มีการพองตัวสะสมอาหารทำให้รากมีการบวม นิยมใช้รากที่มีอายุ 4-6 ปี มาเป็นยาสมุนไพรโดยรากสามารถมีความยาวได้มากถึง 20 เซนติเมตร รากโสมที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายคน ที่เรียกว่าโสมคน หาได้ยากมากมีราคาสูงมากเป็นพิเศษ เนื่องจากการเจริญเติบโตของโสมเป็นไปอ่างช้าๆ การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดต้องใช้เวลานานและโสมมีความอ่อนไหว ต่อสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น โสมเกาหลีที่ปลูกได้เฉพาะที่ประเทศเกาหลี จึงมีราคาแพง

เภสัชวิทยาของโสม

นักเภสัชศาสตร์ ได้ศึกษา รากของโสม ซึ่งเป็น สมุนไพร ที่มีตัวยาที่มีฤทธิ์เป็นประโยชน์ต่อร่างกายต่างๆมากมาย จากการวิเคราห์ทางเคมีพบสารต่างๆ ดังนี้

  • สารGinsenoside เป็นสารสำคัญในโสม มีคุณสมบัติยาบำรุงร่างกาย
  • สารsapouins มีฤทธิ์ในการลดระดับไขมันในเลือด สามารถเพิ่มเกล็ดเลือด และป้องกันเส้นเลือดตีบได้ดี
  • สารInsamasanna-eum ใช้ในการบรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ลดไขมันในเลือด ช่วยเรื่องการไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้น
  • สารsteroidal saponin ทำหน้าที่จับกับน้ำตาลในเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
  • สารอื่นๆ พวกไขมันและสารต่างๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น essential oil, trisaccharides peptidoglycan, nucleosides, Panaxatriol, Panaxadiol, Ginsenoside Rg1, Panacen, Panasenoside, Panaxynol, Trifolin เป็นต้น

สรรพคุณของโสม

การใช้ประโยชน์จากโสมใช้รากโสม ซึ่งโสมมีสรรพคุณต่างๆมากมาย ทั้งด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค โดยสรรพคุณของโสม มีดังนี้

สรรพคุณของโสมด้านการบำรุงร่างกาย

  • สารรสขมในรากโสม มีสรรพคุณบำรุงร่างกายโดยรวม บำรุงอวัยวะภายใน ได้แก่ ปอด ม้าม กระเพาะอาหาร
  • สรรพคุณการปรับสมดุลต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะต่อมไร้ท่อ ที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญของร่างกาย
  • สรรพคุณบำรุงหัวใจ โดยมีสาร digoxin ทำให้การไหลเวียนของไหลจากหัวใจได้ดี ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ
  • สรรพคุณกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ในผู้ป่วยโรคโลหิตจาง
  • สรรพคุณบำรุงตับ ทำให้สามารถต้านสารพิษต่างๆ ที่มีผผลต่อตับได้ดี
  • บำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่น ลดอาการเหี่ยวย่นผิวแห้งได้ดี
  • เสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย ให้สู้ต่อเชื้อโรคต่างๆได้ดี
  • สรรพคุณบำรุงครรภ์ ช่วยให้แม่และเด็กสมบูรณ์แข็งแรง

สรรพคุณของโสมด้านการรักษาโรค

  • สรรพคุณรักษาอาการเบื่ออาหาร ช่วยให้เจริญอาหารมากขึ้น ในผู้ที่ร่างกายซูบผอม
  • รักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • รักษาโรคเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี
  • รักษาโรคไขมันในเลือดสูง ลดการเกาะของไขมันในเส้นเลือด รักษาโรคคววามดันโลหิตสูง
  • รักษาโรคนกเขาไม่ขัน โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • รักษาโรคเครียด โรควิตกกังวลนอนไม่หลับ
  • รักษาอาการกระหายน้ำ เหงื่อนออกมาก ช่วยป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำ
  • รักษาอาการอ่อนเพลีย ร่างกายไม่มีแรง
  • สรรพคุณป้องกันโรคมะเร็งต่างๆ

โทษของโสม

การรับประทานโสม เพื่อการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ เช่น อาการนอนไม่หลับ เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูง อารมณ์แปรปรวน เป็นต้น ซึ่งข้อควรระวังในการรับประทานโสม มีรายละเอีนงดังนี้

  • ไม่ควรให้ทารกและเด็กเล็กรับประทานโสม เพราะ ค่อนข้างไม่ปลอดภัย และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
    ผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิต้านทานตนเอง เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคเอสแอลอี โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น เพราะการรับประทานโสมอาจส่งผลต่อระบบภูมิต้านทานร่างกาย และอาจทำให้อาการต่าง ๆ แย่ลง
  • การรับประทานโสมอาจทำให้เลือดหยุดไหลช้าลง สำหรับผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติไม่ควรรับประทานโสม
  • โสมทำให้ภาวะการกระตุ้นการทำงานของหัวใจมากขึ้น สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ควรระมัดระวังการรับประทานโสม
  • การรับประทานโสมทำให้กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท ให้ร่างกายนอนไม่หลับ สำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ ควรระมัดระวังการรับประทานโสม
  • ผู้ป่วนโรคซึมเศร้า ไม่ควรรับประทานโสมร่วมกับยารักษาอาการซึมเศร้า เพรา อาจเป็นการกระตุ้นการทำงานของร่างกายมากเกินไป ทำให้ร่างกายไม่ผ่อนคลาย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย