เห็ดหอม เห็ดชิตาเกะ แหล่งไฟเบอร์ชั้นดี อุดมไปด้วยเกลือแร่และวิตามินหลากชนิด ลักษณะของเห็ดหอมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณและโทษมีอะไรบ้าง

เห็ดหอม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นเห็ดหอม คือ พืชชนิดหนึ่งเป็นเชื้อรา เห็ดหอม ภาษาอังกฤษ เรียก Shitake Mushroom ชื่อวิทยาศาสตร์ของเห็ดหอม คือ Lentinus edodes ( Berk.) Sing ชื่อเรียกอื่นๆของเห็ดหอม คือ ไชอิตาเกะ , โบโกะ , เฮียโกะ , ชิชิ-ชามุ , เห็ดดำ เป็นต้น เห็ดหอม เป็นพืชที่คนนิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร ดอกเห็ดหอมมีสีน้ำตาลเข้ม เป็นแหล่งกากใยอาหารชั้นดี อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่หลากชนิด มีประโยขน์ต่อสุขภาพ เช่น ลดคอเลสเตอรอลในเลือด เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค บำรุงกระดูก ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้

ลักษณะของต้นเห็ดหอม

เห็ดหอม ( Shiitake ) คือ พืชล้มลุกชนิดหนึ่งเป็นเชื้อรา เห็ดหอมให้ผลผลิดตลอดทั้งปี โดยให้ผลผลิดสูงสุดในช่วงฤดูหนาว ต้นเห็ดหอมมีลักษณะเหมือนหมวกกลมๆ ผิวสีน้ำตาลอ่อน มีขนสีขาวอ่อนๆ ก้านดอกเห็ด และ โคนเห็ดหอม มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อนุ่ม มีกลิ่นหอม สามารถรับประทานได้

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอมนั้น นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของเห็ดหอม ทั้งเห็ดหอมสด และ เห็ดหอมแห้ง โดยผลการศึกษาพบว่า

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอมสด ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 387 กิโลแคลอรี โดยมีสารอาหารสำคุณประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 67.5 กรัม โปรตีน 17.5 กรัม ไขมัน 8 กรัม กากใยอาการ 8 กรัม วิตามินบี1 1.8 มิลลิกรัม วิตามินบี2 4.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 4.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 98 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 476 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 8.5 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอมแห้ง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 375 กิโลแคลอรี โดยมีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 82.3 กรัม โปรตีน 10.3 กรัม ไขมัน 1.9 กรัม กากใยอาหาร 6.5 กรัม วิตามินบี1 0.4 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 11.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 12 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 171 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 4.0 มิลลิกรัม

สำหรับการศึกษาเห็ดหอม จากการศึกษาเห็ดหอมในงานวิจัยของญี่ปุ่น พบว่าในเห็กหอมมีสารอาหารสำคัญหลายชนิด เช่น

  • เลนติแนน ( Lentinan ) สารอาหารชนิดนี้ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ป้องกันการเติบโตของเซลล์เนื้องอกและมะเร็งได้ดี
  • กรดอะมิโนอิริทาดีนีน ( Eritadenine ) กรออมิโนชนิดนี้ช่วยย่อยคอเลสเตอรอลได้ดี ลดไขมันและคอเรสเตอรัลในเลือดได้ดี ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และ ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจต่างๆ
  • สารเออร์โกสเตอรอล ( Ergosterol ) ช่วยบำรุงกระดูกและกล้ามเนื้อ ป้องกันโรคกระดูกผุ ป้องกันโรคโลหิตจาง

สรรพคุณของเห็ดหอม

สำหรับการบริโภคเห็ดหอม นั้นมีปรธโยชน์และสรรพคุณด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคมากมาย ซึ่งสรรพคุณของเห็ดหอมมีรายละเอียด ดังนี้

  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคหวัด ช่วยสร้างระบบภูมิต้านทานโรคทำให้แก่ร่างกายแข็งแรง
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
  • ช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันไม่ให้เกิดโรคธาลัสซีเมีย หรืออาการโลหิตจาง
  • ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยให้ระบบการทำงานของหัวใจแข็งแรง ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดี
  • ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยให้ร่างกายและกล้ามเนื้อแข็งแรง
  • ช่วยบำรุงกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน ไม่ให้กระดูกเปราะหรือแตกหักง่าย
  • ช่วยบำรุงระบบสมอง ทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ไม่ซึมเศร้า ช่วยให้ระบบประสาทของร่างกายให้ทำงานได้ดี
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยให้ใบหน้าดูไม่แก่ก่อนวัย
  • ช่วยผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับได้ง่ายและสบายขึ้น

โทษของเห็ดหอม

สำหรับการนำเห็ดหอมมารับประทาน ในปัจจุบันมีการนำเห็ดหอมมารับประทานในหลายรูปแบบ ทั้งเห็ดหอมสด และ เห็ดหอมแห้ง ซึ่ง สำหรักการเลือกเห็ดหอมที่สะอาดและ ปรุงอย่างถูกวิธี จึงจะไม่ทำให้เกิดโทษจากการกินเห็ดหอม โดยการซื้อเห็ดหอม สำหรับเห็ดหอมแห้ง ควรเลือกซื้อเห็ดหอมที่ดอกหนา มีรอยแตกสีขาวลึกกระจายทั่วดอก โดยให้นำไปแช่น้ำร้อนประมาณ 15 นาที จนเห็ดหอมแห้งนุ่มก่อนนำไปปรุงอาหาร ส่วนเห็ดหอมสด ควรเลือกซื้อดอกเห็ดที่สดและสะอาด สำหรับข้อควรระวังในการรับประทานเห็ดหอม มีดังนี้

  • การรับประทานเห็ดหอม สำหรับคนที่มีอาการแพ้เห็ดหอม ให้หยุดกินทันที และ พบเพทย์เพื่อทำการรักษา ซึ่งหากรับประทานเห็ดหอมและมีอาการดังนี้ คือ ปวดท้อง มีอาการแพ้ตามผิวหนัง มีเลือดออกผิดปกติ หายใจลำบาก ให้พบแพทย์ด่วน
  • สตรีมีครรภ์ และ สตรีที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเห็ดหอม
  • สำหรับผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันต้านตนเอง เช่น โรคปลอกประสาทอักเสบ โรคลูปัส โรครูมาตอยด์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเห็ดหอม เพราะ เห็ดหอมกระตุ้นการทำงานของร่างกาย อาจทำให้อาการของโรคมากขึ้นได้
  • ผู้ป่วยโรคเซลล์เม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลสูงกว่าปกติ ( Eosinophilia ) ห้ามรับประทานเห็ดหอม เพราะ เห็ดหอม อาจทำให้เกิดอาการของโรคมากขึ้น

เห็ดหอม เห็ดชิตาเกะ คือ พืชพื้นเมืองของประเทศแถบเอเชียตะวันออก ลักษณะของเห็ดหอมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม สรรพคุณของเห็ดหอม และ โทษของเห็ดหอม มีอะไรบ้าง เห็ดหอม เป็นแหล่งไฟเบอร์ชั้นดี อุดมไปด้วยเกลือแร่และวิตามินหลากชนิด

พริกไทย ราชาแห่งเครื่องเทศ ต้นพริกไทยเป็นอย่างไร พริกไทยมีกี่ชนิด คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณขับเหงื่อ บำรุงสมอง กระตุ้นประสาท โทษของพริกไทย มีอะไรบ้าง

พริกไทย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นพริกไทย ( Pepper ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริกไทย คือ Piper nigrum L. ชื่อเรียกอื่นๆของพริกไทย เช่น พริกขี้นก , พริกไทยดำ ,  พริกไทยขาว , พริกไทยล่อน , พริกน้อย เป็นต้น พริกไทยมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย สายพันธุ์พริกไทย พริกไทยที่นิยมปลูกมี 6 สายพันธุ์ คือ พริกไทยพันธุ์ใบหนา พริกไทยพันธุ์บ้านแก้ว พริกไทยพันธุ์ปรางถี่ธรรมดา พริกไทยพันธุ์ปรางถี่หยิก พริกไทยพันธุ์ควายขวิด และ พริกไทยสายพันธุ์คุชชิ่ง โดยพื้นที่ปลูกพริกไทยที่สำคัญของประเทศไทย คือ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด และ จังหวัดระยอง

พริกไทยกับอาหาร

สำหรับการนำพริกไทยมาทำอาหาร มักจะนำพริกไทยมาทำเครื่องเทศ และ ปรุงอาหาร ให้รสชาติเผ็ดร้อน ให้กลิ่นหอม ช่วยในการดับคาวอาหาร นอกจากนี้พริกไทยสามารถช่วยในการถนอมอาหาร เช่น ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ เป็นต้น

ชนิดของพริกไทย

สำหรับชนิดของพริกไทย ที่นำมาใช้ในการทำอาหาร มี 2 ชนิด คือ พริกไทยขาว และ พริกไทยดำ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • พริกไทยดำ คือ เมล็ดพริกไทยแก่เต็มที่แต่ยังไม่สุก โดยนำมาตากแดดจนแห้งเป็นสีดำ โดยไม่ปลอกเปลือกเมล็ด
  • พริกไทยขาว คือ เมล็ดพริกไทยที่สุกเต็มที่ โดยนำมาแช่น้ำ ให้เปลือกของเมล็ดพริกไทยลอกเปลือกออก จากนั้นนำไปตากแห้ง

ลักษณะของต้นพริกไทย

ต้นพริกไทย เป็นพืชล้มลุก ปลูกได้ในพื้นที่ประเทศเขตร้อน สามารถขยายพันธ์ได้โดยการการเพาะเมล็ดพันธ์ และ การปักชำ ลักษณะของต้นพริกไทย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของพริกไทย ลักษณะเป็นเถา เลื้อยตามเสาหรือกิ่งไม้ต่างๆ ลำต้นเป็นข้อ เป็นปล้องๆ ไม้เนื้ออ่อน ลำต้นอ่อนมีสีเขียว และ ลำต้นแก่มีสีนํ้าตาล รากของพริกไทยออกตามข้อมีหน้าที่ช่วยเกาะเสาหรือกิ่งไม้
  • ใบพริกไทย เป็นใบเลี้ยงคู่ โดยแตกใบออกเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปไข่ โคนใบใหญ่ ปลายใบแหลม ใบหนา ผิวใบเรียบ มีสีเขียว
  • ดอกพริกไทย ออกเป็นช่อ โดยดอกแทงออกจากปลายยอด ดอกอ่อนมีสีเขียวอมขาว ส่วนดอกแก่มีสีเขียว
  • ผลพริกไทยหรือเมล็ดพริกไทย มีลักษณะกลม และ เล็ก ผลจับกลุ่มกันเป็นช่อๆ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จะมีสีเขียวเข้มขึ้น เปลือกผลพริกไทยแข็ง รสเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอมฉุน

คุณค่าทางโภชนาการของพริกไทย

สำหรับพริกไทยนำมารับประทานเป็นอาหาร โดยใช้ทั้งผลสด ผลแห้ง โดยการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของพริกไทย มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดพริกไทยดำ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 251 กิโลแคลอรี  มีสารสำคัญต่างๆ ประกอบด้วย น้ำ 12.46 กรัม โปรตีน 10.39 กรัม ไขมัน 3.26 กรัม คาร์โบไฮเดรต 63.95 กรัม กากใยอาหาร 25.3 กรัม แคลเซียม 443 มิลลิกรัม เหล็ก 9.71 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 171 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 158 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 1329 มิลลิกรัม โซเดียม 20 มิลลิกรัม สังกะสี1.19 มิลลิกรัม  ไทอะมีน 0.108 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.180 มิลลิกรัม ไนอะซีน 1.143 มิลลิกรัม วิตามินบี6  0.291 มิลลิกรัม โฟเลต 17 ไมโครกรัม วิตามินเอ 27 ไมโครกรัม และ วิตามินเค 163.7 ไมโครกรัม

น้ำมันพริกไทย ( Pepper oil ) คือ น้ำมันหอมระเหยที่สามารถสกัดได้จากพริกไทย โดยน้ำมันหอมระเหยพริกไทยมีกลิ่นหอม โดยสารต่างๆที่พบในน้ำมันพริกไทย ประกอบด้วย α – thujene , α – pinene , camphene , sabinene , β-pinene , myrcene , 3-carene , limonene และ β-phellandren

ผลผลิตจากพริกไทย

สำหรับผลผลิตต่างๆจากพริกไทย มี 4 ลักษณะ คือ พริกไทยสด พริกไทยดำ พริกไทยขาว และ พริกไทยป่น โดยรายละเอียด ดังนี้

  • พริกไทยสด ( Fresh pepper ) คือ ผลพริกไทยสด มีสีเขียวช่วยดับกลิ่นคาว มีกลิ่นหอม
  • พริกไทยดำ ( black pepper ) คือ ผลพริกไทยแก่ตากแห้ง ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมของอาหาร รสเผ็ดร้อน
  • พริกไทยขาว ( white pepper ) คือ ผลพริกไทยนำมาแช่น้ำ และ นวดเพื่อแยกเปลือกออก จนเหลือแต่เมล็ดสีขาว จากนั้นนำมาตากแดดให้แห้ง มีกลิ่นหอม และ รสเผ็ด
  • พริกไทยป่น ( powder pepper ) คือ พริกไทยขาวนำมาบดให้ละเอียด มีกลิ่นหอม และ รสเผ็ด

สรรพคุณของพริกไทย

สำหรับประโยชน์ของพริกไทย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก เมล็ดพริกไทย เถาพริกไทย รากพริกไทย ดอกพริกไทย โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดพริกไทย สรรพคุณช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงสมอง ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยกระตุ้นประสาท แก้โรคลมบ้าหมู ช่วยบำรุงร่างกาย  ช่วยเจริญอาหาร ช่วยผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับสบาย เพิ่มความอบอุ่นของร่างกาย ช่วยขับเสมหะ แก้ปวดฟัน แก้ไอ ช่วยลดไข้ บำรุงเลือด  ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้ระดูขาว ช่วยแก้อักเสบ รักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย บำรุงผิว เป็นยาอายุวัฒนะ
  • ดอกพริกไย สรรพคุณแก้อาการตาแดง แก้อาเจียน ช่วยย่อยอาหาร ช่วยผ่อนคลาย
  • ลำต้นพริกไทย หรือ เถาพริกไทย สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้ท้องร่วง
  • รากพริกไทย สรรพคุณแก้เวียนหัว แก้ปวดท้อง ช่วยขับลม
  • ใบพริกไทย สรรพคุณแก้ปวดท้อง ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • น้ำมันพริกไทย สรรพคุณช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เจริญอาหาร แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร รักษาโรคกระเพาะ ใช้เป็นยาระบาย ช่วยบรรเทาอาการปวด ช่วยกระตุ้นกำหนัด ขับเหงื่อ ลดไข้ และ ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท

โทษของพริกไทย

สำหรับพริกไทยมีคุณสมบัติร้อน รสเผ็ด การรับประทานพริกไทยมีข้อควรระวัง ดังนี้

  • พริกไทย รสเผ็ดร้อน สำหรับคนที่ป่วยโรคเกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้ ให้รับประทานในปริมาณที่เหมาะสม
  • การกินพริกไทยมากเกินไป ทำให้ตาอักเสบได้ง่าย ทำให้คอบวมอักเสบบ่อย เป็นแผลในปาก และ ฟันอักเสบเป็นหนอง
  • พริกไทยมีรสเผ็ด สำหรับผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ควรลดการกินพริกไทย เพื่อให้ระบบลำไส้ลดการระตายเคือง

พริกไทย ราชาแห่งเครื่องเทศ ลักษณะของต้นพริกไทยเป็นอย่างไร พริกไทยมีกี่ชนิด คุณค่าทางโภชนาการของพริกไทย ประโยชน์และสรรพคุณของพริกไทย เช่น ขับเหงื่อ บำรุงสมอง กระตุ้นประสาท โทษของพริกไทย มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย