แก้วมังกร ผลไม้แสนอร่อย สรรพคุณมากมาย ช่วยขับถ่าย เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค บำรุงเลือด บำรุงผิวพรรณ ลักษณะของต้นแก้วมังกรเป็นอย่างไร มีโทษหรือไม่อย่างไร

แก้วมังกร ผลไม้ สมุนไพร

แก้วมังกร ภาษาอังกฤษ เรียก Dragon fruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของแก้วมังกร คือ  Hylocereus undatus (Haw) Britt. Rose. ต้นแก้วมังกรเป็นพืชตระกูลเดียวกับกระบองเพชร มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลาง ซึ่งในแถบเอเชียเริ่มนำเข้ามาปลูกในประเทศเวียดนาม เมื่อร้อยปีก่อน จนได้รับความนิยมแพร่กระจายไปหลายประเทศ  แหล่งปลูกแก้วมังกรที่สำคัญในประเทศไทย คือ ภาคตะวันออก แถบจังหวัดจันทบุรี ชลบุรี นอกจากนี้ยังมีแหล่งปลูกในจังหวัดกาญจนบุรี สระบุรี และสมุทรสงคราม

ประโยชน์ของแก้วมังกร รับประทานเป็นผลไม้สด นิยมรับประทานตอนเช้า ช่วยเรื่องการขับถ่ายได้ดี นำมาทำเป็นผลไม้ฟรุตสลัด เป็นของหวานอาหารว่าง แปรรูปเป็นผลไม้อบแห้ง และใช้ทำเครื่องดื่มดับกระหาย เช่น สมูตตี้แก้วมังกร

ลักษณะของต้นแก้วมังกร

ต้นแก้วมังกร เป็นพืชอวบน้ำ พวกเดียวกับกระบองเพชร ต้องการน้ำน้อย ไม่ต้องการดูแลมาก มีอายุหลายปี ให้ผลผลิตตลอดเกือบทั้งปี ตั้งแต่มีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน มีศัตรูที่ทำลายผลผลิตสำคัญ คือ หนู มีโรคและแมลงรบกวนน้อย ลักษณะของต้นแก้วมังกร มีดังนี้

  • ลำต้นแก้วมังกร คล้ายลำต้นของกระบองเพชร ลำต้นเป็นปล้องๆ เป็นสามเหลี่ยม สีเขียว มีหนาม อวบน้ำ มีขอบรอยหยักเป็นระยะๆ
  • ดอกแก้วมังกร ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ดอกออกที่ปลายของลำต้น ดอกแก้วมังกรเป็นตุ่มสีเขียว กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน รูปร่างทรงกรวย ดอกแก้วมังกรจะบานเวลากลางคืน และ หุบในตอนเช้า
  • ผลแก้วมังกร ผลแก้วมังกรเจริญเติบโตจากดอก ผลแก้วมังกรเป็นทรงกลมรี เปลือกของผลหนา ผิวของเปลือกจะคลุมด้วยกลีบเลี้ยง สีเขียว ภายในแก้วมังกรมีเนื้อ อวบน้ำ และ มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

สายพันธ์ของแก้วมังกร

สำหรับสายพันธ์แก้วมังกรที่นิยมปลูก มี 3 สายพันธ์ คือ สายพันธ์เนื้อขาวเปลือกแดง สายันีธ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง และ สายพันธ์เนื้อแดงเปลือกแดง รายละเอียด ดังนี้

  • แก้วมังกรสายพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocercus undatus (Haw) Brit. & Rose. ลักษณะสำคัญ คือ เปลือกของผลสีแดงอมชมพู มีกลีบผลสีเขียว เนื้อเป็นสีขาว มีรสหวาน
  • แก้วมังกรสายพันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocercus megalanthus ลักษณะสำคัญ คือ เปลือกผลสีเหลือง ขนาดผลเล็ก เนื้อสีขาว มีเมล็ดขนาดใหญ่ รสหวาน
  • แก้วมังกรสายพันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocercus costaricensis เรียกอีกชื่อว่า แก้วมังกรสายพันธุ์คอสตาริกา ลักษณะสำคัญ คือ เปลือกของผลสีแดง ผลมีขนาดเล็ก เนื้อสีแดง รสหวาน

คุณค่าทางอาหารของแก้วมังกร 

การรับประทานแก้วมังกร 100 กรัม จะได้ พลังงาน 66 กิโลแคลอรี คุณค่าทางอาหารอื่นๆ ได้แก่ วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินB1-3 วิตามินC แร่ธาตุต่างๆ เช่น Ca K Mg P และ Fe เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีกากใยหรือไฟเบอร์ ช่วยทำให้อิ่มท้อง และการขับถ่ายได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อการควบคุมน้ำหนัก เพราะ มีน้ำตาลน้อย ทำให้อิ่มท้องนาน และช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง สดใส ดูมีน้ำมีนวลอีกด้วย จัดเป็นสมุนไพรสำหรับสตรี

สรรพคุณของแก้วมังกร

สำรับการใช้ประโยชน์จากแก้วมังกรด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้ผลและเปลือกผลมาใช้ประโยชน์ สรรพคุณของแก้วมังกร มีดังนี้

  • บำรุงผิวพรรณ เนื่องจากแก้วมังกรมีวิตามินอยู่จำนวนมาก ทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • บำรุงหัวใจ ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดไขมันในเส้นเลือด ควบคุมน้ำตาลในเลือด รักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • บำรุงเลือด บรรเทาอาการของโรคโลหิตจาง บำรุงการสร้างเม็ดเลือด
  • เหมาะสำหรับสตรีที่กำลังให้นมบุตร ช่วยทำให้น้ำนมมีคุณภาพดี
  • ช่วยดูดซับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยขับถ่าย แก้อาการท้องผูก ปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้
  • ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง

โทษของแก้วมังกร

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแก้วมังกร หากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมจะไม่ทำให้เกิดโทษ ซึ่งข้อควรระวังในการบริโภคแก้วมังกร  มีดังนี้

  • สรรพคุณของแก้วมังกร ทำให้ร่างกายเย็น ลดความร้อนในร่างกาย หากกินมากเกินไป อาจทำให้มือเท้าเย็นและท้องเสียง่าย
  • สตรีที่อยู่ในขณะมีประจำเดือน ควรงดการกินแก้วมังกร ความเย็นของแก้วมังกร อาจทำให้เลือดเสียจับตัวเป็นก้อน และ ทำให้ประจำเดือนขัดได้

พลูคาว สมุนไพรสารพัดประโยชน์ มีคอลลาเจนสูง สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ บำรุงร่างกาย ช่วยต้านทานโรค ต้นพลูคาวลักษณะเป็นอย่างไร ผลิตภัณฑ์จากพลูคาวมีอะไรบ้าง

พลูคาว สมุนไพร สมุนไพรไทย

พลูคาว สมุนไพรพื้นบ้าน สรรพคุณของพลูคาว เช่น ต้านการเกิด โรคมะเร็ง โรคจากการติดเชื้อต่างๆได้ดี โรคผิวหนัง บำรุงร่างกาย พลูคาว สามารถนำเอามาสกัดนำสารในต้นพลูคาว มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์หลากหลาย รักษาโรคต่างๆ ได้มากมาย มีการนำเอา พลูคาว มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น พลูคาวแคปซูน น้ำพลูคาวสกัด เป็นต้น

ต้นคาวพลู ภาษาอังกฤษ เรียก Plu Kaow และ ชื่อวิทยาศาสตร์ของพลูคาว คือ Houttuynia cordata Thunb. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของพลูคาว เช่น ผักคาวตอง คาวทอง ผักก้านตอง ผักคาวปลา ผักเข้าตอง เป็นต้น สำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากพลูคาวมีหลากหลาย เช่น พลูคาวแคปซูล นำพลูคาวมาสกัดเป็นผงแล้วบรรจุแคปซูล เหมาะสำหรับผู้รักสุขภาพ และ น้ำพลูคาวสกัด นำพลูคาวมาสกัดทำเครื่องดื่มมีประโยชน์ต่อร่างกาย

ลักษณะของต้นของพลูคาว

ต้นพลูคาว คือ พืชล้มลุก สามารถเจริญเติบโตได้ในพื้นที่อากาศเย็น ลักษณะของต้นพลูคาว มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นพลูคาว ลักษณะลำต้นเป็นข้อ อวบน้ำ สีเขียว กลม ลำต้นเอียง เลื้อยตามพื้นดิน มีรากแขนงตามข้อของลำต้น ลำต้นมีกลิ่นคาวปลา
  • ใบพลูคาว เป็นใบเดี่ยว ออกตามข้อของลำต้น ใบลักษณะคล้ายรูปหัวใจ สีเขียวสด ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ท้องใบมีสีม่วง
  • ดอกพลูคาว ออกดอกเป็นช่อ โดยดอกออกที่ปลายยอดของต้น ลักษณะดอกเป็นทรงกระบอก สีขาว
  • ผลพลูคาว มีขนาดเล็ก พัฒนามาจากดอกพลูคาว เมล็ดเป็นทรงรี

สรรพคุณของคาวพลู

ต้นคาวพลู คือ สมุนไพร ประเภทไม้ล้มลุก พื้นท้องถิ่นในแถบทวีปเอเชีย ในประเทศไทย พบมากในภาคเหนือ ที่มีอากาศหนาวเย็น นิยมนำมาทำเป็นยาสมุนไพร สรรพคุณของพลูคาว ต่างๆ มากมาย มีดังนี้

  • มีสรรพคุณต่อต้านการเกิดมะเร็ง ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง ไม้ให้แพร่กระจายไปอวัยวะอื่น
  • สรพคุณบำบัดโรคความดันโลหิตสูง
  • เป็นยาอายุวัฒนะเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายให้มากขึ้น เจ็บป่วยน้อยลง
  • สรรพคุณต้านโรคเบาหวาน
  • สรรพคุณบำรุงกระดูก
  • สรรพคุณรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย
  • สรรพคุณรักษาโรคหูชั้นกลางอักเสบ
  • ใช้เป็นยารักษาโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
  • ใช้เป็นยารักษาโรคไข้มาลาเรีย
  • ใช้เป็นยารักษาโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่
  • ใช้เป็นยาทารักษาโรคคางทูม
  • ใช้เป็นยารักษาต่อมทอนซิลอักเสบ
  • สรรพคุณบรรเทาอาการไอ
  • สรรพคุณรักษาภาวะภูมิแพ้ โรคหอบหืด
  • ใช้รักษาโรคไอกรน
  • ใช้เป็นยารักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • สรรพคุณรักษา โรคปอดอักเสบปอดบวม
  • สรรพคุณรักษาโรคฝีหนองในปอด โรคติดเชื้อในปอด
  • สรรพคุณรักษา โรคอาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฝ้อ
  • บรรเทาอาการท้องเสียให้ดีขึ้น
  • สรรพคุณรักษาโรคบิด ติดเชื้อในกระเพาะ และ ลำไส้
  • ใช้ส่วนใบเป็นยาถ่ายพยาธิ
  • ใช้รักษาอาการปัสสาวะขัด เป็นยาขับปัสสาวะ
  • แก้โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  • สรรพคุณรักษาโรคริดสีดวงทวาร
  • สรรพคุณเป็นยารักษาโรคหนองในและ โรคทางเพศอื่นๆ
  • ใช้เป็นยารักษาโรคนิ่วในไต
  • ใช้เป็นยารักษาโรคตกขาว
  • สรรพคุณรักษาโรคหัด
  • สรรพคุณบำรุงผิวหนัง รักษาโรคผิวหนังต่างๆได้ดี
  • รักษาอาการคัน อาการผื่นที่ผิวหนัง
  • สรรพคุณระงับอาการปวด
  • ใช้เป็นยาห้ามเลือด
  • ใช้เป็นยาต้านการอักเสบต่าง ๆ
  • ใช้ลำต้นรักษาบาดแผล ให้หายเร็วขึ้น
  • นิยมใช้พอกแผลถูกงูพิษกัด
  • ลดการติดเชื้อจากแผลที่เกิดจากการผ่าตัด
  • สรรพคุณต้านเชื้อโรคต่างๆ พวกเชื้อรา เชื้อโรคแบคทีเรีย เชื้อโรคไวรัส
  • ใช้รักษาโรคน้ำกัดเท้า
  • สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยผู้ป่วยในระยะพักฟื้นให้หายเร็วขึ้น
  • สรรพคุณลดอาการแพ้น้อยลงจากการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง

โทษของพลูคาว

สำหรับการรักประทานพลูคาว มีข้อควรระวังในการรับประทานพลูคาว ดังนี้

  • การรับประทานพลูคาว หากรับประทานมากเกินไป ทำให้หายใจสั่นและถี่ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • สำหรับคนที่มีอาการหนาวง่าย ปวดท้องบ่อย ท้องเสียบ่อยๆ แขนขาเย็น ไม่ควรรับประทานพลูคาว
  • พลูคาวสามารถนำมารักษาโรคผิวหนังได้ หากใช้มากจนเกินไปอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย