ชะพลู นิยมรับประทานใบชะพลู ต้นชะพลูเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับเสมหะ เป็นต้น โทษของชะพลูทำให้เป็นนิ่วในไตชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นชะพลู ( Wildbetal leafbush ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะพลู คือ Piper sarmentosum Roxb. ชื่อเรียกอื่นๆของชะพลู เช่น ผักพลูนก , พลูลิง , ปูลิง , ปูลิงนก , ผักปูนา , ผักแค , ผักอีเลิด , ผักนางเลิด , ช้าพลู , นมวา เป็นต้น ชะพลู พืชพื้นบ้าน ตระกูลพริกไทย ใบชะพลูมีสารบีตาแคโรทีนสูง นิยมนำใบมารับประทานเป็นอาหาร เช่น เมี่ยงคำ แกงกะทิ ข้าวยำ ห่อหมก หรือ นำมากินกับน้ำพริก แต่ใบชะพลูไม่ควรรับประทานมากเกินไป หรือ รับประทานอย่างเป็นประจำ

ลักษณะของต้นชะพลู

ชะพลู พืชตระกลูเดียวกับพริกไทย เป็นพืชล้มลุก พืชคุลมดิน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด แต่ชะพลูชอบดินร่วนซุย และมีความชุ่มชื้น มีร่มเงา ชะพลู สามารถขยายพันธุ์ โดยการแยกเหง้า หรือ แตกหน่อ ลักษณะของต้นชะพลู มีดังนี้

  • ลำต้นชะพลู มีลักษณะตั่งตรง เกาะตามหลักหรือเสา สูงประมาณ 50 เซ็นติเมตร ลำต้นมีสีเขียว ลำต้นเป็นข้อๆ
  • ใบชะพลู ลักษณะคล้ายรูปหัวใจ ใบสีเขียวสด ผิวใบเรียบนูน ลักษณะมันวาว ใบมีกลิ่นหอม ใบออกตามข้อของลำต้น
  • ดอกชะพลู ออกดอกเป็นช่อ ลักษณะของดอกชะพลูเป็นทรงกระบอก ดอกอ่อนชะพลูมีสีขาว ดอกแก่ชะพลูสีเขียว ดอกแทงออกบริเวณปลายยอดและช่อใบ
  • ผลชะพลู ผลชะพลูมีสีเขียว ลักษณะมัน ผลออกบนช่อดอก ลักษณะเล็กกลมฝังตัวในช่อดอก ดอกชะพลูออกในฤดูฝนของทุกปี

คุณค่าโภชนากการของชะพลู

ใบชะพลู นิยมนำมารับประทานเป็นผักสด สารอาหารสำคัญใน ใบชะพูล เช่น แคลเซียม เบต้าแคโรทีน น้ำมันหอมระเหย ( Volatile Oil ) ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม Lignans และ Alkaloids

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการชองใบชะพลู ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 101 กิโลแคลอรี่ และ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 6.09 กรัม โปรตีน 5.40 กรัม ไขมัน 2.50 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.20 กรัม แคลเซียม 298.00 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.63 กรัม วิตามินบี1 0.09 กรัม วิตามินบี2 0.23 กรัม ไนอาซีน 3.40 กรัม วิตามินซี 22.00 กรัม และ เบต้าแคโรทีน 414.45 ไมโครกรัม

สรรพคุณของชะพลู

สำหรับชะพลู มีประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ชะพลู สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ทั้ง รากชะพลู ลำต้นชะพลู ใบชะพลู และ ผลชะพลู สรรพคุณของชะพลู มีดังนี้

  • รากชะพลู มีรสชาติเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยปรับสมดุลร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเสมหะ แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงเลือด
  • ลำต้นชะพลู สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้ปวดท้อง
  • ใบชะพลู สรรพคุณช่วยขับลม รักษาโรคเบาหวาน ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงสายตา ป้องกันมะเร็ง ช่วยยับยั้งการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ
  • ผลชะพลู มีรสชาติเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร
  • ดอกชะพลู สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม

โทษของชะพลู

สำหรับการบริโภคชะพลู ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม หากรับประมานมากเกินไป และ รับประทานติดต่อกันนานเกินไป จะเกิดโทษต่อร่างกาย โดยข้อควรระวังในการรับประทานชะพลู มีดังนี้

  • ใบชะพลูมีสารออกซาเลทสูง ไม่ควรรับประทานมากเกินไป การสะสมสารออกซาเลทมากๆ อาจทำให้เป็นนิ่วในไต สำหรับการขับสารออกซาเลท ต้องดื่มน้ำตามมากๆ สารออกซาเลตจะเจือจางลง โดยทางการปัสสาวะ

 

ชะพลู พืชล้มลุก ตระกลูพริกไทย นิยมรับประทานใบชะพลู ลักษณะของต้นชะพลู คุณค่าทางโภชนาการของใบชะพลู ประโยชน์และสรรพคุณของชะพลู เช่น ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับเสมหะ เป็นต้น โทษของชะพลู ทำให้เป็นนิ่วในไต

คื่นช่าย นิยมนำมาทำอาหาร ขึ้นฉ่าย คื่นไฉ่ คื่นช่าย คื่นฉ่าย คื่นไช่ ต้นคื่นฉ่ายเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยดับคาว บำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร โทษของคื่นฉ่ายมีอะไรบ้างคื่นฉ่าย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นขึ้นฉ่าย ต้นคื่นไฉ่ ต้นคื่นช่าย ต้นคื่นฉ่าย ต้นคื่นไช่ ( Celery ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของคื่นฉ่าย คือ Apium graveolens L. ชื่อเรียกอื่นของคื่นฉ่าย เช่น ผักข้าวปีน , ผักปืน , ผักปิ๋ม เป็นต้น พืชตระกูลผักชี สมุนไพรมีกลิ่นหอม นิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร เพิ่มความหอมให้น้ำซุป

ชนิดของคื่นช่าย

ผักคื่นฉ่ายโดยทั่วไป มีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ คื่นฉ่ายฝรั่ง และ คื่นฉ่ายจีน โดยรายละเอียด ดังนี้

  • คื่นฉ่ายฝรั่ง ลักษณะต้นใหญ่ อวบน้ำ ความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นสีเหลืองอมเขียว
  • คื่นฉ่ายจีน ลักษณะต้นเล็ก อวบน้ำ ความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้นมีสีเขียว

ลักษณะของต้นคื่นฉ่าย

ต้นขึ้นฉ่าย เป็นผักสวนครัว พืชล้มลุก มีกลิ่นหอม สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นคื่นฉ่าย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นคื่นฉ่าย มีสีเขียว อวบน้ำ เนื้อลำต้นอ่อน ความสูงของต้นประมาณ 30 เซนติเมตร ภายในลำต้นกลวง
  • ใบคื่นฉ่าย ใบมีสีเขียว ลักษณะของใบเป็นใบแบบขนนก เป็นแฉกๆ ขอบใบหยัก ใบมีกลิ่นหอม
  • ดอกคื่นฉ่าย ดอกมีสีขาว ขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อ
  • ผลค่ืนฉ่าย ลักษณะกลมรี สีน้ำตาล มีขนาดเล็ก ผลมีกลิ่นหอม ภายในมีเมล็ดสามารถนำไปขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของคื่นช่าย

สำหรับการบริโภคคื่นช่าย นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน รับประทานทั้งต้น ใส่ในน้ำแกงให้กลิ่นหอม และ รสชาติของแกงที่มีเอกลักษณ์ นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของคื่นช่ายและสารต่างๆในคื่นช่าย มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของขึ้นฉ่าย ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 67 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม
น้ำตาล 1.4 กรัม กากใยอาหาร 1.6 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.7 กรัม น้ำ 95 กรัม ธาตุแคลเซียม 40 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.2 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 11 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 260 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 80 มิลลิกรัม  และ
ธาตุสังกะสี 0.13 มิลลิกรัม

ในคื่นช่ายขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆมากมาย ประกอบด้วย วิตามินเอ 22 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.021 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.057 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.323 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.074 มิลลิกรัม วิตามินบี9 36 ไมโครกรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม และ วิตามินเค 29.3 ไมโครกรัม

สารสำคัญที่พบในขึ้นฉ่าย คือ น้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีสารต่างๆ ประกอบด้วย สารดี-ไลโมนีน ซีลินีน และ สารจำวพธาไลเตส นอกจากนี้ยังมีสารอื่นๆ แต่พบในปริมาณน้อย ประกอบด้วย แซนตารอล ยูเดสมอล ไดไฮโดรคาร์โวน และ กรดไขมัน

สรรพคุณของคื่นฉ่าย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากคื่นฉ่าย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น นิยมใช้ประโยชน์โดยการรับประทานทั้งต้นของคื่นช่าย โดยสรรพคุณของต้นคื่นช่าย มีดังนี้

  • ช่วยกระตุ้นให้อยากกินอาหารมากขึ้น ช่วยเจริญอาหาร
  • บำรุงเลือดและหัวใจ ทำให้ระบบไหลเวียนดลหิตดี ช่วยขยายตัวของหลอดเลือด ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยปรับสมดุลของกรดและด่างในเลือด ช่วยลดความดันโลหิต ชวยลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด
  • มีเบต้าแคโรทีน ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยรักษาโรคปวดข้อต่างๆ  อาการปวดตามปลายประสาท
  • บำรุงสมอง ช่วยให้ผ่อนคลาย ทำให้หลับสบาย ลดโอกาสการเกิดอัลไซล์เมอร์ แก้เวียนหัว ลดอาการอาเจียน
  • ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ รักษาโรคหอบหืด ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยลดไข้ ช่วยขับร้อนในร่างกาย
  • บำรุงระบบาทงเดินอาหาร ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหาร รักษาโรคบิด รักษาท้องร่วง ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในกระเพาะ
  • ช่วยขับประจำเดือน สำหรับสตรีประจำเดืนไม่มาตามปรกติ แก้อาการปวดประจำเดือน
  • ช่วยบำรุงตับและไต ลดอาการบวมน้ำ
  • รักษาโรคผิหนัง ช่วยแก้ลมพิษ รักษาผดผื่นคัน รักษาฝีฝักบัว
  • ช่วยคุมกำเนิด ลดปริมาณการสร้างอสุจิในเพศชาย ช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์

โทษของคื่นช่าย

สำหรับการรับประทาน หรือ ใช้ประโยชน์จากคื่นช่าย มีข้อควรระวังในการรับประทานขึ้นฉ่าย ดังนี้

  • คื่ช่วยมีสรรพคุณช่วยคุมกำเนิด ลดปริมาณการสร้างอสุจิในเพศชาย ช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์ สำหรับคนที่ต้องการมีบุตร ต้องลดการกินคื่นช่าย หรือ สารสกัดจากคื่นช่าย
  • การกินขึ้นฉ่ายในปริมาณมาก อาจจะทำให้เป็นหมันได้ เพราะ ทำให้อสุจิลดลง
  • คื่นช่ายมีน้ำมันหอมระเหย การสัมผัสต้นขึ้นฉ่าย ในคนที่มีอาการแพ้อาจทำให้เกิดผื่นคันได้
  • สารสกัดจากขึ้นฉ่าย มีสรรพคุณช่วยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนสีิวให้มีสีน้ำตาลมากขึ้น

 

คื่นช่าย คือ ผักสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ให้กลิ่นหอม เขียนได้หลายชื่อ เช่น ขึ้นฉ่าย คื่นไฉ่ คื่นช่าย คื่นฉ่าย คื่นไช่ ลักษณะของต้นคื่นฉ่ายเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยดับคาว ช่วยบำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร โทษของคื่นฉ่าย มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย