ต้นทานาคา ต้นกระแจะ ไม้ทานาคานำมาฝนกันหินผสมน้ำ นำมาทาหน้า สรรพคุณป้องกันสิว ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดผดผื่นคัน ลดจุดด่างดำ รักษาฝ้า ป้องกันผิวถูกทำลายจากแสงแดด

ทานาคา สมุนไพร สมุนไพรไทย

ทานาคา ( LICODIA ACIDISSIMA ) เป็นไม้เนื้อแข็ง ในประเทศพม่า พบในเขตร้อนของภาคกลาง พุกาม และ มัณฑะเลย์ เท่านั้น  คุณสมบัติของทานาคา มีกลิ่นหอม ชาวพม่าใช้ทานาคามาบำรุงผิวพรรณมากกว่า 200 ปี โดยนำไม้ทานาคาฝนกับแผ่นหิน เจือน้ำเล็กน้อย นำมาทาเรือนร่างและใบหน้า

ต้นทานาคา ( LICODIA ACIDISSIMA ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของทานาคา Hesperethusa crenulata (Roxb.) M. Roem. พืชตระกูลส้ม ชื่อเรียกอืื่นๆของทานาคา เช่น กระแจะจัน ขะแจะ ตุมตัง พญายา ตะนาว พินิยา กระแจะสัน ตูมตัง จุมจัง จุมจาง ชะแจะ พุดไทร ฮางแกง กระเจาะ เป็นต้น

สารเคมีในทานาคา
เปลือกของไม้ทานาคา มี สารOPC เนื้อไม้ของทานาคา มีสารCurcuminoid มีสารต้านอนุมูลอิสระ สารสกัดทานาคา 100% ให้สารออกฤทธิ์ความเข้มข้นสูง สรรพคุณชะลอวัย เปลือกทานาคา บดละเอียด มีลักษณะเป็นผง สีเหลืองนวล ใช้ผสมน้ำขัดหน้าและพอกหน้า

ลักษณะของต้นทานาคา

ต้นทานาคา หรือ ต้นกระแจะ เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ต้นทานาคาพบได้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100 – 400 เมตร สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วย การเพาะเมล็ด การปักชำ พืชพื้นเมืองในประเทศพม่า ปากีสถาน ศรีลังกา อินเดีย บังกลาเทศ มณฑลยูนนานของจีน และ ประเทศไทยเขตภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงใต้ ลักษณะของต้นทานาคา มีดังนี้

  • ลำต้นของทานาคา ลักษณะตรง แตกกิ่งต่ำ กิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น ความสูงประมาณ 15 เมตร เนื้อไม้ทานาคาเป็นสีขาว  เปลือกลำต้นสีสีน้ำตาล ผิวขรุขระ ลำต้นและกิ่งมีหนาม เนื้อไม้เมื่อถูกตัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน หากทิ้งไว้นาน ๆ จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนสีเหลืองอ่อน
  • ใบทานาคา ใบเป็นใบประกอบ เรียงสลับกัน ใบย่อยเป็นรูปวงรี โคนและปลายใบแคบ ใบเป็นซี่ฟันเลื่อยแบบตื้นๆ ผิวใบเนียน เกลี้ยง
  • ดอกทานาคา ออกดอกเป็นช่อ กระจุกตามซอกใบ และ กิ่งเล็กๆ ดอกมีขน สีขาวนุ่ม กลีบดอกเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ผิวด้านของดอกทานาคามีต่อมน้ำมัน ดอกทานาคาออกเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี
  • ผลทานาคา ลักษณะกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีม่วงคล้ำ เมล็ดในผล เมล็ดเป็นสีน้ำตาลอมสีส้มอ่อน ผลจะแก่จะออกช่วงในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปี

สรรพคุณของทานาคา

สำหรับการใช้ทานาคา มักรู้จักันดในด้านการบำรุงผิวของชาวพม่า ใช้ประทินผิว แต่จริงๆแล้วทานาคา สามารถใช้ประโยชน์จาก ส่วน เปลือกลำต้น แก่นไม้ ผล รากใบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • แก่นไม้ทานาคา รสจืด สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ ช่วยปรับสภาพผิว ทำให้ผิวขาว รักษาฝ้า รักษากระ รักษาจุดด่างดำ รักษารอยแผลเป็น รักษาผดผื่นคัน รักษาผิวอักเสบ ควบคุมความมันของใบหน้า ต่อต้านริ้วรอย ช่วยชะลอวัย ป้องกันผิวจากแสงแดด ระงับกลิ่นกาย ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด ลดไข้ แก้ปวดเมื้อย แก้อักเสบ
  • ผลของทานาคา รสขม สรรพคุณบำรุงกำลัง ช่วยเจริญอาหาร แก้พิษ ลดไข้ แก้ท้องเสีย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยสมานแผล
  • เปลือกลำต้นทานาคา สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ลดไข้ ขับลม
  • รากทานาคา รสขม สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร  ลดไข้ ขับเหงื่อ รักษาโรคลำไส้ ช่วยขับถ่าย เป็นยาระบาย
  • ใบทานาคา รสขม สรรพคุณ ช่วยคุมกำเนิด แก้ปวดข้อ ลดอาการปวด

โทษของทานาคา

  • ใบทานาคา มีสรรพคุณช่วยคุมกำเนิด สำหรับคันที่มีบุตรยาก ต้องการมีลูก ไม่บริโภตทานาคา

วิธีใช้ทานาคา

สำหรับการใช้ทานาคาในการบำรุงผิวพรรณและพอกผิว มีราละเอียด ดังนี้

  • ให้ใช้หินนำมาฝนไม้ทานาคาให้เป็นผง และ ใช้น้ำสะอาดธรรมดา หรือ น้ำมะเฟือง หรือ น้ำนม หรือ น้ำผึ้ง นำมาผสม นำมาขัดและพอกหน้า
  • ห้ามใช้ทานาคาขัดหน้าที่เป็นสิวอักเสบ อาจทำให้สิวอักเสบมากขึ้น ทานาคาเหมาะสำหรับขัดหน้าที่ไม่มีสิว
  • การใช้ทานาคาขัดหน้า ให้ขัดแค่ 5 นาที และ ล้างด้วยน้ำธรรมดา ไม่ต้องใช้น้ำอุ่น แล้วปล่อยหน้าทิ้งไว้ 2-3 นาที แล้วก็ใช้ฝ่ามือลูบเบาๆ

ต้นทานาคา หรือ ต้นกระแจะ คือ พืชพื้นเมือง ไม้ทานาคา นำมาฝนกันหิน ผสมน้ำ นำมาทาหน้า สรรพคุณของทานาคา ต่อต้านความเสื่อมเซลล์ผิว ป้องกันการเกิดสิว ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดผดผื่นคัน ลดจุดด่างดำ รักษาฝ้า ช่วยป้องกันผิวถูกทำลายจากแสงแดด

ต้นข่า สมุนไพรพื้นบ้าน ข่านิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว ต้นข่าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนากการของข่า สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง ขับเสมหะ ขับลม โทษของข่า

ข่า สมุนไพร สมุนไพรไทย

ข่า ( Galanga ) พืชตระกลูขิง นิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารต่าง ๆ เป็นเครื่องเทศ ช่วยแต่งกลิ่นอาหาร และ ดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. ประโยชน์ของข่า ด้านการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย เช่น ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง รักษาหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร

ข่าในประเทศไทย

พื้นที่ปลูกข่าของประเทศไทย นั้นสามารถปลูกได้ทั่วไป นิยมปลูกต้นข่าที่สวนบ้านทุกบ้าน จัดว่า ข่าเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ใช้เป็นยารักษาโรค และ ส่วนประกอบของอุตสาหกรรมต่างๆ ในข่า สามารถสกัด เอาน้ำมันหอมระเหยได้ ซึ่ง ในน้ำมันหอมระเหยของข่า มี สารสำคัญ 4 ชนิด คือ trans-p-Coumaryl diacetate , 4-Hydroxycinnamoylaldehyde , 1´-Acetoxychavicol acetate และ β–Sitosterol

ข่า ภาษาอังกฤษ เรียก Galanga ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. พืชลักษณะเดียวกับ กระชาย กระชายดำ กระชายแดง กระวาน กระวานเทศ ขิง ขมิ้น เร่ว เปราะป่า เปราะหอม ว่านนางคำ และ ว่านรากราคะ ชื่อเรียกอื่นๆของข่า เช่น สะเอเชย เสะเออเคย ข่าหยวก ข่าหลวง กฎุกกโรหินี เป็นต้น

ชนิดของข่า

สำหรับสายพันธ์ข่าที่นิยมปลู มี 4 สายพันธ์ ประกอบด้วย

  • ข่าป่า พบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ และ ป่าดิบชื้น ลักษณะลำต้นสูง ใบคล้ายกับข่า ที่ปลูกทั่วไป หัวข่ามีกลิ่นฉุนไม่มาก
  • ข่าลิง หรือ ข่าน้อย ลักษณะลำต้นเล็ก
  • ข่าคม ลักษณะใบมน มีขนทั้งสองด้าน ดอกสีขาว
  • ข่าน้ำ ข่าพื้นบ้าน นิยมปลูกเพื่อจำหน่าย พบมากที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ลักษณะของต้นข่า

ข่าเป็นพืชล้มลุก มีรสเผ็ด กลิ่นฉุน อายุหลายปี สามารถขยายพันธ์ โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นข่า มีรายละเอียด ดังนี้

  • เหง้าข่า อยู่ใต้ดิน เหง้าสีน้ำตาลอมแสด เลื้อยขนานกับผิวดิน มีข้อปล้องสั้น
  • ลำต้นของข่า เป็นลักษณะกาบ ตั้งตรง แทงออกมาจากเหง้า ลักษณะอวบน้ำ กลม สีเขียว
  • ใบข่า เป็นใบเดี่ยว ใบยาว เหมือนหอก เรียงสลับ รอบลำต้น กาบใบมีขน ปลายใบแหลม ฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ
  • ดอกข่า เป็นลักษณะช่อ ออกที่ปลายยอด ช่อแยกแขนง ตั้งขึ้น มีขนาดใหญ่ สีเขียวปนเหลือง ดอกแก่เป็นสีขาวปนม่วงแดง
  • ผลแห้งแตก รูปกระสวย ทรงกลม มีเมล็ด เมล็ดข่าใช้เป็นเครื่องเทศ ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน

คุณค่าทางโภชนาการของข่า

ต้นข่ามีกลิ่นฉุน และ รสเผ็ดร้อนมาก นิยมนำมาประกอบอาหาร ข่ามีประโยชน์ในด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย นักโภชนากการำด้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของข่า โดยคุณค่าทางโภชนาการของเหง้าข่าอ่อน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่

ข่าอ่อนขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัฯ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และ วิตามินซี 23 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางสมุนไพรของข่า

ต้นข่ามีกลิ่นฉุน และ รสเผ็ดร้อน นิยมมาประกอบอาหาร มีประโยชน์ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย สรรพคุณของข่า นิยมใช้ เหง้าข่า รากข่า ดอกข่า ผลข่า และ ใบข่า ประโยชน์ทั้งหมดของข่า มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากของข่า สรรพคุณช่วยบำรุงเลือด ทำให้ระบบเลือดไหลเวียนดี ช่วยขับเสมหะ
  • เหง้าของข่า สรรพคุณ ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาหลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง แก้อาหารเป็นพิษ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาระบายอ่อน ๆ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยขับน้ำดี ช่วยขับเลือด ขับน้ำคาวปลา รักษาแผลสด ลดอาการอักเสบ แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคผิวหนัง ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา รักษากลากเกลื้อน แก้ฟกช้ำ แก้เหน็บชา บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  • ใบของข่า สรรพคุณช่วยฆ่าพยาธิ รักษากลากเกลื้อน
  • ดอกของข่า สรรพคุณแก้อาการท้องเสีย รักษาฝีดาษ
  • ผลของข่า สรรพคุณแก้ปวดฟัน รักษาโรคท้องร่วง ช่วยย่อยอาหาร

โทษของข่า

สำหรับข่า เป็นพืชที่มีรสเผ็ดร้อน การใช้ประโยชนืจากข่ามีข้อควรระวัง ดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าข่า มีความเป็นพิษปานกลาง หากได้กินน้ำมันหอมระเหยจากข่ามากเกินขนาด เป็นพิษต่อร่างกาย
  • ข่า มีความเผ้ดร้อน ทำให้ระคายเคืองผิวหนัง สำหรับคนที่ผิวหนังแพ้ข่า ทำให้มีอาการแสบร้อน

ต้นข่า คือ พืชล้มลุก สมุนไพรพื้นบ้าน พืชสวนครัว ข่า นิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว เพิ่มรสชาติอาหาร ลักษณะของต้นข่า คุณค่าทางโภชนากการของข่า สรรพคุณของข่า เช่น ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง ขับเสมหะ ช่วยขับลม โทษของข่า

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย