สะเดา นิยมนำยอดอ่อนและดอกสะเดามารับประทานเป็นอาหาร ต้นสะเดาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด โทษของสะเดา มีอะไรบ้างสะเดา สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นสะเดา ( Neem ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของสะเดา คือ Azadirachta indica A.Juss. ชื่อเรียกอื่นๆของต้นสะเดา เช่น สะเลียม สะเดาบ้าน เดา กระเดา ลำต๋าว กะเดา จะตัง จะดัง ผักสะเลม สะเรียม ตะหม่าเหมาะ สะเดาอินเดีย ควินิน กาเดา ไม้เดา เป็นต้น ต้นสะเดา เป็นพืชตระกูลเดียวกับกระท้อน สามารถพบได้ตามป่าประเทศเขตร้อน เช่น อินเดีย พม่า ปากีสถาน ศรีลังกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย  และ ประเทศไทย

ชนิดของสะเดา

ต้นสะเดา สามารถแบ่งได้ 3 สายพันธ์ คือ สะเดาไทย สะเดาอินเดีย และ สะเดาช้าง โดยรายละเอียดของสะเดาแต่ละสายพันธ์ มีดังนี้

  • สะเดาไทย หรือ สะเดาบ้าน โดย สะเดาไทย แบ่งได้ 2 ชนิด คือ สะเดาชนิดขม และ สะเดาชนิดมัน โดยสามารถสังเกตได้จากยอดอ่อน ซึ่ง ยอดอ่อนสะเดาขมจะมีสีแดง ส่วน ยอดอ่อนของสะเดามันจะมีสีขาว
  • สะเดาอินเดีย เป็นต้นสะเดาที่มีลักษณะใบขอบเป็นหยักเหมือนฟันเลื่อย ปลายใบแหลม
  • สะเดาช้าง หรือ สะเดาเทียม สะเดาชนิดนี้ลักษณะขอบใบจะเรียบ

ลักษณะของสะเดา

ต้นสะเดา จัดเป็นไม้ยืนต้น ตระกูลเดียวกับกระท้อน สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะ เมล็ดพันธ์ และ ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลูกสะเดา คือ เดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนของทุกปี ลักษณะของต้นสะเดา มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นสะเดา ลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 20 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล เปลือกค่อนข้างหนา ผิวเปลือกแตกเป็นร่องส่วนเปลือกของกิ่งจะค่อนข้างเรียบ แกนไม้สีน้ำตาลแดง เนื้อไม้แข็งและทนทานมาก
  • ใบสะเดา ลักษณะเป็นใบเดียว เกาะตามกิ่งก้านจนเป็นทรงพุ่ม ใบมีสีเขียว ลักษณะของใบคล้ายปลายหอก
  • ดอกสะเดา ออกดอกเป็นช่อโดย การดอกออกตามง่ามใบ ความยาวด้านดอกประมาณ 30 เซนติเมตร ดอกขนาดเล็ก สีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
  • ผลสะเดา เจริญเติบโตมาจากดอกสะเดา ลักษณะของผลสะเดา กลมรี ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลืองอมเขียว ผลมีรสหวานเล็กน้อย
  • เมล็ดสะเดา อยู่ภายในผลสะเดา ลักษณะกลมรี ผิวของเมล็ดสะเดาเรียบ สีเหลือง ภายในเมล็ดสะเดามีน้ำมัน

คุณค่าทางโภชนาการของสะเดา

สำหรับสะเดา นิยมนำยอดอ่อนของสะเดามารับประทานเป็นอาหาร โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของยอดสะเดา มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของยอดสะเดา ต่อ 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 76 กิโลแคลอรี โดยพบว่ามีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 12.5 กรัม โปรตีน 5.4 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม กากใยอาหาร 2.2 กรัม น้ำ 77.9 กรัม เบตาแคโรทีน 3,611 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.07 มิลลิกรัม วิตามินซี 194 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 354 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม

ช่อดอกสะเดา มีสารจำพวกไกลโคไซด์ Nimbasterin และ มีน้ำมันหอมระเหย 0.5% นอกจากนั้นยังมีสารต่างๆ เช่น Nimbecetin , Nimbesterol , กรดไขมัน และ สารที่มีรสขม

เมล็ดของสะเดา มีน้ำมัน เรียกว่า Nim oil มีสาร Margosic acid ถึง 45% หรือ สารให้รสขม Nimbin

สรรพคุณของสะเดา

การใช้ประโยชน์จากสะเดาด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย โดยสามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ราก เปลือก กระพี้ แก่น ใบ ดอก ผลอ่อน ผลสุก และ ยาง โดย สรรพคุณของสะเดา มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากสะเดา สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้จุกคอและแน่นในอกหายใจไม่สะดวก
  • เปลือกต้นสะเดา สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดไข้ แก้ท้องเสีย
  • กระพี้สะเดา สรรพคุณแก้น้ำดีพิการ บำรุงน้ำดี
  • แก่นสะเดา สรรพคุณแก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับลม ข่วยลดไข้ ช่วยย่อยอาหาร บำรุงเลือด
  • ใบสะเดา สรรพคุณช่วยน้ำย่อยอาหาร บำรุงเลือด รักษาฝี ช่วยลดไข้ แก้กระหายน้ำ รักษาโรคผิวหนัง
  • ดอกสะเดา สรรพคุณช่วยรักษาริดสีดวงในลำคอ บำรุงธาตุ
  • ผลอ่อนสะเดา สรรพคุณช่วยขับพยาธิ รักษาริดสีดวง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยเจริญอาหาร
  • ผลสุกสะเดา สรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ แก้ปวดท้อง เป็นยาระบาย บำรุงหัวใจ
  • ยางสะเดา สรรพคุณช่วยลดไข้
  • น้ำมันจากเมล็ดสะเดา สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง

โทษของสะเดา

สำหรับการใช้ปรโยชน์จากสะเดา ต้องใช้ประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสมและใช้อย่างถูกวิธี โดยหากใช้ผิดวิธีำหรือในปริมาณที่ไม่เหมาะสม โดย โทษของสะเดา มีรายละเอียด ดังนี้

  • สะเดามีรสขม ทำให้ความดันต่ำลง สำหรับผู้ป่วยโรคความดันต่ำ ไม่ควรรับประทาน
  • การกินสะเดา ทำให้ท้องอืด เกิดลมในกระเพาะได้ สำหรับคนที่มีภาวะท้องอืดท้องเฟ้อ ควรหลีกเลี่ยงการกินสะเดา
  • สำหรับนสตรีหลังคลอด การกินสะเดาทำให้น้ำนมแห้ง ได้ เนื่องจากสพเดาทำให้ร่างกายเย็นลง ส่งผลต่อระบบการผลิตน้ำนมของสตรีหลังคลอด

สะเดา สมุนไพรรสขม นิยมนำยอดอ่อนและดอกสะเดามารับประทานเป็นอาหาร ลักษณะของต้นสะเดาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของสะเดา สรรพคุณของสะเดา เช่น ช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด โทษของสะเดา มีอะไรบ้าง

พลูคาว สมุนไพร ประโยชน์หลากหลาย ต้นพลูคาวเป็นอย่างไร สารในต้นพูลคาว ประโยชน์และสรรพคุณของพลูคาว เช่น ขับปัสสาวะ แก้อักเสบ รักษาบาดแผล โทษของพลูคาวมีอะไรบ้างพลูคาว สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นพลูคาว ( Plu Kaow ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของพลูคาว คือ Houttuynia cordata Thunb. ชื่อเรียกอื่นๆของพลูคาว เช่น ผักคาวตอง คาวทอง ผักก้านตอง ผักคาวปลา ผักเข้าตอง เป็นต้น พลูคาว เป็นพืชที่พบได้ตามประเทศแถบเทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงเวียดนาม สำหรับประเทศไทย พลูคาว พบได้ในภาคเหนือ

พลูคาว สามารถนำเอามาสกัดนำสารในต้นพลูคาว มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์หลากหลาย รักษาโรคต่างๆ ได้มากมาย มีการนำเอา พลูคาว มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น พลูคาวแคปซูน น้ำพลูคาวสกัด เป็นต้น

ลักษณะของต้นของพลูคาว

ต้นพลูคาว คือ พืชล้มลุก สามารถเจริญเติบโตได้ในพื้นที่อากาศเย็น ลักษณะของต้นพลูคาว มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นพลูคาว ลักษณะลำต้นเป็นข้อ อวบน้ำ สีเขียว กลม ลำต้นเอียง เลื้อยตามพื้นดิน มีรากแขนงตามข้อของลำต้น ลำต้นมีกลิ่นคาวปลา
  • ใบพลูคาว เป็นใบเดี่ยว ออกตามข้อของลำต้น ใบลักษณะคล้ายรูปหัวใจ สีเขียวสด ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ท้องใบมีสีม่วง
  • ดอกพลูคาว ออกดอกเป็นช่อ โดยดอกออกที่ปลายยอดของต้น ลักษณะดอกเป็นทรงกระบอก สีขาว
  • ผลพลูคาว มีขนาดเล็ก พัฒนามาจากดอกพลูคาว เมล็ดเป็นทรงรี

สารเคมีที่พบในพลูคาว

สำหรับต้นพลูคาว มีการนำมาศึกษาสารต่างๆที่อยู่ในต้นพลูคาว พบว่าทั้งต้นของพลูคาว มีโปแตสเซียมคลอไรด์ โปแตสเซียมซัลเฟต และ cordarine

น้ำมันหอมระเหยพลูคาว มีสาร decanoyl acetaldehyde

ดอกและใบพลูคาว มีสารกลุ่ม flavone คือ Quercirin , Isoquercitrin , quercetin , reynoutrin และ hyperin

สรรพคุณของพลูคาว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากพลูคาว สามารถใช้ประโยชน์ได้จากส่วนต่างๆของพลูคาว คือ ทั้งต้น ลำต้น ใบสด ดอก โดยรายละเอียด ของ สรรพคุณของพลูคาว มีดังนี้

  • ทั้งต้นพลูคาว สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษาไข้หวัด แก้อักเสบ รักษาแผลอักเสบ รักษาปอดอักเสบ รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ แก้ปวดท้อง ช่วยลดอาการบวมน้ำ รักษาหนองใน รักษาอาการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ รักษานิ่ว ช่วยห้ามเลือด
  • ต้นสด สรรพคุณรักษาไข้มาลาเรีย รักษาแผล พอกฝี แก้อักเสบ รักษาโรคผิวหนัง รักษาพิษงูกัด บำรุงกระดูก ยทำให้กระดูกเชื่อมติดกันเร็วขึ้น รักษาฝีหนองในปอด ช่วยขับระดูขาว ช่วยห้ามเลือด
  • ใบสด สรรพคุณช่วยลดไข้ เป็นยาระบาย ช่วยขับพยาธิ ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องเสีย รักษาหนองใน บำรุงไต แก้ปวดตามข้อกระดูก  รักษาโรคผิวหนัง
  • ดอกพลูคาว สรรพคุณช่วยขับทารกที่ตายในท้อง
  • รากพลูคาว สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากพลูคาว

สำหรับพลูคาวสามารถนำมาสกัดนำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ดังนี้

  • พลูคาวแคปซูล นำพลูคาวมาสกัดเป็นผงแล้วบรรจุแคปซูล เหมาะสำหรับผู้รักสุขภาพ
  • น้ำพลูคาวสกัด นำพลูคาวมาสกัดทำเครื่องดื่มมีประโยชน์ต่อร่างกาย

โทษของพลูคาว

สำหรับการรักประทานพลูคาว มีข้อควรระวังในการรับประทานพลูคาว ดังนี้

  • การรับประทานพลูคาว หากรับประทานมากเกินไป ทำให้หายใจสั่นและถี่ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • สำหรับคนที่มีอาการหนาวง่าย ปวดท้องบ่อย ท้องเสียบ่อยๆ แขนขาเย็น ไม่ควรรับประทานพลูคาว
  • พลูคาวสามารถนำมารักษาโรคผิวหนังได้ หากใช้มากจนเกินไปอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้

พลูคาว คือ พืชล้มลุก สมุนไพร ประโยชน์หลากหลาย ลักษณะของต้นพลูคาวเป็นอย่างไร สารในต้นพูลคาว ประโยชน์และสรรพคุณของพลูคาว เช่น ขับปัสสาวะ แก้อักเสบ รักษาบาดแผล โทษของพลูคาวมีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย