กระถิน พืชพื้นเมือง นิยมกินเมล็ดกระถิน และ ยอดอ่อนกระถิน โรยในส้มตำแสนอร่อย  สรรพคุณของกระถิน เช่น บำรุงกระดูก บำรุงหัวใจ ช่วยขับลม โทษของกระถินเป็นอย่างไร

กระถิน สมุนไพร

กระถิน  จัดเป็นพืชตระกูลถั่ว เป็นพืชที่ขึ้นในประเทศเขตร้อน ถิ่นกำเนิดของกระถินอยู่ในเขตทวีปอเมริกา และ หมู่เกาะเขตมหาสมุทรแปซิฟิก ต้นกระถินขยายพันธุ์ง่าย นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร โดยเฉพาะส่วน ยอดอ่อน และ ฝักอ่อน กระถิน ชื่อสามัญ คือ White popinac ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระถิน คือ Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit ชื่อเรียกอื่ๆของกระถิน เช่น  กะเส็ดบก กะเส็ดโคก กะตง กระถินบ้าน กระถินน้อย ผักก้านถิน กระถินไทย ผักหนองบก กระถินดอกขาว กระถินหัวหงอก ตอเบา สะตอเทศ สะตอบ้าน กระถินยักษ์ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของกระถิน

กระถินนิยมนำฝักกระถินอ่อนมารับประทานเมล็ดของกระถิน และ ทานยอดอ่อนกระถินเป็นผักสด นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของยอดกระถินอ่อน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานสูงถึง 62 กิโลแคลอรี

ยอดกระถิน มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน กากอาหาร น้ำ ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก และ ธาตุฟอสฟอรัส มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย  วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี

ลักษณะของต้นกระถิน

ต้นกระถิน พืชตระกูลถั่ว เจริญเติบโตได้ดีในดินร่สนซุย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยยการเพาะเมล็ด สำหรับลักษณะของต้นกระดิน มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นกระถิน ลักษณะทรงต้นเป็นเรือนยอดรูปไข่ ความสูงประมาณ 10 เมตร  เปลือกต้นกระถินมีสีเทา ลักษณะเปลือกเป็นปุ่มนูนของรอยกิ่งก้านที่หลุดร่วงไป
  • ใบกระถิน ออกเรียงสลับตามกิ่งของกระกิน ใบเป็นใบแบบขนนก มีขน ลักษณะของโคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ขอบใบมีขน
  • ดอกกระถิน ดอกมีลักษณะเป็นช่อ แบบกระจุกแน่น ออกดอกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ลักษณะเป็นรูประฆัง มีสีขาว ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนของทุกปี
  • ฝักกระถิน หรือ ผลกระถิน ออกเป็นฝัก ลักษณะแบน ภายในฝักกระถินจะมีเมล็ดเรียงตามขวางจำนวนมาก และ กระถินจะออกผลช่วงเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนมกราคมของทุุกปี
  • เมล็ดกระถิน จะอยู่ในฝักของกระถิน ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่ แบน สีเขียว และ ลักษณะมัน

สรรพคุณของกระถิน

การใช้ประโยชน์จากกระถิน ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากกระถินได้ทุกส่วน คือ ลำต้น เปลือก ใบ ดอก เมล็ด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดของกระถิน คือ ส่วนที่อยู่ในฝักกระถิน เมล็ดแก่ของกระถิน เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยให้นอนหลับ ช่วยขับลม ช่วยขับระดูขาวของสตรี ช่วยบำรุงไต เมล็ดอ่อนของกระถิน บำรุงกระดูก เป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม ช่วยลดการเกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร
  • ฝักอ่อนของกระถิน สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงกระดูก ทำให้เจริญอาหาร แก้กระหายน้ำ แก้ท้องร่วง รักษานิ่วในกระเพาะอาหาร
  • รากของกระถิน เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยขับระดู
  • ยอดอ่อนของกระถิน บำรุงกระดูก ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด บำรุงสายตา บำรุงหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร แก้กระหายน้ำ ลดการเกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร
  • ดอกของกระถิน ช่วยบำรุงตับ
  • เปลือกของกระถิน ช่วยห้ามเลือด

โทษของกระถิน

ใบกระถินมีสารลิวซีนีนมีฤทธิ์เป็นพิษ หากกินในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ขนร่วง และ เป็นหมันได้

กระถิน พืชพื้นเมือง มีประโยชน์ด้านสมุนไพรและการรักษาโรค นิยมกินเมล็ดกระถิน และ ยอดอ่อนกระถิน สรรพคุณของกระถิน เช่น บำรุงกระดูก บำรุงหัวใจ ช่วยขับลม โรยในส้มตำแสนอร่อย โทษของกระถิน เป็นอย่างไร

โหระพา สมุนไพร กลิ่นหอม นิยมนำใบโหระพามาทำอาหาร แต่งกลิ่น ต้นโหระพาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร โทษของโหระพามีอะไรบ้าง

โหระพา สมุนไพร

โหระพา ( Sweet basil ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของโหระพา คือ Ocimum basilicum L. จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับต้นกะเพรา มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและแอฟริกา ผักมีกลิ่นหอม นิยมนำมาประกอบอาหารและแต่งกลิ่นอาหาร ผักพื้นบ้าน มีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และ โหระพามีวิตามินและแร่ธาตุต่างๆมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โหระพาสามารถนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหยได้ น้ำมันหอมระเหยจากโหระพา อาจทำให้เกิดอาการแพ้กับสตรีมีตั้งครรภ์ได้

คุณค่าทางโภชนากการของโหระพา

ในโหระพามีประโยชน์ต่างๆมากมาย เป็นผักสวนครัวที่นิยมรับประทานใบสดเป็นอาหาร จึงมีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของโหระพาสดๆขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 251 กิโลแคลอรี่

  • มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก แมงกานีส โพแทสเซียม โซเดียม สังกะสี และ กากใยอาหาร
  • มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินซี วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน
  • มีสารเคมีสำคัญประกอบด้วย Methyl chavicol มากถึงร้อยละ 90 และ Pinene β-Pinene β-Bourbonene β-Elemene β-Cubebene β-Caryophyllene β-Copaene β-Acoradiene Camphor Ocimene Eucalyptol Linalool Benzaldehyde Sabinene  Myrcene Cis-Hex-3-Enyl Acetate p-Cymene Limonene Eucalyptol  cis-Beta-Ocimene cis-Linalool Oxide trans-Linalool Oxide trans-Myroxide Neo-Allo-Ocimene Menth-2-en-1-ol Pinocarvone Terpinen-4-ol Endo Fenchyl Acetate Nerol Neral Geraniol Geranial Carvacrol Bicycloelemene Exo-2-Hydroxycineole Acetate Cubebene Geranyl Acetate Methyl Eugenol Trans-Alpha-ergamotene Cadina-3,5-Diene Epsilon-Muurolene Germacrene Bicylogermacrene

ลักษณะของต้นโหระพา

ต้นโหระพา สมุนไพรประเภทผักสวนครัว พืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ทวีปเอเชีย และ ทวีปอาฟริกา โหระพาสามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด และ การปักชำ รายละเอียดของต้นโพระพา มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากและลำต้นโหระพา โหระพามีรากเป็นระบบรากแก้วและรากฝอย ลำต้นของโหระพา สีม่วงแดง ความสูงประมาณ 60 เซ็นติเมตร ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม อุ้มน้ำ เนื้อไม้อ่อน
  • ดอกโหระพา มีสีม่วง ออกดอกเป็นช่อ ซึ่งดอกออกที่ปลายของยอดต้นโหระพา ในดอกมีเมล็ด
  • ใบโหระพา ใบสีเขียว ปลายใบแหลม ลักษณะใบเดี่ยว ออกตามข้อของกิ่ง
  • เมล็ดโหระพา มีขนาดเล็กๆ ลักษณะกลม สีน้ำตาลเข้ม เมล็ดโหระพามีเมือกหุ้มเมล็ดอยู่ หากนำมาแช่น้ำจะมีเมือกพองตัวเหมือนเมล็ดแมงลัก

ประโยชน์ของโหระพา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากต้นโหระพา ใช้ประโยชน์โดยนำมากินเป็นอาหาร คุณสมบัติเด่นของโหระพา คือ มีกลิ่นหอม ใบโหระพาสามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยได้ นำไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ความงาม โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ใบโหระพา สามารถสกัดทำน้ำมันหอมระเหยได้ ให้กลิ่นหอม นำมาใช้ในอุตสาหกรรมสำหรับแต่งกลิ่น น้ำมันหอมระเหยจากโหระพา เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง เช่น น้ำหอม สบู่ เป็นต้น
  • ใบโหระพาสด นำมากินเป็นอาหาร นิยมใส่ในอาหารให้มีกลิ่นหอม

สรรพคุณต้นโหระพา

การใช้ประโยชน์ของโหระพา ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย สามารถใช้ ใบโหระพา ลำต้นโหระพา เมล็ดโหระพา และ น้ำมันหอมระเหย โดยรายละเอีนด ดังนี้

  • เมล็ดของโหระพา สรรพคุณช่วยขับถ่าย ช่วยควบคุมน้ำหนัก รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดการบีบตัวของลำไส้
  • ใบและลำต้นของโหระพา มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สรรพคุณแก้เจ็บคอ ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน ขับลม ขับเหงื่อ แก้ท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร แก้หวัด ช่วยลดอาการอักเสบของแผล รักษาแผล ช่วยห้ามเลือด ช่วยให้ลดอาการปวด
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพา สรรพคุณแก้ปวดเมื่อย ช่วยทำให้ผ่อนคลาย ลดอาการเหนื่อยล้า แก้อาการกระตุก แก้จมูกอักเสบ ลดอาการปวดจากแมลงกัดต่อย

โทษของโหระพา

ต้นโหระพา มีกลิ่นหอม สามารถนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพาได้ แต่น้ำมันหอมระเหยไม่ควรใช้กับสตรีมีครรภ์ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้

ต้นโหระพา คือ พืชชนิดหนึ่งประเภทพืชล้มลุก สมุนไพรพื้นบ้าน สมุนไพรมีกลิ่นหอม นิยมนำใบโหระพามาทำอาหาร แต่งกลิ่นอาหารให้กลิ่นหอม ต้นโหระพาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของโหระพา สรรพคุณของโหระพา เช่น ช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร โทษของโหระพามีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย