ต้นสะระแหน่ มินต์ สมุนไพรกลิ่นหอม นิยมใช้ประโยชน์จากใบสะระแหน่ ต้นสะระแหน่เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงสายตา บำรุงผิว บำรุงเหงือกและฟัน โทษของสะระแหน่สะระแหน่ สมุนไพร สมุนไพรไทย

สะระแหน่ ( Kitchen Mint ) พืชตระกูลกระเพรา ชื่อวิทยาศาสตร์ของสะระแหน่ คือ Mentha villosa Huds. ชื่อเรียกอื่นๆของสะระแหน่ เช่น หอมด่วน หอมเดือน ขะแยะ สะระแหน่สวน มักเงาะ สะแน่ เป็นต้น ต้นสะระแหน่ มีแหล่งกำเนิดในแถบประเทศยุโรปทางตอนใต้ ใบคล้ายกับพืชตระกูลมิ้นต์ กลิ่นหอม รสชาติจะคล้าย ๆ ตะไคร้หอม

ลักษณะของต้นสะระแหน่

ต้นสะระแหน่ มีลักษณะพิเศษ คือ ความหอมของใบ ซึ่งนิยมนำมาใช้ในการแต่งกลิ่นให้ความหอม ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ทำยาสีฟัน สะระแหน่เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำหรือแตกกอ ลักษณะของต้นสะระแหน่ มีดังนี้

  • รากและลำต้นของสะระแหน่ ลำต้นของสะระแหน่จะเลื้อยตามดิน ลักษณะของลำต้นกลมเป็นเหลี่ยมๆ ยาวประมาณ 30 เซ็นติเมตร ผิวของลำต้นมีสีแดงอมม่วง ลำต้นจะเลื้อยแผ่ไปตามดิน มีกิ่งก้านมากมาย
  • ใบสะระแหน่ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ผิวในขรุขระ กลิ่นหอมฉุน ผิวใบย่นเป็นลูกคลื่น ขอบใบหยัก
  • ดอกสะระแหน่ ออกดอกเป็นช่อ ซึ่งจะออกดอกเหนือซอกใบบริเวณปลายยอดของต้นสะระแหน่ ดอกมีสีชมพูอมม่วง
  • ผลของสะระแหน่ มีขนาดเล็ก สีดำ ลักษณะเป็นรูปกระสวย ผิวของผลมันเกลี้ยง

คุณค่าทางโภชนาการของสะระแหน่

สำหรับสะระเหน่ นิยมนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย โดยหลักๆนำมารับประทานในและนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยจากสะระเหน่นำมาแต่งกลิ่นหอม ซี่งสะระแหน่ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายชนิด เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบสดสะระเหน่ พบว่า

คุณค่าทางโภชนาการของใบสะระเหน่ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 47 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 3.7 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 6.8 กรัม แคลเซียม 40 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.8 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.29 มิลลิกรัม วิตามินเอ  วิตามินซี 88 มิลลิกรัม เป็นต้น

น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ มีสารเคมีสำคัญ คือ ยูเจนอล สรรพคุณช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรีย เป็นยาเย็น จากการศึกษาสารเคมีสำคัญจากน้ำมันหอมระเหยของสะระแน่ ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด คือ menthol 63.5 % p-menthone 19.5 % pluegone 42.9-45.4 % isomenthone 12.9 % piperitone 12.2 % Menthone 15-32 % Menthyl acetate 3-10 % piperitone 38.0 % – piperitenone 33.0 % α-terpeneol 4.7% limonene hexenolphenylacetate enthyl amylcarbinal neo methol

สรรพคุณของสะระแหน่

สำหรับการใช้ประโยชน์ของสะระแหน่ จะใช้ประโยชน์ลักษณะของใบสดของสะระเหน่ และ น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ โดย สรรพคุณของสะรแหน่ มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิว ทำให้ผิวชุ่มชื้น ช่วยทำให้ลดลอยเหี่ยวย่นก่อนวัยอันครว
  • สรรพคุรเป็นยาเย็น ช่วยดับร้อนในร่างกาน ช่วยขับเหงื่อ ขับของเสียออกทางผิวหนัง
  • ช่วยบำรุงสายตา ลดรอยคล้ำใต้ตา
  • กลิ่นหอมของสะระแหน่ ช่วยบรรเทาอาการเครียด รักษาอาการปวดศีรษะ รักษาไมเกรน ทำให้สมองปลอดโปร่ง รักษาอาการหน้ามืดตาลาย
  • ช่วยรักษาไข้หวัด รักษาอาการไอ ลดน้ำมูก รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • บำรุงหัวใจ ทำให้หัวใจแข็งแรง ทำให้กระปรี่กระเปร่า รักษาอาการอ่อนเพลียของร่างกาย
  • บำรุงเหงือกและฟัน ระงับกลิ่นปาก บรรเทาอาการปวดฟัน รักษาอาหารเจ็บปาก แก้เจ็บลิ้น รักษาแผลในปาก
  • ช่วยรักษาอาการปวดหู ด้วยการใช้น้ำคั้นจากใบสะระแหน่มาหยอดที่รูหู
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร รักษาอาการท้องร่วง แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด
  • ใช้ไล่ยุงและแมลงต่างๆ รักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย
  • แก้อักเสบ แก้ปวด
  • มีฤทธิืช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

โทษของสะระแหน่

สำหรับข้อควรระวังในการรับประทานสะระแหน่ มีข้อควรระวังในกลุ่มคนต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • สตรีมีครรภ์ และ สตรีหลังคลอดบุตร ไม่ควรรับประทานสะระแหน่ในปริมาณที่มากเกินไป
  • สำหรับคนที่มีภาวะไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ไม่ควรรับประทานน้ำมันสะระแหน่ เพราะ อาจเกิดการแตกตัวก่อนในระหว่างการย่อยอาหาร
  • สำหรับคนที่มีอาการท้องเสีย ไม่ควรกินน้ำมันสะระแหน่ เพราะ อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่บริเวณทวารหนัก

ต้นสะระแหน่ หรือ มินต์ สมุนไพร กลิ่นหอม นิยมใช้ประโยชน์จากใบสะระแหน่ ลักษณะของต้นสะระแหน่เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของสะระแหน่ เช่น บำรุงสายตา บำรุงผิว บำรุงเหงือกและฟัน โทษของสะระแหน่ มีอะไรบ้าง

กุยช่าย สมุนไพร นิยมนำใบมาบริโภคเป็นอาหาร ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของกุยช่าย เช่น ลดความดัน บำรุงกระดูก แก้ท้องเสีย โทษของกุยช่ายมีอะไรบ้างกุยช่าย สมุนไพร สมุนไพรไทย

กุยช่าย ( Chinese leek ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกุยช่าย คือ Allium tuberosum Rottler ex Spreng. พืชตระกูลพลับพลึง ชื่อเรียกอื่นๆของกุยช่าย เช่น ผักไม้กวาด ผักแป้น กูไฉ่ เป็นต้น

ชนิดของกุยช่าย

สำหรับต้นกุยช่ายในประเทศไทย ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด มีอยู่ 3 ชนิด คือ กุยช่ายเขียว กุยช่ายขาว และ กุยช่ายดอก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • กุยช่ายเขียว คือ ใบของกุยช่าย ที่ตัดใบในระยะที่ใบเจริญเติบโตเต็มที่ ก่อนที่จะถึงระยะออกดอก นิยมนำมาใส่ผัดไท นำมาดอกผัก และ ใส่ในอาหาร เป็นต้น
  • กุยช่ายขาว คือ ใบของกุยช่าย ที่เกิดจากการนำวัสดุทิบแสงมาคลุมใบทำให้เกิดปฏิกริยา ทำให้ใบเป้นสีขาว เป็นใบในระยะเจริญเติบโตเต็มที่ ก่อนออกดอก
  • กุยช่ายดอก คือ ดอกของกุยช่ายที่เจริญเติบโตเต็มที่ ซึ่งมีทั้งส่วนของก้านดอกและดอก นำมาผัดทำอาหาร

ลักษณะของต้นกุยช่าย

ต้นกุยช่าย จัดเป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์ได้โดยการใช้เมล็ดและการแตกกอ โดยลักษณะของต้นกุยช่าย มีลักษณะ ดังนี้

  • ต้นกุยช่าย ความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร มีเหง้าเล็ก และ สามารถแตกกอได้
  • ใบกุยช่าย ลักษณะแบน ยาว ความยาวของใบกุยช่าย ประมาณ 30 เซนติเมตร มีสีเขียวเข้ม ใบออกมาจากโคนลำต้น
  • ดอกกุยช่าย เรียกอีกชื่อว่า ดอกไม้กวาด ดอกกุยช่ายออกเป็นช่อ มีสีขาว กลิ่นหอม ดอกมีลักษณะคล้ายซี่ร่ม ก้านดอกยาว ลักษณะกลม ออกมาจากลำต้น
  • ผลกุยช่าย มีลักษณะกลม ผลแก่จะแตกตามตะเข็บในผลของกุยช่ายจะมีเมล็ดช่องละ 1 – 2 เมล็ด
  • เมล็ดกุยช่าย มีสีน้ำตาล ผิวขรุขระ ลักษณะแบน

คุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย

สำหรับการบริโภคกุยช่าย มีประโยชน์ต่อร่างกาย นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย มีดังนี้

  • คุณค่าทางโภชนาการของดอกกุยช่าย ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม เบตาแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 31 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม
  • คุณค่าทางโภชนาการของต้นกุยช่าย ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม กากใยอาหาร 3.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม เบตาแคโรทีน 136.79 ไมโครกรีม ธาตุแคลเซียม 98 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบกุยช่าย มีสารเคมีสำคัญ คือ สารอัลลิซิน ( Alllicin ) สารชนิดนี้มีสรรพคุณ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
  • สำหรับการศึกษาต้นกุยช่าย ด้านเภสัชวิทยา พบว่า น้ำที่คั้นจากต้นกุยช่าย เมื่อฉีดเข้าไปในเส้นเลือดของหนู พบว่าทำให้เกิดอาการเกร็ง และ คลุ้มคลั่ง หลังจากนั้นหนูก็สลบ และ เมื่อนำไปฉีดใส่กระต่าย พบว่าความดันโลหิตของกระต่ายลดลง ซึ่งในระยะแรกมีฤทธิ์ยับยั้งการเต้นของหัวใจ หลังจากนั้นมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือดเพียงเล็ก

สรรพคุณของกุยช่าย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกุยช่าย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ใบกุยช่าย รากกุยช่าย เมล็ดกุยช่าย ลำต้น โดยรายรายละเอียด ของสรรพคุณของกุยช่าย มีดังนี้

  • ใบกุยช่าย สรรพคุณช่วยบำรุงกระดูก ช่วยบำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ปัญหาหลั่งเร็วในผู้ชาย ช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต รักษาโรคหูน้ำหนวก ช่วยลดไข้แก้หวัด แก้อาเจียน ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยแก้นิ่ว รักษาหนองใน บำรุงไต รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ปวด รักษาอาการอักเสบ รักษาอาการฟกช้ำ รักษาแผลหนอง ช่วยประสะน้ำนม
  • รากกุยช่าย สรรพคุณช่วยแก้เลือดกำเดาไหล แก้อาเจียน การช่วยห้ามเหงื่อ ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก ช่วยขับปัสสาวะ
  • เมล็ดกุยช่าย สรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ป้องกันฟันผุ ช่วยขับพยาธิเส้นด้าย ช่วยขับพยาธิแส้ม้า ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับประจำเดือน
  • ทั้งต้นกุยช่าย สรรพคุณแก้ท้องเสีย ช่วยแก้นิ่ว แก้อาการตกขาว  รักษาหนองใน ช่วยขับน้ำนม

โทษของกุยช่าย

สำหรับการบิโภคกุยฉายในปริมาณที่มากเกินไป หรือ กินติดต่อกันนานเกินไป สามารถทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ ข้อควรระวังในการรับประทานกุยช่าย มีดังนี้

  • การกินกุยช่ายมากเกิน ะทำให้อุณหภูมิร่างกายร้อนขึ้น ทำให้เป็นร้อนในได้
  • ไม่ควรกินกุยช่ายพร้อมกับเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาจทำให้ความร้อนในร่างกายสูงเกินไป ทำให้เกิดอาการช็อคได้
  • กุยช่ายมีกากใยอาหารมาก ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วนเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เพราะจะทำให้ระบบลำไส้ทำงานหนักมากขึ้น
  • ผู้สูงอายุ ไม่ควรรับประทานประทานกุยช่าย เพราะ กุยช่ายมีปริมาณกากใยอาหารสูง ทำให้ย่อยยาก
  • กุยช่าย สรรพคุณช่วยบำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ไม่ควรนำกุยช่ายถวายพระ

กุยช่าย พืชล้มลุก สมุนไพร ผักสวนครัว นิยมนำใบมาบริโภคเป็นอาหาร ลักษณะของต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของกุยช่าย เช่น ลดความดัน บำรุงกระดูก แก้ท้องเสีย โทษของกุยช่ายมีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย