มะรุม สมุนไพรพื้นบ้าน ประโยชน์หลากหลาย ลักษณะของต้นมะรุม ประโยชน์และสรรพคุณของมะรุม เช่น บำรุงผิวพรรณ ลดไขมันและคอเรสเตอรัล คุณค่าทางโภชนาการโทษของมะรุม

มะรุม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะรุม ( Moringa ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะรุม คือ Moringa oleifera Lam. ชื่อเรียกอื่นๆของมะรุม เช่น บะค้อนก้อม ผักอีฮุม บักฮุ้ม เป็นต้น มะรุม จัดเป็นผักพื้นบ้าน มีประโยชน์มากมาย ทั้งด้านอาหาร ยา และ อุตสาหกรรม มะรุมเป็นไม้ยืน โตเร็ว ทนแล้ง ปลูกง่ายในเขตร้อน

มะรุม มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย เช่น ประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย และ ในทวีปแอฟริกา ต้นมะรุมปลูกได้ง่าย เจริญเติบโตดีในดินทุกๆประเภท สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะการเมล็ดพันธ์ และ วิธีการปักชำ

ลักษณะต้นมะรุม

ต้นมะรุม เป็นไม้ยืนต้น ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในประเทศเขตร้อน โตเร็ว ทนแล้ง สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ และ การปักชำ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นมะรุม มีดังนี้

  • ลำต้นของมะรุม ลักษณะลำต้นตั้งตรง มีกิ่งก้านเป็นพุ่ม ลักษณะโปร่ง เปลือกของลำต้นมีสีเทา ผิวเปลือกเรียบ บาง ความสูงประมาณ 15 เมตร
  • ใบมะรุม เป็นในเดี่ยว ลักษณะใบเป็นทรงรี ปลายใบ และ ฐานใบ มน ใบมีขน ใบแตกออกจากก้าน ออกเรียงสลับกัน
  • ดอกมะรุม ออกเป็นช่อ ดอกมะรุมมีสีขาว ดอกออกตามข้อของกิ่ง ดอกมะรุมแก่ มีสีเหลืองนวล
  • ฝักมะรุม หรือ ผลมะรุม ฝักมะรุมอ่อน มีสีเขียว ฝักแก่จะมีสีน้ำตาล เปลือกหนา ลักษณะเป็นคลื่นนูนตามเมล็ด ภายในฝักมะรุมมีเมล็ด
  • เมล็ดมะรุม ลักษณะรี มีเยื่อหุ้มคล้ายกระดาษแก้วบางๆ ขนาดของเมล็ดประมาณ 1 เซ็นติเมตร

คุณค่าทางอาหารของมะรุม

สำหรับการบริโภคมะุรุม นั้นนิยมบริโภคส่วนใบและฝักของมะรุม โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบมะรุมและฝักมะรุม มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบมะรุม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 26 แคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 6.7 กรัม กากใยอาหาร 0.1 กรัม ไขมัน 4.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม วิตามินเอ 6,780 μg. วิตามินซี 220 มิลลิกรัม แคโรทีน 110 μg. แคลเซียม 400 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 110 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.18 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 28 มิลลิกรัม และ โพแทสเซียม 259 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของฝักมะรุม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 37 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม ไขมัน 0.20 กรัม โปรตีน 2.10 กรัม น้ำ 88.20 กรัม วิตามินเอ 4 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.0530 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.074 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.620 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.794 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.120 มิลลิกรัม วิตามินบี9 44 ไมโครกรัม วิตามินซี 141 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.36 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.259 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 461 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 42 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.45 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะรุม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะรุม ในด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น สามารุใช้ประโยชน์จากมะรุม มากมาย เช่น ใบมะรุม ฝักมะรุม เมล็ดมะรุม ยางจากต้นมะรุม รากมะรุม เปลือกมะรุม ดอกมะรุม โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ใบมะรุม สรรพคุณรักษาไข้ รักษาเลือดออกตามไรฟัน ลดอาการอักเสบ รักษาแผล ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต บำรุงผิวพรรณ แก้ปวดหัว รักษาแผลสด
  • ยอดอ่อน ใช้ถอนพิษไข้
  • ดอกมะรุม สรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันมะเร็ง บำรุงดวงตา บำรุงสายตา
  • ฝักมะรุม สรรพคุณลดไขมันในเส้นเลือด ลดคอเรสเตอรัลในร่างกาย แก้ไข้ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต
  • เมล็ดของมะรุม สรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ เป็นยาลดไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ ป้องกันมะเร็ง แก้ไอ
  • รากมะรุม สรรพคุณบำรุงหัวใจ ทำให้ร่างกายอบอุ่น แก้อาการบวม รักษาโรคไขข้อ
  • เปลือกลำต้น สรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันมะเร็ง
  • ยางมะรุม สรรพคุณรักษาโรคหอบหืด แก้ปวดฟัน แก้ปวดหู ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ รักษาซิฟิลิส
  • น้ำมันมะรุม สรรพคุณช่วยละลอวัย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงผม รักษาผมร่วง รักษาเชื้อราบนหนังศรีษะ แก้ปวดหัว รักษาสิว รักษาจุดด่างดำบนใบหน้า ฆ่าพยาทในหู รักษาหูน้ำหนวก รักษาเยื่อบุหูอักเสบ รักษาอาการคันตามผิวหนัง รักษาแผลสด รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย

โทษของมะรุม

สำหรับมะรุม นั้นการรับประทานมะรุมให้ปลอดภัย ต้องรับประทานมะรุมหรือใช้อย่างถูกวิธีในปริมาณที่เหมาะสม โดยข้อควรระวังในการบริโภคและการใช้ประโยยชน์จากมะรุม มีดังนี้

  • สตรีกำลังตั้งครรภ์ จากงานวิจัยบางชิ้น ระบุว่าการรับประทานมะรุมในช่วงนี้ อาจทำให้คุณแม่ผลิตน้ำนมออกมามากกว่าปรกติ จึงไม่ควรรับประทานมะรุม หากกำลังตั้งครรภ์ หรือ อยู่ในช่วงให้นมบุตร
  • ใบมะรุม ควรรับประทานใบสดๆ รับประทานใบที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป และ ไม่ควรให้ใบมะรุมถูกความร้อนนานเกินไป การใช้ใบมะรุม มาทำอาหารไม่ควรให้เด็กทารก หรือ เด็กวัยไม่เกิน 2 ขวบ รับประทานในปริมาณที่มากเกินไป เพราะ อาจจะทำให้ท้องเสียได้
  • สตรีมีครรภ์ ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป เพราะ อาจจะทำให้แท้งบุตรได้
  • ผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคเลือด ไม่ควรรับประทานมะรุม เพราะ อาจทำให้เม็ดเลือดแตกง่าย
  • เปลือกของลำต้นมะรุม มีสรรพคุณช่วยคุมกำเนิด สำหรับคนที่มีบุตรยาก หรือ ต้องการมีบุตร ไม่ควรกินมะรุม

ต้นมะระ ผลมะระมีรสขม นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร มะระขี้นก มะระจีน ลักษณะของต้นมะระ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด ลดน้ำตาลในเลือด โทษของมะระ มีอะไรบ้าง

มะระ สมุนไพร สมุนไพรไทย

มะระ ( Bitter melon ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะระ คือ Momordica charantia L. ชื่อเรียกอื่นๆของมะระ เช่น  ผักเหย , ผักไห , มะร้อยรู , มะห่อย , มะไห่ , สุพะซู , สุพะเด เป็นต้น ต้นมะระ พืชล้มลุก ประเภทไม้เลื้อย จัดเป็นพืชตระกุลแตง ขึ้นในประเทศเขตร้อน มะระที่นิยมรับประทาน มี 2 สายพันธุ์ คือ มะระขี้นก และ มะระจีน

ชนิดของมะระ

สำหรับ มะระที่พบว่าปลูกในประเทศไทย สามารถแบ่งมะระออกเป็น 4 สายพันธ์ คือ มะระขี้นก มะระจีน มะระสองพี่น้อง และ มะระย่างกุ้ง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • มะระขี้นก ลักษณะของผลมะระจะเล็ก ผิวของผลขรุขระ ทรงเรียวยาวป้อม ผลมะระมีรสขมมาก เนื้อผลบาง
  • มะระจีน ลักษณะของผลมะระใหญ่ เรียว ยาวประมาณ 30 เซ็นติเมตร ผลมีสีเขียว รสขม มีเนื้อผลมาก นิยมรับประทานมากที่สุด
  • มะระสองพี่น้อง เป็นพันนธุ์ ผสมจากมะระจีน มีผลขนาดใหญ่กว่ามะระจีน ขมน้อยกว่า น่ารับประทาน
  • มะระย่างกุ้ง ลักษณะผลเล็ก รูปร่างยาว ผิวของผลขรุขระ รสขมน้อย

ลักษณะของต้นมะระ

ต้นมะระ จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับแตงกวา แต่เอกลักษณ์ของมะระ คือ รสขมของผลมะระ สามารถปลูกได้ในประเทศเขตร้อน โดยเฉพาะ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นมะระ มีดังนี้

  • ลำต้นมะระ เป็นเถาไม้เลื้อย เถายาวเกาะตามเสา หรือ พื้นที่ที่ต่างๆ ลำต้นอุ้มน้ำมาก มีขนอ่อนๆ
  • ใบมะระ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบคล้ายรูปฝ่ามือ ขอบใบหยักเป็นซี่ห่างๆ ใบเว้าเป็นแฉกๆ ใบมีขนอ่อนๆ
  • ดอกมะระ ออกเป็นชอ มีสีเหลือง ออกดอกตามซอกใบ
  • ผลมะระ มีสีเขียวทรงยาวเรียว ผิวของผลลักษณะขรุขระ มะระสุกมีสีเหลือง ภายในมีเมล็ด ผลมะระมีรสขมมาก

คุณค่าทางโภนาการของมะระ

มะระมีรสขม เนื่องจากในเนื้อผลมะระมีสารเคมีชนิดหนึ่ง เรียก Momodicine ให้รสขมมาก แต่มีประโยชน์การช่วยกระตุ้นความรู้สึกอยากกินอาหาร นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะระ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะะระจีน ขนาด 93 กรัม พบว่ามีสารอาหารต่างๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินซี สารโฟเลต ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุทองแดง และ ธาตุสังกะสี

สรรพคุณของมะระ

สำหรับประโยชน์ของมะระ ในด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค นั้น สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ใบ ผล เมล็ด และ ลำต้น โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผลมะระ มีรสขมมาก สรรพคุณช่วยชะลอวัย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร บำรุงสายตา บำรุงกระดูกและฟัน รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงเลือด ต้านเชื้อไวรัส ป้องกันหวัด รักษาแผลในปาก ช่วยขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงตับ กระตุ้นการทำงานของตับ รักษาโรคผิวหนัง รักษาผิวหนังอักเสบ รักษาผิวแห้ง
  • ผลมะระสุก ใช้รักษาสิว
  • ใบมะระ สรรพคุณช่วยแก้กระหายน้ำ รักษาโรคหวัด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้ฟกช้ำ แก้ปวดบวม
  • ลำต้นมะระ สรรพคุณลดความร้อนในร่างกาย แก้ปวดท้อง
  • เมล็ดมะระ สรรพคุณช่วยปรับสมดุลย์ร่างกาย ช่วยขั บพยาธิตัวกลม
  • รากมะระ สรรคุณช่วยรักษาหวัด แก้ปวดท้อง

โทษของมะระ

สำหรับรับมะระนั้น มีรสขม ซึ่งสรรพคุณของความขมเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ทำให้เกิดอาการคลื้นไส้อาเจียน สำหรับคนที่ร่างกายไม่ถูกฝึกให้กินขม ข้อควรระวังในการรับประทานมะระ มีรายละเอียด ดังนี้

  • สำหรับหญิงมีครรภ์ ไม่ควรกินมะระ เพราะ มะระอาจทำให้มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ และ อาจเป็นสาเหตุของการแท้งได้
    เด็ก ห้ามรับประทานเยื่อหุ้มเมล็ดของมะระที่มีสีแดง เพราะอาจเป็นพิษต่อร่างกาย
  • มะระมีสรรพคุณในการลดน้ำตาลในเลือด สำหรับคนที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ไม่ควรรับประทานมะระมากเกิน
  • สำหรับป่วยที่มีแผนในการเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานมะระ อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพราะ อาจทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทั้งในระหว่างการผ่าตัดและหลังการผ่าตัดมีปัญหา
  • การรับประทานผลสุกของมะระ อาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เพราะ มีสารซาโปนิน ( Saponin ) ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย

การเลือกซื้อมะระ

สำหรับการเลือกมะระ ที่เหมาะสำหรับนำมาทำอาหาร ให้เลือกมะระที่ไม่ดิยเกินไป และ ไม่แต่เกินไป ให้สังเกตุสีของมะระ ออกสีเขียวอ่อนๆ ขนาดใหญ่ ผิวของมะระรอยหยักใหญ่ รอยหยักไม่มาก จะได้มะระที่มีความขมไม่มากนัก และ เนื้อมะระมาก โดยลักษณะของเนื้อมะระต้องแข็ง หากอ่อนนุ่ม แสดงว่ามะระกำลังจะเน่า

การทำให้มะระไม่ขม

เมื่อได้มะระมาแล้ว ให้นำมะระมาผ่าออก เอาเมล็ดออกให้หมด และ นำมาแช่ในน้ำผสมเกลือ ซึ่งเกลือจะช่วยลดความขมของมะระ แช่ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที จากนั้นนำมาแช่ในน้ำเปล่า เวลานำมะระมาทำอาหาร หากต้องการลดความขมอีก ให้นำมะระไปต้มในน้ำก่อน ให้มะระคายความขมออก หลังจากนั้นจึงนำเอามะระไปใส่ในอาหาร และ น้ำต้มมะระให้ทิ้งไปเลย เพราะน้ำจะขมมาก

ต้นมะระ พืชสวนครัว ผลมะระ มีรสขม นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร มะระขี้นก มะระจีน ลักษณะของต้นมะระ สรรพคุณของมะระ เช่น ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด ลดน้ำตาลในเลือด โทษของมะระ มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย