ม้ากระทืบโรง สมุนไพร นิยมนำมาทำเป็นส่วนผสมยาดอง ประโยชน์และสรรพคุณของม้ากระทืบโรง บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงกำหนัด

ม้ากระทืบโรง สมุนไพร สรรพคุณของม้ากระทืบโรง

ม้ากระทืบโรง ชื่อวิทยาศาสตร์ของม้ากระทืบโรง คือ Ficus sarmentosa Buch.-Ham. ex Sm. ชื่อเรียกอื่นๆของม้ากระทืบโรง เช่น ม้าคอกแตก คอกม้าแตก มันฤาษี กาโร พญานอนหลับ มาดพรายโรง เดื่อเครือ บ่าบ่วย เป็นต้น

ลักษณะของต้นม้ากระทืบโรง

ต้นม้ากระทืบโรง เป็นไม้เลื้อย ทรงไม้พุ่ม มักพบตามต้นไม้ขนาดใหญ่ในป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา สามารถขยายพันธุ์ด้วย วิธีการปักชำ ลักษณะของต้นม้ากระทืบโรง มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นม้ากระทืบโรง มีความสูงได้ประมาณ 25 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล ลักษณะสาก มีปุ่มคล้ายหนาม เนื้อไม้เป็นสีขาว  ลำต้นมีน้ำยาง สีขาว
  • ใบม้ากระทืบโรง เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันตามเถา ลักษณะของใบรูปไข่
  • ดอกม้ากระทืบโรง ดอกออกตามซอกใบ ออกดอกเป็นช่อ ฐานรองดอกเป็นรูปทรงกลม
  • ผลม้ากระทืบโรง ผลเป็นรูปทรงกลม เปลือกของผลม้ากระทืบโรง มีสรรพคุณทางยา

คุณค่าทางโภชนากการของม้ากระทืบโรง

การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของม้ากระทืบโรง พบว่าเถาของม้าประทืบโรง มีสารเคมีต่างๆ ประกอบด้วย

  • สารเคมีกลุ่ม eudesmane sesquiterpene  ประกอบด้วย  foveolide A , foveoeudesmenone , 4(15)-eudesmene-1β,6α-diol , 4(15)-eudesmene-1β,5α-diol
  • สารเคมีกลุ่ม sesquiterpenoid dimer คือ foveolide B
  • สารเคมีกลุ่ม phenolic ได้แก่ foveospirolide, ethyl rosmarinate
  • สารเคมีกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ ได้แก่ friedelin, taraxerol และ betulin

สรรพคุณของม้ากระทืบโรง

สำหรับต้นม้ากระทืบโรง มีประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย โดยใช้ส่วน ทั้งต้น เถา เนื้อไม้ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ทั้งต้นของม้ากระทืบโรง สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง  แก้ปวดแมื่อย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเลือดเสีย รักษาริดสีดวงทวาร เพิ่มความต้องการทางเพศ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงธาตุ
  • เถาม้ากระทืบโรง มีรสเย็น สรรพคุณบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย บำรุงธาตุ บำรุงเลือด แก้ปวดฟัน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย แก้ประดงลม รัักษาฮ้อเลือด  แก้ปวดหลังปวดเอว
  • เนื้อไม้ม้ากระทืบโรง สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้ปวดหลัง แก้ปวดเอว

โทษของม้ากระทืบโรง

สารเคมี foveolide A ในลำต้นของม้ากระทืบโรง มีความเป็นพิษระดับปานกลางต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ เซลล์มะเร็งตับ เซลล์มะเร็งเต้านม และเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร และ มีฤทธิ์ต้านเชื้อวัณโรค Mycobacterium tuberculosis โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ คือ 200 ไมโครโมลาร์

ม้ากระทืบโรง คือ พืชประเภทไม้เลื้อย สมุนไพร นิยมนำมาทำเป็นส่วนผสมยาดอง ประโยชน์ของม้ากระทืบโรง สรรพคุณของม้ากระทืบโรค ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงเลือด แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงกำหนัด

แหล่งอ้างอิง

  • ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน), เว็บไซต์อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล, ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)
  • “ไม้ดีมีประโยชน์ – “ม้ากระทืบโรง” บำรุงความกำหนัด”. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-10. สืบค้นเมื่อ 2007-10-06.

จุนสี คอปเปอร์ซัลเฟต เกลือที่เกิดจากสนิมทองแดง เป็นผลึกสีนํ้าเงิน ประโยชน์ของจุนสี รักษาแผล รักษาเหงือกและฟัน กำจัดหูด รักษาคออักเสบ รักษาแผลในตา ใช้ชุบทองแดง

จุนสี สมุนไพร สมุนไพรไทย

จุนสี หรือ คอปเปอร์ซัลเฟต สูตรทางเคมี คือ CuSO4  มีชื่อเรียกต่างๆของจุนสี เช่น หินเขียว ต๋าฮ้วง Bluestone เป็นต้น จุนสีเป็นสารประกอบของทองแดง กำมะถัน และ ออกซิเจน เกลือจุนสี นั้นพบได้หลายรูปแบบมีสีฟ้าสด มีประโยชน์เป็นสารปราบวัชพืช สารกำจัดสัตว์และแมลงรบกวน สารฆ่าเชื้อรา

จุนสี พบได้ในธรรมชาติ พบในเหมืองทองแดง ผลึกจุนสี ใช้โลหะทองแดง หรือ สนิมทองแดง ทำปฏิกิริยากับกรดกำมะถัน คนทั่วไปจึงมักเข้าใจผิดว่า จุนสี คือ สนิมทองแดง จุนสี เป็นของดี และ บริสุทธิ์ไม่มีสิ่งเจือปน จุนสีที้เปลี่ยนเป็นสีขาวจะเรียก จุนสีสะตุ การผลิตจุนสีในเชิงอุตสาหกรรมทำได้โดยนำโลหะทองแดงไปทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริกเข้มข้น หรือนำคอปเปอร์ออกไซด์ไปทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริกเจือจาง

สรรพคุณของจันสี

จุนสี มี รสเปรี้ยว ฝาด และเย็น ตามตำรายาโบราณ ได้ใช้ประโยชน์จากจุนสี ดังนี้

  • จุนสีผสมกับขี้ผึ้ง ใช้กัดหัวหูด ใช้ทารักษาแผลหนอง
  • จุนสีละลายน้ำอ่อนๆ ใช้หยอดตา รักษาแผลในตา นำมาอมแก้โรคเหงือกและฟัน รักษาอาการปากเปื่อย รักษาคออักเสบ ทำให้อาเจียนขับสานพิษ

โทษของจุนสี

การใช้จุนสีเป็นยารักษาโรคนัั้น ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากอาจทำให้เกิดพิษต่อร่างกายได้ การกินจุนสีผสมน้ำทำให้อาเจียน หากกินมากเกินไปเป็นอันตราต่อร่างกายได้

จุนสี หรือ คอปเปอร์ซัลเฟต คือ เกลือปรกติชนิดหนึ่งเกิดจากสนิมทองแดง ลักษณะเป็นผลึกสีนํ้าเงิน ประโยชน์ของจุนสี รักษาแผลหนอง รักษาโรคเหลือกและฟัน กำจัดหูด รักษาคออักเสบ รักษาแผลในตา นอจจากนั้นใช้ในการชุบทองแดง ฆ่าลูกนํ้า ปราบวัชพืช สารกำจัดสัตว์และแมลง ฆ่าเชื้อรา

แหล่งอ้างอิง

  • Varghese, J. N.; Maslen, E. N. (1985). “Electron density in non-ideal metal complexes. I. Copper sulphate pentahydrate”. Acta Crystallogr. B. 41 (3): 184–190. doi:10.1107/S0108768185001914.
  • Haynes, p. 4.62
  • Rumble, John, บ.ก. (2018). CRC Handbook of Chemistry and Physics (ภาษาอังกฤษ) (99th ed.). CRC Press, Taylor & Francis Group. p. 5-179. ISBN 9781138561632.
  • Anthony, John W.; Bideaux, Richard A.; Bladh, Kenneth W.; Nichols, Monte C., บ.ก. (2003). “Chalcocyanite” (PDF). Handbook of Mineralogy. Vol. V. Borates, Carbonates, Sulfates. Chantilly, VA, US: Mineralogical Society of America. ISBN 978-0962209741.
  • Haynes, p. 10.240
  • Kokkoros, P. A.; Rentzeperis, P. J. (1958). “The crystal structure of the anhydrous sulphates of copper and zinc”. Acta Crystallographica. 11 (5): 361–364. doi:10.1107/S0365110X58000955.
  • Bacon, G. E.; Titterton, D. H. (1975). “Neutron-diffraction studies of CuSO4 · 5H2O and CuSO4 · 5D2O”. Z. Kristallogr. 141 (5–6): 330–341. Bibcode:1975ZK….141..330B. doi:10.1524/zkri.1975.141.5-6.330.
  • NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. “#0150”. National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
  • Cupric sulfate. US National Institutes of Health
  • ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 4 เครื่องยาธาตุวัตถุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2556.หน้า 42-43
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย