ต้นมะระ ผลมะระมีรสขม นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร มะระขี้นก มะระจีน ลักษณะของต้นมะระ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด ลดน้ำตาลในเลือด โทษของมะระ มีอะไรบ้าง

มะระ สมุนไพร สมุนไพรไทย

มะระ ( Bitter melon ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะระ คือ Momordica charantia L. ชื่อเรียกอื่นๆของมะระ เช่น  ผักเหย , ผักไห , มะร้อยรู , มะห่อย , มะไห่ , สุพะซู , สุพะเด เป็นต้น ต้นมะระ พืชล้มลุก ประเภทไม้เลื้อย จัดเป็นพืชตระกุลแตง ขึ้นในประเทศเขตร้อน มะระที่นิยมรับประทาน มี 2 สายพันธุ์ คือ มะระขี้นก และ มะระจีน

ชนิดของมะระ

สำหรับ มะระที่พบว่าปลูกในประเทศไทย สามารถแบ่งมะระออกเป็น 4 สายพันธ์ คือ มะระขี้นก มะระจีน มะระสองพี่น้อง และ มะระย่างกุ้ง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • มะระขี้นก ลักษณะของผลมะระจะเล็ก ผิวของผลขรุขระ ทรงเรียวยาวป้อม ผลมะระมีรสขมมาก เนื้อผลบาง
  • มะระจีน ลักษณะของผลมะระใหญ่ เรียว ยาวประมาณ 30 เซ็นติเมตร ผลมีสีเขียว รสขม มีเนื้อผลมาก นิยมรับประทานมากที่สุด
  • มะระสองพี่น้อง เป็นพันนธุ์ ผสมจากมะระจีน มีผลขนาดใหญ่กว่ามะระจีน ขมน้อยกว่า น่ารับประทาน
  • มะระย่างกุ้ง ลักษณะผลเล็ก รูปร่างยาว ผิวของผลขรุขระ รสขมน้อย

ลักษณะของต้นมะระ

ต้นมะระ จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับแตงกวา แต่เอกลักษณ์ของมะระ คือ รสขมของผลมะระ สามารถปลูกได้ในประเทศเขตร้อน โดยเฉพาะ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นมะระ มีดังนี้

  • ลำต้นมะระ เป็นเถาไม้เลื้อย เถายาวเกาะตามเสา หรือ พื้นที่ที่ต่างๆ ลำต้นอุ้มน้ำมาก มีขนอ่อนๆ
  • ใบมะระ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบคล้ายรูปฝ่ามือ ขอบใบหยักเป็นซี่ห่างๆ ใบเว้าเป็นแฉกๆ ใบมีขนอ่อนๆ
  • ดอกมะระ ออกเป็นชอ มีสีเหลือง ออกดอกตามซอกใบ
  • ผลมะระ มีสีเขียวทรงยาวเรียว ผิวของผลลักษณะขรุขระ มะระสุกมีสีเหลือง ภายในมีเมล็ด ผลมะระมีรสขมมาก

คุณค่าทางโภนาการของมะระ

มะระมีรสขม เนื่องจากในเนื้อผลมะระมีสารเคมีชนิดหนึ่ง เรียก Momodicine ให้รสขมมาก แต่มีประโยชน์การช่วยกระตุ้นความรู้สึกอยากกินอาหาร นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะระ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะะระจีน ขนาด 93 กรัม พบว่ามีสารอาหารต่างๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินซี สารโฟเลต ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุทองแดง และ ธาตุสังกะสี

สรรพคุณของมะระ

สำหรับประโยชน์ของมะระ ในด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค นั้น สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ใบ ผล เมล็ด และ ลำต้น โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผลมะระ มีรสขมมาก สรรพคุณช่วยชะลอวัย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร บำรุงสายตา บำรุงกระดูกและฟัน รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงเลือด ต้านเชื้อไวรัส ป้องกันหวัด รักษาแผลในปาก ช่วยขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงตับ กระตุ้นการทำงานของตับ รักษาโรคผิวหนัง รักษาผิวหนังอักเสบ รักษาผิวแห้ง
  • ผลมะระสุก ใช้รักษาสิว
  • ใบมะระ สรรพคุณช่วยแก้กระหายน้ำ รักษาโรคหวัด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้ฟกช้ำ แก้ปวดบวม
  • ลำต้นมะระ สรรพคุณลดความร้อนในร่างกาย แก้ปวดท้อง
  • เมล็ดมะระ สรรพคุณช่วยปรับสมดุลย์ร่างกาย ช่วยขั บพยาธิตัวกลม
  • รากมะระ สรรคุณช่วยรักษาหวัด แก้ปวดท้อง

โทษของมะระ

สำหรับรับมะระนั้น มีรสขม ซึ่งสรรพคุณของความขมเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ทำให้เกิดอาการคลื้นไส้อาเจียน สำหรับคนที่ร่างกายไม่ถูกฝึกให้กินขม ข้อควรระวังในการรับประทานมะระ มีรายละเอียด ดังนี้

  • สำหรับหญิงมีครรภ์ ไม่ควรกินมะระ เพราะ มะระอาจทำให้มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ และ อาจเป็นสาเหตุของการแท้งได้
    เด็ก ห้ามรับประทานเยื่อหุ้มเมล็ดของมะระที่มีสีแดง เพราะอาจเป็นพิษต่อร่างกาย
  • มะระมีสรรพคุณในการลดน้ำตาลในเลือด สำหรับคนที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ไม่ควรรับประทานมะระมากเกิน
  • สำหรับป่วยที่มีแผนในการเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานมะระ อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพราะ อาจทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทั้งในระหว่างการผ่าตัดและหลังการผ่าตัดมีปัญหา
  • การรับประทานผลสุกของมะระ อาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เพราะ มีสารซาโปนิน ( Saponin ) ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย

การเลือกซื้อมะระ

สำหรับการเลือกมะระ ที่เหมาะสำหรับนำมาทำอาหาร ให้เลือกมะระที่ไม่ดิยเกินไป และ ไม่แต่เกินไป ให้สังเกตุสีของมะระ ออกสีเขียวอ่อนๆ ขนาดใหญ่ ผิวของมะระรอยหยักใหญ่ รอยหยักไม่มาก จะได้มะระที่มีความขมไม่มากนัก และ เนื้อมะระมาก โดยลักษณะของเนื้อมะระต้องแข็ง หากอ่อนนุ่ม แสดงว่ามะระกำลังจะเน่า

การทำให้มะระไม่ขม

เมื่อได้มะระมาแล้ว ให้นำมะระมาผ่าออก เอาเมล็ดออกให้หมด และ นำมาแช่ในน้ำผสมเกลือ ซึ่งเกลือจะช่วยลดความขมของมะระ แช่ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที จากนั้นนำมาแช่ในน้ำเปล่า เวลานำมะระมาทำอาหาร หากต้องการลดความขมอีก ให้นำมะระไปต้มในน้ำก่อน ให้มะระคายความขมออก หลังจากนั้นจึงนำเอามะระไปใส่ในอาหาร และ น้ำต้มมะระให้ทิ้งไปเลย เพราะน้ำจะขมมาก

ต้นมะระ พืชสวนครัว ผลมะระ มีรสขม นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร มะระขี้นก มะระจีน ลักษณะของต้นมะระ สรรพคุณของมะระ เช่น ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด ลดน้ำตาลในเลือด โทษของมะระ มีอะไรบ้าง

มะพร้าว พืชท้องถิ่น สังคมไทยใช้มะพร้าวทำประโยชน์มากมาย ลักษณะของต้นมะพร้าว ประโยชน์และสรรพคุณของมะพร้าว น้ำมันมะพร้าว น้ำมะพร้าว โทษของมะพร้าว มีีอะไรบ้างมะพร้าว สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะพร้าว ( Coconut ) พืชตระกูลปาล์ม ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะพร้าว คือ Cocos nucifera L. ชื่อเรียกอื่นๆของมะพร้าว เช่น ดุง โพล  คอส่า เอี่ยจี้ หมากอุ๋น หมากอูน เป็นต้น มะพร้าว เป็นไม้ยืนต้น สามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทุกส่วนประกอบของมะพร้าว ที้ง ก้านใบ ใบมะพร้าว ผลมะพร้าว กะลามะพร้าว เนื้อไม้มะพร้าว เป็นต้น

พันธ์ของมะพร้าว

สำหรับพันธุ์มะพร้าว ตามธรรมชาติ สามารถแบ่งมะพร้าวได้ 2 ประเภท คือ มะพร้าวพันธ์เตี้ย และ มะพร้าวพันธ์สูง รายละเอียด ดังนี้

  • มะพร้าวพันธ์เตี้ย มักให้ผลจำนวนมาก ส่วนใหญ่นิยมปลูกเพื่อรับประทานผลอ่อน เพราะ เนื้อมะพร้าวอ่อนนุ่ม และ น้ำมะพร้าวมีรสหวาน และให้กลิ่นหอม
  • มะพร้าวพันธ์สูง มะพร้าวประเภทนี้เป็นมะพร้าวเศรษฐกิจ นิยมปลูกเป็นอาชีพ ตามสวนมะพร้าว นิยมใช้ประโยชน์จากผลอ่อน และ ผลแก่ นำมาใช้ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น น้ำมันพืช กะทิ เป็นต้น

มะพร้าวในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย มะพร้าวเป็นพืชเศรษกิจ ประเทศไทยส่งออกมะพร้าวสูงเป็นอันดับ 6 ของโลก โดยประเทศที่ส่งออกมะพร้าวมากที่สุด คือ ประเทศอินโดนีเซีย พันธุ์มะพร้าว ในประเทศไทย เช่น มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวทะเล มะพร้าวไฟ มะพร้าวซอ มะพร้าวกะทิ มะพร้าวพวงร้อย มะพร้าวมลายูสีเหลืองต้นเตี้ย เป็นต้น

มะพร้าวกับความเชื่อของคนไทย

คนไทย มีความเชื่อว่า มะพร้าวเป็นไม่มงคล นิยมปลูกตามบ้านคน ทุกหลัง เชื่อกันว่าการปลูกมะพร้าว ให้ปลูกทางทิศตะวันออกของบ้าน จะทำให้คนในบ้านอยู่เย็นเป็นสุข ไม่เจ็บป่วย นอกจากนั้น มะพร้าว นำมาใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา เป็นเครื่องสังเวย เพราะ เชื่อว่ามะพร้าวเป็นตัวแทนแห่งความอุดมสมบูรณ์ การดื่มน้ำมะพร้าว เป็นสิริมงคล น้ำมะพร้าว ใช้ล้างหน้าศพ เพราะ มีความเชื่อว่าน้ำมะพร้าวเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ ทำให้ผู้ตายไปยังภพภูมิหน้าอย่างเป็นสุข

ลักษณะของต้นมพร้าว

ต้นมะพร้าว พืชตระกลูปาล์ม พบมากในพื้นที่ตามชายทะเล มีระบบรากเป็นรากฝอย สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะพร้าว มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นมะพร้าว ลักษณะเป็นลำต้นเดียว ลักษณะสูงตรง เนื้อไม้แข็ง สีน้ำตาลอ่อน
  • ใบมะพร้าว ลักษณะใบเป็นใบประกอบ ยาว เนื้อใบมัน สีเขียว
  • ดอกมะพร้าว เป็นช่อ สีครีม หรือ สีเหลืองนวล ไม่มีก้านดอก กลีบดอกหนา และ แข็ง
  • ผลมะพร้าว ผลของมะพร้าวมี 3 ชั้น คือ เปลือกชั้นนอก เปลือกชั้นกลาง และ เปลือกชั้นใน เมล็ดมะพร้าว คือ เนื้อมะพร้าว ภายในเมล็ดเป็นช่อกลวงขณะผลอ่อนจะมีน้ำอยู่เต็ม ผลแก่น้ำมะพร้าวจะแห้งไปบางส่วน

คุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว

สำหรับการบริโภคมะพร้าว นิยมบริโภคจากน้ำมะพร้าวและเนื้อมะพร้าว โดยนักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อมะพร้าวและน้ำมะพร้าว มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อมะพร้าว ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 1,480 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 24.23 กรัม น้ำตาล 6.23 กรัม กากใยอาหาร 9 กรัม ไขมัน 33.49 กรัม โปรตีน 3.33 กรัม วิตามินบี1 0.66 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.54 มิลลิกรัม วิตามินบี5 1.014 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.05 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.3 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 14 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.43 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 32 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 113 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 356 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 1.1 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมะพร้าว ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 79 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.71 กรัม น้ำตาล 2.61 กรัม กากใยอาหาร 1.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.72 กรัม วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.057 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.08 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.032 มิลลิกรัม วิตามินซี 2.4 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.29 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 250 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะพร้าว

การใช้ประโยชน์จากมะพร้าว สามารถใช้ประโยชน์มากมาย ทั้งจาก ผลมะพร้าว น้ำมะพร้าว เนื้อผลมะพร้าว ดอกมะพร้าว รากมะพร้าว ใบมะพร้าว รายละเอียดของ สรรพคุณของมะพร้าว มีดังนี้

  • น้ำมะพร้าว สรรพคุณบำรุงผิว บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ช่วยล้างพิษในร่างกาย ขับพิษของเสียออกจากร่างกาย ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ลดอาการบวม ลดอาการอักเสบ แก้กระหายน้ำ บำรุงสมอง บำรุงเส้นผม ลดไข้ แก้ไอ แก้ท้องร่วง บำรุงระบบทางเดินอาหาร รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาทางเดินปัสสาวะอักเสบ รักษานิ่ว ช่วยถ่ายพยาธิ
  • เนื้อมะพร้าว สรรพคุณแก้อาการระคายเคืองตา ช่วยลดไข้ รักษาแผลในปาก ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยถ่ายพยาธิ
  • ดอกมะพร้าว สรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต  แก้เจ็บคอ ขับเสมหะ  แก้ท้องเสีย
  • รากมะพร้าว สรรพคุณรักษาโรคคอตีบ แก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ
  • เปลือกต้นสดมะพร้าว สรรพคุณแก้อาการเจ็บฟัน
  • กะลามะพร้าว สรรพคุณแก้ท้องเสีย ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • น้ำมันจากกะลามะพร้าว สรรพคุณแก้อาการปวดฟัน แก้ปวดข้อ แก้ปวดเส้นเอ็น รักษาโรคผิวหนัง ช่วยสมานแผล
  • ใบมะพร้าว สรรพคุณช่วยรักษาโรคอีสุกอีใส

น้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าว คือ น้ำมันชนิดหนึ่งที่เกิดจากการสกัดจากมะพร้าว โดยวิธีการสกัดน้ำมันรูปแบบเย็นและร้อน ซึ่งน้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันพืชที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นกรดไขมันอิ่มตัว ที่ไม่ทำลายหลอดเลือดของมนุษย์

ประโยชน์น้ำมันมะพร้าว

สำหรับการใช้ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น สามารถสรุปประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว ดังนี้

  • ช่วยลดไขมันที่ทำร้ายร่างกาย น้ำมันมะพร้าวไม่สามารถช่วยลดน้ำหนักได้ แต่การกินน้ำมันมะพร้าว ช่วยลดไขมันร้ายในร่างกาย และ เพิ่มไขมันดีให้ร่างกาย น้ำมันมะพร้าวทำให้ย่อยอาหารได้รวดขึ้น ช่วยกระตุ้นเมตาบอลิซึมในร่างการ ทำให้เผาผลาญแคลอรีในร่างกายได้ดี
  • ช่วยบำรุงเส้นผม น้ำมันมะพร้าว สามารถนำมาใช้หมักผมได้ ทำให้เส้นผมสวยและเงางามแบบธรรมชาติ
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกาย น้ำมันมะพร้าวมี กรดลอริก เป็นกรดชนิดเดียวกับน้ำนมแม่ ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค กำจัดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ต่างๆได้
  • ลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็ง น้ำมันมะพร้าว ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ มีความสามารถในการช่วยลดไขมันไม่ดีออกจากร่างกาย ลดความเสี่ยงการเกิดเซลล์มะเร็งได้
  • ช่วยรักษาโรคผิวหนัง น้ำมันมะพร้าว ใช้รักษาโรคผิวหนัง เช่น รักษาสิว รักษาโรคสะเก็ดเงิน รักษาโรคเรื้อน รักษาแผลถลอก น้ำมันมะพร้าวช่วยสมานแผล ได้
  • ช่วยบำรุงระบบประสาท น้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันอิ่มตัว ช่วยในเรื่องของการกระตุ้นการทำงานของสมอง ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ได้
  • ใช้เป็นน้ำมันในการทำอาหาร น้ำมันมะพร้าวสามารถที่จะนำไปทำกับข้าว เหมือนน้ำมันพืชทั่วไปจากถั่งเหลือง ปาล์ม เมล็ดทานตะวัน ได้ เพราะ น้ำมันมะพร้าวเมื่อโดนความร้อน จะไม่มีการเปลี่ยนสถานะเป็นไขมันร้าย ที่ทำอันตรายต่อสุขภาพ

ข้อเสียของมะพร้าว

สำหรับมะพร้าว เป็นพืชที่มีความหวาน และ เนื้อมะพร้าว มีความมัน การบริโภคมะพร้าว จาก เนื้อมะพร้าว น้ำมันพร้าว หรือ น้ำมันมะพร้าว มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • น้ำมะพร้าว ให้ความหวาน หากกินหวานมากเกินไป ทำให้เกิดการสะสมน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้ง อาจทำให้ อ้วน หรือ เป็นเบาหวานได้
  • น้ำมะพร้าว เป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพ มีกรดคลอริก ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่หากดื่มน้ำมะพร้าวในปริมาณมากเกินไป ำให้เกิดการสะสม ไขมัน และ น้ำตาลในร่างกายมากเกินไป
  • น้ำมะพร้าว มีโซเดียมสูง สำหรับคนที่มีภาวะโซเดียมในร่างกายมากเกินไป ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมะพร้าว
  • กะทิ น้ำที่ได้จากการคั้นเนื้อมะพร้าวแก่ มีฤทธิ์ร้อน หากกินกะทิในปริมาณมากเกิน ทำให้ร่างกายร้อนขึ้น อาจไม่ดีต่อร่างกาย
  • การกินกะทะในร่างกาย ทำให้เกิดการสะสมคอเลสเตอรัลในร่างกาย มีความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ เช่น  โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และ โรคเบาหวาน
  • การกินกะทิ มากเกินไป อาจทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูง และ ไขมันอุดตันในหลอดเลือด

 

มะพร้าว คือ พืชท้องถิ่นของประเทศไทย สังคมไทยใช้มะพร้าวทำประโยชน์มากมาย ลักษณะของต้นมะพร้าว ประโยชน์และสรรพคุณของมะพร้าว น้ำมันมะพร้าว น้ำมะพร้าว โทษของมะพร้าว มีีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย