รางจืด ว่านรางจืด สมุนไพรไทย ต้นรางจืดเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของรางจืด ขับสารพิษในร่างกาย ป้องกันมะเร็ง ช่วยสมานแผล รักษาโรคผิวหนัง โทษมีอะไรบ้าง

รางจืด สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นรางจืด หรือ ต้นว่านรางจืด ( Laurel clockvine ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของรางจืด คือ Thunbergia laurifolia Lindl. ชื่อเรียกอื่นๆของรางจืด เช่น รางเย็น , คาย , ดุเหว่า , ทิดพุด , ย่ำแย้ , แอดแอ , น้ำนอง , จอลอดิเออ , ซั้งกะ , ปั้งกะล่ะ , พอหน่อเตอ  , กำลังช้างเผือก , ยาเขียว , เครือเขาเขียว , ขอบชะนาง , ว่านรางจืด เป็นต้น ต้นรางจืด มีถิ่นกำเนิดแถบประเทศเอเชียตะวันนอกเฉียงใต้ พบมากตามป่าดงดิบ หรือ ป่าดิบชื้น นิยมนำมาปลูกตามบ้านเรือนทั่วไปของประเทศไทย

รางจืดในประเทษไทย

สำหรับต้นรางจืด นั้นภูมิปัญญาอีสาน ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการป้องกันพิษ ลดความดัน และ รักษาโรคผิวหนัง การปรุงอาหารที่ได้จากป่า ให้ใส่ใบรางจืดและดอกรางจืด เข้าไปด้วย จะช่วยป้องกันพิษของอาหารได้ หมอสมุนไพร ใช้ยอดและดอกของรางจืด ทำอาหารสุขภาพ เพื่อลดความดันโลหิต รักษาอาการแพ้ที่ผิวหนัง และ รักษาผดผื่นคัน ได้

ชนิดของรางจืด

สำหรับ รางจืดที่ใช้ในตำรายาสมุนไพร แบ่งรางจืด ออกเป็น 3 ชนิด คือ รางจืดเถา รางจืดต้น และ ว่างรางจืด รายละเอียด ดังนี้

  • รางจืดเถา มีลักษณะเป็นเถายาวเลื้อย ซึ่งรางจืดเถา มี 3 ชนิด คือ รางจืดชนิดดอกสีม่วงอ่อน รางจืดชนิดดอกสีเหลือง รางจืดชนิดดอกสีขาว
  • รางจืดต้น ( Milica kityana ) เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสูง รากรางจืดต้นสามารถแก้ยาพิษได้
  • ว่านรางจืด จัดอยู่ในกลุ่มว่าน ลำต้นอยู่ใต้ดิน เนื้อของหัวสีขาว มีกลิ่นหอม

ลักษณะของต้นรางจืด

ต้นรางจืด เป็นพืชเถา รางจืด เป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำ ต้นรางจืดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในฤดูฝน ลักษณะของต้นรางจืด มีดังนี้

  • ลำต้นรางจืด ลักษณะเป็นเถา ยาวและเลื้อยเกาะตามพื้นที่ต่างๆ เนื้อไม้แข็ง ลักษณะกลมเป็นปล้อง ลำต้นมีสีเขียว ลำต้นไม่มีขน
  • ใบรางจืด เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบคล้ายหัวใจ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบมีสีเขียว
  • ดอกรางจืด เป็นช่อ ออกดอกตามซอกใบ ดอกมีสีม่วงอมฟ้า ดอกมีน้ำหวานภายในหลอด
  • ผลรางจืด ลักษณะเป็นฝัก กลม ปลายผลจะเป็นงอย ผลแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก

สารที่พบในรางจืด

สารเคมีที่พบในรางจืด มีสารในกลุ่มโพลีฟีนอล ( polyphenol ) และ ฟลาโวนอยด์ ( flavonoid ) รายละเอียด ดังนี้

  • กรดฟีนอลิค ( phenolic acid ) คือ กรดแกลลิก ( gallic acid ) กรดคาเฟอิค ( caffeic acid ) และ กรดโปรโตคาเทคซูอิค  ( protocatechuic acid )
  • ฟลาโวนอยด์ ( flavonoid ) ได้แก่ อาพิจินิน (apigenin) และ อาพิจินิน กลูโคไซด์ ( apigenin glucoside ) ซึ่งอาพิจินิน เป็นสารสำคัญสามารถยับยั้งพิษของสารหนูได้
  • อนุกรมวิธานของรางจืด ประกอบด้วย Kingdom : Planatae ,  Phylum : Magnoliophyta , Class: Magnoliopsida , Order : Scrophulariales , Family : Acanthaceae , Genus : Thunbergia และ Species : Laurifolia Linn.

สรรพคุณของรางจืด

การใช้ประโยชน์จากรางจืด ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบรางจืด รากรางจืด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ใบและรากของรางจืด สรรพคุณใช้รักษาแผล นำมาพอกแผล ทำเป็นยาถอนพิษไข้ ถอนพิษอาหาร พิษเบื่อเมา แก้อาการเมาค้าง
  • ใบของรางจืด สรรพคุณใช้ถอนพิษไข้ แก้พิษเบื่ออาหาร
  • รากรางจืด สรรพคุณบรรเทาอาการท้องเสีย รักษาโรคผิวหนัง ลดอาการแพ้ที่ผิวหนัง รักษาผื่นคัน แก้พิษยาฆ่าแมลงในสัตว์ รักษาพิษสุราเรื้อรัง ช่วยล้างพิษที่สะสมในร่างกาย ถอนพิษเบื่อเมา ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

โทษของรางจืด

สำหรับการใช้ประโยชน์จากรางจืด ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ใช้ในปริมาณมากและไม่ใช้ติดต่อกันนานเกินไป โดยข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากรางจืด มีดังนี้

  • ไม่ควรดื่มน้ำที่คั้นจากรางจืด ติดต่อกันนานเกินไป เพราะ อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ รางจืดจะเป็นพิษต่อร่างกายก็ตาม การรับประทานยาสมุนไพรชนิดใดๆ ก็ตามติดต่อกันเป็นเวลานานควรตรวจเลือด ค่าตับและไตด้วย
  • หากมีแผนในการเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานรางจืด อย่างน้อย 14 วัน
  • รางจืด สรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด การรับประทานรางจืด ควรระวังเรื่องระดับน้ำตาลในเลือด อย่าให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป
  • รางจืด อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น ผื่นคัน

รางจืด ว่านรางจืด สมุนไพรไทย สรรพคุณช่วยขับพิษ บำบัดอาการติดยาเสพติด ลักษณะของต้นรางจืดเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของรางจืด สรรพคุณของรางจืด ขับสารพิษในร่างกาย ป้องกันมะเร็ง ช่วยสมานแผล รักษาโรคผิวหนัง โทษของรางจืดมีอะไรบ้าง

คื่นช่าย นิยมนำมาทำอาหาร ขึ้นฉ่าย คื่นไฉ่ คื่นช่าย คื่นฉ่าย คื่นไช่ ต้นคื่นฉ่ายเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยดับคาว บำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร โทษของคื่นฉ่ายมีอะไรบ้างคื่นฉ่าย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นขึ้นฉ่าย ต้นคื่นไฉ่ ต้นคื่นช่าย ต้นคื่นฉ่าย ต้นคื่นไช่ ( Celery ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของคื่นฉ่าย คือ Apium graveolens L. ชื่อเรียกอื่นของคื่นฉ่าย เช่น ผักข้าวปีน , ผักปืน , ผักปิ๋ม เป็นต้น พืชตระกูลผักชี สมุนไพรมีกลิ่นหอม นิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร เพิ่มความหอมให้น้ำซุป

ชนิดของคื่นช่าย

ผักคื่นฉ่ายโดยทั่วไป มีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ คื่นฉ่ายฝรั่ง และ คื่นฉ่ายจีน โดยรายละเอียด ดังนี้

  • คื่นฉ่ายฝรั่ง ลักษณะต้นใหญ่ อวบน้ำ ความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นสีเหลืองอมเขียว
  • คื่นฉ่ายจีน ลักษณะต้นเล็ก อวบน้ำ ความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้นมีสีเขียว

ลักษณะของต้นคื่นฉ่าย

ต้นขึ้นฉ่าย เป็นผักสวนครัว พืชล้มลุก มีกลิ่นหอม สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นคื่นฉ่าย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นคื่นฉ่าย มีสีเขียว อวบน้ำ เนื้อลำต้นอ่อน ความสูงของต้นประมาณ 30 เซนติเมตร ภายในลำต้นกลวง
  • ใบคื่นฉ่าย ใบมีสีเขียว ลักษณะของใบเป็นใบแบบขนนก เป็นแฉกๆ ขอบใบหยัก ใบมีกลิ่นหอม
  • ดอกคื่นฉ่าย ดอกมีสีขาว ขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อ
  • ผลค่ืนฉ่าย ลักษณะกลมรี สีน้ำตาล มีขนาดเล็ก ผลมีกลิ่นหอม ภายในมีเมล็ดสามารถนำไปขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของคื่นช่าย

สำหรับการบริโภคคื่นช่าย นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน รับประทานทั้งต้น ใส่ในน้ำแกงให้กลิ่นหอม และ รสชาติของแกงที่มีเอกลักษณ์ นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของคื่นช่ายและสารต่างๆในคื่นช่าย มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของขึ้นฉ่าย ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 67 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม
น้ำตาล 1.4 กรัม กากใยอาหาร 1.6 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.7 กรัม น้ำ 95 กรัม ธาตุแคลเซียม 40 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.2 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 11 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 260 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 80 มิลลิกรัม  และ
ธาตุสังกะสี 0.13 มิลลิกรัม

ในคื่นช่ายขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆมากมาย ประกอบด้วย วิตามินเอ 22 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.021 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.057 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.323 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.074 มิลลิกรัม วิตามินบี9 36 ไมโครกรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม และ วิตามินเค 29.3 ไมโครกรัม

สารสำคัญที่พบในขึ้นฉ่าย คือ น้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีสารต่างๆ ประกอบด้วย สารดี-ไลโมนีน ซีลินีน และ สารจำวพธาไลเตส นอกจากนี้ยังมีสารอื่นๆ แต่พบในปริมาณน้อย ประกอบด้วย แซนตารอล ยูเดสมอล ไดไฮโดรคาร์โวน และ กรดไขมัน

สรรพคุณของคื่นฉ่าย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากคื่นฉ่าย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น นิยมใช้ประโยชน์โดยการรับประทานทั้งต้นของคื่นช่าย โดยสรรพคุณของต้นคื่นช่าย มีดังนี้

  • ช่วยกระตุ้นให้อยากกินอาหารมากขึ้น ช่วยเจริญอาหาร
  • บำรุงเลือดและหัวใจ ทำให้ระบบไหลเวียนดลหิตดี ช่วยขยายตัวของหลอดเลือด ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยปรับสมดุลของกรดและด่างในเลือด ช่วยลดความดันโลหิต ชวยลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด
  • มีเบต้าแคโรทีน ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยรักษาโรคปวดข้อต่างๆ  อาการปวดตามปลายประสาท
  • บำรุงสมอง ช่วยให้ผ่อนคลาย ทำให้หลับสบาย ลดโอกาสการเกิดอัลไซล์เมอร์ แก้เวียนหัว ลดอาการอาเจียน
  • ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ รักษาโรคหอบหืด ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยลดไข้ ช่วยขับร้อนในร่างกาย
  • บำรุงระบบาทงเดินอาหาร ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหาร รักษาโรคบิด รักษาท้องร่วง ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในกระเพาะ
  • ช่วยขับประจำเดือน สำหรับสตรีประจำเดืนไม่มาตามปรกติ แก้อาการปวดประจำเดือน
  • ช่วยบำรุงตับและไต ลดอาการบวมน้ำ
  • รักษาโรคผิหนัง ช่วยแก้ลมพิษ รักษาผดผื่นคัน รักษาฝีฝักบัว
  • ช่วยคุมกำเนิด ลดปริมาณการสร้างอสุจิในเพศชาย ช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์

โทษของคื่นช่าย

สำหรับการรับประทาน หรือ ใช้ประโยชน์จากคื่นช่าย มีข้อควรระวังในการรับประทานขึ้นฉ่าย ดังนี้

  • คื่ช่วยมีสรรพคุณช่วยคุมกำเนิด ลดปริมาณการสร้างอสุจิในเพศชาย ช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์ สำหรับคนที่ต้องการมีบุตร ต้องลดการกินคื่นช่าย หรือ สารสกัดจากคื่นช่าย
  • การกินขึ้นฉ่ายในปริมาณมาก อาจจะทำให้เป็นหมันได้ เพราะ ทำให้อสุจิลดลง
  • คื่นช่ายมีน้ำมันหอมระเหย การสัมผัสต้นขึ้นฉ่าย ในคนที่มีอาการแพ้อาจทำให้เกิดผื่นคันได้
  • สารสกัดจากขึ้นฉ่าย มีสรรพคุณช่วยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนสีิวให้มีสีน้ำตาลมากขึ้น

 

คื่นช่าย คือ ผักสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ให้กลิ่นหอม เขียนได้หลายชื่อ เช่น ขึ้นฉ่าย คื่นไฉ่ คื่นช่าย คื่นฉ่าย คื่นไช่ ลักษณะของต้นคื่นฉ่ายเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยดับคาว ช่วยบำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร โทษของคื่นฉ่าย มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย