ต้นมะขาม Tamarind นิยมทานผลมะขาม ผลไม้ รสเปรี้ยวหวาน ต้นมะขามเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณเป็นยาระบาย บำรุงผิว แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม โทษของมะขามมะขาม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้

มะขาม มีชื่อสามัญ ว่า Tamarind ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะขาม คือ  Tamarindus indica L. พืชตระกูลถั่ว มะขาม เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้น ถิ่นกำเนิดของมะขาม มาจากทวีปแอฟริกา มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศแถบเอเชีย จากช่องทางการค้าทางเรือ มะขามในความเชื่อตามตำราพรหมชาติ มะขามเป็นไม้มงคล ช่วยป้องกันสิ่งเลวร้าย ทำให้เป็นคนเกรงขาม

มะขามในประเทศไทย

มะขามในประเทศไทย จัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง สำหรับจังหวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องมะขาม คือ เพชรบูรณ์ มีฉายาว่า เมืองมะขามหวาน เป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับ การปลูกมะขาม มะขามในประเทศไทย มี 2 กลุ่ม คือ มะขามเปรี้ยว ( sour tamarind ) และ มะขามหวาน ( sweet tamarind )

คุณค่าทางโภชนาการของมะขาม

สำหรับ ประโยชน์ของมะขาม นักโภชนากการ ได้ ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของมะขาม ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะขามดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 239 กิโลแคลอรี

มะขามดิบ ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 62.5 กรัม น้ำตาล 57.4 กรัม กากใยอาหาร 5.1 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม ธาตุแคลเซียม 74 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.8 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 92 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 113 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 628 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม และสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

มะขามดิบ ขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินบี 1 0.428 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.152 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.938 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.143 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.066 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม โคลีน 8.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.1 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.8 ไมโครกรัม

ลักษณะของต้นมะขาม

ต้นมะขาม คือ ไม้ยืนต้น ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ลักษณะแตกกิ่งก้านสาขามาก ไม่มีหนาม ลักษณะของต้นมะขาม มีดังนี้

  • ลำต้นมะขาม ตั้งตรง สูงประมาณ 10-15 เมตร เปลือกขรุขระ หนา สีน้ำตาลอ่อน
  • ใบมะขาม มีขนาดเล็ด จำนวนมาก ใบเป็นใบประกอบ ปลายใบและโคนใบมน
  • ดอกมะขาม ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก สีเหลือง มีจุดประสีม่วงแดง
  • ผลมะขาม ออกเป็นฝักยาว ฝักอ่อนเปลือกสีเขียวอมเทา หรือ สีน้ำตาลเกรียม มีเนื้อในติดกับเปลือก ส่วนฝักแก่ฝัก เปลือกแข็งกรอบ และ หักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในเป็นสีน้ำตาล เนื้อมะขามแก่มีรสเปรี้ยว มีเมล็ด

สรรพคุณของมะขาม

สำหรับมะขาม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค มะขามนิยมนำใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง และ ปรุงรสชาติของอาหาร สรรพคุณของมะขาม มีดังนี้

  • รากมะขาม สรรพคุณ แก้ท้องร่วง ช่วยสมานแผล รักษาเริม รักษางูสวัด
  • เปลือกต้นมะขาม สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้ไข้ แก้ตัวร้อน
  • แก่นไม้มะขาม สรรพคุณช่วยขับโลหิต ขับเสมหะ รักษาฝีในมดลูก รักษาโรคบุรุษ เป็นยาชักมดลูก ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ สำหรับสตรีหลังคลอด
  • ใบมะขาม มีความเป็นกรดเล็กน้อย สรรพคุณเป็นยาถ่าย ช่วยขับถ่าย ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ไอ แก้ปวดท้อง รักษาไข้หวัด ขับเสมหะ แก้ตาอักเสบ ฟอกโลหิต ขับเหงื่อ
  • เนื้อของผลมะขาม สรรพคุณแก้ท้องผูก เป็นยาระบาย ขับเสมหะ แก้ไอ แก้กระหายน้ำ ช่วยเจริญอาหาร
  • ผลมะขามดิบ สรรพคุณช่วยฟอกเลือด ลดความอ้วน เป็นยาระบายอ่อนๆ ลดอุณหภูมิในร่างกาย ลดไข้
  • เนื้อในเมล็ดมะขาม สรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลม ถ่ายพยาธิเส้นด้าย
  • เปลือกเมล็ดมะขาม สรรพคุณแก้ท้องร่วง รักษาแผลในปาก รักษาแผลสด ถอนพิษ รักษาไฟไหม้
  • ดอกมะขาม สรรพคุณลดความดันโลหิต

โทษของมะขาม

มะขาม มีรสเปรี้ยว มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม ก็เกิดโทษได้ สำหรับข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากมะขาม มีดังนี้

  • มะขามเปียก ที่ซื้อในตลาดอาจมีสิ่งสกปรกเจือปน หากนำมาทำอาหาร หรือ รับประทานแบบไม่สะอาด อาจทำให้ท้องเสียอย่างหนัก ซึ่งมะขามมีสรรพคุณเป็นยาระบายอยู่แล้ว อาจเป็นอันตรายได้หากเกิดภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร และ ภาวะร่างกายขาดน้ำ
  • มะขามเปียกใช้ขัดผิว หรือ พอกหน้า แต่หากใช้มะขามเปียกเกินอาทิตย์ละ 2 ครั้ง อาจทำให้ผิวระคายเคืองได้
  • สำหรับการขัดผิว หรือ พอกหน้า ด้วยมะขามปียก อย่าลืมบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น ด้วยครีมบำรุงผิว และ ครีมกันแดด

การปลูกมะขาม

สำหรับการปลูกมะขาม นิยมขยายพันธุ์มะขาม โดยการทาบกิ่ง การติดตา การต่อกิ่ง มะขามขึ้นได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี ฤดูปลูกที่เหมาะสมในการปลูกมะขามคือฤดูฝน รายละเอียด การปลูกมะขาม มีดังนี้

  • เตรียมดินโดยขุดหลุมกว้าง ยาว และ ลึก ด้านละ 60 ซม.
  • ใส่ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก คลุกเคล้าดินรองก้นหลุม
  • เอากิ่งพันธุ์ ลงปลูก รดน้ำให้ชุ่ม มะขามเมื่อลงดินแล้วจะโตเร็ว
  • ควรใช้ไม้หลักพยุงไว้ให้แน่น และ บำรุงรักษาหลังเริ่มปลูก เอาใจใส่รดน้ำทุกวัน กำจัดหญ้ารอบต้น

ต้นมะขาม ( Tamarind ) พืชพื้นเมือง นิยมทานผลมะขาม เป็น ผลไม้ รสเปรี้ยว และ หวาน ลักษณะของต้นมะขาม ประโยชน์ของมะขาม สรรพคุณของมะขาม เช่น เป็นยาระบาย บำรุงผิว แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงหัวใจ โทษของมะขาม

ต้นข่า สมุนไพรพื้นบ้าน ข่านิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว ต้นข่าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนากการของข่า สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง ขับเสมหะ ขับลม โทษของข่า

ข่า สมุนไพร สมุนไพรไทย

ข่า ( Galanga ) พืชตระกลูขิง นิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารต่าง ๆ เป็นเครื่องเทศ ช่วยแต่งกลิ่นอาหาร และ ดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. ประโยชน์ของข่า ด้านการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย เช่น ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง รักษาหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร

ข่าในประเทศไทย

พื้นที่ปลูกข่าของประเทศไทย นั้นสามารถปลูกได้ทั่วไป นิยมปลูกต้นข่าที่สวนบ้านทุกบ้าน จัดว่า ข่าเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ใช้เป็นยารักษาโรค และ ส่วนประกอบของอุตสาหกรรมต่างๆ ในข่า สามารถสกัด เอาน้ำมันหอมระเหยได้ ซึ่ง ในน้ำมันหอมระเหยของข่า มี สารสำคัญ 4 ชนิด คือ trans-p-Coumaryl diacetate , 4-Hydroxycinnamoylaldehyde , 1´-Acetoxychavicol acetate และ β–Sitosterol

ข่า ภาษาอังกฤษ เรียก Galanga ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. พืชลักษณะเดียวกับ กระชาย กระชายดำ กระชายแดง กระวาน กระวานเทศ ขิง ขมิ้น เร่ว เปราะป่า เปราะหอม ว่านนางคำ และ ว่านรากราคะ ชื่อเรียกอื่นๆของข่า เช่น สะเอเชย เสะเออเคย ข่าหยวก ข่าหลวง กฎุกกโรหินี เป็นต้น

ชนิดของข่า

สำหรับสายพันธ์ข่าที่นิยมปลู มี 4 สายพันธ์ ประกอบด้วย

  • ข่าป่า พบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ และ ป่าดิบชื้น ลักษณะลำต้นสูง ใบคล้ายกับข่า ที่ปลูกทั่วไป หัวข่ามีกลิ่นฉุนไม่มาก
  • ข่าลิง หรือ ข่าน้อย ลักษณะลำต้นเล็ก
  • ข่าคม ลักษณะใบมน มีขนทั้งสองด้าน ดอกสีขาว
  • ข่าน้ำ ข่าพื้นบ้าน นิยมปลูกเพื่อจำหน่าย พบมากที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ลักษณะของต้นข่า

ข่าเป็นพืชล้มลุก มีรสเผ็ด กลิ่นฉุน อายุหลายปี สามารถขยายพันธ์ โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นข่า มีรายละเอียด ดังนี้

  • เหง้าข่า อยู่ใต้ดิน เหง้าสีน้ำตาลอมแสด เลื้อยขนานกับผิวดิน มีข้อปล้องสั้น
  • ลำต้นของข่า เป็นลักษณะกาบ ตั้งตรง แทงออกมาจากเหง้า ลักษณะอวบน้ำ กลม สีเขียว
  • ใบข่า เป็นใบเดี่ยว ใบยาว เหมือนหอก เรียงสลับ รอบลำต้น กาบใบมีขน ปลายใบแหลม ฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ
  • ดอกข่า เป็นลักษณะช่อ ออกที่ปลายยอด ช่อแยกแขนง ตั้งขึ้น มีขนาดใหญ่ สีเขียวปนเหลือง ดอกแก่เป็นสีขาวปนม่วงแดง
  • ผลแห้งแตก รูปกระสวย ทรงกลม มีเมล็ด เมล็ดข่าใช้เป็นเครื่องเทศ ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน

คุณค่าทางโภชนาการของข่า

ต้นข่ามีกลิ่นฉุน และ รสเผ็ดร้อนมาก นิยมนำมาประกอบอาหาร ข่ามีประโยชน์ในด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย นักโภชนากการำด้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของข่า โดยคุณค่าทางโภชนาการของเหง้าข่าอ่อน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่

ข่าอ่อนขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัฯ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และ วิตามินซี 23 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางสมุนไพรของข่า

ต้นข่ามีกลิ่นฉุน และ รสเผ็ดร้อน นิยมมาประกอบอาหาร มีประโยชน์ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย สรรพคุณของข่า นิยมใช้ เหง้าข่า รากข่า ดอกข่า ผลข่า และ ใบข่า ประโยชน์ทั้งหมดของข่า มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากของข่า สรรพคุณช่วยบำรุงเลือด ทำให้ระบบเลือดไหลเวียนดี ช่วยขับเสมหะ
  • เหง้าของข่า สรรพคุณ ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาหลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง แก้อาหารเป็นพิษ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาระบายอ่อน ๆ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยขับน้ำดี ช่วยขับเลือด ขับน้ำคาวปลา รักษาแผลสด ลดอาการอักเสบ แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคผิวหนัง ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา รักษากลากเกลื้อน แก้ฟกช้ำ แก้เหน็บชา บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  • ใบของข่า สรรพคุณช่วยฆ่าพยาธิ รักษากลากเกลื้อน
  • ดอกของข่า สรรพคุณแก้อาการท้องเสีย รักษาฝีดาษ
  • ผลของข่า สรรพคุณแก้ปวดฟัน รักษาโรคท้องร่วง ช่วยย่อยอาหาร

โทษของข่า

สำหรับข่า เป็นพืชที่มีรสเผ็ดร้อน การใช้ประโยชนืจากข่ามีข้อควรระวัง ดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าข่า มีความเป็นพิษปานกลาง หากได้กินน้ำมันหอมระเหยจากข่ามากเกินขนาด เป็นพิษต่อร่างกาย
  • ข่า มีความเผ้ดร้อน ทำให้ระคายเคืองผิวหนัง สำหรับคนที่ผิวหนังแพ้ข่า ทำให้มีอาการแสบร้อน

ต้นข่า คือ พืชล้มลุก สมุนไพรพื้นบ้าน พืชสวนครัว ข่า นิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว เพิ่มรสชาติอาหาร ลักษณะของต้นข่า คุณค่าทางโภชนากการของข่า สรรพคุณของข่า เช่น ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง ขับเสมหะ ช่วยขับลม โทษของข่า

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย