น้ำตาล ( Sugar ) สารให้ความหวานสกัดจากธรรมชาติ เช่น ต้นตาล ต้นอ้อย มะพร้าว ประโยชน์และสรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง และ ให้พลังงานต่อร่างกาย โทษของน้ำตาลมีอะไรบ้าง

น้ำตาล สมุนไพร สมุนไพรไทย

การบริโภคน้ำตาลของโลก น้ำตาลเป็นส่วนสำคัญของอาหารมนุษย์ และเป็นแหล่งให้พลังงานของโลก หลังจากธัญพืชและน้ำมันพืช น้ำตาลที่ได้จากอ้อยและหัวผักกาดให้กิโลแคลอรีต่อหัวเฉลี่ยวันละกว่ากลุ่มอาหารอื่น ๆ จากรายงานขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือ FAO ค่าเฉลี่ยของการบริโภคน้ำตาลต่อคนคือ 24 กิโลกรัมต่อปีต่อคน เทียบเท่ากับพลังงานกว่า 260 แคลอรี่อาหารต่อวันในปี 1990 แม้จะมีการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์การบริโภคน้ำตาลที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 25.1 กิโลกรัมต่อคนต่อปีในปี 2015

ประเภทของน้ำตาล

น้ำตาล เป็นสารให้ความหวาน ซึ่งน้ำตาลได้จากการสกัดจากธรรมชาติ ซึ่งมีหลายประเภท โดยประเภทของน้ำตาล มีดังนี้

  • น้ำตาลทรายดิบ ( Raw Sugar ) จะมีสีน้ำตาลเข้ม มีสิ่งสกปรกเจือปนอยู่ ยังไม่สะอาด เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำตาลทรายขาว
  • น้ำตาลทรายดิบคุณภาพสูง ( High Pol Sugar ) คือ น้ำตาลที่สามารถนำไปบริโภคได้โดยตรง สีของน้ำตาลเป็นสีเหลืองแกมน้ำตาล ซึ่งผ่านกระบวนการทำให้น้ำตาลบริสุทธิ์บางส่วน น้ำตาลชนิดมีราคาถูกกว่าน้ำตาลทรายขาว
  • น้ำตาลทรายขาว ( White Sugar ) คือ น้ำตาลลักษณะเป็นเม็ดละเอียดเหมือนทราบสีขาว เป็นน้ำตาลที่ผ่านการสกัดเอาสิ่งเจือปนออก เป็นน้ำตาลที่นิยมใช้บริโภค
  • น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ( Refined Sugar ) คือ มีลักษณะเป็นเม็ดสีขาวใส เป็นน้ำตาลที่ผ่านกระบวนการผลิตทำให้น้ำตาลบริสุทธิ์ นิยมใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้น้ำตาล เช่น น้ำอัดลม เครื่องดื่มบำรุงกำลัง เป็นต้น
  • น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์พิเศษ ( Super Refined Sugar ) คือ น้ำตาลที่สกัดพิเศษมีความบริสุทธิ์สูง ใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้น้ำตาลที่มีความบริสุทธิ์มาก ๆ
  • น้ำตาลปี๊บ ( Paste Sugar ) คือ น้ำตาลที่เคี่ยวจนเข้มข้น แล้วนำไมาทำให้น้ำตาลแข็งตัวโดยใช้ลมเย็น
  • น้ำตาลทรายแดง ( Brown Sugar ) คือ น้ำตาลทรายที่ไม่ผ่านกระบวนการขัดสี
  • น้ำเชื่อม ( Liquid Sugar ) คือ น้ำตาลผสมน้ำ เป็นของเหลวที่มีความหวาน นิยมนำมาใช้เพื่อความสะดวกในกระบวนการผลิตต่าง ๆ เช่น น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น
  • น้ำตาลแร่ธรรมชาติ ( Mineral Sugar ) คือ น้ำตาลที่ผสมคาราเมล ซึ่งได้มาจากการเคี่ยวน้ำตาลกับเอโมลาส
  • กากน้ำตาล ( Molasses ) คือ น้ำตาลที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาล นิยมนำมาใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ สุรา ผงชูรส น้ำส้มสายชู เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำตาล

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของน้ำตาลทรายขาว และ น้ำตาลทรายแดง โดยพบว่ามีสารอาหารต่างๆ มากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำตาลทรายขาว ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 387 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 99.98 กรัม น้ำตาล 99.80 กรัม น้ำ 0.02 กรัม วิตามินบี2 0.019 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 1 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.05 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 2 มิลลิกรัม โซเดียม 1 มิลลิกรัม และ สังกะสี 0.01 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำตาลทรายแดง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 380 กิโลแคลอรี่ พบว่าให้สารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 0.12 กรัม คาร์โบไฮเดรต 98.09 กรัม น้ำตาล 97.02 กรัม น้ำ 1.34 กรัม วิตามินบี3 0.110 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.041 มิลลิกรัม วิตามินบี9 1 ไมโครกรัม แคลเซียม 83 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.71 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 133 มิลลิกรัม โซเดียม 28 มิลลิกรัม และ สังกะสี 0.03 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของน้ำตาล

การใช้ประโยชน์จากน้ำตาล นั้น ส่วนมาก ใช้เป็นสารในการปรุงแต่งรสชาติของอาหาร ให้ความหวาน โดยประโยชน์ของน้ำตาล มีมากกว่าการนำมาปรุงรสชาติ แต่มักเป็นประโยชน์ด้านอาหาร สรุปประโยชน์ของน้ำตาล มีดังนี้

  • น้ำตาลให้ความหวาน ให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่น มีกำลัง
  • การทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย ต้องการพลังงานที่มาจากน้ำตาล กลูโคส ( glucose ) คือ แหล่งอาหารที่จำเป็นต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ
  • น้ำตาลช่วยในการถนอมอาหาร และ ใช้หมักอาหารได้

สรรพคุณของน้ำตาล

สำหรับสรรพคุณของน้ำตาล ในด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกายนั้น ประกอบด้วย

  • น้ำตาลมีรสหวาน สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง
  • ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี
  • น้ำตาลช่วยดับร้อน ถอนพิษ แก้อาการอักเสบ
  • ช่วยรักษาปากเป็นแผล
  • น้ำตาลช่วยแก้เจ็บคอ รักษาอาการไอมีเสมหะ
  • น้ำเชื่อมสามารถใช้เป็นยารักษาบาดแผลเน่าเปื่อยได้ ทำให้เซลล์ผิวหนังถูกกระตุ้น ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
  • น้ำตาลช่วยแก้ปวด
  • สำหรับสตรีมีอาการปวดประจำเดือน ปวดท้องน้อย ประจำเดือนมีลิ่มเลือด ดื่มน้ำผสมกับน้ำตาลทรายแดงอุ่นๆ จะทำให้สบายตัวมากขึ้น

โทษของน้ำตาล

สำหรับการกินน้ำตาล ต้องกินในปริมาณที่เหมาะสม หากกินน้ำตาลมากเกินไป จะทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย โดยโทษของ

  • ความหวานของน้ำตาล หากเกิดการสะสมในร่างกายมากเกินไป จะทำให้น้ำตาลสะสมในเลือด ส่งผลต่อโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ระบบการย่อยอาหารไม่ดี มีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป ทำให้ฟันผุ ฯลฯ[1]
  • น้ำตาลเมื่อเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป ทำให้ตับอ่อนทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน เสื่อมสมรรถภาพ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • การกินน้ำตาลมากเกินไป จะเป็นตัวเร่งการขับแร่ธาตุโครเมียมออกจากร่างกาย ผ่านทางไต ซึ่งแร่โครเมียม เป็นแร่ธาตุเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลิน สารที่ใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • น้ำตาลที่สะสมในร่างกาย จะถูกเก็บไว้ที่ที่ตับ หากมีปริมาณมากเกินไปตับจะส่งไปยังกระแสเลือด และ เป็นกรดไขมัน เพื่อนำไปสะสมในร่างกาย ส่วนที่เคลื่อนไหวน้อย เช่น สะโพก ก้น หน้าท้อง ขาอ่อน เป็นต้น
  • น้ำตาลทำให้เลือดมีสภาพเป็นกรดมากเกินไป ทำให้ร่างกายไม่สมดุล
  • การกินน้ำตาลมากเกินไป เร่งให้เกิดอาการปวดศีรษะเรื้อรัง โรคไมเกรน สิว ผื่น ตกกระ ตะคริวในช่วงมีรอบเดือน แผลพุพอง แผลริดสีดวงทวาร มะเร็งตับ เบาหวาน โรคหัวใจ วัณโรค
  • น้ำตาลที่สะสมในช่องปาก เป็นอาหารชั้นดีของแบคทีเรีย ทำให้เกิดฟันผุ
  • การกินน้ำตาลมากเกินไป ทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง ทำให้รู้สึกง่วงนอน

น้ำตาล ( Sugar ) คือ สารที่ให้ความหวาน ซึ่งได้จากการสกัดจากธรรมชาติ เช่น ต้นตาล ต้นอ้อย มะพร้าว ประโยชน์ของน้ำตาล สรรพคุณของน้ำตาล ช่วยบำรุงกำลัง และ ให้พลังงานต่อร่างกาย โทษของน้ำตาล มีอะไรบ้าง

แหล่งอ้างอิง

  • “Food Balance Sheets”. Food and Agriculture Organization of the United Nations. 2007.
  • “World agriculture: towards 2015/2030”. Food and Agriculture Organization of the United Nations. ISBN 92-5-104761-8.
  • Welsh, Jean A.; Andrea J Sharma; Lisa Grellinger; Miriam B Vos (2011). “Consumption of added sugars is decreasing in the United States”. American Journal of Clinical Nutrition. 94. American Society for Nutrition. 726–734. สืบค้นเมื่อ January 18, 2014.
  • “Sugar: World Markets and Trade” (PDF). United States Department of Agriculture: Foreign Agriculture Service. May 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-11-26. สืบค้นเมื่อ 2012-09-07.

ดินสอพอง มีฤทธิ์เย็น นิยมนำดินสอพองมาใช้เป็นแป้งทาตัว เพื่อให้ร่างกายเย็นสบาย ช่วยผ่อนคลาย ดินสอพองผสมกับน้ำอบทาตัวให้หอม สรระคุณบำรุงผิว

ดินสอพอง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ลักษณะของดินสอพอง

สำหรับ ดินสอพอง นั้นมีลักษณะเป็นผง และ ก้อน มีสีขาว มีคุณสมบัติมีฤทธิ์เย็น นิยมนำดินสอพองมาใช้เป็นแป้งทาตัว เพื่อให้ร่างกายเย็นสบาย ช่วยผ่อนคลาย โดยนิยมนำดินสอพองผสมกับน้ำอบมาทาตัวให้หอม

ดินสอพองในประเทศไทย

พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2544 ได้ให้นิยามดินสอพองว่าเป็น หินปูนเนื้อมาร์ล ( marly limestone ) ที่เป็นดินที่เนื้อเป็นสารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเอามะนาวบีบใส่ น้ำมะนาวมีความเป็นกรด ซึ่งเมื่อทำปฏิกิริยากับแคลเซียมคาร์บอเนตจะเกิดเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นฟองฟูขึ้น หากดูเผินๆ จะเห็นว่าดินนั้นพองตัว จึงเรียกกันว่า ดินสอพอง สมัยโบราณใช้ทำแป้งทาร่างกาย เพื่อให้เย็นสบาย นำมาผสมกับน้ำหอม เรียก แป้งกระแจะ ทำยาสีฟัน ปัจจุบันใช้ดินสอพองแก้ปัญหาดินเปรี้ยว นำมาส่วนผสมทำธูป ทำปูนซีเมนต์ เพราะ เสียค่าขุดและค่าบดต่ำกว่าใช้หินปูนซึ่งมีเนื้อเป็นสารประกอบชนิดเดียวกัน แหล่งใหญ่ในประเทศไทยมีในท้องที่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี

สมัยโบราณใช้ดินสอพองเป็นเครื่องประทินผิว ทาตัวเด็กแก้ผื่นคัน ใช้ทาพื้นที่ลงรักให้เห็นลายชัดเจน ดินสอพองที่ใช้ทำยาจะนำไปสะตุ โดยอบในหม้อดินจนแห้ง ดินสอพองสะตุใช้ทำยารักษาแผลกามโรค แผลเรื้อรัง คำว่าสอในดินสอพองนั้นมาจากภาษาเขมรแปลว่าขาว ดินสอพองจึงหมายถึงดินสีขาวที่ไม่แข็งตัว

ประโยชน์และสรรพคุณของดินสอพอง

ดินสอพอง จัดว่าเป็น สมุนไพรประเภทแร่ธาตุ เป็นยาสมุนไพร ตามตำรับยาแผนโบราณ จากประวัติศาสตร์พบว่ามีการนำ ดินสอพอง มาใช้เป็นยา ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากตำราพระโอสถพระนารายณ์ ซึ่งเราสามารถสรุปประโยชน์ของดินสอพอง ได้ดังนี้

  • ดินสอพอง สรรพคุณเป็นยาเย็น ใช้ลดความร้อนในร่างกาย แก้อักเสบ รักษาผดผื่นคัน และ ช่วยห้ามเหงื่อ ทำให้ร่างกายเย็นสบาย
  • ดินสอพองใช้ป้องกันผิวจากแสงแดด ดินสอพองใช้ทาหน้าป้องกันแสงแดดได้
  • ดินสอพองใช้รักษาผิวหน้า สรรพคุณช่วยขจัดสิวเสี้ยนได้ ลดอาการปวดบวม แก้อักเสบ ช่วยปรับสภาพผิวให้ดีขึ้น ดินสอพองเหมาะสำหรับคนผิวมัน
  • ดินสอพองใช้ขัดผิว เมื่อนำมาผสมกับขมิ้นและมะขามเปียก นำมาขัดหน้า ขัดผิว ช่วยให้ผิวพรรณสวยสดใส
  • ดินสอพองมาผสมกับใบทองพันชั่ง จะมีสรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน
  • ดินสองพองนำมาผสมกับขมิ้นชัน ไพล เหงือกปลาหมอ จะช่วยบำรุงผิวให้เรียบเนียน
  • ดินสอพองใช้ลดอาการแก้ที่ผิวหนัง โดยนำดินสอพองผสมกับใบเสลดพังพอน ใช้ทาผิว
  • ดินสอพองช่วยดับพิษร้อน ช่วยขับสารพิษจากเผ็ดพิษ
  • ดินสอพองแก้อักเสบ บวมช้ำ โดยนำดินสอพองผสมกับน้ำมะกรูด ทาที่แผลโน

ดินสอพองมีแคลเซียมคาร์บอเนต สรรพคุณช่วยดูดซับความมัน ซึ่งความมันเป็นสาเหตุของการอักเสบที่รูขุมขน โดยเราได้นำเสนอสูตรการดูแลผิว จากดินสอพอง มาให้ 4 สูตร สำหรับเพื่อนนำไปใช้ประโยชน์ มีดังนี้

  • สูตรที่ 1 ดินสอพองกับน้ำมะนาว โดยส่วนผสม ประกอบด้วย ดินสอพอง 2 ช้อนโต๊ะ มะนาว 2 ช้อนชา โดยนำมาผสมกันและ นำมาพอกใบหน้าให้ทั่ว เว้นรอบดวงตาและริมฝีปากไว้ ทิ้งไว้ 15 นาที และล้างออก จะช่วยรักษาปัญหาผิวมันที่มี รูขุมขนกว้าง และมีสิวเสี้ยน
  • สูตรที่ 2 สอพองกับน้ำผึ้ง โดยส่วนผสม ประกอบด้วย ดินสอพองสะตุ 2 ช้อนโต๊ะ น้ำผึ้ง 2 ช้อนชา น้ำเปล่า 1/2 ช้อนชา น้ำมันมะพร้าว 1/2 ช้อนชา นำมาผสมกัน และนำมาพอกใบหน้า ประมาณ 20 นาที ช่วยลดปัญหาผิวแห้งเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหน้า
  • สูตรที่ 3 ดินสอพองกับขมิ้นและน้ำนม ส่วนผสม ประกอบด้วย ดินสอพองสะตุ 3 ช้อนโต๊ะ นมสด 2 ช้อนชา ผงขมิ้น 1 ช้อนชา นำมาผสมกัน และ ใช่พอกหน้า ประมาณ 20 นาที ช่วยให้ผิวเนียนนุ่ม ชุ่มชื่น ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย แก้ผดผื่นคัน ทำให้บำรุงผิวเปล่งปลั่ง

โทษของดินสอพอง

ในการใช้ประโยชน์จากดินสอพอง ใช้เพื่อบำรุงผิวหน้า และ ป้องกันการเกิดสิว แต่ดินสอพองจะอยู่ในรูปแบบผง หากไม่ระมัดระวังในการใช้ ก็อาจสูดดมผงเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดปัญหาที่ระบบทางเดินหายใจได้

ดินสอพอง คือ แร่ธาตุที่ได้จากธรรมชาติ มีฤทธิ์เย็น นิยมนำมาใช้ทำเป็นแป้ง ประโยชน์และสรรพคุณของดินสอพอง ใช้ดูแลผิวพรรณ รักษาสิว ซึ่งดินสอพอง ประกอบไปด้วย แคลเซียมคาร์บอเนต (CO3) ร้อยละ 80 แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก แคลเซียม ซิลิกา และ อาราโกไนต์ เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง

  • Schurrenberger, D., Russell, J. and Kerry Kelts. 2003. Classification of lacustrine sediments based on sedimentary components. Journal of Paleolimnology 29: 141-154.
  • Chalk of Kent by C. S. Harris Accessed 11/06/2005
  • Geochemistry and time-series analyses of orbitally forced Upper Cretaceous marl–limestone rhythmites, abstract Accessed 11/06/2005
  • Palaeoenvironmental Interpretation of the Early Postglacial Sedimentary Record of a Marl Lake Accessed 11/06/2005
  • Sedimentary Rocks. Pettijohn, F. J., Harper& Brothers New York 1957, p. 410
  • ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 4 เครื่องยาธาตุวัตถุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2556.
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย