ผักบุ้ง นิยมนำมาทำเป็นอาหารรับประทาน ต้นผักบุ้งเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้ง สรรพคุณบำรุงสายตา มีกากใยอาหาร ช่วยการขับถ่าย โทษของผักบุ้ง มีอะไรบ้างผักบุ้ง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นผักบุ้ง ( Swamp morning glory ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักบุ้ง คือ Ipomoea aquatica Forssk. ชื่อเรียกอื่นๆของผักบุ้ง เช่น ผักทอดยอด ผักบุ้งไทย ผักบุ้งแดง ผักบุ้งน้ำ ผักบุ้งนา กำจร เป็นต้น สำหรับอาหารไทย นิยมนำผักบุ้งมาประกอบอาหาร หลายเมนูอาหาร เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง สุกี้ แกงส้ม แกงเทโพ เป็นต้น

ผักบุ้งในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย นั้น นิยมรับประทานผักบุ้งเป็นอาหาร มีเมนูอาหารหลากหลายเมนูอาหาร ที่มีผักบุ้งเป็นส่วนประกอบ รวมถึงการรับประทานผักบุ้งเป็นผักสด ผักบุ้ง จึงจัดเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกผักบุ้งเชิงพาณิชย์ เพื่อบริโภคภายในประเทศ แหล่งปลูกผักบุ้ง จะกระจายอยู่ทั่วประเทศ สำหรับสายพันธ์ผักบุ้ง ที่นิยมนำมาประกอบอาหาร มีผักบุ้ง 3 สายพันธุ์ คือ ผักบุ้งไทย ผักบุ้งนา และ ผักบุ้งจีน โดยรายละเอียดของสายพันธ์ผักบุ้ง ที่ควรรู้จักจะกล่าวในเนื้อหาถัดไป

สายพันธุ์ผักบุ้ง

สำหรับผักบุ้ง มีหลายสายพันธ์ุ แต่ มี 3 สายพันธ์ุ ที่นิยมปลูกและรับประทานในประเทศไทย มี 3 สายพันธุ์ คือ ผักบุ้งไทย ผักบุ้งจีน และ ผักบุ้งน้ำ รายละเอียดแต่ละสายพันธุ์ มีดังนี้

  • ผักบุ้งไทย หรือเรียกอีกชื่อว่า ผักบุ้งน้ำ เป็นผักบุ้งที่ขึ้นตามแหล่งน้ำ ใบยาว เรียว ลำต้นมีขนาดเล็ก นิยมนำมาทำอาหารไทย เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง
  • ผักบุ้งจีน คือ ผักบุ้งที่มีขนาดของใบและลำต้นใหญ่ ปลูกบนดิน เป็นผักบุ้งที่นิยมปลูกเพื่อการค้า
  • ผักบุ้งนา คือ ผักบุ้งพันธุ์พื้นบ้าน ลำต้นเล็ก มีสีเขียวบนแดง หรือ สีแดงน้ำตาล นิยมนำมากินเป็นผักสด แนมกับอาหารต่างๆ เช่น ลาบ ส้มตำ เป็นต้น

ลักษณะของต้นผักบุ้ง

สำหรับผักบุ้งนั้น จัดอยู่ในพืชล้มลุก ลำต้นอวบน้ำ สามารถขึ้นในน้ำและดินได้ สำหรับการขยายพันธ์ผักบุ้ง สามารถขยายพันธ์ โดยการ ปักชำ และ การเพาะเมล็ดพันธุ์ ลักษณะของต้นผักบุ้ง มีดังนี้

  • ลำต้นผักบุ้ง เป็นลักษณะปล้องๆ กลม เนื้อลำต้นอ่อน อวบน้ำ มีสีเขียว ภายในลำต้นกลวง และ มีรากออกตามปล้องของลำต้น
  • ใบผักบุ้ง เป็นใบเดี่ยว ลักษณะคล้ายสามเหลี่ยม มีสีเขียว ใบจะออกมาจากปล้องของลำต้น
  • ดอกผักบุ้ง ดอกออกเป็นช่อ ลักษณะคล้ายรูประฆัง สีขาวหรือม่วงอ่อน ดอกผักบุ้งออกได้ตลอดปี
  • เมล็ดของผักบุ้ง เมล็ดผักบุ้งพัฒนามาจากดอกผักบุ้ง ลักษณะกลมรี สีน้ำตาลเข้ม เมล็ดสามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้ง

สำหรับการบริโภคผักบุ้งนั้น นิยมบริโภคผักบุ้งทั้งสด หรือ นำมาลวก ผ่านความร้อน ซึ่งบริโภคทั้งต้นทุกส่วนของผักบุ้ง ยกเว้นรากของผักบุ้ง นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของผักบุ้ง มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้ง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานถึง 19 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.14 กรัม กากใยอาหาร 2.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 2.6 กรัม วิตามินเอ 315 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.9 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.141 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.096 มิลลิกรัม วิตามินบี9 57 ไมโครกรัม วิตามินซี 55 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 77 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.67 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 71 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.16 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 312 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 113 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.18 มิลลิกรัม

สรรพคุณของของผักบุ้ง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักบุ้ง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนของผักบุ้ง ตั้งแต่ รากผักบุ้ง ดอกผักบุ้ง ใบผักบุ้ง หรือ ทั้งต้นของผักบุ้ง โดย สรรพคุณของผักบุ้ง มีดังนี้

  • ดอกผักบุ้ง สรรพคุณใช้รักษากลากเกลื้อน รักษาแผลไฟไหม้ รักษาแผลน้ำร้อนลวก ลดอาการแพ้ แก้อักเสบ แก้ปวด ลดอาการบวม บำรุงสายตา บำรุงเลือด บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ดับร้อน แก้ปัสสาวะเหลือง
  • รากผักบุ้ง สรรพคุณแก้ไอ รักษาโรคหืด รักษาอาการตกขาว ช่วยขับเหงื่อ ลดอาการบวม
  • ใบผักบุ้ง สรรพคุณใช้ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ทำให้อาเจียน ใช้ถอนพิษยาเบื่อ ป้องกันมะเร็ง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
  • ทั้งต้นของผักบุ้ง สรรพคุณช่วยบำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา ช่วยชะลอวัย ป้องกันมะเร้ง แก้ร้อนใน ช่วยคลายร้อน บำรุงระบบประสาท ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้อาการปวดหัว แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน รักษาแผลร้อนใน รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหนองใน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย แก้อาการฟกช้ำ ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย

โทษของผักบุ้ง

สำหรับการกินผักบุ้งนั้น มีประโยชน์มากกว่าโทษ แต่การกินผักบุ้งต้องกินอย่างปลอดภัย และ กินในปริมาณที่เหมาะสม สำหรับข้อควรระวังในการบริโภคผักบุ้ง มีดังนี้

  • ผักบุ้งนิยมปลูกเชิงพาณิชย์ ซึ่งในผักบุ้งอาจเจือปนสารเคมี ยาฆ่าแมลงได้ ก่อนนำผักบุ้งมารับประทานต้องทำความสะอาดให้ดีก่อน หากล้างไม่สะอาด อาจทำให้มีสารเคมีตกค้างในร่างกาย และ ทำให้ท้องเสียจากการกินอาหารไม่สะอาด
  • ใบสดของผักบ้ง นำมาคั้นนำสดๆ กลิ่นเหม็นเขียวของผักบุ้ง ทำให้เกิดอาการอาเจียน สำหรับคนที่ไม่ต้องการอาเจียน ให้หลีกเลี้ยงการกินน้ำใบผักบุ้งตั้นสด แต่ การอาเจียน สามารถช่วยรักษาอาการเป็นพิษจากการเบื่ออาหาร หรือ แก้เมาได้

ผักบุ้ง คือ พืชล้มลุกชนิดหนึ่ง นิยมนำมาทำเป็นอาหารรับประทาน ลักษณะของต้นผักบุ้งเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้ง สรรพคุณของผักบุ้ง เช่น บำรุงสายตา มีกากใยอาหาร ช่วยการขับถ่าย โทษของผักบุ้ง มีอะไรบ้าง

เผือก ( Taro ) สมุนไพร หัวเผือกเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต ลักษณะของต้นเผือก คุณค่าทางโภชนาการของเผือก ประโยชน์และสรรพคุณของเผือก เช่น บำรุงกำลัง ช่วยการขับถ่าย

เผือก สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นเผือก ( Taro ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของเผือก คือ Colocasia esculenta (L.) Schott ชื่อเรียกอื่นๆของเผือก เช่น ตุน บอนเขียว บอนจีนดำ บอนท่า บอนน้ำ โอ่วไน โอ่วถึง โทวจือ เป็นต้น สำหรับ สายพันธุ์เผือก ที่พบในไทยแบ่งได้ 4 พันธุ์ คือ เผือกหอม เผือกเหลือง เผือกไม้ และ เผือกตาแดง

ต้นเผือก เป็นพืชตระกูลบอน มีหัวอยู่ใต้ดิน นิยมนำหัวเผือกมารับประทานเป็นอาหาร เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต สามารถกินทดแทนข้าวได้ เผือกมีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนใต้ของประเทศแถบเอเชียกลาง ซึ่งปัจจุบันการปลูกเผือกนั้นนิยมปลูกและรับประทานทั่วไป

สายพันธุ์เผือก

สำหรับต้นเผือก มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งสายพันธุ์เผือก มีมากกว่า 200 พันธุ์ ซึ่งสามารถแบ่งสายพันธุ์เผือก ได้ 2 ประเภท คือ เผือกสายพันธ์เอดโด ( eddoe ) และ เผือกสายพันธ์แดชีน ( dasheen ) รายละเอียด ดังนี้

  • เผือกสายพันธุ์เอดโด ( eddoe ) เป็นเผือกที่มีหัวขนาดไม่ใหญ่ และ มีหัวเล็กกว่าล้อมรอบอยู่หลายหัว
  • เผือกสายพันธุ์แดชีน ( dasheen ) เป็นเผือกที่มีหัวขนาดใหญ่ และ มีหัวขนาดเล็กล้อมรอบ ใช้รับประทานได้

เผือกในประเทศไทย

เผือก จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกเผือกเพื่อขาย ซึ่ง สายพันธุ์เผือกในประเทศไทย มีหลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์เผือกที่พบในประเทศไทย แบ่งได้ 4 สายพันธุ์ คือ

  • เผือกหอม เป็นชนิดหัวใหญ่ มีหัวเล็กติดอยู่กับหัวใหญ่เล็กน้อย ต้มรับประทานมีกลิ่นหอม กาบใบใหญ่สีเขียว
  • เผือกเหลือง หัวขนาดย่อม หัวสีเหลือง
  • เผือกไม้หรือเผือกไหหลำ หัวมีขนาดเล็ก
  • เผือกตาแดง ตาของหัวมีสีแดงเข้ม มีหัวเล็ก ๆ ติดอยู่รอบหัวใหญ่ เป็นกลุ่มจำนวนมาก กาบใบและเส้นใบสีแดง

แหล่งปลูกเผือกในประเทศไทย มีแหล่งปลูกเผือกที่สำคัญในทุกภาคของประเศ ได้แก่ ภาคเหนือ ( เชียงใหม่ พิษณุโลก ) ภาคกลาง  ( นครนายก นครสวรรค์ สระบุรี อยุธยา สุพรรณบุรี สิงห์บุรี นครปฐม ราชบุรี ) ภาคอีสาน ( นครราชสีมา สุรินทร์ ) ภาคใต้ ( ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราฏษ์ธานี )

ลักษณะของต้นเผือก

ต้นเผือก พืชตระกูลบอน เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ดพันธุ์ การแตกหน่อ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งการปลูกเผือก นิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนของทุกปี และเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมของทุกปี โดยลักษณะของต้นเผือก มีดังนี้

  • ลำต้นของเผือก เป็นลักษณะหัว ซึ่งอยู่ใต้ดิน ลักษณะของหัวเผือกค่อนข้างกลม เปลือกของหัวมีสีน้ำตาล ภายในหัวมีเนื้อในสีขาว
  • ใบของเผือก มีสีเขียว เป็นใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่ ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบมนเป็นเส้นๆ มีก้านใบยาว ซึ่งความยาวก้านใบประมาณ 1 เมตร
  • ดอกเผือก ออกเป็นช่อ ดอกเผือกมีสีเขียว ก้านช่อดอก มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ปลายกาบเรียวแหลมยาวคล้ายหาง ช่อดอกสั้นกว่ากาบ ดอกจะทยอยบาน
  • ผลเผือก มีสีเขียว เปลือกบาง ไม่ค่อยมีเมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของเผือก

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเผือก นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวเผือกดิบ และ ใบเผือกดิบ ซึ่งผลจากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเผือก มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของหัวเผือกดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 112 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 26.46 กรัม น้ำตาล 0.40 กรัม กากใยอาหาร 4.1 กรัม ไขมัน 0.20 กรัม โปรตีน 1.5 กรัม น้ำ 70.64 กรัม วิตามินเอ 76 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.095 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.025 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.600 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.303 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.283 มิลลิกรัม วิตามินบี9 22 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 2.38 มิลลิกรัม วิคามินเค 1.0 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 43 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.55 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 33 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.383 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 84 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 591 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 11 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.23 มิลลิกรัม ธาตุทองแดง 0.172 มิลลิกรัม และ
ธาตุซีลีเนียม 0.7 ไมโครกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบเผือกดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 42 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.7 กรัม น้ำตาล 3 กรัม กากใยอาหาร 3.7 กรัม ไขมัน 0.74 กรัม โปรตีน 5 กรัม วิตามินเอ 241 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 2,895 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 1,932 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.209 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.456 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.513 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.146 มิลลิกรัม วิตามินบี9 129 ไมโครกรัม วิตามินซี 52 มิลลิกรัม วิตามินอี 2.02 มิลลิกรัม วิคามินเค 108.6 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 107 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.25 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.714 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 60 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 648 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.41 มิลลิกรัม

สรรพคุณของเผือก

สำหรับประโยชน์ของเผือก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก หัวเปือก ใบเผือก กาบในเผือก และ น้ำยางจากเผือก โดยรายละเอียด ดังนี้

  • หัวของเผือก สามารถใช้บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง เป็นยาลดไข้ บำรุงกระดูก ช่วยป้องกันฟันผุ ช่วยในการขับถ่าย แก้ท้องเสีย ช่วยบำรุงไต
  • น้ำยางของเผือก สามารถใช้ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้
  • ใบของเผือก สามารถใช้รักษาแผล ลดอาการอักเสบ แก้ปวด รักษาโรคผิวหนัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • กาบใบของเผือก สามารถใช้รักษาแผล ถอนพิษจากแมลงกัดต่อย แก้ปวด แก้อักเสบ รักษาโรคผิวหนัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของเผือก

สำหรับการรับประทานเผือก ต้องทำให้สุกก่อน และ กำจัดยางจากเผือกก่อน หากเตรียมเผือกไม่ดีก่อนนำมารับประทาน สามารถทำให้เกิดโทษ ได้ โดย โทษของเผือก มีดังนี้

  • เผือกดิบ ไม่สามารถนำมากินได้ เนื่องจาก เผือกดิบมีผลึกแคลเซียมออกซาเลต เป็นพิษ ทำให้เกิดนิ่วในไต ทำให้เกิดการระคายเคืองลำคอ และ ระบบทางเดินอาหาร
  • สำหรับบางคนที่มอาการแพ้เผือก หากพบว่ามีอาการคันในช่องปาก ลิ้นชา หลังจากกินเผือก ต้องหยุดรับประทานและพบแพทย์ทันที
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย