ผักแพว ผักไผ่ ผักพื้นบ้าน กลิ่นหอม สมุนไพร ต้นแพวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของผักแพว สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ขับเหงื่อ บำรุงหัวใจ โทษของผักแพว เป็นอย่างไรผักแพว สมุนไพร สมุนไพรไทย

ผักแพว ( Vietnamese coriander ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักแพว คือ Polygonum odoratum Lour. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของผักแพว เช่น พริกม้า พริกม่า หอมจันทร์ ผักไผ่ จันทน์โฉม จันทน์แดง ผักไผ่น้ำ ผักแพ้ว ผักแพรว ผักแจว พริกบ้า เป็นต้น นิยมรับประทานผักแพวเป็นผักสด

ผักแพวในประเทศไทย

สำหรับผักแพวในประเทศไทย นิยมรับประทานใบสด เนื่องจากเป็นพืชมีกลิ่นหอม ต้นแพว มีการปลูกและจำหน่ายทั่วไป ผักแพว เป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกเชิงพาณิชย์ เพื่อบริโภคในประเทศ และ ผักแพวสามารถปลูกได้ทั่วประเทศ

ลักษณะของผัวแพว

ต้นผักแพว เป็นพืชล้มลุก เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุุ่มน้ำ เช่น ตามห้วย หนอง คลอง บึง หรือ แหล่งน้ำต่างๆ สำหรับการขยายพันธุ์ผักแพว สามารถขยายพันธ์ได้โดย การเพาะเมล็ด และ การปักชำ ผักแพว สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย

  • ลำต้นผักแพว ลักณะเป็นปล้อง ลำต้นสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรงเป็นข้อ รากของผักแพวออกตามข้อของลำต้น ลำต้นเลื้อยไปตามพื้นดิน
  • ใบผักแพว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามลำต้น ลักษณะของใบคล้ายรูปหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ
  • ดอกผักแพว ลักษณะของดอกออกเป็นช่อ เล็กสีขาวนวล หรือ สีชมพูอมม่วง
  • ผลผักแพว เจริญเติบโตจากดอก ซึ่งผลผักแพวมีขนาดเล็กมาก

คุณค่าทางโภชนาการของผักแพว

สำหรับการบริโภคผักแพว นิยมบริโภคใบสดๆ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผักแพวสดๆขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 54 กิโลแคลอรี และพบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 7.7 กรัม กากใยอาหาร 1.9 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 4.7 กรัม วิตามินเอ 8,112 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.59 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.7 มิลลิกรัม วิตามินซี 77 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 79 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.9 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 272 มิลลิกรัม

สรรพคุณของผักแพว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักแพว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบ ราก ดอก และ ลำต้น สรรพคุณของผักแพว มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากผักแพว สรรพคุณบำรุงระบบประสาท แก้ไอ รักษาหอบหืด รักษากระเพาะอาหารอักเสบ บำรุงระบบทางเดินอาหาร แก้ปวดเมื่อย แก้ปวดข้อและกระดูก
  • ลำต้นผักแพว สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง รักษาริดสีดวงทวาร แก้เหน็บชา
  • ดอกผักแพว สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ บำรุงปอด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ บำรุงเลือด ต้านเชื้อรา
  • ใบผักแพว สรรพคุณช่วยชะลอวัย ป้องกันมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดี รักษาโรคหวัด ช่วยขับถ่าย ป้องกันท้องผูก ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยแก้อาการเจ็บท้อง ช่วยรักษาโรคพยาธิตัวจี๊ด เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยรักษาโรคตับแข็ง ลดอาการอักเสบ ช่วยแก้เส้นประสาทพิการ รักษาเหน็บชา เป็นยาบำรุงเลือดลมของสตรี

โทษของผักแพว

สำหรับการบริโภคผักแพว เนื่องจากคุณสมบัติของผักแพวมีรสเผ็ดร้อน การกินผักแพวมากเกินไป อาจทำให้เกิดการระคายเคืองภายในร่างกาย แสบร้อนภายในช่องปาก คอ และ กระเพาะอาหาร

มะเขือยาว พืชสวนครัว นิยมรับประทานเป็นอาหาร ลักษณะของต้นมะเขือยาว เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ เช่น ขับเสมหะ ช่วยขับถ่าย โทษของมะเขือยาว มีอะไรบ้างมะเขือยาว สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะเขือยาว ( Eggplant ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะเขือยาว คือ Solanum melongena L. ชื่อเรียกของมะเขือยาว เช่น ยั่งมูไล่ สะกอวา มะเขือป๊าว มะเขือหำม้า มะแขว้ง มะแขว้งคม มะเขือกระโปกแพะ มะเขือจาน มะเขือจาวมะพร้าว มะเขือฝรั่ง เป็นต้น

ผลมะเขือยาว มีสรรพคุณพิเศษ คือ ช่วยดูดซับน้ำมันได้ดี ยับยั้งการดูดซึมของคอเลสเตอรอลผ่านหนังลำไส้ได้ สำหรับมะเขือยาว มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันมะเขือยาวสามารถปลูกทั่วไปในประเทศเขตร้อน

ลักษณะของต้นมะเขือยาว

ต้นมะเขือยาว เป็นพืชล้มลุก ลักษณะไม้พุ่มขนาดเล็ก สามารถขยายพันธ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะเขือยาว มีดังนี้

  • ลำต้นมะเขือยาว ลักษณะเป็นเถา เนื้อลำต้นอ่อน สีเขียว มีขนทั่วทั้งลำต้น ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นอาจมีหนามเล็กๆ
  • ใบมะเขือยาว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกสลับตามกิ่งก้าน ใบลักษณะกลม โคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก ใบมีขนนุ่มปกคลุมทั่ว
  • ดอกมะเขือยาว ลักษณะของดอกมะเขือยาว ออกเป็นช่อ กลีบดอกสีม่วง
  • ผลมะเขือยาว ลักษณะยาวกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีม่วงคล้ำหรือสีขาว เปลือกของผลเรียบ ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก
  • เมล็ดของมะเขือยาว ลักษณะกลมแบน

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือยาว

สำหรับการบริโภคมะเขือยาว ใช้การบริโภคผลมะเขือยาว ซึ่งคุณค่าทางโภชนาการของมะเขือยาว มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือยาวขนาด 100 กรัม สามารถให้พลังงาน 100 กิโลจูล พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 92 กรัม โปรตีน 1.6 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.0 กรัม กากใยอาหาร 1 กรัม แคลเซียม 22 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.9 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.08 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.07 มิลลิกรัม วิตามินซี 6.0 มิลลิกรัม และ ไนอาซิน 0.7 กรัม

สรรพคุณของมะเขือยาว

สำหรับการใช้ประโยชน์ของมะเขือยาว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ราก ลำต้น ใบ ผล และ ขั่วผลแห้ง ซึ่ง สรรพคุณของมะเขือยาว มีดังนี้

  • รากมะเขือยาว สรรพคุณขับเสมหะ แก้ร้อนใน แก้โรคสันนิบาต
  • ลำต้นมะเขือยาว สรรพคุณแก้ปวดท้อง รักษาอาการอุจจาระเป็นเลือด รักษาแผลเท้าเปื่อย
  • ใบมะเขือยาว สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน รักษาผลบวม รักษาแผลหนอง แก้อักเสบบวม
  • ขั้วผลแห้งมะเขือยาว สรรพคุณรักษาอาการเลือดออกในลำไส้  แก้ปวดฟัน รักษาแผลร้อนใน
  • ผลมะเขือยาว สรรพคุณแก้ปวด ขับเสมหะ รักษาอาการตกเลือดในลำไส้ รักษาแผลหนอง มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดไขมันในเส้นเลือด ลดความดันโลหิตสูง บำรุงเหงือกและฟัน บำรุงสมองและความจำ ช่วยขับถ่าย รักษาโรคผิวหนัง

โทษของมะเขือยาว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะเขือยาว มีข้อหลีกเลี่ยงในการประทานมะเขือยาว ดังต่อไปนี้

  • มะเขือยาว เป็นพืชที่มีสารเจือปนจากการปลูก การบริโภคมะเขือยาวต้องล้างให้สะอาด ก่อนนำมารับประทานอาหาร
  • มะเขือยาว ไม่ควรให้ทารกที่อายุต่ำกว่า 3 ปี รับประทานเพราะกากใยอาหารสูงอาจทำให้มีปัญหาการย่อยอาหาร
  • อย่าใช้มะเขือยาวกับคนที่มีโรคระบบทางเดินอาหารแบบเฉียบพลัน
  • สำหรับผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบ ไม่ควรรับประทานมะเขือยาว
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย