กระเทียม หัวกระเทียมนิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ต้นกระเทียมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร บำรุงผิวพรรณ ลดความดัน โทษของกระเทียม มีอะไรบ้างกระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นกระเทียม ( Garlic ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเทียม คือ Allium sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของกระเทียม เช่น หอมเทียม หอมขาว เทียม เป็นต้น กระเทียมเป็นพืชตระกูลพลับพลึง

กระเทียมในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย กระเทียม เป็นพืชเศรษฐกิจ แหล่งปลูกกระเทียมของประเทศไทย อยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระเทียมคุณภาพดีที่สุด คือ กระเทียมของศรีสะเกษ กระเทียม สามารถปลูกได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย เนื่องจากสภาพดินและอากาศของประเทศไทยเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกระเทียม

ลักษณะของต้นกระเทียม

ต้นกระเทียม จัดเป็นพืชล้มลุก มีหัวอยู่ใต้ดิน โดยสามารถขยายพันธ์ได้โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นกระเทียม มีดังนี้

  • หัวกระเทียม อยู่ใต้ดิน ภายในหัวกระเทียมมีเนื้อสีขาวเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ลำต้นของกระเทียมออกมาจากหัวกระเทียม ตพต้นกระเทียมสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร
  • ใบกระเทียม มีลักษณะยาว ซ้อนอยู่รอบๆลำต้นของกระเทียม ใบมีสีเขียวเข้ม ยาว เหมือนต้นหอม แต่มีขนาดใหญ่กว่า

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม

สำหรับกระเทียม นิยมนำหัวของกระเทียมมาทำอาหาร ซึ่งหัวกระเทียมมีกลิ่นฉุน แต่หากผ่านความความร้อนกระเทียมจะมีรสหวานมากขึ้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม รายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของหัวกระเทียม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 149 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม น้ำตาล 1 กรัม กากใยอาหาร 2.1 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม วิตามินบี1 0.2 มิลลิกรัม วิตานบี2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี6 1.235 มิลลิกรัม วิตามินบี9 3 ไมโครกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม และ ธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม

หัวของกระเทียม มีสารกำมะถันหลายชนิด เช่น แอลลิซิน แอลลิอิน ไดแอลลิลไดซัลไฟด์ เมทิลแอลลิลไตรซัลไฟด์ คูมาริน และ เอส-แอลลิลซีสเตอีน เป็นต้น และ ยังมีน้ำมันหอมระเหย ที่มีสารต่างๆมากกว่า 200 ชนิด

กระเทียม สรรพคุณสำคัญ คือ มีสารช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยขับเหงื่อ และ ขับปัสสาวะ

สรรพคุณของกระเทียม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระเทียม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราใช้ประโยชน์จากหัวกระเทียม เสียเป็นส่วนใหญ่ สรรพคุณของกระเทียม สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวพรรณให้มีสขภาพผิวที่สมบูรณ์ ช่วยรักษากลากเกลื้อน
  • ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยต่อต้านการเกิดเนื้องอก ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย ช่วยบรรเทาอาการไอ ลดน้ำมูก ป้องกันหวัด
  • บำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาสมดุลของความดันโลหิต
    ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยในการขับพิษในเม็ดเลือด ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ช่วยละลายลิ่มเลือด ป้องกันเส้นเลือดอุดตัน
  • ช่วยปรับสมดุลให้กับร่างกาย แก้อาการเวียนหัว ลดอาการปวดศีรษะ
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนเพศให้สมดุล ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว
  • บำรุงเส้นผมและหนังศรีษะ ช่วยแก้ปัญหาผมบาง
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ รักษาอาการไอกรน รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคหลอดลม ช่วยยับยั้งเชื้อที่ทางเดินหายใจ เช่น คออักเสบ ปอดบวม วัณโรค เป็นต้น
  • บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยระงับกลิ่นปาก
  • ช่วยขับของเสีย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับเสมหะ ช่วยในการขับลม รักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยขับพยาธิ เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ต่าง ๆ รวมถึงเชื้อราตามหนังศีรษะและบริเวณเล็บ
  • บรรเทาอาการปวดและอักเสบ แก้เคล็ดขัดยอก
  • ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย

โทษของกระเทียม

สำหรับการบริโภคกระเทียม มีความปลอดภัยสูง หากกินกระเทียมในปริมาณที่เหมาะสม แต่ การกินกระเทียมมีผลข้างเคียง ข้อควรคำนึง และ โทษของกระเทียม มีดังนี้

  • การกินกระเทียมมากเกินไป ทำให้มีกลิ่นปากและกลิ่นตัวแรง
  • การกินกระเทียมสดๆ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ปาก ทำให้แสบร้อนบริเวณปาก และ กระเพาะอาหาร ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ได้
  • หากนำกระเทียมสด มาทาที่ผิวของเด็ก อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนและระคายเคืองต่อผิวได้ เนื่องจากผิวเด็กอ่อน
  • ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรรับประทานกระเทียมสดๆ เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ทางเดินอาหารได้
  • กลิ่นของกระเทียมฉุนจัด หากสูดดมนานๆ หรือ รับประทานแบบสดๆ อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้

กระเทียม พืชสวนครัว หัวกระเทียม นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ลักษณะของต้นกระเทียม เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม สรรพคุณของกระเทียม เช่น ช่วยเจริญอาหาร บำรุงผิวพรรณ ลดความดัน โทษของกระเทียม มีอะไรบ้าง

สะเดา นิยมนำยอดอ่อนและดอกสะเดามารับประทานเป็นอาหาร ต้นสะเดาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด โทษของสะเดา มีอะไรบ้างสะเดา สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นสะเดา ( Neem ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของสะเดา คือ Azadirachta indica A.Juss. ชื่อเรียกอื่นๆของต้นสะเดา เช่น สะเลียม สะเดาบ้าน เดา กระเดา ลำต๋าว กะเดา จะตัง จะดัง ผักสะเลม สะเรียม ตะหม่าเหมาะ สะเดาอินเดีย ควินิน กาเดา ไม้เดา เป็นต้น ต้นสะเดา เป็นพืชตระกูลเดียวกับกระท้อน สามารถพบได้ตามป่าประเทศเขตร้อน เช่น อินเดีย พม่า ปากีสถาน ศรีลังกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย  และ ประเทศไทย

ชนิดของสะเดา

ต้นสะเดา สามารถแบ่งได้ 3 สายพันธ์ คือ สะเดาไทย สะเดาอินเดีย และ สะเดาช้าง โดยรายละเอียดของสะเดาแต่ละสายพันธ์ มีดังนี้

  • สะเดาไทย หรือ สะเดาบ้าน โดย สะเดาไทย แบ่งได้ 2 ชนิด คือ สะเดาชนิดขม และ สะเดาชนิดมัน โดยสามารถสังเกตได้จากยอดอ่อน ซึ่ง ยอดอ่อนสะเดาขมจะมีสีแดง ส่วน ยอดอ่อนของสะเดามันจะมีสีขาว
  • สะเดาอินเดีย เป็นต้นสะเดาที่มีลักษณะใบขอบเป็นหยักเหมือนฟันเลื่อย ปลายใบแหลม
  • สะเดาช้าง หรือ สะเดาเทียม สะเดาชนิดนี้ลักษณะขอบใบจะเรียบ

ลักษณะของสะเดา

ต้นสะเดา จัดเป็นไม้ยืนต้น ตระกูลเดียวกับกระท้อน สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะ เมล็ดพันธ์ และ ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลูกสะเดา คือ เดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนของทุกปี ลักษณะของต้นสะเดา มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นสะเดา ลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 20 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล เปลือกค่อนข้างหนา ผิวเปลือกแตกเป็นร่องส่วนเปลือกของกิ่งจะค่อนข้างเรียบ แกนไม้สีน้ำตาลแดง เนื้อไม้แข็งและทนทานมาก
  • ใบสะเดา ลักษณะเป็นใบเดียว เกาะตามกิ่งก้านจนเป็นทรงพุ่ม ใบมีสีเขียว ลักษณะของใบคล้ายปลายหอก
  • ดอกสะเดา ออกดอกเป็นช่อโดย การดอกออกตามง่ามใบ ความยาวด้านดอกประมาณ 30 เซนติเมตร ดอกขนาดเล็ก สีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
  • ผลสะเดา เจริญเติบโตมาจากดอกสะเดา ลักษณะของผลสะเดา กลมรี ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลืองอมเขียว ผลมีรสหวานเล็กน้อย
  • เมล็ดสะเดา อยู่ภายในผลสะเดา ลักษณะกลมรี ผิวของเมล็ดสะเดาเรียบ สีเหลือง ภายในเมล็ดสะเดามีน้ำมัน

คุณค่าทางโภชนาการของสะเดา

สำหรับสะเดา นิยมนำยอดอ่อนของสะเดามารับประทานเป็นอาหาร โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของยอดสะเดา มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของยอดสะเดา ต่อ 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 76 กิโลแคลอรี โดยพบว่ามีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 12.5 กรัม โปรตีน 5.4 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม กากใยอาหาร 2.2 กรัม น้ำ 77.9 กรัม เบตาแคโรทีน 3,611 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.07 มิลลิกรัม วิตามินซี 194 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 354 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม

ช่อดอกสะเดา มีสารจำพวกไกลโคไซด์ Nimbasterin และ มีน้ำมันหอมระเหย 0.5% นอกจากนั้นยังมีสารต่างๆ เช่น Nimbecetin , Nimbesterol , กรดไขมัน และ สารที่มีรสขม

เมล็ดของสะเดา มีน้ำมัน เรียกว่า Nim oil มีสาร Margosic acid ถึง 45% หรือ สารให้รสขม Nimbin

สรรพคุณของสะเดา

การใช้ประโยชน์จากสะเดาด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย โดยสามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ราก เปลือก กระพี้ แก่น ใบ ดอก ผลอ่อน ผลสุก และ ยาง โดย สรรพคุณของสะเดา มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากสะเดา สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้จุกคอและแน่นในอกหายใจไม่สะดวก
  • เปลือกต้นสะเดา สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดไข้ แก้ท้องเสีย
  • กระพี้สะเดา สรรพคุณแก้น้ำดีพิการ บำรุงน้ำดี
  • แก่นสะเดา สรรพคุณแก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับลม ข่วยลดไข้ ช่วยย่อยอาหาร บำรุงเลือด
  • ใบสะเดา สรรพคุณช่วยน้ำย่อยอาหาร บำรุงเลือด รักษาฝี ช่วยลดไข้ แก้กระหายน้ำ รักษาโรคผิวหนัง
  • ดอกสะเดา สรรพคุณช่วยรักษาริดสีดวงในลำคอ บำรุงธาตุ
  • ผลอ่อนสะเดา สรรพคุณช่วยขับพยาธิ รักษาริดสีดวง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยเจริญอาหาร
  • ผลสุกสะเดา สรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ แก้ปวดท้อง เป็นยาระบาย บำรุงหัวใจ
  • ยางสะเดา สรรพคุณช่วยลดไข้
  • น้ำมันจากเมล็ดสะเดา สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง

โทษของสะเดา

สำหรับการใช้ปรโยชน์จากสะเดา ต้องใช้ประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสมและใช้อย่างถูกวิธี โดยหากใช้ผิดวิธีำหรือในปริมาณที่ไม่เหมาะสม โดย โทษของสะเดา มีรายละเอียด ดังนี้

  • สะเดามีรสขม ทำให้ความดันต่ำลง สำหรับผู้ป่วยโรคความดันต่ำ ไม่ควรรับประทาน
  • การกินสะเดา ทำให้ท้องอืด เกิดลมในกระเพาะได้ สำหรับคนที่มีภาวะท้องอืดท้องเฟ้อ ควรหลีกเลี่ยงการกินสะเดา
  • สำหรับนสตรีหลังคลอด การกินสะเดาทำให้น้ำนมแห้ง ได้ เนื่องจากสพเดาทำให้ร่างกายเย็นลง ส่งผลต่อระบบการผลิตน้ำนมของสตรีหลังคลอด

สะเดา สมุนไพรรสขม นิยมนำยอดอ่อนและดอกสะเดามารับประทานเป็นอาหาร ลักษณะของต้นสะเดาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของสะเดา สรรพคุณของสะเดา เช่น ช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด โทษของสะเดา มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย