ต้นฝรั่ง ผลไม้ สมุนไพร วิตามินซีสูง ต้นฝรั่งเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงผิวพรรณ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค โทษของฝรั่งเป็นอย่างไรฝรั่ง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นฝรั่ง ( Guava ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของฝรั่ง คือ Psidium guajava L. ชื่อเรียกอื่นๆของฝรั่ง เช่น ย่าหมู มะก้วย มะก้วยกา มะกา มะจีน  มะมั่น ยะมูบุเตบันยา ยะริง ยามุ ย่าหวัน สีดา เป็นต้น ถิ่นกำเนิดของฝรั่งอยู่ในประเทศแถบอเมริกากลาง และ หมู่เกาะอินดีสต์ตะวันตก และมีการแพร่เข้าสู่ประเทศไทย สมัยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากพ่อค้าชาวโปรตุเกส และ สเปน

ฝรั่งในปะเทศไทย

สำหรับฝรั่งในประเทศไทย จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ มีการปลูกฝรั่งในเชิงพาณิชย์ เพื่อการบริโภคในประเทศเป็นผลไม้สด เป็นผลไม้ที่มีรสชาติดี ราคาไม่แพง วิตามินซีสูง นิยมนำมารับประทานผลฝรั่งสด หรือ นำมาแปรรูป เช่น น้ำฝรั่ง เยลลี่ฝรั่ง แยมฝรั่ง เป็นต้น

แหล่งปลูกฝรั่งที่สำคัญของประเทศไทย ปัจจุบันปลูกมากในจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และ จังหวัดใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานคร และ ฝรั่งสามารถให้ผลผลิตได้ทั้งปีอีกด้วย

ลักษณะของต้นฝรั่ง

ต้นฝรั่ง คือ ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก พืชในตระกลูเดียวกันกับชมพู่ สามารถขยายพันธ์โดยการ เพาะเมล็ดพันธ์ การต่อกิ่ง การตอนกิ่ง และ การติดตา โดยลักษณะของต้นฝรั่ง มีดังนี้

  • ลำต้นของฝรั่ง ลำต้นกลม ความสูงประมาณ 3 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาล ลำต้นมีขนปกคลุม
  • ใบฝรั่ง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นทรงรี ปลายใบมน ขอบใบเรียบ สีเขียว ท้องใบมีขนอ่อนปกคลุม ใบมีกลิ่นหอม
  • ดอกฝรั่ง ดอกเป็นดอกเพศสมบูรณ์ ดอกออกตามซอกใบ สีขาว
  • ผลฝรั่ง เจริญเติบโตจากดอกฝรั่ง ลักษณะกลม มีเนื้ออ่อน สีขาว ผลสีเขียวอ่อน ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
  • เมล็ดฝรั่ง ลักษณะเล็ก กลม สีน้ำตาลอ่อน เมล็ดแข็งมาก เมล็ดมีจำนวนมากอยู่ภายในผลฝรั่ง

สายพันธุ์ของฝรั่ง

สำหรับฝรั่งที่นิยมนำมารับประทาน มีหลายสายพันธุ์ สำหรับสายพันธ์ฝรั่งที่นิยมนำมาปลูกเพื่อการค้า มีดังนี้

  • ฝรั่งสายพันธ์เวียดนาม ลักษณะผลใหญ่
  • ฝรั่งสายพันธ์กิมจู ลักษณะพิเศษ คือ ไร้เมล็ด ผลสีนวลสวย รสหวานอร่อย เนื้อกรอบ
  • ฝรั่งสายพันธ์กลมสาลี่ เป็นสายพันธ์ที่นิยมปลูก
  • ฝรั่งสายพันธ์แป้นสีทอง คือ สายพันธ์ที่นิยมปลูกมากที่สุดในประเทศไทย ผลโต เนื้อขาว กรอบ
  • ฝรั่งสายพันธ์ไร้เมล็ด ลักษณะผลยาว ไม่มีเมล็ด นิยมใช้ทำน้ำฝรั่ง เนื่องจากมีเนื้อฉ่ำ

คุณค่าทางโภชนาการของฝรั่ง

สำหรับผลฝรั่ง มีวิตามินซีสูง นักโภชนาการได้ศีกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลฝรั่ง ขนาด 165 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 112 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 8.9 กรัม โปรตีน 4.2 กรัม ไขมัน 1.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 23.6 กรัม วิตามินเอ 1030 IU วิตามินซี 377 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.8 มิลลิกรัม กรดโฟลิก 81 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 66 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.4 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 688 มิลลิกรัม และ ธาตุทองแดง 0.4 มิลลิกรัม

ในผลฝรั่งมีสารสำคัญ คือ สารเพคติน ( pectin ) ซึ่งเป็น พอลิแซ็กคาไรด์ ( polysaccharide ) ประเภท heteropolysaccharide ทำให้หน้าการยึดเกาะผนังเซลล์ของร่างกายแข็งแรงขึ้น

สรรพคุณของฝรั่ง

สำหรับการใช้ประโยชนจากฝรั่ง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค าสามารถใช้ประโยชน์จาก ใบ ผล และ ราก โดย สรรพคุณของฝรั่ง มีรายละเอียด ดังนี้

  • ใบของฝรั่ง สรรพคุณแก้ท้องเสีย ช่วยห้ามเลือด รักษาแผลสด ช่วยดับกลิ่นปาก รักษาแผลฝี รักษาแผลหนอง บรรเทาอาการอักเสบ รักษาเหงือกบวม แก้ปวด บรรเทาอาการปวดฟัน บำรุงระบบทางเดินอาหาร ป้องกันลำไส้อักเสบ ป้องกันยุง รักษาโรคน้ำกัดเท้า
  • รากของฝรั่ง สรรพคุณใช้รักษาฝี รักษาแผลพุพอง แก้เลือดกำเดาไหล ช่วยห้ามเลือด
  • ผลของฝรั่ง สรรพคุณ บำรุงผิวพรรณ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย ทำให้ผิวเปล่งปลั่ง ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดไขมันในเลือด ป้องกันมะเร็ง รักษาโรคอหิวาตกโรค รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน บำรุงหัวใจ บำรุงเหงือกและฝัน ทำให้ชุ่มคอ แก้เจ็บคอ เป็ยยาระบาย แก้ท้องผูก ช่วยล้างพิษในร่างกาย

โทษของฝรั่ง

สำหรับการกินฝรั่ง หากบริโภคอย่างไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ โดยข้อควรระวังในการบริโภคฝรั่ง มีรายละเอียด ดังนี้

  • การรับประทานเมล็ดของฝรั่ง อาจทำให้เมล็ดตกค้างในไส้ติ่ง ทำให้เกิดภาวะไส้ติ่งอักเสบได้ ไม่ควรรับประทานฝรั่งทั้งเมล็ด
  • การปลูกฝรั่ง มีการใช้สารเคมีป้องกันการทำลายของศัตรูพืช ทำให้ผลฝรั่งอาจมีสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การนำฝรั่งมารับประทาน ควรทำความสะอาดอย่าให้มีสารตกค้างที่ผิวของผลฝรั่ง
  • ผลฝรั่ง มีคาร์โบไฮเดรตสูง สำหรับ สตรีมีครรภ์หากรับประทานผลฝรั่งในปริมาณที่มาก อาจทำให้เกิดภาวะท้องอืดได้ง่าย ทำให้เป็นอันตรายต่อครรภ์

ต้นฝรั่ง ผลไม้ พืชเศรษฐกิจ สมุนไพร วิตามินซีสูง ลักษณะของต้นฝรั่ง เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของฝรั่ง ประโยชน์และสรรพคุณของฝรั่ง เช่น บำรุงผิวพรรณ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค โทษของฝรั่ง เป็นอย่างไร

ผักบุ้ง นิยมนำมาทำเป็นอาหารรับประทาน ต้นผักบุ้งเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้ง สรรพคุณบำรุงสายตา มีกากใยอาหาร ช่วยการขับถ่าย โทษของผักบุ้ง มีอะไรบ้างผักบุ้ง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นผักบุ้ง ( Swamp morning glory ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักบุ้ง คือ Ipomoea aquatica Forssk. ชื่อเรียกอื่นๆของผักบุ้ง เช่น ผักทอดยอด ผักบุ้งไทย ผักบุ้งแดง ผักบุ้งน้ำ ผักบุ้งนา กำจร เป็นต้น สำหรับอาหารไทย นิยมนำผักบุ้งมาประกอบอาหาร หลายเมนูอาหาร เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง สุกี้ แกงส้ม แกงเทโพ เป็นต้น

ผักบุ้งในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย นั้น นิยมรับประทานผักบุ้งเป็นอาหาร มีเมนูอาหารหลากหลายเมนูอาหาร ที่มีผักบุ้งเป็นส่วนประกอบ รวมถึงการรับประทานผักบุ้งเป็นผักสด ผักบุ้ง จึงจัดเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกผักบุ้งเชิงพาณิชย์ เพื่อบริโภคภายในประเทศ แหล่งปลูกผักบุ้ง จะกระจายอยู่ทั่วประเทศ สำหรับสายพันธ์ผักบุ้ง ที่นิยมนำมาประกอบอาหาร มีผักบุ้ง 3 สายพันธุ์ คือ ผักบุ้งไทย ผักบุ้งนา และ ผักบุ้งจีน โดยรายละเอียดของสายพันธ์ผักบุ้ง ที่ควรรู้จักจะกล่าวในเนื้อหาถัดไป

สายพันธุ์ผักบุ้ง

สำหรับผักบุ้ง มีหลายสายพันธ์ุ แต่ มี 3 สายพันธ์ุ ที่นิยมปลูกและรับประทานในประเทศไทย มี 3 สายพันธุ์ คือ ผักบุ้งไทย ผักบุ้งจีน และ ผักบุ้งน้ำ รายละเอียดแต่ละสายพันธุ์ มีดังนี้

  • ผักบุ้งไทย หรือเรียกอีกชื่อว่า ผักบุ้งน้ำ เป็นผักบุ้งที่ขึ้นตามแหล่งน้ำ ใบยาว เรียว ลำต้นมีขนาดเล็ก นิยมนำมาทำอาหารไทย เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง
  • ผักบุ้งจีน คือ ผักบุ้งที่มีขนาดของใบและลำต้นใหญ่ ปลูกบนดิน เป็นผักบุ้งที่นิยมปลูกเพื่อการค้า
  • ผักบุ้งนา คือ ผักบุ้งพันธุ์พื้นบ้าน ลำต้นเล็ก มีสีเขียวบนแดง หรือ สีแดงน้ำตาล นิยมนำมากินเป็นผักสด แนมกับอาหารต่างๆ เช่น ลาบ ส้มตำ เป็นต้น

ลักษณะของต้นผักบุ้ง

สำหรับผักบุ้งนั้น จัดอยู่ในพืชล้มลุก ลำต้นอวบน้ำ สามารถขึ้นในน้ำและดินได้ สำหรับการขยายพันธ์ผักบุ้ง สามารถขยายพันธ์ โดยการ ปักชำ และ การเพาะเมล็ดพันธุ์ ลักษณะของต้นผักบุ้ง มีดังนี้

  • ลำต้นผักบุ้ง เป็นลักษณะปล้องๆ กลม เนื้อลำต้นอ่อน อวบน้ำ มีสีเขียว ภายในลำต้นกลวง และ มีรากออกตามปล้องของลำต้น
  • ใบผักบุ้ง เป็นใบเดี่ยว ลักษณะคล้ายสามเหลี่ยม มีสีเขียว ใบจะออกมาจากปล้องของลำต้น
  • ดอกผักบุ้ง ดอกออกเป็นช่อ ลักษณะคล้ายรูประฆัง สีขาวหรือม่วงอ่อน ดอกผักบุ้งออกได้ตลอดปี
  • เมล็ดของผักบุ้ง เมล็ดผักบุ้งพัฒนามาจากดอกผักบุ้ง ลักษณะกลมรี สีน้ำตาลเข้ม เมล็ดสามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้ง

สำหรับการบริโภคผักบุ้งนั้น นิยมบริโภคผักบุ้งทั้งสด หรือ นำมาลวก ผ่านความร้อน ซึ่งบริโภคทั้งต้นทุกส่วนของผักบุ้ง ยกเว้นรากของผักบุ้ง นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของผักบุ้ง มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้ง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานถึง 19 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.14 กรัม กากใยอาหาร 2.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 2.6 กรัม วิตามินเอ 315 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.9 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.141 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.096 มิลลิกรัม วิตามินบี9 57 ไมโครกรัม วิตามินซี 55 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 77 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.67 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 71 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.16 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 312 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 113 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.18 มิลลิกรัม

สรรพคุณของของผักบุ้ง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักบุ้ง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนของผักบุ้ง ตั้งแต่ รากผักบุ้ง ดอกผักบุ้ง ใบผักบุ้ง หรือ ทั้งต้นของผักบุ้ง โดย สรรพคุณของผักบุ้ง มีดังนี้

  • ดอกผักบุ้ง สรรพคุณใช้รักษากลากเกลื้อน รักษาแผลไฟไหม้ รักษาแผลน้ำร้อนลวก ลดอาการแพ้ แก้อักเสบ แก้ปวด ลดอาการบวม บำรุงสายตา บำรุงเลือด บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ดับร้อน แก้ปัสสาวะเหลือง
  • รากผักบุ้ง สรรพคุณแก้ไอ รักษาโรคหืด รักษาอาการตกขาว ช่วยขับเหงื่อ ลดอาการบวม
  • ใบผักบุ้ง สรรพคุณใช้ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ทำให้อาเจียน ใช้ถอนพิษยาเบื่อ ป้องกันมะเร็ง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
  • ทั้งต้นของผักบุ้ง สรรพคุณช่วยบำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา ช่วยชะลอวัย ป้องกันมะเร้ง แก้ร้อนใน ช่วยคลายร้อน บำรุงระบบประสาท ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้อาการปวดหัว แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน รักษาแผลร้อนใน รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหนองใน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย แก้อาการฟกช้ำ ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย

โทษของผักบุ้ง

สำหรับการกินผักบุ้งนั้น มีประโยชน์มากกว่าโทษ แต่การกินผักบุ้งต้องกินอย่างปลอดภัย และ กินในปริมาณที่เหมาะสม สำหรับข้อควรระวังในการบริโภคผักบุ้ง มีดังนี้

  • ผักบุ้งนิยมปลูกเชิงพาณิชย์ ซึ่งในผักบุ้งอาจเจือปนสารเคมี ยาฆ่าแมลงได้ ก่อนนำผักบุ้งมารับประทานต้องทำความสะอาดให้ดีก่อน หากล้างไม่สะอาด อาจทำให้มีสารเคมีตกค้างในร่างกาย และ ทำให้ท้องเสียจากการกินอาหารไม่สะอาด
  • ใบสดของผักบ้ง นำมาคั้นนำสดๆ กลิ่นเหม็นเขียวของผักบุ้ง ทำให้เกิดอาการอาเจียน สำหรับคนที่ไม่ต้องการอาเจียน ให้หลีกเลี้ยงการกินน้ำใบผักบุ้งตั้นสด แต่ การอาเจียน สามารถช่วยรักษาอาการเป็นพิษจากการเบื่ออาหาร หรือ แก้เมาได้

ผักบุ้ง คือ พืชล้มลุกชนิดหนึ่ง นิยมนำมาทำเป็นอาหารรับประทาน ลักษณะของต้นผักบุ้งเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้ง สรรพคุณของผักบุ้ง เช่น บำรุงสายตา มีกากใยอาหาร ช่วยการขับถ่าย โทษของผักบุ้ง มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย