มะนาว พืชพื้นบ้าน นิยมนำมาปรุงรสชาติอาหารให้รสเปรี้ยว ลักษณะของต้นมะนาว คุณค่าทางอาหารและสรรพคุณของมะนาว เช่น บำรุงผิวพรรณ บำรุงเลือด ลดอักเสบ โทษของมะนาวมะนาว สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะนาว ( Lime ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะนาว คือ Citrus aurantiifolia (Christm.) Swingle มะนาวเป็นพืชในตระกูลเดียวกันกับส้ม (RUTACEAE) ชื่อเรียกอื่นๆของมะนาว เช่น ส้มมะนาว โกรยชะม้า ปะนอเกล มะนอเกละ มะเน้าด์เล ปะโหน่งกลยาน ลีมานีปีห์ หมากฟ้า เป็นต้น

มะนาว จัดว่าเป็นพืชมหัศจรรย์ พืชเศรษฐกิจ ที่มีความต้องการใช้สูง จากการศึกษาสารในมะนาว พบว่า น้ำมะนาว มีสารฟลาโวนอยด์ สูง ซึ่งมีประโยชน์ช่วยลดอาการอักเสบ และ รักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในภาวะปรกติ สำหรับการนำมะนาวมาใช้ประโยชน์ นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องปรุงรสชาติ ให้รสเปรี้ยว มีการนำเอามะนาวมาแปรรูปเป็นอาหารหลายรูปแบบ เช่น มะนาวดองเปรี้ยวหวาน มะนาวแช่อิ่ม มะนาวผง และ น้ำมะนาวสำเร็จรูป

ลักษณะของต้นมะนาว

ต้นมะนาว เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทย สำหรับการปลูกมะนาวนั้น สามารถขยายพันธ์ได้โดยการปักชำ ทาบกิ่ง และ การเพาะเมล็ดพันธ์ุ ต้นมะนาวมีหลากหลายสายพันธ์ุ ซึ่งมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน สำหรับ ลักษณะของต้นมะนาว มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของมะนาว ลักษณะเป็นไม้พุ่ม มีความสูงประมาณ 2 เมตร เปลือกของลำต้นมีสอง สี เปลือกอ่อนสีเขียว เปลือกแก่มีสีน้ำตาล ลำต้นมีหนามแหลมคม ซึ่งหนามมักอยู่ตามซอกใบ
  • ใบมะนาว เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันตามกิ่งก้านของลำต้น ใบมีลักษณะรี ผิวใบเรียบ มันวาว สีเขียวสด ปลายใบแหลม
  • ดอกมะนาว ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ดอกออกเป็นช่อ มีสีขาว คล้ายรูปทรงกระบอก
  • ผลมะนาว พัฒนามาจากดอกมะนาว ผลสดมะนาวมีลักษณะกลม ผิวเรียบ มีสีเขียว ภายในผลชุ่มน้ำ ผิวเปลือกของมะนาวมีต่อมน้ำมันที่ผิว
  • เมล็ดมะนาว ลักษณะของเมล็ดคลายหยดน้ำ ปลายเมล็ดแหลม มีรสขม เมล็ดของมะนาวอยู่ในผลมะนาว ซึ่งเมล็ดสามารถนำไปขยายพันธุ์ได้

สายพันธุ์ของมะนาว

สำหรับมะนาวมีหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์มะนาวที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 4 สายพันธุ์ คือ มะนาวไข่ มะนาวแป้น มะนาวหนัง และ มะนาวทราย โดยรายละเอียด ดังนี้

  • มะนาวไข่ ลักษณะเปลือกบาง ผลกลม หัวท้ายยาว สีอ่อนคล้ายไข่เป็ด
  • มะนาวแป้น ลักษณะผลใหญ่กลม เปลือกบาง มีน้ำมะนาวมาก นิยมใช้บริโภคเชิงพาณิชย์ โดยสายพันะุ์ พันธุ์แป้นรำไพ และแป้นดกพิเศษ นิยมปลูกมากที่สุด
  • มะนาวหนัง ลักษณะผลกลม เปลือกหนา สามารถเก็บรักษาได้นาน
  • มะนาวทราย ไม่นิยมนำมาบริโภค เนื่องจากน้ำมะนาว มีรสขม นิยมนำมาปลุกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากต้นมะนาวทรายลักษณะเป็นพุ่มสวน ให้ผลตลอดปี

สำหรับ มะนาวสายพันธุ์อื่น ๆ แต่ไม่นิยมปลูกในประเทศไทย เช่น มะนาวตาฮิติ มะนาวหวาน มะนาวปีนัง มะนาวโมฬี มะนาวพม่า มะนาวเตี้ย เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของมะนาว

สำหรับมะนาว นิยมใช้ประโยชนืจากน้ำมะนาว ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะนาว ได้ข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

น้ำมะนาว มีสารเคมีสำคัญเป็รส่วนประกอบ คือ กรดมาลิค ( Malic Acid ) กรดแอสคอร์บิก ( Ascorbic Acid ) และ กรดซิตริค ( Citric Acid )

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะนาว ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 30 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.5 กรัม น้ำตาล 1.7 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.7 กรัม วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.217 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี9 8 ไมโครกรัม วิตามินซี 29.1 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 33 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 102 มิลลิกรัม และ ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะนาว

สำหรับ มะนาว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ได้หลากหลาย และ สามารถใช้ได้แทบบทุกส่วนของต้น ทั้ง ใบมะนาว รากมะนาว เปลือกผลมะนาว น้ำมะนาว โดย สรรพคุณของมะนาว มีรายละอียด ดังนี้

  • ใบมะนาว สามารถช่วยขับปัสสาวะ แก้ไอ ช่วยฆ่าเชื้อโรคในลำคอ แก้อาการเวียนหัว รักษาไข้ทับระดู ช่วยบำรุงเลือด
  • รากมะนาว สามารถช่วยขับปัสสาวะ แก้ไอ ช่วยฆ่าเชื้อโรคในลำคอ แก้อาการเวียนหัว รักษาไข้ทับระดู ช่วยบำรุงเลือด
  • เปลือกผลมะนาว สามารถช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แก้เวียนหัว รักษาหูด
  • น้ำมะนาว สามารถช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิไส้เดือน เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว รักษาอาการระดูขาว ช่วยรักษาอาการลิ้นเป็นฝ้า ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก ช่วยลดอาการเหงือกบวม ช่วยบรรเทาอาการคอแห้ง ช่วยขับเสมหะ เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยการเจริญอาหาร รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาเลือดออกตามไรฟัน ช่วยบำรุงโลหิต รักษาโรคโลหิจาง แก้โรคเหน็บชา รักษาอาการร้อนใน ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการอ่อนเพลีย ช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคกลาก รักษาโรคเกลื้อน รักษาหิด รักษาโรคน้ำกัดเท้า ช่วยรักษาแผล รักษาแผลน้ำร้อนลวก ช่วยบรรเทาอาการคันหนังศีรษะ ช่วยกระตุ้นประสาท
  • น้ำมัันหอมระเหยจากมะนาว สามารถช่วยลดความเครียด ทำให้หลับง่ายขึ้น ช่วยประตุ้นประสาท ช่วยบรรเทาโรคหอบหืด ทำความสะอาดจมูก

โทษของมะนาว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะนาว อย่างปลอดภัยต้องบริโภคหรือใช้ประโยชน์จากมะนาวอย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะไม่เกิดอันตราย และ ได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากมะนาว โดยข้อควรระมัดระวังในการใช้ประโยชน์จากมะนาว มีดังนี้

  • น้ำมะนาว มีความเป็นกรด หากสัมผัสเข้ากับผิวหนังอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้
  • สำหรับคนที่มีปัญหาโรคเเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร การรับประทานน้ำมะนาวสดๆ โดยไม่มีการเจือจากให้รสชาติอ่อนลง อาจทำให้เกิดการระคายเครื่องระบบทางเดินอาหารได้ เนื่องจากน้ำมะนาวมีความเป็นกรด
  • กรดจากน้ำมะนาว ทำให้ฟันกดกร่อนง่าย ไม่ควรอมน้ำมะนาวไว้ในปากนานๆ
  • ความเปรี้ยวจากน้ำมะนาว ช่วยลดกลิ่นคาว และ กำจัดแบคทีเรีย แต่การกินเปรี้ยวมากเกิน เป็นอันตรายต่อสุขภาพกระดูกได้

มะนาว พืชพื้นบ้าน นิยมนำน้ำจากผลมะนาว มาปรุงรสชาติอาหาร ให้รสเปรี้ยว ลักษณะของต้นมะนาว เป็นอย่างไร ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของมะนาว สรรพคุณของมะนาว เช่น บำรุงผิวพรรณ บำรุงเลือด ลดอาการอักเสบ เป็นต้น โทษของมะนาว มีอะไรบ้าง

ต้นเดือย ลูกเดือย ธัญพืช คาร์โบไฮเดรตสูง สมุนไพร กากใยอาหารสูง ต้นเดือยเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา ลดความอ้วน โทษของเดือยมีอะไรบ้าง

เดือย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นเดือย ( Adlay ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของเดือย คือ Coix lacryma-jobi L. เดือย เป็น พืชตระกูลเดียวกับต้นหญ้า นิยมปลูกมากในภาคอีสาน ลูกเดือย สามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย เช่น น้ำลูกเดือย เครื่องเคียงน้ำเต้าหู้ นำมาทำแป้งสำหรับทำขนม เดือย มีถิ่นกำเนิดในแถบเทือกเขาหิมาลัย จากนั้นได้เผยแพร่เข้าสู่ประเทศแถบยุโรป ปัจจุบันเดือยสามารถปลูกทั่วโลก โดยเฉพาะเขตประเทศอบอุ่น

เดือยในประเทศไทย

สำหรับ เดือย พบว่ามีการนำมาปลูกครั้งแรกในประเทศไทย ใน ปี พ.ศ. 2503 ที่เขตนิคมสร้างตนเองของ จ.สระบุรี ลพบุรี และนครราชสีมา และในช่วงปี พ.ศ. 2513 ได้แพร่ไปยัง จ.ชัยภูมิ และเลย จนถึงภาคเหนือในปี พ.ศ. 2523  ลูกเดือย จัดเป็น พืชเศรษฐกิจของประเทศไทย แหล่งปลูกเดือยที่สำคัญ คือ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย คือ พื้นที่ปลูกเดือย ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สำหรับสายพันธ์ของเดือยที่ปลูกในประเทศไทย มี 3 ชนิด คือ ลูกเดือยหิน ลูกเดือยหินขบ และ ลูกเดือยทางการค้า โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ลูกเดือยหิน ลูกเดือยชนิดนี้ปลูกมากในภาคเหนือ เขตภูเขาสูง ลักษณะของลำต้นไม่สูงมาก ไม่นิยมนำมารับประทาน เพราะ ให้แป้งน้อย เปลือกและเมล็ดแข็งมาก สามารถนำมาทำเครื่องประดับได้
  • ลูกเดือยหินขบ ลูกเดือยชนิดนี้ปลูกในภาคเหนือ ลักษณะลำต้นสูง สามารถรับประทานลูกเดือยได้
  • ลูกเดือยทางการค้า คือ ลูกเดือยที่นิยมรับประทานในปัจจุบัน เมล็ดคล้ายข้าวสาลี เปลือกบาง สีขาวขุ่น เดือย ชนิดนี้ มี 2 ประเภท คือ ลูกเดือยข้าวเหนียว ( glutinous type ) และ ลูกเดือยข้าวเจ้า ( nonglutinous type )

สายพันธุ์เดือย

สำหรับสายพันธ์เดือยที่มีการปลูกในปัจจุบันมี 4 สายพันธุ์ คือ var. lacryma-jobi , var. monilifur , var. stenocarpa และ var. ma-yuen รายละเอียด ดังนี้

  • var. lacryma-jobi เป็นสายพันธุ์ที่ขึ้นตามธรรมชาติ ลูกเดือยเป็นรูปข่ เปลือกแข็ง เมล็ดเงามัน ใช้ทำอาหารและเครื่องประดับได้
  • var. monilifur เป็นสายพันธุ์เดือยที่พบได้เฉพาะในประเทศพม่า และ ประเทศอินเดีย ไม่นิยมรับประทาน นำมาใช้ทำเครื่องประดับ
  • var. stenocarpa มะเดือยขี้หนอน ลักษณะของลูกเดือยคล้ายขวด นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ใช้ประดับเสื้อผ้า ทำสร้อย และ เครื่องประดับ
  • var. ma-yuen สายพันธุ์นี้ใช้นำมาทำอาหาร

ลักษณะของต้นเดือย

เดือย เป็นพืชล้มลุก ตระกูลเดียวกันกับข้าวและต้นหญ้า สามารถขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ดพันธุ์ ลักษณะของต้นเดือย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นเดือย เหมือนกับกอหญ้าทั่วไป ลำต้นกลม และ ตั้งตรง เนื้อลำต้นอ่อน ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นเป็นปล้อง ผิวลำต้นเรียบ สีเขียว
  • ใบเดือย ลักษณะเรียวยาว สีเขียว กาบใบหุ้มลำต้น โคนใบหยัก ความยาวของใบประมาณ 45 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ และ ขอบใบคม บาดมือได้
  • ดอกเดือย เป็นลักษณะช่อ แทงออกแทงจากปลายลำต้น ช่อดอกยาว 8 เซนติเมตร ดอกของเดือยจะพัฒนาไปเป็นผลเดือย
  • ผลและเมล็ดเดือย ผลเดือยจะพัฒนามาจากดอกเดือย ลักษณะของผลเดือย กลม เปลือกของเมล็ดแข็ง ผลเดือยนำมารับประทานเป็นอาหาร ได้

คุณค่าทางโภชนาการของเดือย

สำหรับการรับประทานจะนำเมล็ดหรือผลมารับประทาน ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของลูกเดือย พบว่ารายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของลูกเดือย ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 17.58 % ไขมัน 2.03 % คาร์โบไฮเดรต 51.58% ซิลิคอนไดออกไซด์ 0.1% แคลเซียม 0.04% แมกนีเซียม 0.06% โซเดียม 0.006% โปรแตสเซียม 0.14% ฟอสฟอรัส 0.15% และ กรดไขมัน

สำหรับสารสำคัญต่างๆที่พบในเดือย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลูกเดือย มีสารเคมีสำคัญ ประกอบด้วย coxenolide , Coixol , ethanediol , propanediol , butanediol
  • รากลูกเดือย มีสารเคมีสำคัญ ประกอบด้วย Lignin , Coixol , Palmitic Acid , Stearic Acid , Stigmeaterd และ Sitosterol

สารคอกซีโนไลด์ ( Coxenolide ) ที่พบในลูกเดือย มีสรรพคุณในการยับยั้งการเกิดเนื้องอก ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง ช่วยรักษาอาการตกขาวได้

ประโยชน์ของลูกเดือย

สำหรับประโยชน์ของเดือย นั้นจะนำลูกเดือยมารับประทานเป็นอาหาร นำมาทำเป็นอาหารคาวและอาหารหวานต่างๆ เนื่องจากลูกเดือยมีส่วนผสมของแป้ง มีการนำไปแปรรูปเป็นลูกเดือยอบกรอบ ลูกเดือยเปียก เต้าทึง น้ำลูกเดือย เป็นต้น สำหรับ สรรพคุณของเดือย เช่น ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงเส้น เป็นต้น

สรรพคุณของเดือย

สำหรับประโยชน์ของเดือยด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ลูกเดือย ใบเดือย ลำต้นเดือย และ รากเดือย รายละเอียด ดังนี้

  • ลูกเดือย ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง สรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยบำรุงสายตา ช่วยแก้อาการเหน็บชา ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงผิวพรรณ แก้ร้อนใน ช่วยลดไข้ ลดอาการปวดหัว ช่วยบำรุงเลือดสำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องร่วง บำรุงระบบทางเดินอาหาร แก้ปวดข้อเรื้อรัง ช่วยย่อยอาหาร ช่วยบำรุงเส้นผม รักษาการตกขาวผิดปกติในสตรี แก้เจ็บคอ รักษาวัณโรค ช่วยขับเลือด ช่วยขับหนอง
  • ใบเดือย สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคผิวหนัง แก้อาการผื่นคัน แก้ปัสสาวะเหลืองขุ่น
  • รากลูกเดือย มีรสขม สรรพคุณช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยลดไข้ ช่วยขับพยาธิ แก้โรคหนองใน แก้ข้อเข่าเสื่อม ลดอาการปวดตามข้อ รักษาอาการตกขาว ช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ

โทษของเดือย

สำหรับการรับประทานลูกเดือย อย่างปลอดภัย ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่าการบริโภคลูกเดือยไม่ปลอดภัย แต่ข้อควรระวังในการรับประทานลูกเดือย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลูกเดือยก่อนนำมารับประทานต้องนำมาทำให้อ่อนก่อน ไม่สามารถนำมารับประทานแบบแข็งๆ เนื่องจากอันตรายต่อระบบการย่อยิาหาร
  • สำหรับสตรีมีครรภ์ และ สตรีหลังคลอดบุตร ไม่ควรรับประทานลูกเดือย ลูกเดือยอาจเป็นพิษต่อตัวอ่อนในครรภ์ และทำให้มดลูกบีบตัว เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ได้
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรระมัดระวังการรับประทานลูกเดือย เนื่องจากลูกเดือยสรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือด อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมากเกินไป

ต้นเดือย ลูกเดือย ธัญพืช คาร์โบไฮเดรตสูง พืชพื้นเมือง กากใยอาหารสูง ต้นเดือยเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา ลดความอ้วน โทษของเดือยมีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย