ฟ้าทะลายโจร สมุนไพร พืชท้องถิ่น นิยมนำมาทำเป็นยาลดไข้ ต้นฟ้าทะลายโจร เป็นอย่างไร สรรพคุณลดไข้ แก้หวัด ขยายหลอดลม ขับเสมหะ โทษของฟ้าทะลายโจร เป็นอย่างไรฟ้าทะลายโจร สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร ( Kariyat ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของฟ้าทะลายโจร คือ Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของฟ้าทะลายโจร เช่น ฟ้าทะลาย ฟ้าทะลายโจร น้ำลายพังพอน สามสิบดี เขตตายยายคลุม หญ้ากันงู ฟ้าสะท้าน เมฆทะลาย ฟ้าสาง ขุนโจรห้าร้อย ซวนซิน เหลียง เจ็กเกี่ยงสี่ คีปังฮี โซ่วเซ่า เป็นต้น

ต้นฟ้าทะลายโจร สามารถพบได้ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึง จีน อินเดีย ศรีลังกา เป็นพืชที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในทั่วทวีปเอเชีย นิยมใช้ใบและลำต้น ในการยารักษาโรค

ฟ้าทะลายโจรในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยได้บรรจุฟ้าทะลายโจรอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ บัญชียาสมุนไพร ของกระทรวงสาธารณสุข หมวดหมู่ยารักษาโรคกลุ่มอาการของระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินหายใจ ตามตำราแพทย์แผนไทย สรรพคุณของฟ้าทะลายโจร สามารถใช้ รักษาโรคทั่วไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ อาการอักเสบ อาการไอ อาการเจ็บคอ หลอดลมอักเสบ มีขับเสมหะ เป็นต้น

ลักษณะของต้นฟ้าทะลายโจร

ต้นฟ้าทะลายโจร เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน และหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นฟ้าทะลายโจร มีดังนี้

  • ลำต้นฟ้าทะลายโจร ลักษณะลำต้นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งก้าน ความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร รสชาติของลำต้นขมมาก
  • ใบฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นใบเดี่ยว สีสีเขียวเข้ม ลักษณะใบเป็นมัน ใบรียาว ปลายใบแหลม
  • ดอกฟ้าทะลายโจร ลักษณะดอกเป็นช่อ ขนาดเล็ก ออกดอกตามปลายกิ่งและตามซอกใบ กลีบดอกสีสีขาว
  • ผลฟ้าทะลายโจร ลักษณะของผลเป็นฝัก คล้ายฝักต้อยติ่ง ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาล ภายในฝักมีเมล็ด สามารถนำมาขยายพันธ์ุได้

สารสำคัญในฟ้าทะลายโจร

ต้นฟ้าทะลายโจร มีสารสำคัญ 3 สาร ประกอบด้วย สารในกลุ่มLactone คือ สารแอดโดรกราโฟไลด์ ( Andrographolide ) สารนีโอแอนโดรกราโฟไลด์ ( Neo-Andrographolide ) สารดีอ๊อกซี่แอนโดรกราโฟไลด์ ( 14-deoxy-andrographolide ) จากการศึกษาทางเภสัชศาสตร์ พบว่า สารสกัดจากฟ้าทะลายโจร มีฤทธิ์ทางยาหลากหลาย เช่น มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง ป้องกันตับจากสารพิษหลายชนิด เป็นต้น

สรรพคุณของฟ้าทะลายโจร

สำหรับการใช้ประโยชน์จากฟ้าทะลายโจร ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ทั้งต้น ใบ กิ่ง สรรพคุณของฟ้าทะลายโจร มีดังนี้

  • ทั้งต้น สรรพคุณช่วยต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด แก้ปวดหัว รักษาไข้ไทฟอยด์ บำรุงกำลัง แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ลดความดัน
  • ใบฟ้าทะลายโจร สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร รักษาหวัด ลดไข้ ลดน้ำมูก แก้ปวดหัว รักษาไข้ไทฟอยด์ บำรุงกำลัง ช่วยขับเสมหะ แก้อักเสบ แก้เจ็บคอ ขยายหลอดลม รักษาต่อมทอนซิลอักเสบ แก้ร้อนใน ช่วยลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ช่วยคลายกล้ามเนื้อมดลูก รักษากระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยย่อยอาหาร รักษาริดสีดวงทวาร รักษาโรคผิวหนัง รักษาฝี รักษาแผลอักเสบ
  • กิ่งฟ้าทะลายโจร สรรพคุณช่วยลดไข้ รักษาหวัด แก้ปวดหัว รักษาไข้ไทฟอยด์

โทษของฟ้าทะลายโจร 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากฟ้าทะลายโจร มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจร
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ และ ความดันต่ำ ไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจร เนื่องจากสรรพคุณของฟ้าทะลายโจรช่วยลดความดัน หากใช้ฟ้าทะลายโจรสำหรับคนความดันต่ำ อาจจะทำให้หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ได้
  • ฟ้าทะลายโจรมีสารแอนโดรกราโฟไลด์ ซึ่งละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ แต่ละลายน้ำได้น้อย การนำฟ้าทะลายโจรมาดองเหล้าจึงมีฤทธิ์แรง
  • ฟ้าทะลายโจรเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ป่วยร้อน เช่น อาการเหงื่อออก กระหายน้ำ ท้องผูก ปัสสาวะสีเข้ม แต่ฟ้าทะลายโจรไม่เหมาะสำหรับรักษาไข้เย็น เช่น ปัสสาวะบ่อย อาการหนาว มือเท้าเย็น มีอาการหนาวสั่น คลื่นไส้ เป็นต้น
  • ไม่ควรรับประทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ติดต่อกันนานเกินกว่า 1 สัปดาห์ อาจส่งผลต่อร่างกาย เช่น ท้องอืด หน้ามืดตามัว  มือเท้าชา

ผักแพว ผักไผ่ ผักพื้นบ้าน กลิ่นหอม สมุนไพร ต้นแพวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของผักแพว สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ขับเหงื่อ บำรุงหัวใจ โทษของผักแพว เป็นอย่างไรผักแพว สมุนไพร สมุนไพรไทย

ผักแพว ( Vietnamese coriander ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักแพว คือ Polygonum odoratum Lour. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของผักแพว เช่น พริกม้า พริกม่า หอมจันทร์ ผักไผ่ จันทน์โฉม จันทน์แดง ผักไผ่น้ำ ผักแพ้ว ผักแพรว ผักแจว พริกบ้า เป็นต้น นิยมรับประทานผักแพวเป็นผักสด

ผักแพวในประเทศไทย

สำหรับผักแพวในประเทศไทย นิยมรับประทานใบสด เนื่องจากเป็นพืชมีกลิ่นหอม ต้นแพว มีการปลูกและจำหน่ายทั่วไป ผักแพว เป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกเชิงพาณิชย์ เพื่อบริโภคในประเทศ และ ผักแพวสามารถปลูกได้ทั่วประเทศ

ลักษณะของผัวแพว

ต้นผักแพว เป็นพืชล้มลุก เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุุ่มน้ำ เช่น ตามห้วย หนอง คลอง บึง หรือ แหล่งน้ำต่างๆ สำหรับการขยายพันธุ์ผักแพว สามารถขยายพันธ์ได้โดย การเพาะเมล็ด และ การปักชำ ผักแพว สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย

  • ลำต้นผักแพว ลักณะเป็นปล้อง ลำต้นสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรงเป็นข้อ รากของผักแพวออกตามข้อของลำต้น ลำต้นเลื้อยไปตามพื้นดิน
  • ใบผักแพว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามลำต้น ลักษณะของใบคล้ายรูปหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ
  • ดอกผักแพว ลักษณะของดอกออกเป็นช่อ เล็กสีขาวนวล หรือ สีชมพูอมม่วง
  • ผลผักแพว เจริญเติบโตจากดอก ซึ่งผลผักแพวมีขนาดเล็กมาก

คุณค่าทางโภชนาการของผักแพว

สำหรับการบริโภคผักแพว นิยมบริโภคใบสดๆ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผักแพวสดๆขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 54 กิโลแคลอรี และพบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 7.7 กรัม กากใยอาหาร 1.9 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 4.7 กรัม วิตามินเอ 8,112 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.59 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.7 มิลลิกรัม วิตามินซี 77 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 79 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.9 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 272 มิลลิกรัม

สรรพคุณของผักแพว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักแพว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบ ราก ดอก และ ลำต้น สรรพคุณของผักแพว มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากผักแพว สรรพคุณบำรุงระบบประสาท แก้ไอ รักษาหอบหืด รักษากระเพาะอาหารอักเสบ บำรุงระบบทางเดินอาหาร แก้ปวดเมื่อย แก้ปวดข้อและกระดูก
  • ลำต้นผักแพว สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง รักษาริดสีดวงทวาร แก้เหน็บชา
  • ดอกผักแพว สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ บำรุงปอด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ บำรุงเลือด ต้านเชื้อรา
  • ใบผักแพว สรรพคุณช่วยชะลอวัย ป้องกันมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดี รักษาโรคหวัด ช่วยขับถ่าย ป้องกันท้องผูก ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยแก้อาการเจ็บท้อง ช่วยรักษาโรคพยาธิตัวจี๊ด เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยรักษาโรคตับแข็ง ลดอาการอักเสบ ช่วยแก้เส้นประสาทพิการ รักษาเหน็บชา เป็นยาบำรุงเลือดลมของสตรี

โทษของผักแพว

สำหรับการบริโภคผักแพว เนื่องจากคุณสมบัติของผักแพวมีรสเผ็ดร้อน การกินผักแพวมากเกินไป อาจทำให้เกิดการระคายเคืองภายในร่างกาย แสบร้อนภายในช่องปาก คอ และ กระเพาะอาหาร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย