ต้นมะตูม ไม้มงคล ช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้าย สมุนไพร สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ช่วยขับลม ต้นมะตูมเป็นอย่างไร ประโยชน์ของมะตูม โทษของมะตูม มีอะไรบ้างมะตูม สมุนไพร สมุนไพรไทย

มะตูม ( Beal ) พืชตระกูลส้ม ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะตูม คือ Aegle marmelos (L.) Corrêa ชื่อเรียกอื่นๆของมะตูม เช่น มะปิน ตูม ตุ่มตัง กะทันตาเถร เป็นต้น

ต้นมะตูม จัดเป็นไม้ยืนต้น ผลมะตูมนิยมบริโภคเป็นผลไม้ มะตูมมีต้นถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย ไม้มงคล พืชประจำจังหวัดชัยนาท สรรพคุณของมะตูม มากมาย เช่น ช่วยควบควบคุมน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน รักษาลำไส้อักเสบ แก้ท้องเดิน แก้ท้องอืด ช่วยขับลม แก้กระหายน้ำ ทำให้ให้ชุ่มคอ รักษาหวัด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหอบหืด รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี แก้ไข้ทรพิษ แก้ปวดฝี รักษาเยื่อบุตาอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร รักษาอาการแผลอักเสบ ฆ่าพยาธิ ต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการท้องเสีย ลดกรดในกระเพาะอาหาร

ความเชื่อเกี่ยวับมะตูม

ต้นมะตูม ตามความเชื่อของคนไทย มะตูมเป็นไม้มงคล เชื่อว่าป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ใบมะตูม นำมาเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา เช่น นำมาทำน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ ใช้ในการครอบครู เป็นต้น ต้นมะตูมนิยมปลูกตามบ้าน ให้ปลูกในทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวบ้าน

คุณค่าทางโภชนาการของมะตูม

สำหรับต้นมะตูม การบริโภคนิยมใช้ผลมะตูม โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของผลมะตูมสุก ขนาด 100 กรัม พบว่าในผลมะตูมสุกมีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 61.4 กรัม กากใยอาหาร 2.9 กรัม คาร์โบไฮเดรต 34.7 กรัม โปรตีน 1.8 กรัม ไนอะซีน 1.1 มิลลิกรัม แคลเซียม 85 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม และในผลมะตูมสุก มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินเอ 92 มิลลิกรัม วิตามินบี1 1.3 มิลลิกรัม และ วิตามินบี2 1.19 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นมะตูม

ต้นมะตูม เป็นไม้ยืนต้น สามารถเจรญเติบโตได้ดีในป่าดิบ และ ตามเนินเขา ถิ่นกำเนิดของมะตูมนั้นมาจากประเทศอินเดีย โดยลักษณะของต้นมะตูม มีดังนี้

  • ลำต้นมะตูม ลักษณะตรง เป็นไม้เนื้อแข็ง เนื้อไม้มะตูมมีกลิ่นหอม เปลือกลำต้นมะตูมลักษณะผิวเรียบ มีร่องตื้น สีเทา ความสูงประมาณ 18 เมตร
  • ใบมะตูม เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบคล้ายรูปขนนก ทรงไข ปลายใบแหลม โคนใบมน มีสีเขียวเข้ม ลักษณะมัน
  • ดอกมะตูม มีกลิ่นหอม สีขาว ขึ้นตามซอกใบ มีขนาดเล็ก
  • ผลมะตูม ออกมาจากดอกมะตูม ลักษณะกลม เปลือกของผลมะตูมผิวเรียบ ผลสดสีเขียว เปลือกแข็ง ส่วนผลมะตูมแก่มีสีเขียวอมเหลือง เนื้อในผลสุกมีสีส้ม รสหวาน เนื้อนิ่ม มียางเหนียวข้น ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ผลสุกสามารถนำมาตากแห้งและนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆได้ เช่น นำมาต้มเป็นน้ำมะตูม เป็นต้น

สรรพคุณของมะตูม

มะตูม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย หลากหลาย สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ผลมะตูมดิบ ผลมะตูมสุก ใบมะตูม เปลือกลำต้นมะตูม และ รากมะตูม โดยรายละเอียดของ สรรพคุณของมะตูม มีดังนี้

  • เปลือกลำต้นมะตูม สรรพคุณแก้ท้องเสีย รักษาอาการลำไส้อักเสบ
  • รากมะตูม สรรพคุณสำหรับสตรีหลังคลอด ลดอาการตกเลือดในสตรีหลังคลอด ช่วยรักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ รักษาอาการปัสสาวะเป็นเลือด ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • ผลดิบมะตูม สรรพคุณป้องกันโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้กระหายน้ำ ทำให้ให้ชุ่มคอ รักษาโรคหวัด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหอบหืด รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี แก้ไข้ทรพิษ แก้ปวดฝี รักษาเยื่อบุตาอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร รักษาอาการแผลอักเสบ ฆ่าพยาธิ ต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการท้องเสีย ลดกรดในกระเพาะอาหาร
  • ผลสุกมะตูม สรรพคุณช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร บำรุงลำไส้ รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยในการขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ ชับลม ลดจุกเสียดแน่นท้อง ลดไขมันในเส้นเลือด แก้ท้องเสีย บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงผิว ป้องกันมะเร็ง บำรุงสมอง รักษาอัลไซล์เมอร์ ช่วยขับพยาธิ
  • ใบมะตูม สามารถใช้ประโยชน์จากใบมะตูมอ่อน สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องเสีย ช่วยลดไข้ บำรุงดวงตา รักษาอาการตาอักเสบ ลดอาการตาบวม

โทษของมะตูม

การใช้ประโยชน์จากมะตูม ต้องเลือกใช้อย่างเหมาะสม และ เลือกใช้ในปริมาณที่เหมาะสม หากใช้มากเกินไปหรือใช้ไม่ถูกวิธี โดยโทษของมะตูม มีดังนี้

  • มะตูมมีสรรพคุณป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการท้องเสียได้ สำหรับคนที่มีภาวะท้องผูกอยู่ ไม่ควรกินมะตูม เพราะจะทำให้ท้องผูกมากขึ้น
  • สำหรับสตรีมีครรภ์และสตรีหลังคลอดบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนนำมะตูมมาใช้รักษาอาการป่วย
  • ผลมะตูม น้ำมะตูม ช่วยลดน้ำตาลในเลือด สำหรับคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ไม่ควรกินน้ำมะตูม หรือ ผลมะตูม และ สำหรับคนที่ต้องผ่าตัด ควรงดการกินมะตูม น้อย 14 วัน ก่อนผ่าตัด เพราะ มะตูมอาจส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในช่วงระหว่างและหลังการผ่าตัด

ต้นมะตูม ไม้มงคล ช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้าย ผลมะตูม เป็นสมุนไพร สรรพคุณมากมาย เช่น ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ช่วยขับลม ต้นมะตูมมีลักษณะเป็นอย่างไร ประโยชน์ของมะตูม โทษของมะตูม มีอะไรบ้าง

ต้นสะระแหน่ มินต์ สมุนไพรกลิ่นหอม นิยมใช้ประโยชน์จากใบสะระแหน่ ต้นสะระแหน่เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงสายตา บำรุงผิว บำรุงเหงือกและฟัน โทษของสะระแหน่สะระแหน่ สมุนไพร สมุนไพรไทย

สะระแหน่ ( Kitchen Mint ) พืชตระกูลกระเพรา ชื่อวิทยาศาสตร์ของสะระแหน่ คือ Mentha villosa Huds. ชื่อเรียกอื่นๆของสะระแหน่ เช่น หอมด่วน หอมเดือน ขะแยะ สะระแหน่สวน มักเงาะ สะแน่ เป็นต้น ต้นสะระแหน่ มีแหล่งกำเนิดในแถบประเทศยุโรปทางตอนใต้ ใบคล้ายกับพืชตระกูลมิ้นต์ กลิ่นหอม รสชาติจะคล้าย ๆ ตะไคร้หอม

ลักษณะของต้นสะระแหน่

ต้นสะระแหน่ มีลักษณะพิเศษ คือ ความหอมของใบ ซึ่งนิยมนำมาใช้ในการแต่งกลิ่นให้ความหอม ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ทำยาสีฟัน สะระแหน่เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำหรือแตกกอ ลักษณะของต้นสะระแหน่ มีดังนี้

  • รากและลำต้นของสะระแหน่ ลำต้นของสะระแหน่จะเลื้อยตามดิน ลักษณะของลำต้นกลมเป็นเหลี่ยมๆ ยาวประมาณ 30 เซ็นติเมตร ผิวของลำต้นมีสีแดงอมม่วง ลำต้นจะเลื้อยแผ่ไปตามดิน มีกิ่งก้านมากมาย
  • ใบสะระแหน่ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ผิวในขรุขระ กลิ่นหอมฉุน ผิวใบย่นเป็นลูกคลื่น ขอบใบหยัก
  • ดอกสะระแหน่ ออกดอกเป็นช่อ ซึ่งจะออกดอกเหนือซอกใบบริเวณปลายยอดของต้นสะระแหน่ ดอกมีสีชมพูอมม่วง
  • ผลของสะระแหน่ มีขนาดเล็ก สีดำ ลักษณะเป็นรูปกระสวย ผิวของผลมันเกลี้ยง

คุณค่าทางโภชนาการของสะระแหน่

สำหรับสะระเหน่ นิยมนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย โดยหลักๆนำมารับประทานในและนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยจากสะระเหน่นำมาแต่งกลิ่นหอม ซี่งสะระแหน่ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายชนิด เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบสดสะระเหน่ พบว่า

คุณค่าทางโภชนาการของใบสะระเหน่ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 47 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 3.7 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 6.8 กรัม แคลเซียม 40 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.8 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.29 มิลลิกรัม วิตามินเอ  วิตามินซี 88 มิลลิกรัม เป็นต้น

น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ มีสารเคมีสำคัญ คือ ยูเจนอล สรรพคุณช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรีย เป็นยาเย็น จากการศึกษาสารเคมีสำคัญจากน้ำมันหอมระเหยของสะระแน่ ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด คือ menthol 63.5 % p-menthone 19.5 % pluegone 42.9-45.4 % isomenthone 12.9 % piperitone 12.2 % Menthone 15-32 % Menthyl acetate 3-10 % piperitone 38.0 % – piperitenone 33.0 % α-terpeneol 4.7% limonene hexenolphenylacetate enthyl amylcarbinal neo methol

สรรพคุณของสะระแหน่

สำหรับการใช้ประโยชน์ของสะระแหน่ จะใช้ประโยชน์ลักษณะของใบสดของสะระเหน่ และ น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ โดย สรรพคุณของสะรแหน่ มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิว ทำให้ผิวชุ่มชื้น ช่วยทำให้ลดลอยเหี่ยวย่นก่อนวัยอันครว
  • สรรพคุรเป็นยาเย็น ช่วยดับร้อนในร่างกาน ช่วยขับเหงื่อ ขับของเสียออกทางผิวหนัง
  • ช่วยบำรุงสายตา ลดรอยคล้ำใต้ตา
  • กลิ่นหอมของสะระแหน่ ช่วยบรรเทาอาการเครียด รักษาอาการปวดศีรษะ รักษาไมเกรน ทำให้สมองปลอดโปร่ง รักษาอาการหน้ามืดตาลาย
  • ช่วยรักษาไข้หวัด รักษาอาการไอ ลดน้ำมูก รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • บำรุงหัวใจ ทำให้หัวใจแข็งแรง ทำให้กระปรี่กระเปร่า รักษาอาการอ่อนเพลียของร่างกาย
  • บำรุงเหงือกและฟัน ระงับกลิ่นปาก บรรเทาอาการปวดฟัน รักษาอาหารเจ็บปาก แก้เจ็บลิ้น รักษาแผลในปาก
  • ช่วยรักษาอาการปวดหู ด้วยการใช้น้ำคั้นจากใบสะระแหน่มาหยอดที่รูหู
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร รักษาอาการท้องร่วง แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด
  • ใช้ไล่ยุงและแมลงต่างๆ รักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย
  • แก้อักเสบ แก้ปวด
  • มีฤทธิืช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

โทษของสะระแหน่

สำหรับข้อควรระวังในการรับประทานสะระแหน่ มีข้อควรระวังในกลุ่มคนต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • สตรีมีครรภ์ และ สตรีหลังคลอดบุตร ไม่ควรรับประทานสะระแหน่ในปริมาณที่มากเกินไป
  • สำหรับคนที่มีภาวะไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ไม่ควรรับประทานน้ำมันสะระแหน่ เพราะ อาจเกิดการแตกตัวก่อนในระหว่างการย่อยอาหาร
  • สำหรับคนที่มีอาการท้องเสีย ไม่ควรกินน้ำมันสะระแหน่ เพราะ อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่บริเวณทวารหนัก

ต้นสะระแหน่ หรือ มินต์ สมุนไพร กลิ่นหอม นิยมใช้ประโยชน์จากใบสะระแหน่ ลักษณะของต้นสะระแหน่เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของสะระแหน่ เช่น บำรุงสายตา บำรุงผิว บำรุงเหงือกและฟัน โทษของสะระแหน่ มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย