ต้นสะระแหน่ มินต์ สมุนไพรกลิ่นหอม นิยมใช้ประโยชน์จากใบสะระแหน่ ต้นสะระแหน่เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงสายตา บำรุงผิว บำรุงเหงือกและฟัน โทษของสะระแหน่สะระแหน่ สมุนไพร สมุนไพรไทย

สะระแหน่ ( Kitchen Mint ) พืชตระกูลกระเพรา ชื่อวิทยาศาสตร์ของสะระแหน่ คือ Mentha villosa Huds. ชื่อเรียกอื่นๆของสะระแหน่ เช่น หอมด่วน หอมเดือน ขะแยะ สะระแหน่สวน มักเงาะ สะแน่ เป็นต้น ต้นสะระแหน่ มีแหล่งกำเนิดในแถบประเทศยุโรปทางตอนใต้ ใบคล้ายกับพืชตระกูลมิ้นต์ กลิ่นหอม รสชาติจะคล้าย ๆ ตะไคร้หอม

ลักษณะของต้นสะระแหน่

ต้นสะระแหน่ มีลักษณะพิเศษ คือ ความหอมของใบ ซึ่งนิยมนำมาใช้ในการแต่งกลิ่นให้ความหอม ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ทำยาสีฟัน สะระแหน่เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำหรือแตกกอ ลักษณะของต้นสะระแหน่ มีดังนี้

  • รากและลำต้นของสะระแหน่ ลำต้นของสะระแหน่จะเลื้อยตามดิน ลักษณะของลำต้นกลมเป็นเหลี่ยมๆ ยาวประมาณ 30 เซ็นติเมตร ผิวของลำต้นมีสีแดงอมม่วง ลำต้นจะเลื้อยแผ่ไปตามดิน มีกิ่งก้านมากมาย
  • ใบสะระแหน่ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ผิวในขรุขระ กลิ่นหอมฉุน ผิวใบย่นเป็นลูกคลื่น ขอบใบหยัก
  • ดอกสะระแหน่ ออกดอกเป็นช่อ ซึ่งจะออกดอกเหนือซอกใบบริเวณปลายยอดของต้นสะระแหน่ ดอกมีสีชมพูอมม่วง
  • ผลของสะระแหน่ มีขนาดเล็ก สีดำ ลักษณะเป็นรูปกระสวย ผิวของผลมันเกลี้ยง

คุณค่าทางโภชนาการของสะระแหน่

สำหรับสะระเหน่ นิยมนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย โดยหลักๆนำมารับประทานในและนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยจากสะระเหน่นำมาแต่งกลิ่นหอม ซี่งสะระแหน่ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายชนิด เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบสดสะระเหน่ พบว่า

คุณค่าทางโภชนาการของใบสะระเหน่ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 47 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 3.7 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 6.8 กรัม แคลเซียม 40 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.8 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.29 มิลลิกรัม วิตามินเอ  วิตามินซี 88 มิลลิกรัม เป็นต้น

น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ มีสารเคมีสำคัญ คือ ยูเจนอล สรรพคุณช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรีย เป็นยาเย็น จากการศึกษาสารเคมีสำคัญจากน้ำมันหอมระเหยของสะระแน่ ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด คือ menthol 63.5 % p-menthone 19.5 % pluegone 42.9-45.4 % isomenthone 12.9 % piperitone 12.2 % Menthone 15-32 % Menthyl acetate 3-10 % piperitone 38.0 % – piperitenone 33.0 % α-terpeneol 4.7% limonene hexenolphenylacetate enthyl amylcarbinal neo methol

สรรพคุณของสะระแหน่

สำหรับการใช้ประโยชน์ของสะระแหน่ จะใช้ประโยชน์ลักษณะของใบสดของสะระเหน่ และ น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ โดย สรรพคุณของสะรแหน่ มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิว ทำให้ผิวชุ่มชื้น ช่วยทำให้ลดลอยเหี่ยวย่นก่อนวัยอันครว
  • สรรพคุรเป็นยาเย็น ช่วยดับร้อนในร่างกาน ช่วยขับเหงื่อ ขับของเสียออกทางผิวหนัง
  • ช่วยบำรุงสายตา ลดรอยคล้ำใต้ตา
  • กลิ่นหอมของสะระแหน่ ช่วยบรรเทาอาการเครียด รักษาอาการปวดศีรษะ รักษาไมเกรน ทำให้สมองปลอดโปร่ง รักษาอาการหน้ามืดตาลาย
  • ช่วยรักษาไข้หวัด รักษาอาการไอ ลดน้ำมูก รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • บำรุงหัวใจ ทำให้หัวใจแข็งแรง ทำให้กระปรี่กระเปร่า รักษาอาการอ่อนเพลียของร่างกาย
  • บำรุงเหงือกและฟัน ระงับกลิ่นปาก บรรเทาอาการปวดฟัน รักษาอาหารเจ็บปาก แก้เจ็บลิ้น รักษาแผลในปาก
  • ช่วยรักษาอาการปวดหู ด้วยการใช้น้ำคั้นจากใบสะระแหน่มาหยอดที่รูหู
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร รักษาอาการท้องร่วง แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด
  • ใช้ไล่ยุงและแมลงต่างๆ รักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย
  • แก้อักเสบ แก้ปวด
  • มีฤทธิืช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

โทษของสะระแหน่

สำหรับข้อควรระวังในการรับประทานสะระแหน่ มีข้อควรระวังในกลุ่มคนต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • สตรีมีครรภ์ และ สตรีหลังคลอดบุตร ไม่ควรรับประทานสะระแหน่ในปริมาณที่มากเกินไป
  • สำหรับคนที่มีภาวะไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ไม่ควรรับประทานน้ำมันสะระแหน่ เพราะ อาจเกิดการแตกตัวก่อนในระหว่างการย่อยอาหาร
  • สำหรับคนที่มีอาการท้องเสีย ไม่ควรกินน้ำมันสะระแหน่ เพราะ อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่บริเวณทวารหนัก

ต้นสะระแหน่ หรือ มินต์ สมุนไพร กลิ่นหอม นิยมใช้ประโยชน์จากใบสะระแหน่ ลักษณะของต้นสะระแหน่เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของสะระแหน่ เช่น บำรุงสายตา บำรุงผิว บำรุงเหงือกและฟัน โทษของสะระแหน่ มีอะไรบ้าง

โหระพา สมุนไพร กลิ่นหอม นิยมนำใบโหระพามาทำอาหาร แต่งกลิ่น ต้นโหระพาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร โทษของโหระพามีอะไรบ้าง

โหระพา สมุนไพร

โหระพา ( Sweet basil ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของโหระพา คือ Ocimum basilicum L. จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับต้นกะเพรา มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและแอฟริกา ผักมีกลิ่นหอม นิยมนำมาประกอบอาหารและแต่งกลิ่นอาหาร ผักพื้นบ้าน มีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และ โหระพามีวิตามินและแร่ธาตุต่างๆมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โหระพาสามารถนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหยได้ น้ำมันหอมระเหยจากโหระพา อาจทำให้เกิดอาการแพ้กับสตรีมีตั้งครรภ์ได้

คุณค่าทางโภชนากการของโหระพา

ในโหระพามีประโยชน์ต่างๆมากมาย เป็นผักสวนครัวที่นิยมรับประทานใบสดเป็นอาหาร จึงมีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของโหระพาสดๆขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 251 กิโลแคลอรี่

  • มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก แมงกานีส โพแทสเซียม โซเดียม สังกะสี และ กากใยอาหาร
  • มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินซี วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน
  • มีสารเคมีสำคัญประกอบด้วย Methyl chavicol มากถึงร้อยละ 90 และ Pinene β-Pinene β-Bourbonene β-Elemene β-Cubebene β-Caryophyllene β-Copaene β-Acoradiene Camphor Ocimene Eucalyptol Linalool Benzaldehyde Sabinene  Myrcene Cis-Hex-3-Enyl Acetate p-Cymene Limonene Eucalyptol  cis-Beta-Ocimene cis-Linalool Oxide trans-Linalool Oxide trans-Myroxide Neo-Allo-Ocimene Menth-2-en-1-ol Pinocarvone Terpinen-4-ol Endo Fenchyl Acetate Nerol Neral Geraniol Geranial Carvacrol Bicycloelemene Exo-2-Hydroxycineole Acetate Cubebene Geranyl Acetate Methyl Eugenol Trans-Alpha-ergamotene Cadina-3,5-Diene Epsilon-Muurolene Germacrene Bicylogermacrene

ลักษณะของต้นโหระพา

ต้นโหระพา สมุนไพรประเภทผักสวนครัว พืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ทวีปเอเชีย และ ทวีปอาฟริกา โหระพาสามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด และ การปักชำ รายละเอียดของต้นโพระพา มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากและลำต้นโหระพา โหระพามีรากเป็นระบบรากแก้วและรากฝอย ลำต้นของโหระพา สีม่วงแดง ความสูงประมาณ 60 เซ็นติเมตร ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม อุ้มน้ำ เนื้อไม้อ่อน
  • ดอกโหระพา มีสีม่วง ออกดอกเป็นช่อ ซึ่งดอกออกที่ปลายของยอดต้นโหระพา ในดอกมีเมล็ด
  • ใบโหระพา ใบสีเขียว ปลายใบแหลม ลักษณะใบเดี่ยว ออกตามข้อของกิ่ง
  • เมล็ดโหระพา มีขนาดเล็กๆ ลักษณะกลม สีน้ำตาลเข้ม เมล็ดโหระพามีเมือกหุ้มเมล็ดอยู่ หากนำมาแช่น้ำจะมีเมือกพองตัวเหมือนเมล็ดแมงลัก

ประโยชน์ของโหระพา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากต้นโหระพา ใช้ประโยชน์โดยนำมากินเป็นอาหาร คุณสมบัติเด่นของโหระพา คือ มีกลิ่นหอม ใบโหระพาสามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยได้ นำไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ความงาม โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ใบโหระพา สามารถสกัดทำน้ำมันหอมระเหยได้ ให้กลิ่นหอม นำมาใช้ในอุตสาหกรรมสำหรับแต่งกลิ่น น้ำมันหอมระเหยจากโหระพา เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง เช่น น้ำหอม สบู่ เป็นต้น
  • ใบโหระพาสด นำมากินเป็นอาหาร นิยมใส่ในอาหารให้มีกลิ่นหอม

สรรพคุณต้นโหระพา

การใช้ประโยชน์ของโหระพา ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย สามารถใช้ ใบโหระพา ลำต้นโหระพา เมล็ดโหระพา และ น้ำมันหอมระเหย โดยรายละเอีนด ดังนี้

  • เมล็ดของโหระพา สรรพคุณช่วยขับถ่าย ช่วยควบคุมน้ำหนัก รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดการบีบตัวของลำไส้
  • ใบและลำต้นของโหระพา มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สรรพคุณแก้เจ็บคอ ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน ขับลม ขับเหงื่อ แก้ท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร แก้หวัด ช่วยลดอาการอักเสบของแผล รักษาแผล ช่วยห้ามเลือด ช่วยให้ลดอาการปวด
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพา สรรพคุณแก้ปวดเมื่อย ช่วยทำให้ผ่อนคลาย ลดอาการเหนื่อยล้า แก้อาการกระตุก แก้จมูกอักเสบ ลดอาการปวดจากแมลงกัดต่อย

โทษของโหระพา

ต้นโหระพา มีกลิ่นหอม สามารถนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพาได้ แต่น้ำมันหอมระเหยไม่ควรใช้กับสตรีมีครรภ์ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้

ต้นโหระพา คือ พืชชนิดหนึ่งประเภทพืชล้มลุก สมุนไพรพื้นบ้าน สมุนไพรมีกลิ่นหอม นิยมนำใบโหระพามาทำอาหาร แต่งกลิ่นอาหารให้กลิ่นหอม ต้นโหระพาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของโหระพา สรรพคุณของโหระพา เช่น ช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร โทษของโหระพามีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย