บอระเพ็ด สมุนไพรไทย มีรสขม นิยมนำมาทำยา ต้นบอระเพ็ดเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงผิวพรรณ โทษของบอระเพ็ด มีอะไรบ้าง

บอระเพ็ด สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นบอระเพ็ด ( Heart leaved moonseed ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของบอระเพ็ด คือ Tinospora crispa (L.) Hook. f. & Thomson ชื่อเรียกอื่นๆของต้นบอระเพ็ด เช่น เจตมูลหนาม ตัวเจตมูลยาน เถาหัวดำ หางหนู จุ่งจิง เครือเขาฮอ เถาหัวด้วน จุ่งจะลิง เจ็ดหมุนปลูก เป็นต้น

ต้นบอระเพ็ด คือ พืชประเภทไม้เลื้อย ซึ่งเป็นพืชที่สามารถพบด้ตามป่า โดยเฉพาะป่าดิบแล้ง คนไทยนิยมใช้เป็นสมุนไพร ยารักษาโรค สารพัดปรัโยชน์ นิยมนำบอระเพ็ดมาทำเป็นยา เลือกส่วนเถา ที่มีลักษณะไม่แก่ หรือ อ่อนเกินไป บอระพ็ดมีรสชาติขมจัด

ลักษณะของต้นบอระเพ็ด

ต้นบอระเพ็ด สามารถพบได้ทุกภาคของประเทศไทย พบมากตามป่าดงดิบ และ ป่าเบญจพรรณ ที่มีความชื้น ต้นบอระเพ็ดจะเกาะตามพุ่มไม้ใหญ่ เถาบอระเพ็ดจะเลื้อยตามต้นไม้ต่างๆ สำหรับการปลูกบอระเพ็ด สามารถขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ดพันธุ์ และ การปักชำ ลัษณะของต้นบอระเพ็ด มีดังนี้

  • ลำต้นบอระเพ็ด เป็นลักษณะเถาไม้เนื้ออ่อน ยาวมากกว่า 10 เมตร ผิวของลำต้นเป็นตะปุ่มตะป่ำ เถามีสีเขียวเข้ม และหากเถามีอายุมากจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เถาบอระเพ็ดน้ำยางสีเหลือง เถาบอระเพ็ดรสขมจัด
  • ใบบอระเพ็ด เป็นลักษณะใบเดี่ยว เรียงสลับกันจามเถา ลัษณะของใบคล้ายรูปหัวใจ เหมือนใบพลู ขอบใบเรียบ ปลายใบมีหยัก ใบบอระเพ็ดมีสีเขียวเข้ม มีขนอ่อนๆ
  • ดอกบอระเพ็ด ลักษณะเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบ เกสรมีสีขาว
  • ผลบอระเพ็ด ลักษณะกลมรี มีเปลือกบางๆห่อหุ้ม ผลบอระเพ็ดมีสีเขียว และ ผลสุกมีสีเหลือง

คุณค่าทางโชนาการของบอระเพ็ด

บอระเพ็ดมีสารเคมีหลายชนิด ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยองค์ประกอบทางเคมีของบอระเพ็ด มีดังนี้

  • สารเคมีที่ทำให้เกิดรสขม คืิอ picroretin , columbin , picroretroside , tinosporide , tinosporidine
  • สารเคมีกลุ่มไตรเทอปีนอยส์ คือ Borapetoside A , Borapetoside B , Borapetol A , Tinocrisposide , tinosporan
  • สารเคมีกลุ่มอัลคาลอยด์ คือ N-formylannonaine , N-acetylnornuciferine
  • สารเคมีกลุ่มอามีน คือ N-trans-feruloyl tyramine , N-cis-feruloyl tyramine
  • สารเคมีกลุ่มฟีนอสิคไกลโคไซด์ คือ tinoluberide

สรรพคุณของบอระเพ็ด

ต้นบอระเพ็ด นิยมนำมาใช้เป็นยารักษาโรค และ บำรุงร่างกาย โดยบอระเพ็ด สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทุดส่วนประกอบของต้นบอระเพ็ด ทั้ง ใบบอระเพ็ด เถาบอระเพ็ด รากบอระเพ็ด และ ผลบอระเพ็ด โดย สรรพคุณของบอระเพ็ด มีดังนี้

  • ใบบอระเพ็ด สามารถใช้บำรุงผิวพรรณ ช่วยชะลอวัย บำรุงเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ แก้ผมร่วง แก้อาการคันหนังศีรษะ รักษารังแค รักษาชันนะตุ บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ลดความอ้วน ลดความดัน บำรุงเลือด ช่วยลดไข้ สร้างความชุ่มชื่นในลำคอ บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยขับพยาธิ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • เถาบอระเพ็ด สามารถใช้แก้กระหายน้ำ บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร แก้ร้อนใน ช่วยขับเหงื่อ ช่วยลดไข้ รักษาไข้มาลาเรีย บำรุงเลือด บำรุงเหงือกและฟัน แก้ปวด ช่วยขับพยาธิไส้เดือน ช่วยบำรุงน้ำดี แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • รากบอระเพ็ด เป็นยาอายุวัฒนะ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ป้องกันมะเร็ง ลดความดัน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยดับพิษร้อน ช่วยลดไข้ บำรุงเหงือกและฟัน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ผลบอระเพ็ด สามารถใช้ลดไข้ บำรุงเหงือกและฟัน แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ดอกบอระเพ็ด ช่วยฆ่าพยาธิในท้อง ช่วยฆ่าพยาธิในฟัน และ ช่วยฆ่าพยาธิในหู แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของบอระเพ็ด

สำหรับต้นบอระเพ็ด มีสารเคมีต่างๆมากมาย ซึ่งคุณสมบัติพิเศษของบอระเพ็ด คือ ความขม การบริโภคและการใช้ประโยชน์จากบอระเพ็ด มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • การรับประทานรากของบอระเพ็ด เป็นเวลานานส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ อาจทำให้มือเท้าเย็น แขนขาหมดแรงได้
  • การศึกษาสารสกัดจากบอระเพ็ด ใน หนูขาว พบว่าการบริโภคบอระเพ็ดในปริมาณมากติดต่อเป็นเวลานานเป็นพิษต่อไต เป้นพิษต่อตับ
  • สำหรับผู้ป่วยโรคตับและ โรคไตไม่ควรรับประทานบอระเพ็ด

บอระเพ็ด สมุนไพรไทย มีรสขม ลักษณะของต้นบอระเพ็ด เป็น เถาไม้เลื้อย ประโยชน์ของบอระเพ็ด และ สรรพคุณของบอระเพ็ด เช่น เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงผิวพรรณ โทษของบอระเพ็ด มีอะไรบ้าง

เผือก ( Taro ) สมุนไพร หัวเผือกเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต ลักษณะของต้นเผือก คุณค่าทางโภชนาการของเผือก ประโยชน์และสรรพคุณของเผือก เช่น บำรุงกำลัง ช่วยการขับถ่าย

เผือก สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นเผือก ( Taro ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของเผือก คือ Colocasia esculenta (L.) Schott ชื่อเรียกอื่นๆของเผือก เช่น ตุน บอนเขียว บอนจีนดำ บอนท่า บอนน้ำ โอ่วไน โอ่วถึง โทวจือ เป็นต้น สำหรับ สายพันธุ์เผือก ที่พบในไทยแบ่งได้ 4 พันธุ์ คือ เผือกหอม เผือกเหลือง เผือกไม้ และ เผือกตาแดง

ต้นเผือก เป็นพืชตระกูลบอน มีหัวอยู่ใต้ดิน นิยมนำหัวเผือกมารับประทานเป็นอาหาร เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต สามารถกินทดแทนข้าวได้ เผือกมีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนใต้ของประเทศแถบเอเชียกลาง ซึ่งปัจจุบันการปลูกเผือกนั้นนิยมปลูกและรับประทานทั่วไป

สายพันธุ์เผือก

สำหรับต้นเผือก มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งสายพันธุ์เผือก มีมากกว่า 200 พันธุ์ ซึ่งสามารถแบ่งสายพันธุ์เผือก ได้ 2 ประเภท คือ เผือกสายพันธ์เอดโด ( eddoe ) และ เผือกสายพันธ์แดชีน ( dasheen ) รายละเอียด ดังนี้

  • เผือกสายพันธุ์เอดโด ( eddoe ) เป็นเผือกที่มีหัวขนาดไม่ใหญ่ และ มีหัวเล็กกว่าล้อมรอบอยู่หลายหัว
  • เผือกสายพันธุ์แดชีน ( dasheen ) เป็นเผือกที่มีหัวขนาดใหญ่ และ มีหัวขนาดเล็กล้อมรอบ ใช้รับประทานได้

เผือกในประเทศไทย

เผือก จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกเผือกเพื่อขาย ซึ่ง สายพันธุ์เผือกในประเทศไทย มีหลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์เผือกที่พบในประเทศไทย แบ่งได้ 4 สายพันธุ์ คือ

  • เผือกหอม เป็นชนิดหัวใหญ่ มีหัวเล็กติดอยู่กับหัวใหญ่เล็กน้อย ต้มรับประทานมีกลิ่นหอม กาบใบใหญ่สีเขียว
  • เผือกเหลือง หัวขนาดย่อม หัวสีเหลือง
  • เผือกไม้หรือเผือกไหหลำ หัวมีขนาดเล็ก
  • เผือกตาแดง ตาของหัวมีสีแดงเข้ม มีหัวเล็ก ๆ ติดอยู่รอบหัวใหญ่ เป็นกลุ่มจำนวนมาก กาบใบและเส้นใบสีแดง

แหล่งปลูกเผือกในประเทศไทย มีแหล่งปลูกเผือกที่สำคัญในทุกภาคของประเศ ได้แก่ ภาคเหนือ ( เชียงใหม่ พิษณุโลก ) ภาคกลาง  ( นครนายก นครสวรรค์ สระบุรี อยุธยา สุพรรณบุรี สิงห์บุรี นครปฐม ราชบุรี ) ภาคอีสาน ( นครราชสีมา สุรินทร์ ) ภาคใต้ ( ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราฏษ์ธานี )

ลักษณะของต้นเผือก

ต้นเผือก พืชตระกูลบอน เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ดพันธุ์ การแตกหน่อ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งการปลูกเผือก นิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนของทุกปี และเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมของทุกปี โดยลักษณะของต้นเผือก มีดังนี้

  • ลำต้นของเผือก เป็นลักษณะหัว ซึ่งอยู่ใต้ดิน ลักษณะของหัวเผือกค่อนข้างกลม เปลือกของหัวมีสีน้ำตาล ภายในหัวมีเนื้อในสีขาว
  • ใบของเผือก มีสีเขียว เป็นใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่ ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบมนเป็นเส้นๆ มีก้านใบยาว ซึ่งความยาวก้านใบประมาณ 1 เมตร
  • ดอกเผือก ออกเป็นช่อ ดอกเผือกมีสีเขียว ก้านช่อดอก มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ปลายกาบเรียวแหลมยาวคล้ายหาง ช่อดอกสั้นกว่ากาบ ดอกจะทยอยบาน
  • ผลเผือก มีสีเขียว เปลือกบาง ไม่ค่อยมีเมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของเผือก

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเผือก นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวเผือกดิบ และ ใบเผือกดิบ ซึ่งผลจากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเผือก มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของหัวเผือกดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 112 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 26.46 กรัม น้ำตาล 0.40 กรัม กากใยอาหาร 4.1 กรัม ไขมัน 0.20 กรัม โปรตีน 1.5 กรัม น้ำ 70.64 กรัม วิตามินเอ 76 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.095 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.025 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.600 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.303 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.283 มิลลิกรัม วิตามินบี9 22 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 2.38 มิลลิกรัม วิคามินเค 1.0 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 43 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.55 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 33 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.383 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 84 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 591 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 11 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.23 มิลลิกรัม ธาตุทองแดง 0.172 มิลลิกรัม และ
ธาตุซีลีเนียม 0.7 ไมโครกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบเผือกดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 42 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.7 กรัม น้ำตาล 3 กรัม กากใยอาหาร 3.7 กรัม ไขมัน 0.74 กรัม โปรตีน 5 กรัม วิตามินเอ 241 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 2,895 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 1,932 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.209 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.456 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.513 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.146 มิลลิกรัม วิตามินบี9 129 ไมโครกรัม วิตามินซี 52 มิลลิกรัม วิตามินอี 2.02 มิลลิกรัม วิคามินเค 108.6 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 107 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.25 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.714 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 60 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 648 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.41 มิลลิกรัม

สรรพคุณของเผือก

สำหรับประโยชน์ของเผือก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก หัวเปือก ใบเผือก กาบในเผือก และ น้ำยางจากเผือก โดยรายละเอียด ดังนี้

  • หัวของเผือก สามารถใช้บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง เป็นยาลดไข้ บำรุงกระดูก ช่วยป้องกันฟันผุ ช่วยในการขับถ่าย แก้ท้องเสีย ช่วยบำรุงไต
  • น้ำยางของเผือก สามารถใช้ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้
  • ใบของเผือก สามารถใช้รักษาแผล ลดอาการอักเสบ แก้ปวด รักษาโรคผิวหนัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • กาบใบของเผือก สามารถใช้รักษาแผล ถอนพิษจากแมลงกัดต่อย แก้ปวด แก้อักเสบ รักษาโรคผิวหนัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของเผือก

สำหรับการรับประทานเผือก ต้องทำให้สุกก่อน และ กำจัดยางจากเผือกก่อน หากเตรียมเผือกไม่ดีก่อนนำมารับประทาน สามารถทำให้เกิดโทษ ได้ โดย โทษของเผือก มีดังนี้

  • เผือกดิบ ไม่สามารถนำมากินได้ เนื่องจาก เผือกดิบมีผลึกแคลเซียมออกซาเลต เป็นพิษ ทำให้เกิดนิ่วในไต ทำให้เกิดการระคายเคืองลำคอ และ ระบบทางเดินอาหาร
  • สำหรับบางคนที่มอาการแพ้เผือก หากพบว่ามีอาการคันในช่องปาก ลิ้นชา หลังจากกินเผือก ต้องหยุดรับประทานและพบแพทย์ทันที
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย