มะเร็งเม็ดเลือดขาว Leukemia ลูคีเมีย อาการเลือดกำเดาไหลบ่อย ติดเชื้อง่าย เหงื่อออกตอนกลางคืน ฟกช้ำง่าย อ่อนเพลีย การรักษาและแนวทางการป้องกันต้องทำอย่างไรมะเร็งเม็ดเลือดขาว ลูคีเมีย โรคมะเร็ง รักษาลูเคีเมีย

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) เรียกอีกชื่อว่า ลูคีเมีย คือ มะเร็งที่เกิดกับเม็ดเลือดขาว ซึ่งมีหน้าที่ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค  โรคนี้จัดว่าเป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งมะเร็งเม็ดเลือดขาวสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มีอยู่ 2 ชนิด คือ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน และ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง

ชนิดของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

สำหรับลักษณะของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว สามารถแบ่งได้ 4 ชนิด 2 ลักษณะ ตามลักษณะของอาการของโรค คือ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน และ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง รายละเอียดดังนี้

  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ไมอิลอยด์ ( Acute Myelogenous Leukemia ) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่พบบ่อยที่สุด เกิดมากกับผู้ใหญ่
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ลิมโฟไซติก ( Acute Lymphocytic Leukemia ) เป็นมะเร็งที่พบมากในเด็กเล็ก แต่ก็สามารถพบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน หากเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดนี้สามารถรักษาให้ขาดได้ หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง ไมอิลอยด์ ( Chronic Myelogenous Leukemia ) พบว่าเกิดกับผู้ใหญ่ และ แสดงอาการเพียงเล็กน้อย หรือ ไม่แสดอาการผิดปรกติเลย จนถึงระยะที่รุนแรงจึงแสดงอาการให้เห็น
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง ลิมโฟไซติก ( Chronic Lymphocytic Leukemia ) เป็นมะเร็งที่พบมากในผู้สูงอายุ ซึ่งผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการผิดปรกติให้เห็น จนถึงระยะที่รุนแรงจึงแสดงอาการให้เห็น

สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว 

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรค แต่เกิดจากจำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นผิดปกติ ส่งผลให้ระบบการสร้างเม็ดเลือดปกติของไขกระดูกผิดปรกติ ทำให้เกล็ดเลือดและเม็ดเลือดแดงมีจำนวนลดน้อยลง ระบบภูมิต้านทานโรคจึงผิดปรกติ มีอาการต่างๆกระทบทั่วร่างกาย เนื่องจากร่างกายทุกอวัยวะต้องการการหล่อเลี้ยงของเลือด เราไม่ทราบสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของเซลล์เม็ดเลือดขาว แต่สามารถสรุปปัจจัยต่างๆที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น รายละเอียด ดังนี้

  • ภาวะการติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัส HTLV-1 เป็นต้น
  • การได้รับสารเคมีต่างๆ เช่น สารกัมมันตรังสี เป็นต้น
  • ภาวะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับผู้ป่วยที่มีญาติพ่อแม่พี่น้องเคยมีประวัติป่วยโรคนี้ มีโอกาศป่วยโรคนี้มากกว่าผู้อื่น

อาการโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

สำหรับการแสดงอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว จะแสดงอาการแตกต่างกันตามชนิดของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่สามารถสังเกตุอาการของโรคมะเร้งเม็ดเลือดขาว ได้ดังนี้

  • มีไข้สูง หนาวสั่น ติดเชื้อโรคง่าย และ เหงือออกมากเวลากลางคืน
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการปวดตามตัว โดยเฉพาะกระดูก เมื่อกดบริเวณกระดูกจะเจ็บมาก
  • มีอาการบวมโตบริเวณคอและรักแร้ ซึ่งเป็นอาการของต่อมน้ำเหลืองบวมโต
  • มีอาการบวมบริเวณตับ หรือ ม้าม
  • ผิวหนังฟกช้ำง่าย และ เลือดกำเดาไหลบ่อย
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว และชัก

อาการของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะแสดงอาการเจ็บปวดทรมาน เนื่องจาก เม็ดเลือดขาวเป็นส่วนหนึ่งของการหล่อเลี้ยงอวัยวะทั่วร่างกาย เช่น สมอง หัวใจ ปอด ระบบทางเดินอาหาร ไต อัณฑะ เป็นต้น

แนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

สำหรับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว แพทย์จะใช้การการตรวจร่างกายทั่วไป ซักประวิติการรักษาโรคและประวัติทางพันธุกรรม การตรวจเลือด การตรวจไขกระดูก และ การตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในปัจจุบัน สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการปลูกถ่ายไขกระดูก แต่ แนวทางการรักษาใช้หลายวิธีร่วมกัน ประกอบด้วย การใช้เคมีบำบัด การฉายรังสี การปลูกถ่ายไขกระดูก และ การใช้ยารักษาตรงเป้าหมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ รายละเอียด ดังนี้

  • การใช้เคมีบำบัด เป็นการให้ยาหลายชนิดร่วมกัน แต่การรักษาด้วยยวิธีนี้ทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน ผทร่วง ตัวซีด เลือดออกง่ายเกร็ดเลือดต่ำ เป็นต้น
  • การฉายรังสี สามารถใช้ได้เฉพาะกรณีมะเร็งเม็ดเลือดขาาวที่อวัยวะที่สำคัญ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวที่สมอง
  • การปลูกถ่ายไขกระดูก เป็นการรักษาเมื่อไม่สามารถใช้วิธีอื่นได้ วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูง สามารถรักษาให้หายได้ แต่ไม่สามารถรับประกันว่าจะรักษาได้
  • การใช้ยารักษาตรงเป้าหมาย วิธีนี้ค่ารักษาแพง และอาจทำให้เกิดอาการเลือดออกง่าย

การป้องกันมะเร็งเม็ดเลือดขาว

สำหรับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน จึงไม่มีแนวทางป้องกันที่ได้ผล สิ่งที่สามารถทำได้คือ การดูแลร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ และ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงจากการรับสารพิษต่างๆ หลีกเลี่ยงการเข้าพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับกัมตรังสี

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) ลูคีเมีย เลือดกำเดาไหลบ่อย ติดเชื้อง่าย เหงื่อออกตอนกลางคืน ฟกช้ำง่าย อ่อนเพลีย เป็นอาการหนึ่งของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว สามารถรักษาได้ สาเหตุของโรค และ แนวทางการรักษาต้องทำอย่างไร

โรคเก๊าท์ อาการบวดบวมที่ข้อกระดูกหัวแม่เท้า ปวดเท้ามาก มีอาการบวมแดง สาเหตุของโรคเก๊าท์เกิดจากอะไร ผู้ป่วยโรคเก๊าท์สามารถกินอะไรได้บ้าง ห้ามกินอะไรโรคเก๊าท์ โรคข้อกระดูก โรคต่างๆ การรักษาโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์ ( Gout ) คือ โรคที่ข้อกระดูก เกิดจากการตะกอนของยูริคที่ข้อกระดูกหัวแม่เท้า ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อกระดูก บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า หัวแม่เท้าบวมแดง ปวดแบบฉับพลัน มักเกิดกับคนอายุ 40 ปีขึ้นไป และ พบมากในบุรุษมากกว่าสตรี เป็นอาการป่วยแบบเรื้อรัง ต้องรับการรักษาตลอดชีวิต

โรคเก๊าท์เทียม คือ โรคที่มีอาการคล้ายโรคเก๊าท์ แต่จะตรวจได้จากการเจาะข้อที่ปวดเพื่อส่องกล้อง หากพบผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟต ( Calcium phosphate ) ที่ไม่ใช่ผลึกยูเรต จะมีอาการไข้ร่วมด้วย แต่กาการจะทุเลาและหายไปเองในที่สุด

สาเหตุการเกิดโรคเก๊าท์ 

สำหรับสาเหตุของโรคเก๊าท์ เกิดจากการสะสมของกรดยูริคในเลือดในปริมาณที่มากเกินกว่าปกติ ซึ่งกรดยูริกทำให้เกิดการสะสมของตะกอนยูริคที่ข้อกระดูก ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบบวมแดง ปวด ที่ข้อกระดูกหัวแม่เท้า ซึ่งอาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมด้วย รวมถึงพฤติกรรมการบริโภค

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเก๊าท์

สำหรับโรคเก๊าท์ อาจเกิดกับกลุ่มบุคคลต่างๆที่มีความเสี่ยงในการเกิดดรคเก๊าท์ มีดังนี้ 

  1. การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ป่วยที่มีประวัติพ่อแม่ญาติพี่น้องเคยเป็นโรคมีความเสี่ยงเกิดโรคนี้
  2. เป็นอาการแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ เช่น โรคมะเร็ง มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคเลือด โรคทาลัสซีเมีย โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  3. ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคไต ทำให้ไตขับกรดยูริคออกจากเลือดได้น้อย
  4. เพศ พบโรคนี้ได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
  5. การดื่มสุรา ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์ ทำให้กรดยูริกในร่างกายสูงขึ้น
  6. พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์ปีก ยอดอ่อนของผักบางชนิด
  7. ภาวะน้ำหนักตัวเกิน โรคอ้วน หรือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีโอกาสเกิดโรคได้
  8. ผู้ป่วยจะปวดตามข้อต่างๆในเวลาอากาศเย็นมากกว่า
  9. ผู้ใช้ยา เลโวโดปา ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ แอสไพริน ไซโคลสปอริน จะส่งผลต่อการขับกรดยูริคในเลือดของไต

อาการโรคเก๊าท์

สำหรับอาการที่แสดงออกของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ คือ ปวดอย่างรุนแรงแบบฉับพลัน บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า มักเกิดขึ้นภายใน 1 วัน บริเวณที่ปวดจะมีอาการปวมแดง บวมตึง หากสัมผัสเจ็บมาก เดินไม่สะดวก

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเก๊าท์

สำหรับโรคเก๊าท์ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอื่นๆด้วย โดนภาวะแทรกซ้อนของโรคเก๊าท์ มีดังนี้

  1. เกิดปุ่มผลึกยูริค ตามข้อต่างๆและใบหู หากปล่อยเรื้อรัง ส่งผลต่อบุคคลิกภาพ การเข้าสังคม สภาพจิตใจ อาการทางจิต
  2. ข้อพิการหากไม่ได้รักษา เดินไม่ได้ ขยับแขนไม่ได้ นิ่วในไต ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  3. กรรมพันธุ์ร่วมกับ์โรคเก๊าท์ ได้แก่ ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง และภาวะหลอดเลือดแดงแข็งความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์มักเป็นโรคต่างๆเหล่านี้ร่วมด้วย
  4. หากปล่อยเรื้อรังอาจจะเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบโรคหลอดเลือดสมองตีบ และไตวายจนเสียชีวิตได้

การตรวจวินิจฉัยโรคเก๊าท์

สำหรับการวินิจฉัย แพทย์จะซักประวัติการรักษาโรค และ พฤติกรรมของผู้ป่วยก่อน จากนั้นตรวจสภาพร่างกายส่วนที่บวมแดง และ เจาะเลือดเพื่อดูระดับของกรดยูริก รวมถึงเอ็กเรย์ดูข้อต่อที่ปวมแดง

การรักษาโรคเก๊าท์ 

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเก๊าท์ สามารถทำได้โดยการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น ยาแก้ปวด รวมถึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย ที่เป็นปัจจัยของการเกิดโรค ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ พักผ่อนอย่างเพียงพอ

แนวทางการปฏบัติตนของผู้ป่วยโรคเก๊าท์

สำหรับการปฏิบัติตนของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ต้องมีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

  1. พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  2. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  3. เลิกดื่มสุรา
  4. งดการกินอาหารจำพวก สะตอ หน่อไม้ ถั่ว  ผักโขม ผักปวยเล้ง ใบขี้เหล็ก เนื้อสัตว์ ปลา ปลาหมึก ปู ดอกกะหล่ำ ยอดผัก เห็ด สาหร่าย อาหารที่ใส่ยีสต์ (ขนมปัง เบียร์) น้ำต้มกระดูก กระถิน ชะอม ดอกสะเดา ยอดแค หอย ปลาซาร์ดีน ปลาแฮริง ปลา ส้ตัน ปลาดุก กะปิ ซุปก้อน น้ำสกัดเนื้อ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ไข่ปลา
  5. สำหรับอาหารสามารถรับประทานได้สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ เช่น ผักและผลไม้ นมพร่องไขมัน โยเกิร์ต เนย ช็อกโกแลต ชา กาแฟ ข้าว ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต แป้ง ไข่ เต้าหู้ผักที่ไม่ใช่ยอดอ่อน หัวกะหล่ำ ผลไม้ทุกชนิดธัญพืช ปลาน้ำจืด
  6. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  7. หลีกเลี่ยงการกระแทกข้อกระดูกเท้า
  8. หากเกิดอาการปวดข้อกระดูกหัวแม่เท้าห้ามบีบหรือนวดข้อต่อที่ปวด เนื่องจากจะทำให้ปวดมากยิ่งขึ้น อักเสบมากขึ้น
  9. ประคบด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำแข็งบริเวณที่ปวด
  10. ดื่มนม วันละ 1 แก้ว เนื่องจากดื่มนมช่วยให้ไตขับกรดยูริคออกจากกระแสเลือดได้
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย