มะเร็งปากมดลูก สตรีอายุ 45 ปีขึ้นไปเสี่ยงต่อโรค ควรตรวจคัดกรอง มักเกิดจากติดเชื้อไวรัส HPV อาการตกขาวผิดปรกติ ตกขาวมีหนองปน ตกขาวมีเลือดปน เจ็บตอนมีเพศสัมพันธ์มะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็ง โรคของสตรี

มะเร็งปากมดลูก ( Cervical cancer ) คือ มะเร็งที่เกิดบริเวณปากมดลูกของสตรี โดยลักษณะของอาการ ตกขาวคล้ายหนอง มีเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติ มีเลือดหลังมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่มีอาการป่วย มะเร็งชนิดนี้มักเกิดกับสตรีอายุ 45 ปีขึ้นไป สตรีอายุ 25 – 49 ปี ควรรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก 3 ปี สำหรับสตรีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกๆ 5 ปี

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก

สำหรับสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ( Human Papilloma virus ) จากการมีเพศสัมพันธ์  แต่นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก มีดังนี้

  • กรรมพันธุ์
  • การมีลูกหลายคน
  • การขาดสารอาหาร
  • การกินยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน
  • การสูบบุหรี่
  • โรคเอดส์
  • พฤติกรรมการชอบเปลี่ยนคู่นอน และ การมีเพศสัมพันธุ์ตั้งแต่เด็ก

อาการโรคมะเร็งปากมดลูก

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก จะแสดงอาการที่ท้องน้อย และ อวัยวะเพศ ลักษณะการตกขาวผิดปรกติ อาการเจ็บปวดต่างๆที่บริเวณท้องน้อยและอวัยวะเพศ ซึ่งสัญญาณเตือนของอาการต่างๆมักจะเกิดขึ้นเมื่อมะเร็งเริ่มเข้าสู่ระยะลุกลามแล้ว สามารถสรุปลักษณะอาการของโรค ได้ดังนี้

  • มีเลือดออกจากช่องคลอดทั้งๆที่ไม่ได้เป็นประจำเดือน
  • มีประจำเดือนนานผิดปกติ
  • ตกขาวมากผิดปกติ ตกขาวมีกลิ่นเหม็น
  • เจ็บเวลามีเพศสัมพันธุ์
  • ปวดหลัง และ ปวดก้นกก
  • ปัสสาวะผิดปกติ

ระยะของโรคมะเร็งปากมดลูก

สำหรับระยะของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก มี 4 ระยะเหมือนโรคมะเร็งอื่นๆ ซึ่งความรุนแรงของอาการจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยรายละเอียดดังนี้

  • โรคมะเร็งปากมดลูก ระยะแรก ซึ่งระยะนี้ไม่พบคามผิดปกติอย่างชัดเจน พบเซลล์มะเร็งบริเวณปากมดลูก และ ยังไม่ลุกลาม
  • โรคมะเร็งปากมดลูก ระยะที่2 ในระยะนี้เซลล์มะเร็งเริ่มลุกลามจากปากมดลูกไปยังช่องคลอด
  • โรคมะเร็งปากมดลูก ระยะที่3 ในระยะนี้เซลล์มะเร็งลุกลามเข้าสู่ผนังอุ้งเชิงกราน ไททับท่อไตส่งผลต่อการทำงานของไต
  • โรคมะเร็งปากมดลูก ระยะสุดท้าย เซลล์มะเร็งลุกลามไปอวัยวะต่างๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ ตับ ปอด สมอง เข้าสู่ระบบน้ำเหลือง และ เลือด เป็นระยะอันตราย

การวินิจฉัยโรคมะเร็งปากมดลูก

สำหรับโรคมะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจคัดกรองโรคได้ โดยการตรวจแป๊ปสเมียร์ (Pap smear) ปีละ 1 ครั้ง โดยการป้ายเซลล์จากปากมดลุกแล้วนำมาป้ายลงกระจก สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ 50-60% หากต้องสงสัยจะมีการตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก

สำหรับแนวทางการรักษาโรคสามารถใช้การผ่าตัด การรักษาด้วยการฉายรังสี และ การรักษาด้วยเคมีบำบัด ซึ่งการรักษาอยู่ในดุลย์พินิจของแพทย์ขึ้นอยู่กับระยะของโรคและอาการป่วย ผู้ป่วยมะเร็งระยะแรกจะใช้วิธีการรักษาเป็นการผ่าตัดร่วมกับการใช้ยาเคมีบำบัด ส่วนผู้ป่วยที่มีการลุกลามของมะเร็งที่มากขึ้นมักใช้วิธีการฉายแสงรังสีรักษาร่วมกับการใช้ยาเคมีบำบัด มีรายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดบางส่วนของปากมดลูก ผ่าตัดแบบ Cone Biopsy และ Laser Therapy
  • การฉายรังสีรักษา (Radiotherapy)
  • เคมีบำบัด (Chemotherapy)

การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก 

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี เป็นไวรัสจากการมีเพศสัมพันธ์ การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุด แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ และ เข้ารับวัคซีนเอชพีวี
  • ไม่มีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย ไม่เปลี่ยนคู่นอนหลายคู่
  • ป้องกันทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เช่น ใช้ถุงยางอนามัย
  • ไม่ควรมีเพศสัมพันธุ์ก่อนวัยอันควร

โรคมะเร็งปากมดลูก โรคของสตรีอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรอง มักเกิดจากติดเชื้อไวรัส HPV อาการตกขาวผิดปรกติ ตกขาวมีหนองปน ตกขาวมีเลือดปน เจ็บตอนมีเพศสัมพันธ์ สัญญานเตือนการเกิดโรค การรักษาและแนวทางป้องกันทำอย่างไร

การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ ทำให้เจ็บทรวงอก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย แนวทางการรักษาและป้องกันโรค ทำอย่างไรกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคหัวใจ โรคติดเชื้อ โรคหัวใจอักเสบ
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ( myocarditis ) คือ ภาวะการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนมากพบว่าเกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อ parvovirus B19 แต่สามารถเกิดจากการติดเชื้อโรคอื่นๆได้ ไม่ว่าจะ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เช่น Borrelia burgdorferi ( โรคไลม์ ) หรือ Trypanosoma cruzi  โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ทางการแพทย์ เรียก Myocarditis หรือ Inflammatory cardiomyopathy พบมากในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป มีอาการของโรครุนแรง เสียชีวิตได้

สาเหตุการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับภาวะการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจเกิดจากการติดเชื้อโรค เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือ พยาธิ เมื่อร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น โรคเอสแอลอี โรครูมาตอยด์ โรคไข้รูมาติก เป็นต้น ทำให้ร่างกายได้รับเชื้อโรคง่าย เชื้อโรคจะเข้าไปทำลายหัวใจ ทำให้เกิดการอักเสบ ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ ส่งผลต่อการทำงานของปอด ทำให้เกิดปอดบวมน้ำ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จะทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย ซึ่งสามารถสรุปสาเหตุของการติดเชื้อได้ดังนี้

  • การได้รับสารพิษพวก สารหนู สารตะกั่ว ควันรถยนต์การกระทบกระเทือนโดยตรงที่กล้ามเนื้อหัวใจ
  • เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวทำร้าย เรียกว่า สารภูมิต้านทานร่างกาย หรือ แอนติบอดี้ ( Antibody )
  • การติดเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เป็นสาเหตุจากโรคต่างๆ เช่น ไวรัสไข้หวัดใญ่ ไวรัสหัดเยอรมัน ไวรัสเอชไอวี แบคทีเรียวัณโรค
  • การติดเชื้อโรคจากพยาธิ
  • การติดเชื้อรา
  • การแพ้ยาปฏิชีวนะ
  • ถูกสัตว์มีพิษกัด เช่น งู ผึ้ง หรือ แมลงต่างๆ

อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 

สำหรับอาการผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จะเกิดอาการอักเสบทั่วร่างกายไม่ได้อักเสบเฉพาะหัวใจ ซึ่งเป็นผลจากการไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย สามารถสังเกตุอาการของโรค ได้ดังนี้

  • มีไข้สูงและหนาวสั่น
  • เหนื่อยล้า
  • ปวดหัว
  • ปวดกล้ามเนื้อ และ ปวดตามข้อกระดูก
  • เจ็บคอ
  • มีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว ท้องร่วง
  • เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว
  • มีอาการไอ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ริมฝีปาก และ เล็บมือ มีสีม่วง
  • มือ เท้า และ ข้อเท้าบวม

การตรวจวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคนอกจากดูลักษณะอาการของโรค แพทย์จะทำการซักประวัติการรักษาโรค จากนั้นตรวจโรค โดย การตรวจเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การทำเอมอาร์ไอ และ การตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ควรรีบส่งคนไข้ไปโรงพยาบาลทันทีเพ่ือรับการรักษา แพทย์วินิจฉัยได้โดยจะมีการฟังเสียงหัวใจเต้นผิดปกติ ( echocardiography ) เอกซเรย์พบหัวใจโต คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ และตรวจเลือดพร้อมกับให้การรักษาในทันที การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยเบื้องต้นแพทย์จะรักษาจากต้นแต่ของโรค คือ การให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุของโรค ร่วมกับประคับประครองอาการต่างๆ

การป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คือ หลีกเลี่ยงปัจจัยจัยต่างๆที่ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ และ ดื่มสุรา
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ใส่เครื่องมือป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ เพือป้องกันการติดเชื้อโรค

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ( Myocarditis ) การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ ทำให้เจ็บทรวงอก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย แนวทางการรักษาและป้องกันโรค ทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย