มะเร็งต่อมลูกหมาก ชายที่อายุ 50 ปีขึ้นไปเสี่ยงสูง อาการปัสสาวะขัด แสบเวลาฉี่ ฉี่บ่อย สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากอะไร แนวทางการรักษา และ การป้องกันโรค มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคผู้ชาย โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ

มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate gland cancer ) คือ ภาวะการเกิดเซลล์มะเร็งที่ต่อมลูกหมาก เกิดกับอวัยวะของผู้ชาย อาการที่พบสำหรับผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก เช่น ปัสสาวะขัด แสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ ตื่นกลางดึกเพื่อปัสสาวะอย่างเป็นประจำ ปัสสาวะไม่พุ่งอย่างปรกติ โรคมะเร็งชนิดนี้พบว่าเป็นอันดับสองรองจากโรคมะเร็งปอดในเพศชาย โดยเฉพาะในชายอายุมากตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปจะเป็นกลุ่มที่พบโรคนี้มาก

สำหรับต่อมลูกหมาก เป็นอวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย มีลักษณะคล้ายลูกเกาลัดเล็ก ๆ ทำหน้าที่ผลิตน้ำสำหรับหล่อเลี้ยงและลำเลียงอสุจิ

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากได้ แต่เกิดจากความผิดปรกติของเซลล์ในต่อมลูกหมากขยายตับรวดกว่าปกติ จนเกิดเนื้องอกลุกลามไปยังเนื้อเยื่ออวัยวะรอบข้างของต่อมลูกหมาก ซึ่งมีปัจจัยของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มีดังนี้

  • กรรมพันธุ์ บุคคลที่มีญาติป่วยโรคนี้จะมีโอกาศป่วยมากกว่าบุคคลทั่วไปถึงสามเท่า
  • พฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะที่มีไขมันสูง มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น
  • อายุ จากสถิติพบว่าเมื่อเพศชายอายุ 50 ปีขึ้นไปมีโอกาสเกิดโรคสูง

ระยะของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มี 4 ระยะของโรคเหมือนโรคมะเร็งอื่นๆ โดยระยะของมะเร็งต่อมลูกหมากจะกำหนดจากตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง การแพร่กระจายของมะเร็ง และการทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะร่างกาย โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก แบ่งออกเป็น 4 ระยะ มีดังนี้

  • โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 1 เป็นระยะเริ่มแรก พบว่าเกิดเซลล์มะเร็งเฉพาะต่อมลูกหมากเพียงกลีบเดียว ก้อนมะเร็งขนาดเล็ก คลำผ่านทางทวารหนักไม่พบ อัตราการรอดชีวิต 80-90% และไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
  • โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 2 ระยะนี้เซลล์มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย ก้อนมะเร็งใหญ่ขึ้น คลำผ่านทางทวารหนักพบ ยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ซึ่งสามารถพบได้ทั้งสองกลีบของต่อมลูกหมาก อัตราการรอดชีวิต 60-70%
  • โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 3 ระยะนี้เซลล์มะเร็งเกิดการแพร่กระจายสู่นอกต่อมลูกหมาก ซึ่งอาจลุกลามเข้าท่อน้ำเชื้อ อัตราการรอดชีวิต 50%
  • โรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ 4 ระยะนี้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายเข้าต่อมน้ำเหลืองและกระดูก ระบบเลือด อัตราการรอดชีวิต  20-50%

อาการโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับอาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากจะแสดงอาการผิดปรกติที่ระบบการสืบพันธ์และท่อปัสสาสะ เช่น ปัสสาวะขัด มีอาการแสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย ตื่นกลางดึกเพื่อปัสสาวะเป็นประจำ และ ปัสสาวะไม่เป็นลำผิดปกติ ไม่พุ่งออกมา ซึ่งนอกจากนั้นจะเป็นอาการผิดปรกติของร่างกาย ซึ่งอาการจะมากขึ้นตามระยะของการเกิดโรค อาการอื่นๆของมะเร็งต่อมลูกหมาก สามารถสังเกตุได้ดังนี้

  • น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ร่างกายบวม โดยเฉพาะส่วนล่างลงไป
  • ขาอ่อนล้า
  • มีอาการท้องผูก
  • อ่อนแรง
  • เจ็บบริเวณเชิงกราน ปวดหลังส่วนล่าง

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

แนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจคัดกรองโรคที่แม่นยำมากพอ ส่วนมากจะเป็นการตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยาในรายที่ต้องสงสัย ร่วมกับการตรวจเลือดเพื่อดูค่ามะเร็ง อยู่ที่การพิจารณาขอแพทย์และความสบายใจของผู้ป่วยและญาติ สามารถวินิจฉัยจากอาการผิดปรกติของร่างกาย การตรวจเลือด การตรวจ X-ray ต่อมลูกหมาก การทำ MRI และ การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก สามารถทำได้ด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี การให้ยาเคมีบำบัด และ การรักษาด้วยฮอร์โทร ซึ่งปัจจัยแนวทางการรักษาขึ้นอยู่กับ ตำแหน่ง ขนาด ระยะของเซลล์มะเร็ง สภาพร่างกายและจิตใจ ของผํู้ป่วย การรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มีดังนี้

  • การผ่าตัด สามารถทำได้ 2 วิธี คือ การผ่าตัดโดยใช้วิธีส่องกล้อง ( laparoscopic radical prostatectomy) และ การผ่าตัดโดยใช้แขนกลช่วยผ่าตัด (robotic–assisted da Vinci surgery หรือ da Vinci® prostatectomy)
  • รังสีรักษา โดยการฝังแร่ที่ต่อมลูกหมาก การรักษาด้วยการฉายรังสีขึ้นอยู่กับผู้ป่วยว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากลักษณะใด
  • การให้ยาเคมีบำบัด เพื่อไม่ให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต ซึ่งปัจจุบันทางแพทย์ก็มีวิธีบรรเทาอาการไม่พึงประสงค์ซึ่งเกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยาได้
  • การรักษาด้วยฮอร์โมน เป็นการรักษาเพิ่มเติมหลังการผ่าตัด กำจัดการสร้างฮอร์โมนเพศชายด้วยการใช้ยาต้านฮอร์โมน

การป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

แนวทางการป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การลดปัจจัยเสียที่สามารถควบคุมได้ โดยแนวทางการป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ทานอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากมีความผิดรกติของร่างกายให้ปรึกษาแพทย์

 

มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคในเพศชายที่อายุ 50 ปีขึ้นไป อาการปัสสาวะขัด แสบเวลาฉี่ ฉี่บ่อย เป็นอาการเบื้องต้นของโรคนี้ สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากอะไร แนวทางการรักษา และ การป้องกันโรค

มะเร็งช่องปาก ยังไม่ทราบสาเหตุของโรค คนสูบบุหรี่เสี่ยงมะเร็งช่องปากสูง อาการมีก้อนในปาก เจ็บคอเรื้อรัง มีแผลในปากเรื้อรัง การรักษาและป้องกันต้องทำอย่างไรมะเร็งช่องปาก โรคมะเร็ง มะเร็งในช่องปาก โรคไม่ติดต่อ

โรคมะเร็งช่องปาก ( Oral cancer ) คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นที่ปาก รวมถึงอวัยวะในช่องปาก เช่น ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก เหงือก เพดานปาก พื้นใต้ลิ้น ลิ้นไก่ และ ต่อมทอนซิล มีปัจจัยเสี่ยงมาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน มักเกิดกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง และพบมากในกลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไป

สำหรับพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ กลุ่มคนเหล่านี้จะมีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งในช่องปากมากกว่าคนทั่วไปมากถึงประมาณ 15 เท่า

สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก 

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก ในปัจจุบันยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคได้ แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่อการกระตุ้นให้เกิดมะเร็งช่องปาก คือ การดื่มสุราและการสูบบุหรี่ ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปากมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุรา นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่กระตุ้นการเกิดโรคมะเร็งช่องปากด้วย มีดังนี้

  • ภาวะการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ( HPV )
  • อาการเหงือกอักเสบแบบเรื้อรัง หากเกิดขึ้นแบบซ้ำๆ อาจกระตุ้นให้เกิดเซลล์มะเร็งได้
  • การเคี้ยวหมากของผู้สูงวัย ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคในช่องปากอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน

ระยะของมะเร็งช่องปาก

สำหรับโรคมะเร็งช่องในปาก สามารถแบ่งระยะของการเกิดโรคได้เป็น 4 ระยะ เหมือนโรคมะเร็งอื่นๆ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งช่องในปาก ระยะที่ 1 เกิดก้อนเนื้อในช่องปาก แต่มีขนาดไม่ใหญ่ ขนาดน้อยกว่า 2 เซนติเมตร
  • มะเร็งช่องในปาก ระยะที่ 2 เกิดก้อนเนื้อในช่องปาก ซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นโตมากกว่า 2 เซนติเมตร แต่ยังน้อยก่วา 4 เซนติเมตร ระยะนี้จะมีอาการระคายเคืองในช่องปาก
  • มะเร็งช่องในปาก ระยะที่ 3 ขนาดของก้อนเนื้อใหญ่กว่า 4 เซนติเมตร เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่คอ ในระยะนี้เกิดขึ้นเพียงข้างเดียวของลำคอ
  • มะเร็งช่องในปาก ระยะที่ 4 ระยะนี้ก้อนเนื้อ เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง และ แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะอื่นๆ ระยะนี้เป็นระยะรุนแรง สามารถเสียชีวิตได้

อาการโรคมะเร็งช่องปาก

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งในช่องปาก จะพบว่าในช่องปากมีสีขาวหรือสีแดงบริเวณลิ้นและกระพุ้งแก้ม หากเกิดรอยลักษณะดังกล่าวเป็นเวลานาน เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคมะเร็งช่องปาก ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยโรค แต่โดยทั่วไปสามารถสังเกตุอาการของโรคมะเร็งในช่องปาก ได้ดังนี้

  • มีรอยสีขาวหรือรอยด่างแดงในช่องปาก
  • มีอาการบวม มีตุ่ม หรือ ก้อนเนื้อในช่องปาก ริมฝีปาก ลิ้น หรือ เหงือก
  • มีเลือดไหลในช่องปากโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • รู้สึกระคายเคืองภายในลำคอเหมือนมีบางสิ่งบางอย่างติดอยู่
  • มีอาการชา หรือ มีอาหารเจ็บ บริเวณใบหน้า ปาก หรือ ลำคอ โดยอาการไม่หายภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์
  • มีการเปลี่ยนแปลงของตัวฟัน เช่น การสบฟัน หรือ การเคี้ยว
  • มีอาการเจ็บคอแบบเรื้อรัง
  • เสียงเปลี่ยน เช่น เสียงแหบ
  • มีอาการเจ็บหู
  • น้ำหนักลดอย่างมาก

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งช่องปาก

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งในช่องปาก ต้องตัดชื้นเนื้อต้องสงสัยไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง โดยแนวทางการวินิจฉัยโรค มีดังนี้

  • การตรวจประวัติการรักษา อาการต่างๆเบื้องต้น
  • การตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจก้อนเนื้อบริเวณลำคอ การตรวจช่องปาก
  • การตัดก้อนเนื้อเพื่อมาตรวจทางพยาธิวิทยา
  • การตรวจเลือดเพื่อประเมินร่างกายผู้ป่วย ได้แก่ เบาหวาน การทำงานของไต ตับ กระดูก สมดุลเกลือแร่ในร่างกาย
  • X-ray ดูช่องอก ปอด หัวใจ
  • ตรวจปัสสาวะ
  • การตรวจโดยเอ็มอาร์ไอ บริเวณปากและลำคอเพื่อประเมินการลุกลามของโรค
  • การอัลตราซาวน์ดูการลุกลามของโรคในตับ
  • การตรวจทางทันตกรรมเพื่อดูแลรักษาฟันร่วมกับการรักษาต่างๆ

การรักษาโรคมะเร็งช่องปาก

สำหรับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งช่องปาก แพทย์จะใช้การผ่าตัด ร่วมกับ การฉายรังสี ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับ ระยะของการเกิดโรค ขนาดและตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง รายละเอียดของการรักษาโรคมะเร็งในช่องปาก มีดังนี้

  • การผ่าตัด สามารถทำได้ในระยะต้นของโรค แต่ไม่เกินระยะสาม มักมีผลข้างเคียงทำให้เกิด อาการปวดเจ็บ หรืออาจเกิดการติดเชื้อ
  • รังสีรักษา สามารถทำได้โดยการฉายโดยตรงหรือฝังแร่ ซึ่งมักใช้ร่วมกับการผ่าตัด ผลข้างเคียงที่เกิดคือผิวหนังบริเวณที่ได้รับรังสี จะต้องได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี
  • เคมีบำบัด ใช่ร่วมกับวิธีอื่นขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ มักมีผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลด เกร็ดเลือดต่ำ ซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก ยังไมสามารถทำได้ เนื่องจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การงดเว้นปัจจัยเสียงที่กระตุ้นให้เกิดโรค แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • ไม่เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
  • ไม่สูบบุหรี่
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • รักษาสุขภาพในช่องปาก และ แปรงฟันหลังรับประทานอาหาร
  • หมั่นสังเกตุอาการตนเอง โดยเฉพาะในช่องปาก หากพบอาการผิดปกติตุ่มหนอง ก้อนเนื้อควรรีบปรึกษาแพทย์

มะเร็งช่องปาก โรคอันตรายโรคหนึ่ง ยังไม่ทราบสาเหตุของโรค คนสูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคสูง อาการสำคัญที่พบ คือ มีก้อนในปาก เจ็บคอเรื้อรัง มีแผลในปากเรื้อรัง การรักษาโรคมะเร็งในช่องปาก ต้องทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย