โรคซีพี โรคสมองพิการ ( Cerebral palsy ) ภาวะสมองพิการโดยกำเนิด ส่งผลต่อการควบคุมร่างกาย การทรงตัว และ ใบหน้าผิดรูป สาเหตุ อาการของโรค การดูแลผู้ป่วยทำอย่างไร

โรคซีพี โรคสมองพิการโดยกำเนิด การรักษาโรค

โรคซีพี หรือ โรคสมองพิการCerebral palsy ) ย่อว่า CP คือ ภาวะสมองพิการในเด็ก เป็นโรคที่เกิดตั้งแต่กำเนิด ส่งผลให้มีีความผิดปรกติอย่างชัดเจน ด้านการควบคุมร่างกาย การทรงตัว ใบหน้าผิดรูป เด็กที่เป็นโรคซีพีจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายผิดแปลก ผิดปกติจากเด็กทั่วไปสังเกตุได้ชัดเจน การขยับแขนขา การทรงตัว ใบหน้า ผิดปกติ ซึ่งส่วนมากแล้วเด็กที่เป็นโรคนี้ยังมีสติปัญญาดีปกติและมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีปัญหาสติปัญญาด้อยกว่าคนปกติ

เด็กที่เป็นโรคซีพีมักจะมีปัญหาพัฒนาการล่าช้าเมื่อเทียบกับเด็กทั่วไป โดยเฉพาะการเดิน การยืน การทรงตัว การควบคุมตนเองได้ยากเช่น น้ำลายยืด การพูดทำได้ช้า แล้วเราจะสังเกตุได้อย่างไรว่าเด็กเป็นโรคซีพีหรือไม่

การสังเกตุอาการเด็กโรคซีพี

สำหรับในวัยเด็กแรกเกิด โรคซีพีสังเกตุอาการได้ยาก ต้องอาศัยเวลาและการสังเกตุพัฒนาการของเด็ก เด็กซีพีมักมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวช้ากว่าเด็กปกติ เช่น เด็กอายุ 3 ถึง 4 เดือน แล้วคอยังไม่แข็ง มีอาการคอพับคออ่อน พัฒนาการด้านการเดินช้ากว่าเด็กปรกติ เด็ก

สาเหตุการเกิดโรคซีพี

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคซีพี มีหลายสาเหตุซึ่งเป็นการเกิดตั้งแต่ในครรภ์มารดา สามารถสรุปสาเหตุได้ดังนี้

  • การขาดออกซิเจนขณะคลอดนานเกินไป ทำให้สมองเซลล์สมองเสียหายตั้งแต่แรกคลอดส่งผลต่อการพัฒนาเมื่อโตขึ้น จนแสดงอาการผิดปกติดังที่กล่าวมา
  • การติดเชื้อสมองหลังจากคลอด เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำให้สมองบางส่วนถูกทำลาย และไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่มาทดแทนได้
  • การเสียหายของสมองในช่วง 2 ปีแรกหลังการเกิด เพราะการพัฒนาของสมองจะเร็วที่สุดในช่วง 2 ปีแรก หากเสียหายแต่ต้นจะทำให้การพัฒนาสมองผิดปกติไปหมด ส่งผลต่อการพัฒนาของร่างกาย
  • เมื่อสมองเสียหายแล้วไม่สามารถทำให้กลับคืนมาได้ จึงไม่สามารถสั่งการให้กล้ามเนื้อตอบสนองได้ดี เมื่อแขนขาขยับได้ไม่ดีส่งผลต่อกระดูกไม่สามารถยืดขยายได้ตามอายุ จึงทำให้ร่างกายผิดปกติ

ปัญหาของเด็กที่มีปัญหาโรคซีพี

สำหรับเด็กที่มีโรคซีพีจะมีปัญหาต่างๆมากมายที่งร่างกาย สังคม และ พัฒนาการของเด็กในด้านต่างๆ ซึ่งสามารถสรุปปัญหาของเด็กที่มีอาการโรคซีพี มีดังนี้

  • ภาวะระดับสติปัญหาต่ำกว่าปรกติ ผู้ป่วยโรคซีพีมักจะมีปัญหา เช่น การมองเห็น การได้ยิน การพูดและการรับรู้ภาษา รวมทั้งอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย ดังนั้นเมื่อทำการทดสอบระดับสติปัญญา เด็กกลุ่มนี้มักจะได้ผลที่ต่ำกว่าปกติเสมอ
  • ปัญหาด้านการรับรู้ เรียนรู้และความคิด ผู้ป่วยโรคซีพีมีความสามารถในการเคลื่อนไหวที่จำกัด ทำให้การเรียนรู้สิ่งต่างๆได้น้อย ทำให้ไม่สามารถเข้าใจเรื่องต่างๆได้
  • ปัญหาด้านอารมณ์และสังคม ผู้ป่วยโรคซีพีมักจะมีอาการเศร้าซึม เนื่องจากการเคลื่อนไหวไม่ได้ตามที่ต้องการ ไม่สามารถวิ่งเล่นกับเพื่อนได้ ช่วยตัวเองไม่ได้ ทำให้มีปัญหาทางอารมณ์และสังคมได้
  • อาการโรคลมชัก เราพบว่าร้อยละ 20 ถึง 50 ของผู้ป่วยโรคซีพี มักมีอาการชักร่วมด้วย
  • ปัญหาด้านการมองเห็น ผู้ป่วยโรคซีพีมักจะมีความบกพร่องทางด้านการมองเห็น เช่น ตาเหล่ ไม่สามารถกลอกตาขึ้นบนพร้อมกันได้ หรือ มีตาดำกระตุก ( nystagmus ) ร่วมด้วย
  • ปัญหาด้านการได้ยิน ผู้ป่วยโรคซีพีอาจจะมีความผิดปกติของการได้ยิน เนื่องมาจากความบกพร่องของหูส่วนกลาง ทำให้เด็กได้ยินเสียงน้อยลง
  • ปัญหาด้ารการสื่อความหมาย ผู้ป่วยโรคซีพีจะมีความบกพร่องทางด้านภาษา ไม่สามารถเลียนแบบเสียง ทำให้มีความผิดปกติของการพูด ได้แก่ ไม่พูดเลย พูดช้ากว่าปกติ
  • ปัญหาด้านกระดูก ผู้ป่วยโรคซีพีมักจะพบปัญหาด้านการเคลื่อนไหว อาจพบภาวะกระดูกสันหลังคด ( scoliosis )
  • ปัญหาด้านฟันและร่องปาก ผู้ป่วยโรคซีพีมักพบปัญหาฟันผุได้บ่อย เนื่องจากการดูแลรักษาความสะอาดฟันและช่องปากทำได้ยากลำบาก ถ้าขาดการดูแลรักษาความสะอาดฟันและช่องปาก อาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายตามมาได้

อาการของโรคซีพี

อาการผิดปรกติจะเป็นตั้งแต่เกิดแต่ส่วนใหญ่แล้วพ่อแม่มักพบความผิดปกติของเด็กตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ปี โดยสังเกตได้จากเด็กมีท่านอนที่ผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเกร็ง ซึ่งจำเป็นต้องพาเด็กเข้ารับการตรวจรักษาทันทีเมื่อสังเกตพบความผิดปกติ โดยอาการผิดปรกติสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแข็งเกร็ง กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวเอง และ กลุ่มอาการผสมกัน ลักษณะอาการดังนี้

  • อาการโรคซีพี กลุ่มแข็งเกร็ง ( spastic ) เป็นอาการที่พบมากที่สุด คือ กล้ามเนื้อมีการตึงตัวมากกว่าปกติ อาการเกร็งทำให้ร่างกายผิดปกติ มีหลายรูปแบบ คือ
    • อาการเกร็งแบบครึ่งซีก คือ มีอาการเกร็งของแขนและขาข้างเดียวกัน ( spastic hemiplegia ) ลักษณะผิดปกติชัดเจนคล้ายผู้ใหญ่ที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก
    • อาการเกร็งครึ่งท่อน คือ มีอาการเกร็งของขาและแขนทั้งสองข้าง( spastic diplegia ) เกร็งแค่ครึ่งตัวส่วนมากพบขาเกร็งมากกว่าแขน
    • อาการเกร็งทั้งตัว คือ มีอาการเกร็งมากทั้งแขนและขาทั้งสองข้าง
  • อาการโรคซีพี กลุ่มเคลื่อนไหวเอง เป็นอาการเคลื่อนไหวเองของผู้ป่วย แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ อาการกล้ายเนื้อตึงตัวมากกว่าปรกติ และ อาการกล้ามเนื้อตึงตัวน้อยกง่าปรกติ ดังนี้
    • อาการกล้ามเนื้อตึงตัวมากกว่าปรกติ เรียก อะธีตอยด์ ( athetoid ) ทำให้ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ บางรายคอเอียง ปากเบี้ยว
    • อาการกล้ามเนื้อตึงตัวน้อยกว่าปรกติ เรียก อะแทกเซีย ( ataxia ) ทำให้มีปัญหาการทรงตัว กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน เกิดอาการสั่นขณะเคลื่อนไหวร่างกาย
  • อาการโรคซีพี กลุ่มอาการผสมกัน ( mixed type ) คือ มีอาการทั้งเกร็ง และ กล้ามเนื้อผิดปรกติ พบมากโดยเฉพาะกลุ่มแข็งเกร็งร่วมกับกล่มที่มีการเคลื่อนไหวเกิดได้เอง

การรักษาโรคซีพี

เนื่องจากโรคนี้ไม่สามารถรักษาหายขาดได้ เพราะ เนื้อสมองเมื่อเสียไปแล้วไม่สามารถทำให้กลับมาได้ สิ่งที่ทำได้คือการฟื้นฟู การบรรเทาอาการ เช่น การที่เส้นยึด เส้นตรึง กล้ามเนื้อลีบ ควรทำหารขยับ การยืด การบริหารทุกวัน ให้กล้มเนื้อมีความยืดหยุ่น ให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด รวมทั้งการฟื้นฟูจิตใจ การปรับตัวเข้ากับสังคม ยอมรับตนเอง และเห็นคุณค่าในตนเอง แรวทางการรักษา สามารถแบ่งตามปัญหาที่พบ ดังนี้

  • การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด จะเร่ิ่มรักษาตั้งแต่แรกเกิด ไม่มีวิธีการที่แน่นอนตายตัว ขึ้นกับลักษณะของความผิดปกติของแต่ละคน โดยโปรแกรมการรักษาจะกำหนดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละรายเฉพาะตัว เพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม วัตถุประสงค์ เพื่อ ปรับและควบคุมความตึงตัวของกล้ามเนื้อให้ใกล้เคียงภาวะปกติมากที่สุด กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้รูปแบบการเคลื่อนไหวที่ปกติและสามารถรักษาสมดุลเพื่อทรงท่าอยู่ได้ และ การใช้เครื่องช่วยเพื่อจัดท่าทาง
  • การรักษาโดยใช้กิจกรรมบำบัด เช่น การฝึกการดูดกลืน การฝึกทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน การแต่งกาย การรับประทานอาหารด้วยตนเอง การฝึกการเคลื่อนไหวของแขนและมือ
  • การรักษาเพื่อแก้ไขการพูด ฝึกให้สามารถออกแรงกล้ามเนื้อในการพูดให้สามารถพูดได้เป็นปรกติมากที่สุด
  • การรักษาด้วยยา ซึ่งมีทั้งยากินและยาฉีด โดยยาใช้รักษาเพื่อลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด เพ่ือลดความตึงของกล้ามเนื้อ เพื่อสร้างความสมดุลของข้อ ผ่าตัดกระดูก เป็นต้น ซึ่งการรักษาต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษาว่ามีความเหมาะสม
  • การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เสริมช่วยในการเคลื่อนไหว เช่น เฝือกอ่อนพยุงข้อเท้า ( ankle foot orthoses-AFO ) อุปกรณ์ช่วยเดิน ( walker ) รองเท้าตัด เป็นต้น

การดูแลผู้ป่วยโรคซีพี

  • เด็กควรได้รับการฟื้นฟู ทั้งทางกายภาพคือ การขยับแขนขาร่างกาย การฝึกเดิน ฝึกทำกิจวัตรประจำวันเอง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ การฟื้นฟูทางด้านจิตใจ การฝึกการเข้าสังคม การเตรียมความพร้อมในการเรียน การฝึกอาชีพ
  • การฟื้นฟูและฝึกต่างๆควรเริ่มตั้งแต่เด็ก ไม่ควรเกินอายุ 7 ปี เนื่องจากหลังจาก 7 ปีแล้วสมองจะเจริญได้ช้ามาก ทำให้การฝึก การฟื้นฟูที่ทำหลังจากอายุ 7 ปีจะทำได้ล่าช้ามาก
  • การดุแลเด็กที่เป็นโรคซีพีจะต้องมีการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จะต้องหยิบจับได้ง่าย ไม่มีคม ทางเดินควรมีทางลาด ไม่ควรมีสิ่งกีดขวาง เพื่อให้การเดินการขยับต่างๆทำได้อย่างปลอดภัย และให้เด็กค่อยๆปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมปกติ
  • การกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การเข้าสังคม การมีเพื่อนในวัยเดียวกัน การทำควมเข้าใจสังคมภายนอกบ้าน ควรพาเด็กออกไปพบปะผู้คน สังคมภายนอกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้การปรับตัว
  • การฝึกพื้นฐานต่างๆ เช่น การเคี้ยวอาหาร การหยิบจับอุปกรณ์ต่างๆ การใส่เสื้อผ้าเอง การขับถ่ายเอง ควรฝึกให้เป็นตั้งแต่เด็ก ทั้งยังได้ประโยชน์จากการฝึกกล้ามเนื้ออีกด้วย

โรคนอนไม่หลับ Insomnia ภัยใกล้ตัวของทุกคน นอนไม่หลับทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลเสียต่อร่างกายมากมาย ลักษณะของโรคเป็นอย่างไร การรักษาทำอย่างไร

โรคนอนไม่หลับ นอนไม่หลับ การรักษาโรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับถือเป็นปัญหาหนึ่งของมนุษย์ สามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย การนอนไม่หลับทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ จิตใจกังวล ส่งผลต่อการคิดการตัดสินใจในการทำงานในช่วงกลางวัน จากการศึกษาการเกิดโรคนอนไม่หลับพบร้อยละ 30 ของผู้ใหญ่มีอาการนอนไม่หลับ

ความต้องการในการนอนของคนโดยปกติมีความแตกต่างกันในแต่ละวัย ซึ่งการต้องการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอในแต่ละวัย มีดังนี้

  • เด็กแรกเกิดต้องการนอน 14-17 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กอายุ 1 ปี ต้องการนอน 14 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กวัย 2 ปี ต้องการนอน 12-14 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กวัย 3-5 ปี ต้องการนอน 10-13 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กวัย 6-13 ปี ต้องการนอน 9-11 ชั่วโมงต่อวัน
  • คนอายุ 14-17 ปี ต้องการนอน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
  • ผู้ใหญ่ทั่วไปต้องการนอน 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
  • สำหรับผู้สูงวัยจะต้องการนอนที่สั้นลง เพราะ ร่างกายสามารถผลิตสารที่ช่วยให้นอนหลับได้ลดน้อยลง

โรคนอนไม่หลับInsomnia ) อาการนอนไม่หลับถือว่าเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งสาเหตุของการนอนไม่หลับอาจจะมาจากหลายสาเหตุ การนอนหลับไม่เพียงพอทำให้ร่างกายนั้นมีความอ่อนเพลีย ซึ่งส่งผลต่อสภาพร่างกายอื่นๆต่อมา เช่น ขาดสมาธิในเวลาทำงาน

ประเภทของโรคนอนไม่หลับ

สำหรับโรคนอนไม่หลับ สามารถแบ่งประเภทได้ 3 ประเภท คือ นอนไม่หลับชั่วคราว ( Transient insomnia ) นอนไม่หลับระยะสั้น ( Short-term insomnia ) และ นอนไม่หลับเรื้อรัง ( Long-term or Chronic insomnia ) รายละเอียดของประเภทต่างๆ มีดังนี้

  • นอนไม่หลับชั่วคราว ( Transient insomnia ) เป็นอาการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันแบบกระทันหัน มักพบในช่วงการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่ไม่คุ้นชิน การดินทางข้ามเส้นแบ่งเวลาโลก ( Time zone ) เป็นต้น
  • นอนไม่หลับระยะสั้น ( Short-term insomnia ) อาการลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเพียง 2-3 วัน ไม่เกิน 3 สัปดาห์ ซึ่งอาจเกิดจากภาวะความเครียดบางอย่างส่งผลกระทบต่อการนอน
  • นอนไม่หลับเรื้อรัง ( Long-term or Chronic insomnia ) ลักษณะการนอนไม่หลับเป็นเวลานานต่อเนื่องเป็นปีๆ อาจเกิดจากการใช้ยาบางชนิด อาการเจ็บป่วยเรื้อรังบางโรคที่กระทบต่อร่างกายและจิตใจ เป็นต้น

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนอนไม่หลับ

สำหนับปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับ มีหลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งปัจจัยทางด้านร่างกาย ปัจจัยด้านสภาพจิตใจ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม รวมถึงอุปนิสัยการนอน ( Sleep hygiene ) ของแต่ละคน ซึ่งสามารถสรุปปัจจัยการนอนไม่หลับได้ดังนี้

  • ปัจจัยการนอนไม่หลับด้านร่างกาย ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย เช่น มีอาการเจ็บป่วย มีไข้ โรคกรดไหลย้อน ภาวะระบบประสาทตื่นตัวมากกว่าปกติ เป็นต้น
  • ปัจจัยการนอนไม่หลับด้านจิตใจ เป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการความเครียด ความวิตกกังวล ในช่วงเวลานั้นๆ หรือ โรคที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่าร์ เป็นต้น
  • ปัจจัยการนอนไม่หลับด้านสิ่งแวดล้อม อาจเกิดเสียงรบกวน หรือแสงไฟรบกวน ทำให้นอนไม่หลับ
  • ปัจจัยจากอุปนิสัยการนอน ลักษณะการนอนที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือ การทำกิจกรรมต่างๆที่ส่งผลให้นอนไม่หลับ เช่น การเล่นเกมส์ การเล่นโทรศัพท์ การดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน ส่งผลกระทบต่อการนอนทั้งสิ้น

ลักษณะอาการของโรคนอนไม่หลับ
สำหรับอาการของโรคนอนไม่หลับนี้ มีหลายลักษณะแต่ลักษณะเด่นชัด คือ นอนไม่หลับ ในช่วงเวลาที่ต้องนอนพักผ่น ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการของโรคนอนไม่หลับ ได้ดังนี้

  • ใช้เวลานานในการทำให้ตัวเองหลับ
  • ชั่วโมงนอนน้อยเกินไป
  • อาการหลับๆตื่นๆ นอนไม่ต่อเนื่อง
  • ตื่นขึ้นมาแล้วไม่สามารถนอนหลับได้อีก
  • ง่วงนอนในเวลากลางวัน แต่นอนไม่หลับในเวลากลางคืน

แนวทางการรักษาโรคนอนไม่หลับ

สำหรับการรักษาโรคะนอนไม่หลับ สามารถรักษาได้ด้วย 2 หลักๆ คือ การรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต และ การรักษาด้วยการใช้ยารักษาทำให้นอนหลับ ซึ่งในระยะสั้นการใช้ยาจะช่วยให้นอนหลับได้ แต่ การรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุในเกิดอาการนอนไม่หลับ เป็นวิธีที่ดีที่สุด แนวทางการปรับพฤติกรรมให้นอนหลับ มีดังนี้

  • ควรอย่างมากที่จะต้องค้นหาสาเหตุ ที่มาที่ไปของการนอนไม่หลับ
  • ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรง เชื่อว่าการออกกำลังกายนั้น เป็นยาวิเศษที่ทำให้ร่างกายนอนหลับพักผ่อนได้
  • การจัดห้องนอนให้เหมาะต่อการนอน การปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม และที่สำคัญบรรยากาศต้องเงียบ ส่งผลให้สมองผ่อนหลาย และ นอนหลับได้ดี
  • ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทุกชนิด
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มันกระตุ้นสอง อย่างเช่น กาแฟ ชา หรือแม้กระทั่ง น้ำอัดลม
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย