ลิ้นหัวใจรั่ว การทำงานของลิ้นหัวใจผิดปรกติ มักเกิดกับเด็ก อาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เสี่ยงหัวใจล้มเหลว อันตรายถึงเสียชีวิตได้ สาเหตุ การรักษาและป้องกันอย่างไรลิ้นหัวใจรั่ว โรคหัวใจ โรคไม่ติดต่อ

โรคลิ้นหัวใจรั่ว คือ ภาวะความผิดปรกติในของการทำงานของลิ้นหัวใจ การเกิดจากกล้ามเนื้อที่ลิ้นหัวใจเสื่อมเร็วกว่าปกติ ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจไม่มีประสิทธิภาพ อาจทำให้หัวใจล้มเหลว เสียชีวิตได้ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีการใช้ชีวิตที่ไม่ปรกติ ต้องระมัดระวังการใช้ชีวิตอย่างสูง

สาเหตุของการเกิดโรคลิ้นหัวใจรั่ว

สำหรับโรคนี้สาเหตุของการเกิดโรคมาจากความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิด เช่น ความผิดปรกติของลิ้นหัวใจเอง หรือ เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดหัวใจตัน เป็นต้น ซึงสามารถสรุปสาเหตุของการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • ภาวะความผิดปกติของตัวอ่อนตั้งแต่ในครรภ์มารดา
  • ลิ้นหัวใจมีคราบหินปูนเกาะ ทำให้ลิ้นหัวใจเสื่อม
  • ภาวะแทรกซ็อนจากโรคหัวใจรูมาติด
  • การติดเชื้อโรคต่างๆเข้าสู่กระแสเลือดจนเกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ

อาการผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว

สำหรับการแสดงอาการของโรค อาการจะค่อยๆแสดงอาการ ซึ่งในระยะแรกไม่แสดงอาการให้รู้ แต่เมื่ออายุมากจะพบว่ามีอาการเหนื่อยง่าย หายใจลำบาก อ่อนเพลีย และ ไม่มีแรง ซึ่งสามารถสรุปลักษณะของอาการโรคลิ้นหัวใจรั่ว ได้ดังนี้

  • เจ็บหน้าอก
  • วิงเวียนศีรษะ เป็นลม
  • เหนื่อยง่าย หายใจลำบากเมื่อออกแรง
  • เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้
  • ไอ มีเสมหะปนเลือด
  • เท้าบวม ขาบวมกดบุ๋ม ท้องมาน

การตรวจวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจรั่ว

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคแพทย์จะซักประวัติ สอบถามลักษณะอาการที่แสดงออก และ ทำการการตรวจคลื่นเสียงสะท้อน ตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อวินิจฉัยโรค

การรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่ว

สำหรับแนวทางการรักษาหากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง สามารถใช้การรักษาด้วยการให้ยาขับปัสสาวะ เพื่อช่วยให้หัวใจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่หากมีอาการรุนแรง ต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการรักษาด้วยการผ่าตัดมีดังนี้

  • การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ ( Vale Repair ) ทำเพื่อซ่อมแซมลิ้นหัวใจที่มีความผิดปกติให้กลับมาทำงานได้  ซึ่งสามารถทำได้บางรายเท่านั้น
  • การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ( Valve Replacement ) หากลิ้นหัวใจไม่สามารถกลับมา ทำงานตามเดิมได้อีก ก็จะต้องผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ซึ่งลิ้นหัวใจเทียมมี 2 ชนิด คือ ลิ้นหัวใจโลหะ และ ลิ้นหัวใจเนื้อเยื่อ ซึ่งลิ้นหัวใจโลหะมีความคงทน แต่ต้องกินยาป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวง่าย ผู้ป้วยใช้ลิ้นหัวใจโลหะต้องกินยาตลอดชีวิต แต่สำหรับลิ้นหัวใจเนื้อเยื่อ สามารถใช้ได้ไม่เกิน 15 ปี เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 70 ปี

แนวทางการป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่ว

เนื่องจากสาเหตุของโรคลิ้นหัวใจร่วม มีทั้งสาเหตุจากอาการโดยกำเนิด และ ภาวะความผิดปรกติของลิ้นหัวใจจากภาวะแทรกซ้อนและการติดเชื้อในกระแสเลือด แนวทางการป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่ว จึงมีแนวทางดังนี้

  • สำหรับสตรีมีครรถ์ ควรดูแลทารกในครรภ์ให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์
  • หลีกเลี่ยง ภาวะความเสี่ยงการติดเชื้อโรคต่างๆ
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการรับประทานอาหารมัน เพื่อป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และ สม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ไม่ดื่มสุรา และ ไม่สูบบุหรี่
  • รับประทานอาการที่มีประโยชน์

แนวทางการดูแลตนแองสำหรับผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว

ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่วต้องรู้ตนเอง และ ขีดความสามารถของตนเองในการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงจำเป็นต้องให้คนรอบข้างรับรู้ถึงเรามีปัญหาโรคลิ้นหัวใจรั่ว แนวทางการปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว มีดังนี้

  • ไม่ควรออกกำลังกายหนัก หรือ หักโหม เกินไป
  • เลิกดื่มสุรา
  • เลิกสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และ ไม่รับประทานอาหารรสจัด เช่น หวาน มัน เค็ม เกินไป
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากจำเป็นต้องทำฟัน ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรค

โรคลิ้นหัวใจรั่ว การทำงานของลิ้นหัวใจผิดปรกติ เกิดมากในเด็ก ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง มีความเสี่ยงหัวใจล้มเหลว สาเหตุของโรคเกิดจากอะไร แนวทางการรักษาโรค และ การป้องกันโรคทำอย่างไร

โรคหัวใจรูมาติก ไข้รูมาติก การติดเชื้อคออักเสบ ทำให้อวัยวะต่างๆอักเสบรวมถึงลิ้นหัวใจ อาการมีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หายใจหอบ กล้ามเนื้อกระตุก ผิวหนังมีผื่นแดงโรคหัวใจรูมาติก ไข้รูมาติก ลิ้นหัวใจอักเสบ โรคหัวใจ

โรคหัวใจรูมาติก เป็นโรคที่พบบ่อยในประชากรไทย โดยเฉพาะเกิดกับเด็ก ซึ่งผู้ป่วยมักจะไม่ทราบมาก่อนว่าตนเองเป็นโรคหัวใจ รูมาติก โรคนี้ต้องใช้เวลานานกว่าจะทราบว่าตนเองป่วย โดยมากแล้วเด็กที่ป่วยโรคนี้มักมีที่อยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี การโภชนาการไม่ดี กลุ่มประเทศยากจนและประเทศกำลังพัฒนา จึงพบปัญหาโรคนี้บ่อย

โรคหัวใจรูมาติก คือ อาการผิดปรกติของหัวใจจากลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว เป็นโรคที่เกิดบ่อยในกลุ่มเด็ก แต่ไม่ใช่โรคหัวใจโดนกำเนิด  ซึ่งอาการของผู้ป่วย เริ่มจากมีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หายใจหอบ กล้ามเนื้อกระตุก ผิวหนังมีผื่นแดง อัตราการเกิดโรคนี้พบว่าประชากรใน 1000 คน มีผู้ป่วย 0.35-1.4 คน

สาเหตุของการเกิดโรคหัวใจรูมาติก

โรคหัวใจรูมาติก เริ่มจากการติดเชื้อคออักเสบ เบต้าสเตรปโตคอคคัสกลุ่ม เอ ( Beta- hemolytic Streptococcus Group A ) ทำให้ร่างกายมีการตอบสนองต่อการติดเชื้อผิดปกติ และสร้างภูมิต้านทานเพื่อทำลายเชื้อแต่กลับมาทำลายตัวเอง ส่งผลให้อวัยวะต่างๆอักเสบ เช่น ผิวหนังอักเสบ ระบบประสาทผิดปกติ ปวดตามข้อ และ หัวใจอักเสบ

อาการอักเสบที่หัวใจ ทำให้เกิดผังผืดเกาะยึดบริเวณลิ้นหัวใจ ( fibrosis ) เมื่อลิ้นหัวใจแข็งตัวไม่สามารถโปกสะบัดเหมือนเคย จึงทำให้ระบบต่างๆในร่างกายผิดปรกติตามมา

อาการของผู้ป่วยโรคหัวใจรูมาติก

สำหรับอาการเบื้นต้นของผู้ป่วยในระยะติดเชื้อโรค คือ ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดบวมตามข้อ มีปุ่มใต้ผิวหนัง ผิวหนังเป็นผื่นแดง กล้ามเนื้อกระตุกไม่มีแรง เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หอบ เป็นต้น เมื่อหัวใจอักเสบ จะกลายเป็นโรคหัวใจเรื้อรัง อาจทำให้หัวใจวายและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สามารถสรุปลักษณะอาการของโรคหัวใจรูมาติกได้ ดังนี้

  • มีอาการไข้
  • อาการอ่อนเพลีย เหนื่อล้า
  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจหอบ
  • กล้มเนื้อกระตุก
  • ผิวหนังมีผื่นแดง
  • ปุ่มใต้ผิวหนัง
  • ลิ้นหัวใจอักเสบเรื้อรัง

การรักษาโรคหัวใจรูมาติก

แนวทางการรักษาโรคหัวใจรูมาติก สามารถทำได้โดยการประคับประคองอาการตามอาการที่พบ การผ่าตัดรักษาหัวใจ และ ป้องกันการกลับมาเป็นโรคอีกครั้ง เราสามารถแบ่งการรักษาโรคหัวใจรูมาติก ได้ดังนี้

  • รักษาอาการติดเชื้อเบต้าสเตรปโตคอคคัสกลุ่ม เอ โดยใช้ยาฆ่าเชื้อ
  • รักษาอาการอักเสบต่างๆ โดยให้ยาแอสไพริน ( aspirin ) ในขนาดสูง
  • รักษาอาการของโรคหัวใจโดยขยายลิ้นหัวใจที่ตีบ หรือ ผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ

แนวทางการป้องกันโรคหัวใจรูมาติก

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคหัวใจรูมาติก สามารถป้องกันจากสาเหตุหลัก คือ การป้องกันการติดเชื้อโรค จนทำให้ร่างกายเกิดอาการอักเสบ ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคหัวใจรูมาติด มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการติดเชื้อต่างๆ โดยไม่เข้าใกล้ชิดผู้ป่วยโรคคออักเสบ หรือ โรคหวัด
  • หากเกิดอาการติดเชื้อคออักเสบ หรือ ต่อมทอนซิลอักเสบ ต้องรักษาให้หายขาดอย่าให้เกิดอาการเรื้อรัง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และ ถูกสุขอนามัย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ปรับสภาพแวดล้อมให้สะอาด เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรค

โรคหัวใจรูมาติก หรือ ไข้รูมาติก เกิดจากการติดเชื้อคออักเสบ จนทำให้อวัยวะต่างๆอักเสบ รวมถึงลิ้นหัวใจ อาการเริ่มจากมีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หายใจหอบ กล้ามเนื้อกระตุก ผิวหนังมีผื่นแดง แนวทางการรักษาโรคทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย