เนื้องอกในสมอง การเกิดเนื้องอกที่สมอง ส่งผลต่อประสาทและสมอง อาการปวดหัวอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง สูญเสียการควบคุม การรักษาเนื้องอกในสมองทำอย่างไร
เนื้องอกในสมอง โรคสมอง โรคเนื้องอก โรคไม่ติดต่อ

โรคเนื้องอกในสมอง คือ ภาวะการเกิดเนื้องอกที่สมอง ส่งผลประทบต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง โรคนี้สามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย มีความแตกต่างจากโรคมะเร็งในสมอง เป็นโรคร้ายแรงในอดีต ซึ่งปัจจุบันสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยมาก ผลแทรกซ้อนจากการรักษาน้อย อาการบาดเจ็บของสมองลดลง พักฟื้นได้ในระยะสั้น

ชนิดของเนื้องอกในสมอง

สำหรับเนื้องอกในสมอง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ เนื้องอกของสมอง และเนื้องอกในสมองที่มาจากอวัยะอื่นๆ รายละเอียด ดังนี้

  • เนื้องอกของสมองเอง แบ่งได้อีก 2 ชนิด คือ เนื้องอกชนิดดี และ เนื้องอกชนิดไม่ดี ซึ่งคือ เนื้องอกมะเร็งสมองนั่นเอง
  • เนื้องอกของสมองที่กระจายมาจากอวัยวะอื่น เป็นลักษณะของการแพร่กระจายของมะเร็งจากอวัยวะอื่นๆ

สาเหตุการเกิดจากโรคเนื้องอกในสมอง

สาเหตุของการเกิดเนื้องอกในสมองยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทีให้เกิดเนื้องอกในสมอง โดยมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

  • พันธุกรรม ผู้ป่วยที่มีญาติพ่อแม่พี่น้องป่วยโรคนี้มักจะมีความเสี่ยงการเกิดเนื้องอกในสมองมากกว่าผู้ที่ไม่มีญาติเคยป่วยโรคนี้ ทั้งนี้ถึงแม้จะมีญาติคนใกล้ชิดเคยป่วยโรคนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะป่วยโรคนี้เสมอไป เพียงแต่มีความเสี่ยงมากขึ้น
  • เซลล์ในสมองเอง ที่มีการแบ่งตัวมากผิดปกติจนมีขนาดใหญ่ขึ้น
  • การรับการแพร่ของมะเร็งมากจากอวัยวะอื่น จนลามไปถึงสมองจนเกิดเป็นเนื้องอก ซึ่งการรักษาเมื่อผ่าตัดแล้วจะต้องทำการรักษาการลุกลามของมะเร็งโดย การทำเคมีบำบัด และการฉายรังสีเพิ่มเติม

อาการผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมอง

อาการของเนื้องอกในสมองขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ชนิดของเนื้องอก และ ขนาดของเนื้องงอก ซึ่งบางคนอาจไม่แสดงอาการใดๆ และ อาจพบเนื้องอกหลังเข้ารับการตรวจร่างกาย แต่อาการของเนื้องอกในสมองจะแสดงอาการเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง โดยรวม ซึ่งสังเกตุอาการ ได้ดังนี้

  • อาการปวดหัวอย่างรุนแรง โดยปวดเป็นระยะ ต่อเนื่องกัน อาการปวดโดยไม่เคยเป็นมาก่อน ปวดติดต่อกันหลายสัปดาห์ ปวดขณะนอนหลับกลางดึก
  • อาการแขนขาอ่อนแรง อาการชา อาการจะหนักขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งไม่สามารถขยับแขนขาได้
  • อาการหน้าเบี้ยว หนังตาตก ปากเบี้ยว ไม่สามารถบังคับได้
  • อาการกระตุกชัก โดยที่ไม่เคยมีอาการมาก่อน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ไม่สามารถควบคุมได้ อยู่นอกเหนือการควบคุม

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง มี 4 ระยะ เหมือนกับการเกิดมะเร็ง ซึ่งในการดูแลผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง จะไม่แบ่งระยะของมะเร็ง แต่จะแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่สามารถผ่าตัดรักษาได้ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่ไม่สามารถผ่าตัดรักษาได้ และ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่รักษาแล้วลับมาเป็นซ้ำ

การตรวจวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง แพทย์จะการตรวจร่างกาย ตรวจประวัติการรักษา สอบถามอาการป่วย การตรวจโดยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การตรวจโดยทำเอนอาร์ไอ เพื่อระบุตำแหน่งขนาดของเนื้องอกเพื่อวางแผนการรักษา

การรักษาโรคเนื้องอกในสมอง

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเนื้องอกในสมอง ใช้การผ่าตัด รังสีรักษา และ เคมีบำบัด ซึ่งแพทย์เลือกแนวทางการรักษาตามความเหมาะสมของปัจจัยต่างๆ โดยแนวทางการรักษาโรคเนื้องอกในสมอง มีรายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัด โดยอยู่ตำแหน่งและขนาดของก้อนเนื้องอก หากขนาดไม่ใหญ่มาก และไม่มีการขยายรวมทั้งไม่มีผลต่อการทำงานของสมอง อาจจะรักษาโดยการประคับประคองอาการ แต่หากมีการขยายขนาดและกดทับสมองจนทำให้สมองทำงานผิดปกติหรือทำงานบกพร่อง จะต้องผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้ออก
  • การฉายรังสีและเคมีบำบัด หากก้อนเนื้องอกนั้นเป็นชนิดที่เกิดจากเซลล์มะเร็ง เมื่อทำการผ่าตัดออกแล้วจะต้องทำการรักษายับยั้งการลุกลาม โดยการใช้เคมีรักษาและรังสีรักษา ซึ่งจะมีอาการข้างเคียงจากการรักษา เช่น คลื่นไส้ อาเจียนผมร่วง ผิวหนังอักเสบ ประสิทธิภาพการรักษาจะขึ้นกับระยะของโรคมะเร็งขณะรักษา

การป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง เนื่องจากโรคนี้ยังไม่สามารถหาสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจนได้ ซึ่งการป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง จึงควรดูแลร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ แนวทางการป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง มีดังนี้

  • การสังเกตุอาการของตนเอง และคนรอบข้างที่ป่วย หากอาการผิดปกติตามที่กล่าวข้างต้นจะต้องรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย หากพบเนื้องอกได้เร็วเท่าไหร่ก็จะมีโอกาสหายมากขึ้น
  • รับประทาอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ดืมน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ผ่อนคลาย ลดความเครียดจากกิจกรรมต่างๆ
  • หลีกเลี่ยงการรับสารพิษต่างจากสิ่งแวดล้อม

โรคเนื้องอกในสมอง คือ การเกิดเนื้องอกที่สมอง ส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง ลักษณะอาการ ปวดหัวอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง สูญเสียการควบคุมระบบประสาท แนวทางการรักษาเนื้องอกในสมองทำอย่างไร

สมองฝ่อ Brain atrophy เนื้อสมองเสื่อม ส่งผลต่อความจำ ภาวะเสี่ยงของผู้สูงวัย หลงลืมบ่อย ช่วยเหลือตัวเองได้ลดลง ความจำเสื่อม พฤติกรรมเปลี่ยนไปโรคสมองฝ่อ โรคสมอง การรักษาสมองฝ่อ ความจำเสื่อม

สมอง เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นศูนย์กลางการควบคุมอวัยวะ ความรู้สึก การทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย หากเกิดความเสียหายจะทำให้เกิดความผิดปกติต่างๆในร่างกายที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน พัฒนาการของสมอง เริ่มตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 25 ปี วัยเด็กจึงเป็นวัยที่สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้เร็วที่สุด สมองจะค่อยๆเติบโตไปเรื่อยๆจนอายุ 25 ปี จึงจะหยุดการเจริญเติบโต จากนั้นเซลล์สมองจะค่อยๆฝ่อและลีบไปตามอายุ ซึ่งอายุ 75 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่เซลล์สมองเริ่มเสื่อมมากที่สุด

โรคสมองฝ่อ ทางการแพทย์ เรียก Brain atrophy เป็นภาวะความเสื่อมจองเนื้อสมอง จากหลายสาเหตุ เช่น ความเสื่อมตามอายุ อุบัตติเหตุที่สมอง หรือ ภาวะการเกิดโรคต่างๆที่ส่งผลต่อสมอง

สาเหตุของการเกิดโรคสมองฝ่อ

สำหรับ สาเหตุหลักของการเสื่อมของเซลล์สมอง คือ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน เช่น การนอน การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ความเครียด แต่สาเหตุรองลงมา คือ ภาวะความเสื่อมของเนื้อสมองตามวัย การเกิดอุบัตติเหตุที่สมอง และ ภาวะการเกิดโรคอื่นๆที่ส่งผลกระทบต่อเนื้อสมอง ซึ่งเราสามารถสรุปปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อภาวะสมองฝ่อ มีดังนี้

  • พฤติกรรมการกินอาหาร ซึ่งการไม่กินอาหารเช้า ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ส่งผลต่อภาวะสมองขาดสารอาหาร ทำให้สมองเสื่อมได้
  • ภาวะร่างกายขาดน้ำ สมองมีน้ำมากถึงร้อยละ 85 ภาวะร่างกายขาดน้ำ ส่งผลต่อเซลล์สมองง่ายขึ้น
  • การสะสมแป้งและน้ำตาลในร่างกายมากเกินไป แป้งและน้ำตาลทำให้ความสามารถการดูดซึมโปรตีนที่เป็นสารอาหารสำคัญสำหรับบำรุงสมองลดลง การขาดโปรตีนส่งผลต่อสมอง
  • การเสพสารเสพติต รวมถึงการสูบบุหรี่ และ การดื่่มสุรา
  • ภาวะความเครียด เมื่อร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ส่งผลร้ายต่อร่างกายและสมองโดยตรง

อาการป่วยโรคสมองฝ่อ 

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคสมองฝ่อ จะไม่แสดงอาการผิดปรกติให้พบเห็น ไม่มีอาการเจ็บป่วย การสังเกตุอาการและการวินิจฉัยโรคด้วยตาเปล่าทำได้ยาก ซึ่งอาการต่างๆสามารถสังเกตุได้ ดังนี้

  • มีอาการหลงลืมบ่อย
  • ความจำลดลง ความจำไม่ค่อยดี
  • ความสามารถในการคิดซับซ้อนลดลง
  • มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
  • มักทำอะไรซ้ำๆ ย่างไม่มีเหตุผล

การตรวจโรคสมองฝ่อ 

แนวทางการวินิจฉัยโรคสมองฝ่อ แพทย์จะสังเกตุและตรวจประวัติต่างๆ เช่น ประวัติการเกิดอุบัติเหตุ ความเครียดจาการทำงานต่างๆ จากนั้นทำการตรวจวินิฉัยด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ เช่น การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การทำเอ็มอาร์ไอ

การรักษาโรคสมองฝ่อ

สำหรับการรักษาภาวะสมองฝ่อ ไม่มียารักษาให้เนื้อสมองเพิ่มขึ้นได้ การรักษาใช้การรักษาประคับประครองตามอาการ และ รักษาสาเหตุของการเกิดสมองฝ่อ เพื่อชะลอความเสื่อมของเนื้อสมอง สำหรับวิธีการชะลอความเสื่อมที่เป็นที่ยอมรับ คือ การดูแลสุขภาพ ด้วยอาหารที่ดี อากาศที่ดี การขับถ่ายที่ดี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ ปรับสภาพจิตใจให้ปลอดจากความเครียด

การป้องกันโรคสมองฝ่อ

สำหรับแนวทางการป้องกันภาวะสมองฝ่อ สามารถป้องกันได้ในส่วนของปัจจัยการเกิดโรคที่สามารถควบคุมได้ ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคสมองฝ่อ มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ทำกิจกรรมพัฒนาสมอง ฝึกคิดบ่อยๆ เช่น ฝึกคิด การเล่นหมากรุก ฝึกคิดเลข เป็นต้น
  • งดการเสพสารเสพติด งดดื่มสุรา และ งดการสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ลดภาวะความเครียดต่างๆในชีวิตประจำวัน

โรคสมองฝ่อ ( Brain atrophy ) ความเสื่อมของเนื้อสมอง ส่งผลต่อความจำ ภาวะเสี่ยงของผู้สูงวัย พบมากในกลุ่มคนอายุ 75 ปีขึ้นลืมสิ่งต่างๆบ่อย ช่วยเหลือตัวเองได้ลดลง ความจำเสื่อม หลงลืม พฤติกรรมเปลี่ยนไป

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย