หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท การกดทับเส้นประสาทของหมอนรองกระดูก ทำให้มีอาการปวด ตามแนวกระดูกสันหลัง พบบ่อย ในกลุ่มคนำงานออฟฟิต ปวดหลังแปร็บๆ รักษาอย่างไร

หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือ ภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ทำให้ทรุดตัวและไปกดเบียดเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบ เกิดอาหารปวดคอ ปวดหลัง และปวดตามร่างกายหลายๆจุดตามเส้นประสาทที่ถูกกระดูกกดทับ ซึ่งการเคลื่อนไหวร่างกายผิดท่าผิดทาง เช่น ก้มหน้าเล่นสมาร์ตโฟน นั่งทำงานนานๆ หรือยกของหนัก เป็นความเสี่ยงในการเกิดภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

อาการปวดของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทต่างๆจากอาการปวดแบบทั่วไป ซึ่งสัญญาณเตือนที่บ่งบอกถึงโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท คือ อาการปวดที่ตำแหน่งของข้อกระดูกสันหลัง

หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เป็นภาวะเสี่ยงที่เกิดบ่อยในคน 2 กลุ่ม คือ คนที่อายุมากกว่า 40 ปี และกลุ่มหนุ่มสาวที่มีกิจกรรมมาก โดยรายละเอียด ดังนี้

  1. กลุ่มคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป กระดูกสันหลังหรือหมอนรองกระดูกสันหลังเริ่มเสื่อม หากออกแรงหรือใช้แรงมากๆ อาจทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทได้ในทันที
  2. กลุ่มหนุ่มสาวที่มีกิจกรรมมาก คนกลุ่มนี้ใช้ร่างกายหนัก โลดโผน ทำให้มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกสันหลังได้ง่าย รวมถึงกลุ่มคนเหล่านี้เป็นคนวัยทำงาน การนั่งทำงานนานๆเป้นสาเหตุของการเคลื่อนของกระดูกสันหลังทับส้นประสาทได้

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือ ภาวะการกดทับเส้นประสาทของหมอนรองกระดูก ทำให้มีอาการปวด ตามแนวกระดูกสันหลัง เป็นโรคที่พบค่อนข้างบ่อยมาก ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง ปวดคอ เมื่อมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ หลายๆชั่วโมงในแต่ละวัน มักพบว่าจะป่วยเป็นโรคนี้ ส่วนมากพบในวัยทำงาน 30 ปีขึ้นไป

สาเหตุการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท หรือ หมอนรองกระดูกทับเส้น สาเหตุเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังแตกและปลิ้นจนไปไปกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการอักเสบของเส้นประสาท ส่งผลให้เกิดอาการปวดตรงเส้นประสาท ซึ่งหมอนรองกระดูกสันหลัง ( Intervertebral Disc ) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่บริเวณศูนย์กลางจะมีลักษณะอ่อนนุ่มคล้ายเจลลี่ ส่วนที่อยู่โดยรอบ มีลักษณะเหนียวและหนาคล้ายเอ็น และ ส่วนที่ยึดติดกับข้อกระดูกสันหลัง มีลักษณะคล้ายกระดูกอ่อน ซึ่งทั้ง 3 ส่วน มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก ทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวและรับแรงกระแทกของกระดูกสันหลัง

หากกระดูกสันหลังถูกใช้งานหนัก ใช้งานผิดท่า รับน้ำหนักมากเกินไป หรือเกิดอุบัติเหตุ บาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง อาจทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังแตกและปลิ้นออกมาจนไปกดทับเส้นประสาทได้ ซึ่งจะส่งผลให้มีอาการปวดหลัง ปวดสะโพก ร้าวลงขาหรือเท้า อาการชาและอ่อนแรง บางรายรุนแรงถึงขั้นควบคุมการขับถ่ายลำบาก ซึ่งพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีดังนี้

  • การได้รับการกระทบกระเมือนจากแรงกระแทก แรงอัด เช่น จากอุบัติเหตุ การเล่นกีฬาที่มีการปะทะ
  • การนั่งนานๆ ใช้คอมพิวเตอร์นานๆ
  • การทำงานที่ต้องก้มบ่อยๆ
  • การทำงานที่ต้องยกของหนักบ่อยๆ
  • น้ำหนักตัวมาก ทำให้หมอนรองกระดูกต้องรับน้ำหนักมาก
  • อายุ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีการเลื่อนของกระดูกสันหลัง

อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

สำหรับอาการของผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจะมีอาการปวดหลัง ปวดสะโพก ร้าวลงขาหรือเท้า อาการชาและอ่อนแรง บางรายรุนแรงถึงขั้นควบคุมการขับถ่ายลำบาก แบ่งอาการต่างๆได้ดังนี้

  • อาการปวดช่องเอว อาการปวดเอวเป็นๆหายๆ
  • ก้ม เงย นั่งนานๆ มักจะมีอาการปวดมาก
  • ปวดร้าวลงมาที่ขา น่อง เท้า
  • อาการปวดช่องคอจนลามไปถึงแขน
  • อาการชาที่มือและปลายนิ้ว
  • อาการปวดร้าวที่แขน
  • ปวดคอ สะบักเรื้อรัง
  • เคลื่อนไหวผิดปกติ

การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

สำหรับแนวทางการรักษาสามารถทำได้ด้วยการรักษาตั้งแต่การลดน้ำหนัก การทำกายภาพบำบัด การใช้ยารักษาโรค และ ผ่าตัด ซึ่งการเลือกวิธีการรักษาขึ้นกับการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาของแพทย์

  • ลดน้ำหนักและหลีกเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยง ปัจจัยเรื่องน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ เป็นสาเหตุของการเสื่อมของหมอนรองกระดูกที่เร็วกว่าปรกติ เพื่อไม่ให้ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทเป็นมากกว่าเดิม และควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • การทำกายภาพบำบัด สำหรับอาการหมอนรองกระดูกสันทับเส้นประสาทที่ไม่รุนแรงมากนัก คือ การทำกายภาพบำบัด ช่วยลดอาการปวดของร่างกาย
  • การใช้ยารักษา เป็นการให้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น ยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
  • การผ่าตัด หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจนส่งผลต่อการดำรงชีวิตจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อรักษาอาการกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท  ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถช่วยให้การผ่าตัดกระดูกสันหลังมีความปลอดภัยและแม่นยำมากขึ้น  แผลจากการผ่าตัดมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว

แนวทางการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  • อย่าปิดตัวแรงๆเพราะจะทำให้หมอนรองกระดูกหลุดเพิ่มขึ้นได้
  • เมื่อจำเป็นต้องยกของหนักควรย่อเข่าแล้วยก ไม่ควรยกโดยการก้ม หรือ ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรยกของหนักเลย
  • เมื่อต้องนั่งทำงานนานๆ ควรลุกเดินบ้าง สลับกันไป
  • ควรมีหมอนหนุนหลังในเก้าอี้ที่ทำงาน
  • เวลาลุกจากจากการนอนให้ค่อยๆลุก หรือ นอนคว่ำแล้วใช้แขนดันให้ลุกขึ้น
  • ลดหมอนให้เตี้ยลง
  • นอนตะแคงมากขึ้น
  • พบแพทย์อย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามอาการ และปฏิบัติตามคำแนะนำ
  • เมื่อมีอาการชา ตามมือ ตามเท้า ให้ปรึกษาแพทย์เพราะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

การป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

การป้องกันภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สามารถป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ส่งผลต่อความเสี่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง แนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

  • ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อหลังและท้อง ค่อยเป็นค่อยไป อย่าหักโหม
  • งดยกของหนักหากไม่จำเป็น
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หากน้ำหนักเกินให้ลดน้ำหนัก
  • อย่านั่งนานๆ ให้ยืน เดิน สลับกันไป

เด็กไฮเปอร์ เด็กสมาธิสั้น ADHD ภาวะการมีสมาธิในการรับรู้สั้น มีความซุกซนผิดปรกติ ไม่อยู่นิ่ง มักเกิดกับเด็ก มีเพียงร้อยละ 20 ที่สามารถรักษาให้หายได้ ต้องทำอย่างไร

สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก

โรคสมาธิสั้น โรคไฮเปอร์ ( ADHD  Attention Deficit Hyperactivity Disorder ) คือ ภาวะการมีสมาธิในการรับรู้สิ่งต่างๆสั้นกว่าปกติ ลักษณะอาการซุกซน วอกแวก ไม่อยู่นิ่ง เวลาพูดด้วยจะไม่ตั้งใจฟังและเก็บรายละเอียดต่างๆไม่ค่อยได้ อาการเหล่านี้พบบ่อยในเด็กอายุระหว่าง 3 ถึง 7 ปี โดยอาการจะแสดงออกชัดเจนกว่าหลังอายุ 7 ปี เนื่องจากต้องเข้าโรงเรียน มีงานและการบ้าน และ การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและคุณครู

ความแตกต่างระหว่างเด็กไฮเปอร์กับเด็กสมาธิสั้น

  • เด็กไฮเปอร์ เด็กที่เป็นไฮเปอร์ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีสมาธิสั้นเสมอไป เนื่องจาก การไฮเปอร์ คือ อาการที่ไม่อยู่นิ่ง เกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น อาการสมาธิสั้น ( ADHD ) หรือ เด็กที่มีไอคิวสูง ( Gifted Child ) เด็กที่มีความวิตกกังวัล ( Anxiety ) เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ( Motor–Sensory )
  • เด็กสมาธิสั้น เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักเกิดจากความผิดปกติของสมอง หรืออาจจะเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม หากพ่อหรือแม่เป็นโรคนี้ ลูกก็มีโอกาสเป็นได้ถึง 50% หรืออาจเกิดขึ้นได้ขณะที่มารดาตั้งครรภ์ เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น มีเพียง 15 – 20% เท่านั้นที่สามารถหายได้เองเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แต่อีกประมาณ 60% นั้นไม่หายขาดและจะเป็นโรคนี้ไปจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่

การสังเกตุอาการเด็กสมาธิสั่นหรือไฮเปอร์

เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น มีเพียง 15 – 20% เท่านั้นที่สามารถหายได้เองเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แต่อีกประมาณ 60% นั้นไม่หายขาดและจะเป็นโรคนี้ไปจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้น การสังเกตและรู้เท่าทันสัญญาณเตือนว่าถึงเวลาที่ต้องเข้ารับการรักษาคือสิ่งสำคัญ ได้แก่

  • ผลการเรียนตกต่ำลง
  • คุณครูมีการรายงานพฤติกรรมความผิดปกติของเด็กกับพ่อแม่ผู้ปกครอง
  • พ่อแม่ผู้ปกครองเริ่มสงสัยและเห็นความผิดปกติของเด็กชัดเจนมากขึ้น
  • เด็กหรือเพื่อนที่เด็กเล่นด้วยมีอาการบาดเจ็บ เนื่องจากเล่นรุนแรงและผาดโผนมากเกินไป
  • เด็กเริ่มแยกตัวออกจากกลุ่ม อยู่โดดเดี่ยวคนเดียว ไม่ชอบสื่อสารและเข้าสังคม ถูกเพื่อนปฏิเสธหรือรังแก

สาเหตุของภาวะไฮเปอร์

ภาวะไฮเปอร์มักเกิดจากโรคสมาธิสั้น ซึ่งเป็นความผิดปกติที่พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ มีอาการคล้ายกันกับผู้ป่วยภาวะไฮเปอร์ อย่างไรก็ตาม ภาวะไฮเปอร์มีสาเหตุมาจากโรคหรือปัจจัยอื่น ๆ ได้เช่นกัน ดังนี้

  • ภาวะความผิดปกติของสมองหรือระบบประสาทส่วนกลาง
  • ภาวะความผิดปกติทางอารมณ์หรืออาการทางจิต
  • ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาโรคบางชนิด

อาการโรคไฮเปอร์

ควรเปรียบเทียบกับเด็กทั่วไป เพราะ จะเห็นอาการได้ชัด ส่วนมากคือไม่สามารถนั่งเล่นอยู่กับที่ได้นานเกิน 20 นาทีให้ต้องสงสัยเอาไว้ก่อน จากนั้น ให้จับตาสังเกตุพฤติกรรมต่างๆ ดังนี้

  • อาการสมาธิสั้น สังเกตุได้ง่ายคือ จะไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดได้เป็นเวลานาน ครูมักพบในชั้นเรียนว่า ขณะกำลังเรียนหนังสืออยู่ หากมีอะไรผ่านหน้าห้องเรียน หรือ เสียงจากภายนอกห้องเรียนเด็กจะไม่สนใจหนังสือเรียน แต่ จะหันไปให้ความสนใจสิ่งภายนอก โดยจะหันไปสนใจทันที อีกกรณีหนึ่ง คือ มักจะไม่สามารถทำงานที่ได้รับหมอบหมาย หรือ การบ้านไม่เสร็จ เพราะจะมัวแต่คิดถึงเรื่องอื่น นอกเหนือจากงานที่ได้รับหมอบหมาย นอกจากนั้นแล้ว บางรายจะมีอาการเหม่อลอย คิดแต่เรื่องในใจ ซึมเศร้าก็สามารถพบได้
  • อาการใจร้อน พวดพลาด ไม่สามารถรออะไรนานๆได้ เช่น การแทรกพูด ขณะที่คนอื่นกำลังคุยกันอยู่ การทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่ครบตามที่ได้สั่ง เพราะ ลุกลี้ลุกลนไม่มีความรอบครอบ มักจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายมากกว่าเด็กทั่วไป
  • อาการดื้อซน อยู่นิ่งไม่ได้ มีความซนมากกว่าเด็กทั่วไป ไม่เชื่อฟังคำสั่ง เรียกว่าอาการ Hyper Activity

กลุ่มอาการโรคไฮเปอร์ 

ทั้งนี้อยู่ที่การดูแลสภาพแวดล้อมขณะเด็ก ถ้าหากได้รับการดูแลอย่างดีจะสามารถแปรเปลี่ยนเป็น ความสามารถพิเศษด้านต่างๆ เพื่อ ชดเชยอาการสมาธิสั้นได้

  • กลุ่มอาการก้าวร้าว ขวางโลก ต่อต้านสังคม ชอบความรุนแรง เป็นคนใจร้อน แก้ปัญหาด้วยการใช้ความรุนแรง ขาดการยั้งคิด มีอารมณ์แปรปรวนรุนแรง เป็นอันตรายต่อสังคม
  • กลุ่มอาการซึมเศ้รา เหงาหงอย ไม่กล้า ขี้อาย เก็บตัว ไม่ชอบเข้าสังคม ไม่เห็นคุณค่าในตนเอง มีโอกาสเสี่ยงในการทำร้ายตนเองจนถึงฆ่าตัวตาย

การรักษาโรคไฮเปอร์ 

การรักษา จะต้องเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และ รักษาตั้งแต่ยังเด็ก โดยปัจจัยหลัก คือ ครอบครัว แพทย์จะต้องทำความเข้าใจกับครอบครัว ให้รับสภาพความเป็นจริง จากนั้น จะกำหนดวิธีการรักษา ให้เวลากับลูกมากเป็นพิเศษ ค่อยๆฝึกฝนไปเรื่อยๆ และ ติดตามความก้าวหน้า ผู้ป่วยจะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เมื่อเป็นผู้ใหญ่

  • การรักษาจะต้องทำร่วมกับแพทย์ และ ผู้ปกครองเนื่องจากผู้ปกครองจะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุด จึงเข้าใจ และ ทราบถึงอาการผิดปกติมากที่สุด การทำการดูแลปรับพฤติกรรมจะต้องทำภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง และ ค่อยเป็นค่อยไป เพื่อผลการรักษาที่เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด
  • การทำกิจกรรมเสริมทักษะ เพื่อ การเพิ่มสมาธิให้กับเด็ก โดยใช้ดนตรี ศิลปะ กีฬาที่ใช้สมองเข้าช่วย ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังเพื่อทำร้ายคู่แข่ง หรือ กีฬาที่ต้องมีการปะทะกัน เพราะ จะทำให้กระตุ้นความรุนแรงในตัวเด็กง่ายขึ้น
  • การเสริมสร้างระเบียบให้เด็ก เช่น การตรงต่อเวลา การทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง การจัดเวรทำความสะอาด โดยการค่อยๆให้เด็กมีส่วนร่วม และ มีผู้ปกครองเป็นผู้ร่วมกิจกรรมนั้นด้วยเสมอ แล้วค่อยๆถอยออกมาจนเด็กสามารถทำได้ด้วยตนเอง
  • การจัดสภาพแวดล้อม ควรจัดให้มีความเป็นระเบียนเรียบร้อย ปราศจากสิ่งเร้าสิ่งรบกวน งดเสียงดัง ไม่ควรพาเด็กไปสถาณที่วุ่นวาย คนพลุกพล่าน
  • กำหนดกติกาต่างๆ เพื่อ ฝึกวินัย หลีกเลี่ยงการลงโทษโดยความรุนแรงเมื่อเด็กทำผิด ควรพูดให้เด็กเข้าใจถึงกฏกติกาที่ตกลงไว้แต่แรก และ งดการให้รางวัลในสิ่งที่เด็กชอบ แต่เมื่อ เด็กทำได้ตามตกลงควรกล่าวคำชม และ ของรางวัลตามที่ตกลง เพื่อสร้างแรงจูงใจ
  • โรคนี้สามารถเป็นโรคที่เป็นมาแต่กำเนิด ไม่สามารถรักษาหายได้ทันที แต่ สามารถปรับเปลี่ยนได้อยู่ที่การดุแลเอาใจใส่ โดย พ่อแม่ผู้ปกครองถือเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้เด็กโตมาปกติ เพราะ จะอยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุด เข้าใจเด็กมากที่สุด ผู้ปกครองที่มี การดูแลเด็กไฮเปอร์ ควรรีบปรึกษาแพทย์ ให้เร็วที่สุด ก่อนจะสายเกินไป

การป้องกันโรคไฮเปอร์

เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แนวทางการป้องกันการเกิดโรค คือ การดูแลสุขภาพร่างกายของพ่อแม่ การเตีรยมความร้อมก่อนแต่งงาน การตวรจร่างกายอย่างละเอียด ในการเตรียมความพร้อมก่อนมีลูก และ การดูแลแม่ทั้งในระหว่างการตั้งครรภ์เป็นอย่างดี

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย