ไมเกรน อาการปวดหัวข้างเดียว โรคยอดฮิตในกลุ่มคนทำงาน ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน สามารถรักษาได้ด้วยการรัยประทานยา การป้องกันโรคไมเกรนทำอย่างไรโรคไมเกรน ปวดหัวข้างเดียว โรคสมอง โรคไม่ติดต่อ

โรคไมเกรน ( Migraines ) คือ โรคที่แสดอาการปวดหัวอย่างรุนแรง ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกปวดหัวตุบๆ และมักจะปวดหัวแค่ข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งในขณะที่ปวดหัวอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โรคไมเกรนส่วนมากพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ลักษณะของโรคไมเกรนสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ปวดหัวแบบเห็นแสงวูบวาบ กับ ปวดหัวแบบไม่เห็นแสงวูบวาบ

สาเหตุของโรคไมเกรน

ปัจจุบัยยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคไมเกรน ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนของสมองโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทไตรเจอมินอล trigeminal nerve โดยปัจจัยที่กระตุ้นให้ระบบประสาทไตรเจอมินอลเปลี่ยนแปลง มีดังนี้

  1. การถูกกระตุ้นเกี่ยวกับอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้า ความเครียด และ ความวิตกกังวลมากจนเกินไป มีอาการตกใจ หรือ ช็อก เมื่อเจอสถานการณ์ที่รู้สึกโอเค
  2. การถูกกระตุ้นทางกายภาพ เช่น การนอนหลับไม่เพียงพอ การทำงานไม่เป็นเวลา เมื่อมีอาการเหนื่อยล้า หรือ อ่อนเพลีย ภาวะที่มีเลือดในน้ำตาลน้อย ออกกำลังที่ใช้พลังมากจนเกินไป
  3. การถูกกระตุ้นทางสิ่งแวดล้อม เช่น การรับแสงสว่างจอจอโทรศัพท์หรือจอโทรทัศน์ มากเกินไป การอยู่ในที่ที่มีแสงแดดที่จ้าเกินไป การได้รับเสียงดังรบกวน สภาพอากาศร้อนอบอ้าว เป็นต้น

ระยะของการเกิดโรคไมเกรน

สำหรับการแสดงอาการของโรคไมเกรน มี 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะก่อนมีอาการ ระยะอาการนำ ระยะปวดศรีษะ และ ระยะหลังมีอาการ รายละเดียดของระยะการเกิดโรค มีดังนี้

  1. ระยะก่อนมีอาการ ( Prodrome ) มีการส่งสัญญาณเตือนการเป็นไมเกรน เช่น กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย หาวบ่อยกว่าปกติ รู้สึกอยากกินอาหารอยู่ตลอดเวลา มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านของอารมณ์ เข้าสู้ภาวะซึมเศร้า รู้สึกปวดไหล่ มีอาการตึงที่คอ
  2. ระยะอาการนำ ( Aura  ) ระยะนี้จะเกิดอาการเตือนหลายรูปแบบ เช่น การเห็นแสงไปวูบวาบ สายตาพล่ามัว มองเห็นภาพเป็นเส้นคลื่น หรืออาจจะมี การพูดลำบากขึ้น พูดติดๆขัดๆ
  3. ระยะปวดศีรษะ ( Headache ) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวแบบตุบๆ มองเห็นภาพไม่ชัด สายตาพล่ามัว มีอาการอาเจียน เป็นระยะๆ ปวดศีรษะข้างเดียว หน้ามืด หรือ คล้ายๆว่าจะเป็นลม
  4. ระยะหลังมีอาการ ( Postdrome ) ระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการหงุดหงิดง่าย มีความรู้สึกที่ไวต่อเสียงและแสง เวียนหัวบ่อย อ่อนแรง มีอาการมึนๆงงๆ

อาการของโรคไมเกรน

สำหรับการแสดงอาการของโรคไมเกรนมี 4 ระยะตามที่กล่าวมาในข้างต้น ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการทั้งหมดของโรคไมเกรนได้ดังนี้

  • มีอาการปวดหัวตุบๆ เป็นระยะๆและบางครั้งมีอาการปวดแบบตื้อๆ
  • อาการปวดหัวจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น และ อาการจะค่อยๆลดลงเอง
  • อาจมีอาการคลื้นไส้อาเจียนรวมกับอาการปวดหัว
  • การปวดหัวในแต่ละครั้งจะไม่เกิน 1 ชั่วโมง ซึ่งในบางรายจะแสดงอาการอื่นเตือนก่อน เช่น สายตาพล่ามัว มองเห็นแสงแวบวับ เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคไมเกรน

สำหรับโรคไมเกรนมีแนวทางการวินิจฉัยโรค โดยแพทย์จะใช้วิธีการตรวจเลือด การตรวจบริเวณน้ำไขสันหลัง การใช้เครื่อง CT scan (Computerized Tomography) ที่ให้ความละเอียดมากขึ้นกว่า การเอกซเรย์แบบธรรมดา และ การใช้เครื่อง MRI (Magnetic Resonance Imaging)เป็นเครื่องตรวจร่างกายโดย การสร้างภาพเหมือนจริงของร่างกาย และ อวัยวะต่างๆ โดยจะอาศัยหลักการคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

การรักษาโรคไมเกรน

สำหรับแนวทางการรักษาโรคไมเกรน ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ ซึ่งแพทย์จะรักษาตามความเหมาะสมของปัจจัยต่างๆ ซึ่งการรักษาใช้การให้รับประทานยา เพื่อบรรเทาอาการปวดหัว ซึ่งยาสำหรับรับรักษาอาการปวดหัวนั้น ยาบางชนิดอาจจะไม่เหมาะสมกับสตรีมีครรภ์และสตรีที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร รวมถึงเด็กด้วย

การป้องกันโรคไมเกรน

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคไมเกรนนั้น เนื่องจากโรคนี้ไม่ทรายสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน การทำให้ร่างกายและจิตใจมีความแข็งแรงและผ่อนคลายจากปัจจัยต่างๆ จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการเกิดโรค แนวทางการป้องกันโรคไมเกรน มีดังนี้

  • หมั่นทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลายอารมณ์และความรู้สึก
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะไมเกรน
  • นอนพักให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • หากมีอาการปวดหัวให้ประคบเย็นบริเวณศีรษะเพื่ออาการปวดหัว
  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในปริมาณที่เหมาะสม

ภาวะความดันตาสูง ทำให้อุดกลั้นทางเดินน้ำหล่อเลี้ยงตา การมองเห็นจะค่อยๆเสื่อม ไม่รักษาตาบอดได้ ผู้ป่วยจะปวดตา ปวดหัว ตาแดง และ อาเจียน การรักษาและป้องกันอย่างไรโรคต้อหิน โรคตา โรคไม่ติดต่อ ทำให้ตาบอด

โรคต้อหิน โรคอันตรายต่อระบบประสาทตา เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ตาบอด สามารถเกิดได้กับทุกคน โรคนี้ไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น รวมถึงไม่แสดงอาการในระยะลุกลามของโรคด้วย รู้ตัวอีกทีคือสูญเสียการมองเห็นไปแล้ว และ ไม่สามารถรักษาให้กลับดีขึ้นได้ ดังนั้นการตวรสุขภาพดวงตาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

โรคต้อหิน คือ ภาวะความผิดปรติของดวงตาเกิดจากความดันของตาที่สูงมากผิดปกติ ซึ่งความดันตาสูง สามารถเกิดได้เนื่องจากของเหลวที่มีหน้าที่หล่อเลี้ยงตาตามธรรมชาติผิดปรกติ ทำให้เกิดการทำลายเซลล์ประสาทตา ความดันตาที่เหมาะสมสำหรับของเหลวในตาจะต้องไม่เกิน 22 มม.ปรอท หากมากกว่านี้จะเป็นอัตรายมาก เสี่ยงมากที่เกิดต้อหินตามมา

สถาณการณ์โรคต้อหินในปัจจุบัน

องค์กรอนามัยโลก ( WHO ) ระบุว่า โรคต้อหินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนทั้งโลกตาบอด เป็นอันดับ 2 รองจากโรคต้อกระจก ซึ่งผู้ป่วยทั่วโลกที่ป่วยโรคต้อหินทั้งชนิดมุมปิดและต้อหินชนิดมุมเปิดประมาณ 4.5 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งร้อยละ 12 ของผุ้ป่วยทั้งหมดตาบอด สำหรับสถาณการ์โรคต้อหินในประเทศไทย พบว่าประชากรไทยป่วยเป็นโรคต้อหินมากถึงร้อยละ 36 ประชากรทั่วประเทศ คาดว่าในปี 2563 จะมีประชากรไทยป่วยเป็นโรคต้อหินเพิ่มขึ้นประมาณ 7 แสนคน อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าโรคต้อหินจะรักษาไม่หายขาด แต่ก็สามารถป้องกันและควบคุมการสูญเสียของการมองเห็นได้

ประเภทของโรคต้อหิน

โรคต้อหินสามารถแบ่งประเภทของโรคนี้ได้ 4 ประเภท ประกอบด้วย ต้อหินโดยกำเนิด ต้อหินชั้นสอง ต้อหินมุมเปิด และ ต้อหินมุมปิด ซึ่งรายละเอียดของต้อหินแต่ละประเภท มีดังนี้

  • ต้อหินโดยกำเนิด สาเหตุหลักจะมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ลักษณะอาการรุนแรงมาก ควบคุมอาการยาก เนื่องจากเกิดกับเด็กอ่อน หากไม่รักษาอาจจะตาบวดได้ มารดาต้องสังเกตุอาการตอบสนองต่อการมองเห็นของเด็กอย่างใกล้ชิด
  • ต้อหินขั้นสอง เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคตาชนิดอื่นๆ เช่น โรคต้อกระจก โรคเนื้องอกที่ตา โรคตาอักเสบ รวมถึงทั้งการเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตา และ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน
  • ต้อหินมุมเปิด ต้อหินชนิดนี้พบมากที่สุดเกิดจากการอุดตันของท่อระบายน้ำเลี้ยงของดวงตา ทำให้ความดันในตาสูงขึ้น ทำให้ระบบประสาทการรับรู้การมองเห็นถูกทำลาย ซึ่งในระยะแรกจะมองเห็นไม่ชัด หากไม่ได้รับการรักษาการมองเห็นจะค่อยๆเสื่อมลงจนตาบอดสนิท
  • ต้อหินมุมปิด เกิดจากการมุมของลูกตาถูกม่านตาปิดกั้น ทำให้ความดันเปลี่ยนแปลง เนื่องจากของเหลวในตาไม่สามารถไหลเวียนออกได้ ทำให้ความดันตาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะปวดหัว และ ปวดลูกตาอย่างรุนแรง เยื่อบุตาแดงจัด มีอาการคลื่นไส้อาเจียน

สาเหตุการเกิดโรคต้อหิน

โรคต้อหิน คือ ภาวะจอประสาทตาถูกทำลายและเกิดจุดบอดขึ้นที่ลานสายตา โดยสาเหตุมาจากความดันในตาสูง จากสาหตุการไหลเวียนเข้าและออกของน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตาไม่สมดุล ทำให้เกิดการอุดตันบริเวณทางออกของช่องระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาที่ทำให้มีการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา ทำให้ความดันในตาสูงขึ้น โดยอาการผิดปรกตินี้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆหรือเฉียบพลันก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคต้อหิน

ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ความดันตาสูงมีหลายปัจจัย ซึ่งสามารถรวบรวมปัจจัยที่ทำให้ความดันตาสูงจนส่งผลต่อการเกิดโรคต้อหิน มีดังนี้

  • อายุ ความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆมีผลต่อภาวะความดันตา
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับคนที่มีประวัติพ่อแม่หรือพี่น้องญาติป่วยโรคต้อหินมีความเสี่ยงมากกว่าบุคคลทั่วไป
  • การกระแทกหรือกระทบกระเทือนที่ดวงตาอย่างรุนแรง
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • การใช้ยาบางประเภท โดยเฉพาะยากลุ่มยาสเตียรอนด์
  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เรียกว่า เบาหวานขึ้นตา
  • ความผิดปกติของสายตาตามธรรมชาติ เช่น สายตาสั้น สายตายาว

อาการของโรคต้อหิน

สำหรับโรคต้อหินจะแสดงอาการผิดปรกติของสายตาแบบช้าๆ ค่อยๆเสื่อมลงโดยไม่รู้ตัว ผู้ป่วยโรคต้อหินไม่มีอาการเจ็บปวดหรืออาการใดๆนอกจากความสามารถการมองเห้นค่อยๆลดลง แต่สำหรับอาการโรคต้อหินแบบเฉียบพลัน ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ ปวดตาอย่างรุนแรง และ ปวดแบบเฉียบพลัน เยื่อบุตาแดง น้ำตาไหล ไม่สามารถสู้แสงได้ สายตาพล่ามัว มองเห็นเหมือนมีแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ และ คลื่นไส้อาเจียน

การตรวจวินิจฉัยโรคต้อหิน

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคต้องทำโดยจักษุแพทย์ผู้เชียวชาญเฉพาะทาง และ ใช้เครื่องมือตรวจที่ทันสมัย แนวทางการวินิจฉัยโรค คือ ตรวจเพื่อดูลักษณะมุมตา ตรวจขั้วประสาทตา ดูความเสียหาย การตอบสนองต่อแสง ตรวจวัดความดันภายในตา และ ตรวจลานสายตา

การรักษาโรคต้อหิน

แนวทางการรักษาโรคต้อหิน เนื่องจากโรคต้อหินทำให้เส้นประสาทตาถูกทำลายอย่างถาวร การรักษาโรคต้อหินต้องประคับประคองเพื่อบรรเทาความเสื่อมของประสาทตา เพื่อรักษาการมองเห็นให้นานที่สุด การรักษาใช้ยา การทำเลเซอร์ และ การผ่าตัด ขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจของแพทย์ รายละเอียด ดังนี้

  • การใช้ยารักษาโรค  ให้ยาเพื่อลดความดันของดวงตาเพื่อให้ประสาทตาไม่ถูกทำลายมากขึ้น ในปัจจุบันมียารักษาต้อหินหลายกลุ่ม ซึ่งการรักษาด้วยยาจำเป็นทำอย่างสม่ำเสมอตามคำสั่งของแพทย์
  • การรักษาด้วยเลเซอร์  ขึ้นอยู่กับชนิดของต้อหินและระยะของโรค เช่น Selective laser trabeculoplasty ( SLT ) ใช้รักษาต้อหินมุมเปิดในกรณีที่รักษาด้วยยาหยอดตาไม่ได้ผล Laser peripheral iridotomyLPI) รักษาต้อหินมุมปิด Argon laser peripheral iridoplastyALPI ) ใช้รักษาร่วมกับ LPI
  • การผ่าตัด เพื่อรักษาผู้ป่วยที่การรักษาด้วยยาหรือเลเซอร์ไม่ได้ผล การผ่าตัดตัดทำทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาเพื่อลดความดันตา

การป้องกันโรคต้อหิน

สาเหตุของการเกิดโรคต้อหินเกิดจากหลายสาเหตุทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้ และ ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งการรักษาระดับความดัยตาให้ปรกติ เป็นแนวทางการป้องกันโรคที่ดีที่สุดที่สามารถทำได้ ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคต้อหิน มีดังนี้

  • เข้ารับการตรวจสายตาอย่างสม่ำเสมอ
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • สวมแว่นตาหรืออุปกรณ์ป้องกันดวงตา เมื่อต้องทำกิจกรรมเสี่ยงกระทบต่อดวงตา
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อาจเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตาทั้งหมด

โรคต้อหิน ภาวะความดันตาสูง ทำให้เกิดการอุดกลั้นทางเดินน้ำหล่อเลี้ยงตา การมองเห็นจะค่อยๆเสื่อม หากไม่รักษาทำให้ตาบอดได้ อาการของโรคต้อหินแบบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะปวดตา ปวดหัว ตาแดง และ อาเจียน แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย