กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ ทำให้เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก เหนื่อยง่าย เวียนหัว เสี่ยงหัวใจวายตายได้ การรักษาและป้องกันได้หรือไม่หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจ

โรคหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด คือ ความผิดปรกติของหัวใจจากการขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ จากหลอดเลือดหัวใจถูกปิดกั้นจากคราบพลัค (Plaque) จนทำให้กล้ามเนื้อที่หัวใจเสื่อมสภาพและตายลง โรคนี้พบมากกลุ่มผู้สูงอายุ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบฉับพลัน ก็คือ ภาวะหัวใจวาย ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ

ประเภทของโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับภาวะหัวใจขาดเลือด สามารถแบ่งได้ เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดไม่พบ ST Segment Elevation และ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ รายละเอียด ดังนี้

  • หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน จนทำให้การทำงานของหัวใจผิดปรกติ มีความอันตรายสูงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ทำให้หัวใจวายตายได้
  • หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดไม่พบ ST Segment Elevation ( Non-ST Segment Elevation Myocardial Infarction – NSTEMI) เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจติดต่อกันนานเกิน 30 นาที ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจ ลักษณะอาการไม่รุนแรงเพียงภาวะเจ็บหน้าอกเท่านั้น

สาเหตุการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับสาเหตุของภาวะหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดจากเลือดที่จะไหลเวียนไปยังหัวใจถูกขัดขวาง ทำให้หัวใจไม่ได้รับเลือดและออกซิเจนอย่างเหมาะสม ส่งผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการเสื่อมสภาพ หรือ หยุดทำงาน ซึ่งสาเหตุของเลือดที่เลี้ยงหัวไจไม่เพียงพอ เกิดจากหลายสาเหตุ สามารถสรุปได้ดังนี้

  • การสะสมของไขมันในเลือด ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ
  • ภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  • ภาวะความเครียดสะสม
  • ภาวะการหยุดหายใจระหว่างการนอนหลับ การนอนกรน
  • น้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ปรกติ โรคอ้วน
  • ความเสืื่อมสภาพตามอายุ
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
  • การขาดการออกกำลังกาย

อาการโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจขาดเลือดจะแสดงอาการให้เห็นหลายส่วนท่วนร่างกาย เช่น เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วมาก วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกแต่ร่างกายเย็น เหนื่อยมากผิดปกติโดยไม่มีสาเหตุ

การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด แพทย์จะทำการซักประวัติรวมถึงลักษณะของอาการที่แสดงออกมา จากนั้นแพทย์จะทำการ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจเลือด การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ และ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ( Echocardiogram )

การรักษาโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคนี้สามารถทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต รวมกับการใช้ยารักษาโรค ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหนัก จำเป็นต้องผ่าตัดหัวใจ สามารถสรุปแนวทางการรักษาโรคหัวใจขาดเลือด ได้ดังนี้

  • แนวทางการปรับพฤติกรรม คือ ลดภาวะความเครียดต่างๆ เลิกสูบบุหรี่ เลิกดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ควบคุมคอเลสเตอรอลในเลือด ความคุมระดับความดันโลหิตสูง ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ควบคุมน้ำหนักตัว
  • การใช้ยารักษาโรค ซึ่งต้องใช้ยาหลายตัวร่วมกัน ซึ่งยาต่างๆที่ใช้รักษาโรคหัวใจขาดเลือด เช่น ยาแอสไพริน ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด ยาระงับอาการปวด ยาไนโตรไกลเซริน ยาปิดกั้นการทำงานของเบต้า และ ยาเอซีอีอินฮิบิเตอร์
  • การผ่าตัด เป็นการรักษาเพื่อช่วยให้เลือดสามารถไหลเวียนเข้าสู่หัวใจได้อย่างเพียงพอ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจ และ การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ

การป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด สามารถป้องกันได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชิวิต เพื่อให้สุขภาพของหัวใจแข็งแรง โดยแนวทางการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หวานจัด และ หลีกเลี่ยงอาหารมัน
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และ สม่ำเสมอ
  • ลดภาวะความเครียดต่างๆ
  • เลิกสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอร์

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก เหนื่อยง่าย เวียนหัว มีความเสี่ยงหัวใจวายตายได้ การรักษาโรคหัวใจขาดเลือดทำอย่างไร สามารถป้องกันได้หรือไม่

ภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ ทำให้มีอาการใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นลมหมดสติ สาเหตุของโรคเกิด แนวทางการรักษาและการป้องกันทำอย่างไรหัวใจเต้นผิดปรกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ ภาวะการเต้นของหัวใจผิดปรกติ ซึ่งปกติหัวใจจะมีอัตราการเต้นอยู่ที่ 60 ถึง 100 ครั้งต่อนาที หากหัวใจเต้นเร็วหรือช้ากว่าอัตรานี้ จะเกิดผลเสียต่อร่างกาย และ เกิดอาการผิดปรกติต่างๆ เกิดขึ้นโดยที่การเต้นของหัวใจห้องบนและห้องล่างไม่สัมพันธ์กัน การหยุดเต้นในบางเวลา สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย

สาเหตุการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สำหรับสาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีหลายสาเหตุซึ่งมีปัจัยการเกิดโรคอยู่ 2 สาเหตุ คือ ความผิดปรกติของร่างกายจากสาเหตุต่างๆ และ พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ส่งผลเสียต่อหัวใจ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีรายละเอียด ตามนี้

  • ความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ ลิ้นหัวใจรั่ว เป็นต้น
  • ภาวะแทรกซ้อนของโรคจากการเกิดโรคอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์เป็นพิษ  เป็นต้น
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มแอมเฟตามีน
  • การชอบดื่มที่มีสารคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และ น้ำอัดลม เป็นต้น
  • ภาวะความเครียดสะสม

อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ลักษณะของผู้ป่วยที่มีอาการจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะแสดงอาการ คือ มีอาการใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นลมหมดสติ สามารถเกิดภาวะหัวใจวายได้ ซึ่งโรคนี้จำเป็นต้องดูแลร่างกายอย่างใกล้ชิด ซึ่งสำหรับอาการของโรคสามารถสรุปอาการได้ดังนี้

  • อาการหน้ามืด
  • อาการใจสั่น
  • อาการหายใจขัด
  • เป็นลมหมดสติ
  • อาการแน่นหน้าอก

การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สำหรับแนวทางการตรวจวินิจฉัยโรค แพทยจะทำการสอบถามอาการ ประวัติผู้ป่วย และ ประวัติการรักษาโรค และ ตรวจหัวใจ โดย การตรวจการเต้นของหัวใจ ฟังเสียงการเต้นของหัวใจ ตรวจขนาดหัวใจ ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานต่อมไทรอยด์ และ ตรวจคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) เพื่อดูโครงสร้างหัวใจ

การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

แนวทางการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถใช้การรักษาด้วยการให้ยารักษาโรค รวมถึงการใช้เครื่องมือรักษาต่างๆ เช่น การกระตุ้นไฟ้า การฝังเครื่องกระตุกหัวใจ ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ วิธีการรักษาโรคต่างๆ มีดังนี้

  • การรักษาด้วยยาจะเป็นยาคลายเครียด เพื่อ ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ หรือ เป็นยาช่วยกระตุ้นหัวใจ ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการของดรค
  • รักษาด้วยการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ( pacemaker ) เป็นเครื่องมือขนาดเล็กโดยจะฝังไว้ใต้ผิวหนังบริเวณกระดูกไหปลาร้า  และ สอดสายนำไฟฟ้าไปยังหัวใจ เพื่อช่วยในการควบคุมและกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
  • การรักษาด้วยการใช้ไฟฟ้าเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ ( cardioversion ) ลักษณะเป็นแผ่นแปะที่หน้าอก เพื่อปรับจังหวะการเต้นของหัวใจใหม่ ซึ่งในกรณีนี้แพทย์จะพิจารณาใช้รักษาสำหรับภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปรกติ
  • การรักษาด้วยการใช้สายสวนเพื่อจี้กล้ามเนื้อหัวใจ ( ablation therapy ) เป็นการสอดสายสวนไปยังตำแหน่งที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นสาเหตุของความผิดปกติของหัวใจ และ ปล่อยคลื่นวิทยุความถี่สูง เพื่อทำลายเนื้อเยื่อหัวใจที่เป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • การรักษาด้วยการฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ ( implantable cardioverter defibrillator ) เป็นเครื่องมือกระตุ้นหัวใจ เมื่อหัวใจเต้นเร็วเครื่องมือจะปล่อยพลังงานไฟฟ้า เพื่อกระตุกหัวใจให้กลับมาเต้นปกติทันที กรณีนี้ใช้สำหรับผู้ป่วยมีความเสี่ยงหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติ ( ventricular fibrillation )

การป้องกันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สำหรับแนวทางการป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถป้องกันได้ในส่วนของปัจจัยที่สามารถความคุมได้ ซึ่งแนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงภาวะความเครียด และ วิตกกังวล
  • หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ และ หากพบว่ามีอาการใจสั่น เจ็บหน้าอด หม้ามืด เป็นลม ควรรีบพบแพทย์

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นลมหมดสติ สาเหตุของโรคเกิดจากอะไร แนวทางการรักษาและการป้องกันทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย