ภูมิแพ้ผิวหนัง ( Atopic dermatitis ) ความผิดปรกติของผิวหนัง เกิดจากอาการแพ้สิ่งระคายเคืองต่างๆ ทำให้เกิดผดผื่น คันตามผิวหนัง ภูมิต้านทาน สาเหตุ อาการ การรักษา

ภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้

ภูมิแพ้ผิวหนัง คือ โรคอะไร ทำไมถึงเป็นโรคนี้ อาการที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง การตรวจวินิจฉัยโรคทำอย่างไร การรักษาทำอย่างไร สามารถป้องกันโรคนี้ได้ไหม บทความนี้จะเสนอให้ทราบ

ภูมิแพ้ผิวหนัง ( Atopic dermatitis ) คือ ภาวะความผิดปรกติของผิวหนัง เกิดจากอาการแพ้สิ่งระคายเคืองต่างๆรอบตัว ส่งผลให้เกิดอาการ ผดผื่น คันตามผิวหนัง โรคเกี่ยวกับภูมิตานทาน และ โรคผิวหนัง เป็นโรคที่ เกิดโดยไม่รู้ตัว และ ไม่ทราบสาเหตุ สามารถเกิดได้ทั้งบริเวณ ผิวของใบหน้า และ ลำตัว มักจะเกิดรวมกับ

โรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ เช่น แพ้อากาศ โรคหอบหืด ซึ่ง โรคเหล่านี้ จะมีความเกี่ยวข้องกับ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่ตอบสนองต่อ สิ่งเร้าต่างๆ ที่อยู่ในอากาศ ได้ไวกว่าปกติ จะทำให้เกิด อาการแพ้ ขึ้นทันที เนื่องจาก ผิวหนัง เป็นด่านแรก ที่สำคัญ ของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ทำหน้าที่ปกป้อง ร่างกานทั้งหมด  จากเชื้อโรค ความร้อน ความเย็น พิษของสัตว์ ผิวหนังทำงานร่วมกับ ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ระบบประสาทรับความรู้สึก จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ผู้ป่วยต้อง จะนิ่งนอนใจไม่ได้ หากเกิดอาการผิดปกติใดๆ

สาเหตุการเกิดโรคภูมิแพ้ผิวหนังมีอะไรบ้าง?

  • อากาศ มลภาวะ สารโหละหนัก ในอากาศ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง อากาศที่เย็นขึ้น จะทำให้ผื่นกำเริบ
  • พันธุกรรม เป็นสาเหตุ ที่สำคัญ ขอโรคระบบภูมิแพ้ทั้งหมด เพราะ เป็นตัวกำหนด ระบบภูมิต้านทานภายในร่างกาย ให้มีความมากน้อยแตกต่างกันในแต่บุคคล พบว่า หากคนในครอบครัว เป็นภูมิแพ้ผิวหนัง โอกาสที่จะเป็นมีมากถึง 70%
  • ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ เมื่ออายุมากแล้ว 35 ปีขึ้นไป พบว่า มีโอกาสสูงที่ลูกในครรภ์ จะเป็น โรคภูมิแพ้ผิวหนัง
  • ได้รับสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ หลายชนิด ในอากาศ อย่างเช่น ละอองของเกสรดอกไม้ หรือ ไรฝุ่น
  • การซักเสื้อผ้าไม่สะอาด เพราะ เสื้อผ้าสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง หากซักไม่สะอาด ก็จะมีสิ่งสกปรก หรือ สิ่งเร้าต่อระบบภูมิต้านทาน เป็นเหตุให้เกิดโรคภูมิแพ้ผิวหนังได้ อีกทั้ง หากผงซักฟอกตกค้าง คนที่แพ้ผงซักฟอก ก็อาจจะเป็นโรคนี้ได้
  • เกิดจากเหงื่อ เพราะ ในเหงื่อ มีไขมัน เกลือแร่ ปะปนอยู่ หาก ไม่ทำความสะอาดร่างกาย เสื้อผ้า ก็จะทำให้เกิด เชื้อรา เชื้อโรคต่างๆ ที่เป็นโทษต่อผิวหนังสะสม เกิดการแพ้ที่ผิวหนังได้
  • อาหารและเครื่องดื่ม อย่างเช่น ถั่ว แอลกอฮอล์ นมวัว ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ควรหมั่นสังเกตุตนเอง ว่ารับประทานอะไรแล้วเกิด อาการระคายเคืองที่ผิวหนัง
  • การพักผ่อนน้อย ไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกาย ส่งผลให้ ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และ ไม่มีแรงต้านทาน ต่อ สิ่งเร้ากระตุ้นระบบภูมิต้านทาน
  • การเกา เมื่อเจอสิ่งระคายเคือง ผู้ป่วยมักจะเกา เป็นการทำลายผิวหนังชั้นนอก ทำให้สิ่งระคายเคือง ฝังตัวในผิวหนังขั้น กลาง หรือ ชั้นใน กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิด อาการแพ้ มากยิ่งขึ้น

ลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังเป็นอย่างไร?

  • มีผื่นขึ้นขึ้นบริเวณมือ หลังมือ ปลายมือ เกิดง่าย และ เป็นบ่อยจนผิดปกติ
  • ใต้ตาคล้ำ เพราะ เกิดจากการเป็นรอยพับ ที่มาจากตาที่ และ จะขยี้ตาบ่อยๆ จนเกิดริ้วรอยใต้ตา
  • ผื่นขึ้นตาม ง่ามแขน ง่ามขา ข้อพับต่างๆ
  • บริเวณหน้าจะเป็นผื่นสีอ่อนกว่าสีผิวจริง มักพบบ่อยบริเวณแก้ม สีจะแตกต่างจากสีผิวหน้า อย่างเห็นได้ชัด
  • ผิวเกิดการอักเสบ และ จะคันมาก เพราะ ว่าผิวสูญเสียความชุ่มชื่น มีขุยสีขาว คล้ายๆรังแค แต่จะหนากว่า และ ใหญ่หว่า
  • ในบางราย ผิวอักเสบ และ คัน ถ้าเกาบริเวณที่คัน อาจจะเลือดไหลได้ แสบ แดง เพราะ ผิวไม่แข็งแรง
  • เกิดเป็นผื่นคัน เป็นตุ่มน้ำ จะเป็นจุดแดงๆ เกิดขึ้นบริเวณต่างๆ ตามลำตัว อาการนี้แสดง ว่าเกิดการแพ้ขั้นรุนแรง

เราวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ผิวหนังอย่างไร?

  • แพทย์จะซักประวัติการรักษา โรคประจำตัว ประัติการแพ้อาหาร และ สอบถามอาการผิวหนังอย่างละเอียด
  • สอบถามประวัติ คนในครอบครัวว่ามีประวัติ อาการทางผิวหนัง
  • ตรวจร่างกาย ผิวหนัง ตรวจแบบ Patch Test เพื่อ ที่จะตรวจหา สารโลหะ หรือ สารเคมี ที่แพ้
  • ประเมินการรักษา ดูจาก สาเหตุ ระดับความรุนแรง และ สิ่งเร้าที่แพ้

เรารักษาโรคภูมแพ้ผิวหนังอย่างไร?

  • ผิวหนังที่อักเสบเรื้อรังนั้น แพทย์จะใช้ยาที่ไม่มีสเตียรอยด์ในการทา และ จะให้กินยาแก้แพ้ เพื่อควบคุมอาการแพ้ เบื้องต้น
  • หากมีอาการอักเสบแบบรุนแรง แพทย์จะใช้วิธี การฉายแสงอัลตร้าไวโอเลต เพื่อ ที่จะเข้าไปกดภูมิในร่างกาย ไม่ให้ไวต่อสภาพสิ่งแวดล้อม โดยจะคอยดูอาการตอบสนอง สามารถใช้วิธีนี้ร่วมกับยาแก้แพ้
  • ระยะที่เฉียบพลันนั้น ที่มีตุ่มน้ำ และ น้ำเหลือง ควรจะใช้ผ้าพันแผลชุบกับน้ำเกลือที่สะอาด จากนั้นเอาไปประกบแผล ให้น้ำเหลืองแห้ง แล้ว ทายาสเตียรอยด์ เมื่อหายแล้ว ควรหยุดยา ไม่ควรซื้อยามาทาเอง ควรปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกรก่อน เพราะยานั้นอาจจะมีผลข้างเคียง

เราสามารถป้องกันและรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้อย่างไร ?

  • หลังอาบน้ำควรจะปล่อยตัวให้แห้ง หรือ ใช้ผ้าขนหนูเช็ด ห้ามถูแรง หรือ ขัดเป็นอันขาด
  • ควรดูแลสุขอนามัย ใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ซักล้างให้สะอาด อย่าให้มีผงซักฟอกตกค้าง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 140 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ 3 วัน ต่อสัปดาห์ แต่ละครั้งที่ออกกำลังกาย รู้สึกว่าหอบแฮกๆ จากนั้น หยุดพัก และ ทำใหม่ไปเรื่อยๆ อย่างน้อย 30 นาที
  • ตัดเล็บให้สั้น เพื่อ ป้องกันการเกา ไม่ให้เป็นแผล และ ติดเชื้อ เพราะ จะทำให้การรักษายากยิ่งขึ้น
  • ป้องกันไรฝุ่นในที่นอน ควรจะซักผ้าปูที่นอนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  • ทาโลชั่นให้ความชุ่มชื่นแก่ผิว เป็นประจำหลังอาบน้ำ
  • ไม่รับประทานอาหารที่รู้ตนเองแพ้ หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้แพ้
  • หากอยู่ใกล้แหล่งมลพิษต่างๆ ควรออกจากพื้นที่นั้น

แหล่งอ้างอิง

  • allergy ใน พจนานุกรมศัพท์การแพทย์ดอร์แลนด์
  • Overview of ‘allergy and allergic diseases: with a view to the future’

ต้อกระจก เลนส์ตาขุ่น ส่งผลต่อการมองเห็น เป็นความผิดปกติของดวงตา เกิดจากเสื่อมสภาพตามอายุ มักเกิดกับผู้สูงอายุ อาการเริ่มต้นเป็นอย่างไร ต้อกระจกรักษาอย่างไร

ต้อกระจก โรค การรักษาโรค โรคตา

โรคต้อกระจก คือ โรคที่พบได้ทั่วไปในผู้ที่มีอายุมากขึ้น ก็กระจกเลนส์ตาก็เปรียบเสมือนกับอวัยวะอื่นไปทั่วไปที่เมื่อใช้งานมาเป็นเวลานานก็มีความเสื่อมได้เป็นธรรมดา เมื่อกระจกเลนส์ตาเสื่อแล้ว จะทำให้แสงที่ตกกระทบวัตถุแลัวสะท้อนเข้ามาตาปกติสามารถรับแสงผ่านกระจกตา และตกกระทบที่จอตาและขั้วประสาทตาแปลผลของแสงทำให้ออกมาเป็นสิ่งที่เห็นในประสาทและสมอง แต่เมื่อเลนส์กระจกตาเสื่อมจะทำให้แสงนั้นผ่านทะลุไปไม่ได้หรือไม่ได้ดี ทำให้เห็นภาพไม่ชัดฝ่ามัวนั่นเอง จึงทำให้เกิดโรคต้อกระจก

สาเหตุการเกิดโรคต้อกระจก 

สาเหตุมีอยู่ด้วยกันหลายประการ เช่น การเสื่อมตามอายุของอวัยวะ สิ่งแวดล้อมสภาพรอบตัว อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับดวงตา นอกจากนั้นผู้ที่มีโรคประจำตัวของผู้สูงอายุก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่นกัน

  • อายุผู้ป่วยที่มากขึ้น นั่นคือเรื่องปกติตามธรรมชาติ ที่เมื่ออายุมากอวัยวะจะเสื่อมสภาพ กระจกตาก็เช่นกัน เมื่อเสื่อมจะทำให้เห็นภาพไม่ชัดเกิดภาพพล่ามัว
  • การมองแสงยูวี หรือ แสงอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานานจะมีผลทำให้กระจกตาเสื่อมเร็วขึ้น ดังนั้นผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งติดต่อกันเป็นเวลานานมักจะมีปัญหาเรื่องกระจกตาเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น เกิดเป็นโรคต้อกระจก
  • การได้รับแรงกระแทก การกระทบกระเทือน ทั้งจากอุบัติเหตุ หรือ กีฬา ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ ล้วนส่งผลต่อการเสื่อมของกระจกตาทั้งสิ้น
  • พันธุกรรม ผู้มีญาติใกล้ชิดป่วยโรคนี้มักมีโอกาสเสื่ยงมากกว่าคนทั่วไป รวมทั้งการผิดปกติตั้งแต่ในครรภ์มารดาด้วย
  • ยาบางประเภทมีโอกาสเสี่ยงต่อการทำลายกระจกตา เช่น กลุ่ม สเตรียรอยด์
  • โรคประจำตัวในผู้สูงอายุ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

ระยะของโรคต้อกระจก

สำหรับโรคต้อกระจก สามารถแบ่งระยะของโรคได้ตาม อาการของโรค โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะเริ่มแรก ระยะก่อนต้อสุก ระยะต้อสุก และ ระยะสุกงอม รายละเอียด ดังนี้

  • ต้อกระจก ระยะเริ่มแรก ( Early Cataract ) มักจะเริ่มมองภาพไม่ชัด ค่าสายตาเปลี่ยนไป ปรับระยะโฟกัสยากขึ้นจนบางครั้งทำให้ตาล้า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัวว่าเป็นต้อกระจก เพราะ ระยะนี้ดวงตาจะเป็นปกติทุกอย่าง ไม่รู้สึกเจ็บปวด
  • ต้อกระจก ระยะก่อนต้อสุก ( Immature Cataract ) ระยะนี้เลนส์ตาเริ่มเป็นสีขาวขุ่น สีขาวขุ่นตรงกลางเลนส์ ทำให้มีผลต่อการมองเห็นมากกว่าเดิม ผู้ป่วยจะมองเห็นภาพเป็นฝ้ามัวๆ ไม่ชัดในที่สว่าง และ สายตาสั้นมากขึ้น
  • ต้อกระจก ระยะต้อสุก ( Mature Cataract ) ในระยะนี้เลนส์ตาจะขุ่นมากขึ้น เริ่มขยายออกรอบๆจนขุ่นทั้งเลนส์ ทำให้การมองเห็นยากขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา เนื่องจากยังอยู่ในระยะที่ผ่าตัดต้อกระจกได้ง่าย
  • ต้อกระจก ระยะต้อสุกงอม ( Hypermature Cataract ) ระยะนี้เลนส์ตาขุ่นมากที่สุด เริ่มเป็นก้อนแข็ง ภาพมัวจนมีผลต่อการมองเห็น เป็นระยะที่รักษายากกว่าระยะต้อสุก และถ้าทิ้งไว้อาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน อย่างการอักเสบในดวงตา เลนส์บวมจนเป็นต้อหิน อาจเกิดการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้

อาการของโรคต้อกระจก 

ผู้ป่วยจะทราบอาการผิดปกติก่อนผู้อื่น เพราะโรคนี้ผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องการมองเห็น โดยไม่สามารถมองได้ปกติจะเห็นภาพพล่ามัว โดยเฉพาะตอนกลางคืนที่แสงน้อย เมื่อพบอาการผิดปกติจากการมองเห็น ก็ควรพบจักษุแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา

  • เกิดผ้าสีขาวนูนขึ้นมาจากรูม่านตา สังเกตุเห็นได้จากผู้ที่มองภายนอก
  • สายตาจะกลับมามองในระยะใกล้ได้ดีขึ้น ทำให้ต้องเปลี่ยนแว่นตาอยู่บ่อยๆ
  • ตอนกลางคืนจะมองเห็นแสงแตกกระจาย ทำให้ขับรถได้ลำบากโดยเฉพาะตอนกลางคืน
  • เกิดการมองเห็นภาพซ้อนกัน เนื่องจากกระจกตาเกิดความผิดปกติ ทำให้การกระทบของแสงได้ไม่เท่ากันทั้งเลนส์ตา แสงแต่ละมุมจึงตกกระทบในองศาที่แตกต่างกันทำให้เห็นแสงได้คนละระดับ จึงเกิดภาพซ้อนมองได้ไม่ชัด
  • ตาพล่ามัว โดยเฉพาะในที่ที่แสงจ้าจะมองไม่เห็นหรือมองได้มืดกว่าปกติ โดยที่อาการนี้ไม่มีความเจ็บปวดเกิดร่วมเลย

การรักษาโรคต้อกระจก

การรักษาจะใช้การผ่าตัดเป็นหลัก ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของจักษุแพทย์ ถึงความเหมาะสม รวบไปถึงอุปกรณ์การรักษา งบประมาณการรักษา และความพร้อมของผู้ป่วยเอง

  • การผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาเทียม เนื่องจากเลนส์ตาเก่านั้นเสื่อมสภาพไปแล้ว จึงสามารถเปลี่ยนเลนส์ตาเทียมที่มีความใกล้เคียงกับธรรมชาติใช้แทนกันได้
  • การใช้คลื่นความถี่สูงเพื่อสลายต้อกระจก จะต้องใช้เครื่องมือเฉพาะที่มีความแม่นยำสูง เรียกว่า phacoemulsification
  • การใช้เลเซอร์ในการผ่าตัดเพื่อฝังเลนส์เทียม จะช่วยทำให้แผลผ่าตัดหายเร็วและติดเชื้อได้น้อยกว่าวิธีดั้งเดิม เรียกว่า femtosecond laser

การป้องกันโรคต้อกระจก

การถนอมสายตาอย่างระมัดระวัง รักษาสุขภาพโดยรวม หมั่นตรวจสุขภาพตาประจำปี ก็จะสามารถป้องกันการเกิดโรคต้อกระจกได้

  • การตรวจสุขภาพตาประจำ เพื่อสามารถรักษาได้ทันเมื่อพบว่าเป็นโรค
  • ระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ การกระแทก กระทบกระเทือนกับดวงตา
  • ไม่ควรมองที่ที่แสงจ้าโดยตรง โดยเฉพาะกับ แสงยูวี แสงแดด ควรมีแว่นกันแดดหรือแว่นกรองแสงช่วยด้วย
  • เมื่อจำเป็นต้องใช้สายตานานๆ ในที่ที่แสงจ้า ควรมีการพักสายตา ทุกๆ ชม. ไม่ควรใช้งานติดต่อกันนานเกินไป
  • รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ เน้นผัก ผลไม้ เพราะมีวิตามินต่างๆช่วยบำรุงสายตา
  • ผักผ่อนให้มาก ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ระวังไม่ใช้สายตามากเกินไป ควรถนอมสายตาด้วยการพักสายตาบ้างหลังใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ไม่มองแสงจ้าเป็นเวลานาน หากต้องอยู่ในที่แสงจ้า ควรใส่แว่นกันแดดหรือหมวกปีกกว้าง ถ้าทำงานที่ต้องจ้องแสง ควรมีเครื่องมือป้องกันดวงตาจากแสงด้วย

โรคต้อกระจก ส่วนใหญ่เกิดจากอายุที่มากขึ้นทำให้เลนส์ตาเสื่อมสภาพ อาการของโรคทำให้ผู้ป่วยมองภาพไม่ชัด เห็นภาพซ้อน สามารถรักษาได้ด้วยการใส่แว่นตามค่าสายตา แต่ถ้าอาการหนักขึ้น การมองเห็นน้อยลง สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดต้อกระจ

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย