ย่านาง ( Bamboo grass ) สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมใช้ใบมาทำน้ำใบย่านาง ลักษณะของต้นย่างนาง ประโยชน์และสรรพคุณ เช่น ลดความดัน ลดน้ำตาลในเลือด โทษของย่างนาง

ย่านาง สมุนไพร

ย่านาง ชื่อสามัญ คือ Bamboo grass ชื่อวิทยาศาสตร์ของย่านาง คือ Tiliacora triandra (Colebr.) Diels สำหรับต้นย่านางมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ต้นย่านาง สามารถพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วไป ตามพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตามป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ และ ป่าโปร่ง ต้นย่านางขยายพันธ์ง่าย โดยการปักชำ แตกหน่อ หรือ การเพาะเมล็ด เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของต้นย่านาง

ใบย่านางมีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของย่านาง นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบย่านางสดๆ ขนาด 100 กรัม พบว่าใบย่ายางขนาด 100 กรัมให้พลังงานมากถึง 95 กิโลแคลอรี

ใบย่านางขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 7.9 กรัม แคลเซียม 155 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 7.0 มิลลิกรัม  ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม โปรตีน 15.5 เปอร์เซนต์ ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซนต์ โพแทสเซียม 1.29 เปอร์เซนต์ และ แทนนิน 0.21 เปอร์เซนต์

ใบย่านางขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินเอ 30625 IU วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.36 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 141 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นย่านาง

ต้นย่านาง พืชล้มลุก เป็นเถาไม้เลื้อย ปลูกง่าย พบได้ตามพื้นที่ชุ่มชื้น ของป่าต่างๆ ทั้ง ป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ การขยายพันธ์โดยการปักชำ เพาะเมล็ด หรือ แตกหน่อ ลักษณะของต้นย่างนาง มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของย่านาง มีลักษณะกลมเล็ก เหนียว สีเขียว เป็นเถา ลำต้นย่านางเกี่ยวพันกับไม้อื่น และ เถาแก่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวเข้ม ลำต้นผิวค่อนข้างเรียบ
  • รากของย่านาง รากของย่านางลักษณะเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีขนาดใหญ่
  • ใบของย่านาง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว เหมือนรูปไข่ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว เป็นมัน ในออกจากลำต้นเรียงสลับกัน
  • ดอกของย่านาง ดอกย่านางออกตามซอกใบ และ ซอกโคนก้าน ดอกออกเป็นช่อ มีขนาดเล็ก สีเหลือง ดอกของย่างน่างจะออกดอกช่วงเดือนเมษายนของทุกปี
  • ผลของย่านาง ลักษณะกลมรี สีเขียว มีขนาดเล็ก ผลแก่ของย่านาง สีเหลืองอมแดง มีเมล็ดด้านใน ลักษณะแข็ง รูปเกือกม้า

ประโยชน์ของใบย่านาง

ต้นย่างนางเป็นพืชที่ให้ออกซิเจนสูง เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีมลพิษสุง เพราะ ต้นย่านางจะช่วยเพิ่มออกซิเจน และ สร้างความร่มเย็นให้กับพื้นที่ได้ดี นอกจากนั้นประโยชน์ของย่านาง นิยมนำมาทำอาหาร ใบย่านาง เป็นส่วนประกอบของอาหาร ทำน้ำใบย่านาง

ใบย่านาง ทำให้ผมดกดำ ช่วยชะลอการเกิดผมหงอก ย่านางนิยมนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แคปซูลใบย่านาง สบู่ใบย่านาง แชมพูใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพร เป็นต้น

สรรพคุณของย่านาง

การใช้ประโยชน์จากต้นย่านาง สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก รากย่านาง และ ใบย่านาง โดยรายละเอียดของสรรพคุณของย่านาง มีดังนี้

  • รากย่านาง พืชมีรสขม สรรพคุณของรากย่านาง รักษาไข้ แก้ไข้ทับระดู แก้พิษเมา บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง รักษาอีสุกอีใส รักษามาลาเรีย ช่วยขับพิษต่างๆ
  • ใบยางนาง พืชมีรสขม สรรพคุณช่วยรักษาอาการไข้ ช่วยชะลอวัย เป็นยาอายุวัฒนะ สร้างภูมิต้านทานโรคให้ร่างกาย ช่วยบำรุงกำลัง ลดความอ้วน ช่วยปรับสมดุลย์ร่างกาย ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยรักษาอัมพฤกษ์ ช่วยรักษาอาการชักเกร็ง บำรุงผิวพรรณ บรรเทาอาการเวียนหัว ป้องกันโรคภูมิแพ้ รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด แก้ปวดตามตัว แก้ปวดกล้ามเนื้อ รักษาเหงือกอักเสบ ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ บำรุงสายตา ช่วยลดการนอนกรน รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคตับอักเสบ แก้ท้องเสีย แก้ท้องผูก รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาลำไส้อักเสบ ช่วยรักษาปัสสาวะขัด ช่วยรักษามดลูกโต แก้ปวดมดลูก รักษาโรคต่อมลูกหมากโต รักษาอาการตกขาว ช่วยป้องกันโรคเกาต์ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

โทษของย่างนาง

  • น้ำใบย่างนาง น้ำสมุนไพร แต่ใบย่านางกลิ่นแรง กินยาก การทำน้ำใบย่างนาง หากไม่ปรุงรส อาจทำให้อาเจียน หรือ เกิดอาการแพ้ได้
  • การดื่มน้ำย่านาง ควรดื่มก่อนการกินอาหาร หรือ ดื่มตอนท้องว่าง
  • การดื่มน้ำใบย่านาง ควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่ควรดื่มมากเกินไป
  • น้ำใบย่านาง ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของไต ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย ไม่ควรดื่มน้ำใบย่านาง เพราะ สารอาหาร เช่น วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม ที่มีใบย่านางจะทำให้เกิดการคั่ง
  • การกินอาหารเสริมจากใบย่านาง เช่น แคปซูลใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพรใบย่างนาง อาจมีสารเคมีเจือปน หากขั้นตอนการผลิตไม่ได้มาตราฐาน เพื่อความปลอดภัย ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้จะดีที่สุด

ทานาคา ต้นกระแจะ ไม้ทานาคานำมาฝนกันหินผสมน้ำ นำมาทาหน้า สรรพคุณป้องกันสิว ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดผดผื่นคัน ลดจุดด่างดำ รักษาฝ้า ป้องกันผิวถูกทำลายจากแสงแดด

ทานาคา สมุนไพร

ทานาคา ( LICODIA ACIDISSIMA ) เป็นไม้เนื้อแข็ง ในประเทศพม่า พบในเขตร้อนของภาคกลาง พุกาม และ มัณฑะเลย์ เท่านั้น  คุณสมบัติของทานาคา มีกลิ่นหอม ชาวพม่าใช้ทานาคามาบำรุงผิวพรรณมากกว่า 200 ปี โดยนำไม้ทานาคาฝนกับแผ่นหิน เจือน้ำเล็กน้อย นำมาทาเรือนร่างและใบหน้า

ต้นทานาคา ( LICODIA ACIDISSIMA ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของทานาคา Hesperethusa crenulata (Roxb.) M. Roem. พืชตระกูลส้ม ชื่อเรียกอืื่นๆของทานาคา เช่น กระแจะจัน ขะแจะ ตุมตัง พญายา ตะนาว พินิยา กระแจะสัน ตูมตัง จุมจัง จุมจาง ชะแจะ พุดไทร ฮางแกง กระเจาะ เป็นต้น

สารเคมีในทานาคา
เปลือกของไม้ทานาคา มี สารOPC เนื้อไม้ของทานาคา มีสารCurcuminoid มีสารต้านอนุมูลอิสระ สารสกัดทานาคา 100% ให้สารออกฤทธิ์ความเข้มข้นสูง สรรพคุณชะลอวัย เปลือกทานาคา บดละเอียด มีลักษณะเป็นผง สีเหลืองนวล ใช้ผสมน้ำขัดหน้าและพอกหน้า

ลักษณะของต้นทานาคา

ต้นทานาคา หรือ ต้นกระแจะ เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ต้นทานาคาพบได้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100 – 400 เมตร สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วย การเพาะเมล็ด การปักชำ พืชพื้นเมืองในประเทศพม่า ปากีสถาน ศรีลังกา อินเดีย บังกลาเทศ มณฑลยูนนานของจีน และ ประเทศไทยเขตภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงใต้ ลักษณะของต้นทานาคา มีดังนี้

  • ลำต้นของทานาคา ลักษณะตรง แตกกิ่งต่ำ กิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น ความสูงประมาณ 15 เมตร เนื้อไม้ทานาคาเป็นสีขาว  เปลือกลำต้นสีสีน้ำตาล ผิวขรุขระ ลำต้นและกิ่งมีหนาม เนื้อไม้เมื่อถูกตัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน หากทิ้งไว้นาน ๆ จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนสีเหลืองอ่อน
  • ใบทานาคา ใบเป็นใบประกอบ เรียงสลับกัน ใบย่อยเป็นรูปวงรี โคนและปลายใบแคบ ใบเป็นซี่ฟันเลื่อยแบบตื้นๆ ผิวใบเนียน เกลี้ยง
  • ดอกทานาคา ออกดอกเป็นช่อ กระจุกตามซอกใบ และ กิ่งเล็กๆ ดอกมีขน สีขาวนุ่ม กลีบดอกเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ผิวด้านของดอกทานาคามีต่อมน้ำมัน ดอกทานาคาออกเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี
  • ผลทานาคา ลักษณะกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีม่วงคล้ำ เมล็ดในผล เมล็ดเป็นสีน้ำตาลอมสีส้มอ่อน ผลจะแก่จะออกช่วงในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปี

สรรพคุณของทานาคา

สำหรับการใช้ทานาคา มักรู้จักันดในด้านการบำรุงผิวของชาวพม่า ใช้ประทินผิว แต่จริงๆแล้วทานาคา สามารถใช้ประโยชน์จาก ส่วน เปลือกลำต้น แก่นไม้ ผล รากใบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • แก่นไม้ทานาคา รสจืด สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ ช่วยปรับสภาพผิว ทำให้ผิวขาว รักษาฝ้า รักษากระ รักษาจุดด่างดำ รักษารอยแผลเป็น รักษาผดผื่นคัน รักษาผิวอักเสบ ควบคุมความมันของใบหน้า ต่อต้านริ้วรอย ช่วยชะลอวัย ป้องกันผิวจากแสงแดด ระงับกลิ่นกาย ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด ลดไข้ แก้ปวดเมื้อย แก้อักเสบ
  • ผลของทานาคา รสขม สรรพคุณบำรุงกำลัง ช่วยเจริญอาหาร แก้พิษ ลดไข้ แก้ท้องเสีย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยสมานแผล
  • เปลือกลำต้นทานาคา สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ลดไข้ ขับลม
  • รากทานาคา รสขม สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร  ลดไข้ ขับเหงื่อ รักษาโรคลำไส้ ช่วยขับถ่าย เป็นยาระบาย
  • ใบทานาคา รสขม สรรพคุณ ช่วยคุมกำเนิด แก้ปวดข้อ ลดอาการปวด

โทษของทานาคา

  • ใบทานาคา มีสรรพคุณช่วยคุมกำเนิด สำหรับคันที่มีบุตรยาก ต้องการมีลูก ไม่บริโภตทานาคา

วิธีใช้ทานาคา

สำหรับการใช้ทานาคาในการบำรุงผิวพรรณและพอกผิว มีราละเอียด ดังนี้

  • ให้ใช้หินนำมาฝนไม้ทานาคาให้เป็นผง และ ใช้น้ำสะอาดธรรมดา หรือ น้ำมะเฟือง หรือ น้ำนม หรือ น้ำผึ้ง นำมาผสม นำมาขัดและพอกหน้า
  • ห้ามใช้ทานาคาขัดหน้าที่เป็นสิวอักเสบ อาจทำให้สิวอักเสบมากขึ้น ทานาคาเหมาะสำหรับขัดหน้าที่ไม่มีสิว
  • การใช้ทานาคาขัดหน้า ให้ขัดแค่ 5 นาที และ ล้างด้วยน้ำธรรมดา ไม่ต้องใช้น้ำอุ่น แล้วปล่อยหน้าทิ้งไว้ 2-3 นาที แล้วก็ใช้ฝ่ามือลูบเบาๆ

ทานาคา หรือ ต้นกระแจะ คือ พืชพื้นเมือง ไม้ทานาคา นำมาฝนกันหิน ผสมน้ำ นำมาทาหน้า สรรพคุณของทานาคา ต่อต้านความเสื่อมเซลล์ผิว ป้องกันการเกิดสิว ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดผดผื่นคัน ลดจุดด่างดำ รักษาฝ้า ช่วยป้องกันผิวถูกทำลายจากแสงแดด

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย