ยี่หร่า สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหารและเป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศ สรรพคุณบำรุงร่างกาย เสริมร้างเซลล์ในร่างกาย แก้ปวดท้อง ช่วยขับลม เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับยี่หร่ายี่หร่า เครื่องเทศ สมุนไพร สรรพคุณของยี่หร่า

ต้นยี่หร่า ภาษาอังกฤษ เรียก Shrubby basil ชื่อวิทยาศาสตร์ของยี่หร่า คือ Ocimum gratissimum L. นอกจากนั้นมีชื่อท้องถิ่นภาษาไทยอื่นๆ ได้แก่ หอมป้อม ( ภาษาถิ่นของภาคเหนือ ), กะเพราญวณ ( ภาษาถิ่นกรุงเทพมหานคร ), จันทร์หอม เนียม ( ภาษาถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ ), จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น ( ภาษาถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน ), สะหลีดี ( ภาษาถิ่นของกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน ), โหระพาช้าง กะเพราควาย ( ภาษาถิ่นของภาคกลาง ), หร่า ( ภาษาถิ่นของภาคใต้ )

ยี่หร่ามีถิ่นกำเนิดในบริเวณแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอินเดีย และประเทศจีน ยี่หร่าเรานำมาใช้เป็นเครื่องเทศ หรือทำยาหอม คนละประเภทกับที่เราใช้รับประทานใบที่ใช้รับประทาน ยี่หร่ามีชื่อหลากหลายชื่อ เช่น ยี่หร่าจันทร์หอม ยี่หร่าเนียมต้น เนียม กะเพราญวน และ โหระพาช้าง เป็นต้น เรานิยมคุ้นเคยนำมาผัดรับประทานกัน

ชนิดของยี่หร่า

สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ยี่หร่าเทียนขาว และ ยี่หร่าจันทรหอม รายละเอียด ดังนี้

  • เทียนขาว มีถิ่นกำเนิดในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอินเดีย และประเทศจีน ยี่หร่าชนิดนี้ก็คือผลแห้งที่เรานำมาใช้เป็นเครื่องเทศและยาหอม
  • จันทร์หอม เป็นยี่หร่าแบบกินใบที่เรานิยมนำมาผัดรับประทานกัน ซึ่งในบทความนี้เราจะพูดถึงยี่หร่าชนิดนี้กันครับ

ลักษณะของต้นยี่หร่า 

ต้นยี่หร่า เป็นพืชล้มลุก ชอบความชื้นปานกลาง ในสภาพกลางแจ้งและแสงเข้าถึง ลักษณะของต้นยี่หร่า มีดังนี้

  • ลำต้น เป็นไม้พุ่มมีทรงเตี้ย โดยมีความสูงไม่มากแค่ 50-80 เซนติเมตร ลำต้นสีน้ำตาลเข้ม
  • ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของเป็นรูปกลมรี โคนใบสอบ ปลายใบแหลม
  • ดอก ออกดอกเป็นช่อ ที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กประมาณ 50-100 ดอกใน 1 ช่อ
  • ผล เป็นรูปทรงกลมยาวรี มีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร สีดำหรือน้ำตาลเข้ม ภายในมีเมล็ดมากมาย อบให้แห้ง ใช้ดับกลิ่นคาว เป็นเครื่องเทศชั้นดี

คุณค่าทางโภชนาการของยี่หร่า

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของใบยี่หร่า ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 26.8 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 14.5 กรัม วิตามินบี1 0.10 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.62 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 2 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 215 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 25.5 มิลลิกรัม

เนื่องจากเป็นพืชที่สะสมแร่ธาตุและวิตามิน การรับประทานยี่หร่า จึงแทบจะไม่ให้พลังงาน แต่จะมีกากใยและวิตามินแร่ธาตุจำนวนมาก ได้แก่ วิตามินบี1-3 วิตามินซีสูง มีธาตุอาหารหลัก คือ แคลเซียมสูง และธาตุอาหารรอง คือ เหล็กและฟอสฟอรัส โดยมีโปรตีนและไขมันอยู่น้อย

สรรพคุณของยี่หร่า

สรรพคุณทางการรักษาโรคของยีหร่า นอกจากจะใช้ยี่หร่าเป็นอาหาร ดับกลิ่น ให้กลิ่นหอม ในอาหารไทยต่างๆแล้ว การรับประทานยี่หร่ายังมีระโยชน์ต่างๆมากมาย ดังนี้

  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ให้ย่อยอาหารได้เป็นปกติ ลดก๊าซในไส้
  • ลดอาการท้องอืดท้องเฝ้อ อาหารไม่ย่อย จุกเสียดแน่นท้อง ลดอาการปวดท้องจากอาหารไม่ย่อย
  • ช่วยให้เจริญอาหาร ในผู้ที่มีอาการเบื่ออาหาร ทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น ใช้เป็นยาบำรุงในผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อย
  • ขับก๊าซในกระเพาะ และลำไส้ได้ดี ลดการจุกเสียดเมื่อรับประทานอาหาร
  • เมื่อเกิดอาการลำไส้หด การบีบตัวของลำไส้ ยี่หร่าสามารถลดอาหารต่างๆเหล่านี้ได้ดี
  • ในใบยี่หร่ามีธาตุอาหารรองต่างๆมากมาย ช่วยบำรุงแร่ธาตุในร่างกาย ให้สมดุล
  • เมื่อมีอาการปวดประจำเดือน จากการหดเกร็งของมดลูก ยี่หร่าสามารถบรรเทาอาการนี้ได้ดี
  • เมื่อเกิดอาการท้องเสีย ท้องร่วงจากการติดเชื้อ สามารถใช้ผลยี่หร่าตากแห้งประมาณ 3-5 กรัม ชงกับน้ำเดือด ประมาณ 1 ลิตร ใช้ดื่มแก้อาการ
  • ผลการวิจัย พบว่า ยี่หร่ามีฤทธิ์ยับยั้ง หรือช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็งในระยะต้นๆ ได้ดี
  • มีวิตามินซีสูง บำรุงระบบภูมิคุ้มกัน และลดการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • มีแคลเซียมสูง ช่วยบำรุงระบบกระดูกและฟันได้ดี เมื่อรับประทานเป็นประจำ

ประโยชน์ของยี่หร่า

คนไทยรับประทานยี่หร่ามาช้านาน เป็นส่วนประกอบในอาหารไทยหลากหลายชนิด ทั้งยังเป็นสมุนไพร มีสรรพคุณบำรุงร่างกายมากมาย มีการนำยี่หร่ามาใช้ประโยชน์ ได้แก่

  • ยี่หร่าถูกนำมาผลิตเป็นน้ำมันยี่หร่า ( Caraway oil ) ใช้แต่งกลิ่นอาหาร สามารถนำมาใช้แต่งกลิ่นสบู่ แชมพู ครีมบำรุงผิว สร้างกลิ่นหอมเฉพาะตัว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศเป็นอย่างมาก
  • เมล็ดยี่หร่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อโรคต่างๆ จึงมีการประยุกต์ใช้เป็นเครื่องหอมสำหรับถนอนอาหาร ใช้หมักอาหารประเภทเนื้อต่างๆ ให้สามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน โดยเฉพาะการทำเนื้อตากแห้ง ใช้ผสมเครื่องหมักเนื้อก่อนนำไปตาก พบว่านอกจากจะถนอมอาหารได้ดีแล้วยังดับกลิ่นคาวได้เป็นอย่างดี ถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างหนึ่ง
  • เมล็ดยี่หร่าแห้งนิยมนำมาทำเครื่องแกง โดยโขลกรวมกับเครื่องแกงต่างๆ เช่น พริกแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน เพิ่มความหอม
  • ใบยี่หร่าใช้ปรุงอาหาร ดับกลิ่นคาว นิยมรับประทนกับไส้อั่ว เพิ่มรสชาติและความหอม

ยี่หร่าเป็นเครื่องเทศสำคัญในอาหารหลายชนิดโดยเฉพาะแกงกะหรี่และมัสมั่น ส่วนอาหารไทยนิยมใช้ใบยี่หร่าในการแต่งกลิ่นอาหาร และ ยังมีน้ำมันระเหย เรียก น้ำมันยี่หร่า ( cumin oil ) ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม น้ำหอม เครื่องดื่มและยาขับลม

ยี่หร่า สมุนไพร พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหารและเป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศ สรรพคุณหลากหลาย เช่น บำรุงร่างกาย เสริมร้างเซลล์ในร่างกาย แก้ปวดท้อง ช่วยขับลม นำเสนอเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับยี่หร่า

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ตำลึง พืชสวนครัว นิยมนำมาประกอบอาหารหลากหลายเมนู รับประทานเป็นผักสด สมุนไพรรักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยระบบไหลเวียนโลหิต ทำความรู้จักกับต้นตำลึงผักตำลึง สมุนไพร พืชสวนครัว ตำลึง

ต้นตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Ivy gourd  และชื่อวิทยาศาสตร์ของตำลึง คือ Coccinia grandis (L.) Voigt ชื่อเรียกอื่นๆของตำลึง เช่น สี่บาท ผักแคบ ผักตำนิน แคเด๊าะ เป็นต้น พืชท้องถิ่นของไทยนิยมปลูกริมรั้วบ้าน นำมาทำอาหารรับประทานได้หลากหลายเมนูอาหาร ทั้ง ต้ม ผัด แกง ทอด

ประโยชน์ของตำลึง 

สำหรับตำลึงนั้นนอกจากจะใช้รับประทานเป็นอาหารแล้วยังมีประโยชน์ด้านอื่นๆอีกมากมาย ประกอบด้วย

  • ใช้เป็นยาดับกลิ่นกาย ช่วยทำให้ไม่มีกลิ่นกายเหม็น  นำมาตำผสมกับปูนแดงให้เข้ากัน แล้วทาบริเวณรักแร้ หรือจุดซ่อนเร้น ที่ทำให้เกิดกลิ่นอับ
  • ใช้เป็นครีมทรีตเม้นต์ทำให้ผิวหน้าสดใส ดูเต่งตึง โดยใช้ยอดตำลึงครึ่งกำมือ และ ผสมกับน้ำผึ้งแท้ครึ่งถ้วย แล้วปั่นให้ละเอียดในโถ แล้วนำมาพอกที่หน้า ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก
  • ใช้ยอดและใบกินเป็นผักสด อาจจะลวกหรือต้มจิ้มกินกับน้ำพริก นอกจากนั้นใช้ในการประกอบอาหารได้หลายอย่าง เมนูตำลึง เช่น แกงจืด ต้มเลือดหมู แกงเลียง ก๋วยเตี๋ยว ผัดไฟแดง ไข่เจียว และเมนูอื่นๆอีกมากมาย
  • ผลอ่อนของตำลึงนำมากินกับน้ำพริก หรือจะนำมาดองกิน ส่วนผลสุกมีรสอมหวาน กินได้เช่นกัน
  • ใช้เป็นยารักษาตาไก่ ที่เป็นพยาธิ มีหนองขาวและแข็งภายในของเปลือกตา อย่างแรกให้พลิกเอาหนองขาวแข็งออกจากตาไก่ก่อน แล้วใช้เถาตำลึงแก่ ๆ มาตัดเป็นท่อน ๆ แล้วใช้ปากเป่าด้านหนึ่งจนเกิดฟอง หลังจากนั้นให้เอามือเปิดเปลือกตาไก่ออกแล้วเอาฟองที่ได้หยอดตาไก่วันละครั้งจนหายดี

ลักษณะของต้นตำลึง

ต้นตำลึง จัดเป็นพืชล้มลุก ไม้เลื้อย ต้นตำลึงจะทอดยาวเกาะตามเสา รั้วบ้าน เกาะตามหลัก ต้นไม้ เป็นต้น สามารถขยายพันธ์โดยใช้เมล็ดพันธ์ หรือ การปักชำ ลัก ษณะของต้นตำลึง มีดังนี้

  • ลำต้นของตำลึง เป็นลักษณะเถาไม้เลื้อย ทอดยาวเกาะตามหลักต่างๆ เปลือกของลำต้นอ่อน มีสีเขียว เปลือกแก่จะมีสีน้ำตาลอ่อน
  • ใบของตำลึง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบคลายรูปหัวใจ ใบออกมาตามข้อของลำต้น ใบมีสีเขียวใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ใบแก่ขนาดใหญ่สีเขียวเข้ม
  • ดอกของตำลึง ลักษณะเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ คล้ายรูประฆัง ดอกมีสีขาว
  • ผลของตำลึง คลายแตงกวา มีขนาดเล็ก ผลเป็นทรงรียาว สีเขียวอ่อน ผลแก่มีสีแดง ข้างผลมีเมล็ด สามารถนำไปขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางอาหารของตำลึง 

เนื่องจากตำลึง นิยมใช้ส่วนใบมาบริโภคและใช้ประโยชน์ คุณค่าทางอาหารส่วนใบ 100 กรัม ทั้งในใบและยอดอ่อน ประกอบด้วย พลังงาน 35 Kcal โปรตีน กากใย วิตามินA วิตามินB1 วิตามินB2 วิตามินB3 วิตามินC ธาตุCa ธาตุP และธาตุFe สารเบตาแคโรทีน  ช่วยชะลอวัย และต้านอนุมูลอิสระ

สรรพคุณของตำลึง

นอกจาก ตำลึง จะเป็นผักที่ใช้บริโภคเป็นอาหาร โดยสามารถทำเมนูอาหารต่างๆได้มากมาย เช่น แกง ผัด ต้มต่างๆ ยังมีสรรพคุณที่เป็นสมุนไพรไทย ได้แก่

  • มีสารชะลอความแก่ โดยมีสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้เซลล์เกิดการเสื่อมช้าลง ทำให้ดูอ่อนกว่าวัย
  • มีสรรพคุณช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ช่วยเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อให้หายจากการอักเสบ ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
  • มีสารต้านการเกิดมะเร็ง ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้ดี
  • มีสรรพคุณเป็นรักษาโรคเบาหวานได้ดี โดยใช้ต้มให้ได้น้ำตำลึง หรือ บีบคั้นสดทำให้น้ำตำลึงออกมา ใช้ดื่มเช้าเย็นวันละสองรอบ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมาก ป้องกันการเกิดเบาหวานได้ดี
  • เนื่องจากตำลึงมีธาตุเหล็กสูงจึงสามารถช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง โดยการบริโภคใบ หรือ ดื่มน้ำใบตำลึกก็ได้ผลเช่นเดียวกัน
  • ช่วยบำรุงระบบไหลเวียนโลหิต ให้หัวใจทำงานได้เป็นปกติ ลดการเกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด หรือ เส้นเลือดในสมองแตกได้ดี
  • ในใบตำลึงมีธาตุแคลเซียมสูงทำให้ผู้บริโภคมีความแข็งแรงของกระดูกและฟัยมากขึ้น
  • พบว่ามีวิตามินเอมาก ทำให้ดีต่อระบบสายตา การมองเห็น บำรุงประสาทจอรับภาพ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม แก้อาการตาฝ้า เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ และสายตาอ่อนล้าจากการใช้งานสายตาในที่กลางแจ้งนาน
  • บำรุงระบบเลือดและการไหลเวียนโลหิต สร้างความแข็งแรงกับหลอดเลือดเพิ่มความยืดหยุ่น ทำให้เส้นเลือดไปเปราะแตกได้ง่าย ลดการตีบตันได้ดี
  • ลดการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟันเพราะมีวิตามินซีสูง
  • แก้อาการร้อนใน ดับร้อนภายในร่างกายได้ดี ลดอาการไข้  เป็นสมุนไพรธาตุเย็น ใช้ปรับสมดุลธาตุในร่างกาย
  • แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน วินเวียนศีรษะ
  • บรรเทาอาการตาแดง แสบตา เจ็บตา ปวดรอบๆดวงตา
  • แก้อาการแพ้อาหารเพราะรับประทานของผิดสำแดง โดยใช้เถาต้มเป็นยาดื่มลดอาการได้ดี
  • ลดอาการผิดปกติกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง แก้โดยการรับประทานใบสด ช่วยลดอาการได้ดี
  • ใช้ส่วนเปลือกรากและ หัว เพื่อเป็นยาถ่าย ยาระบาย ช่วยระบายท้องได้ดี
  • ขับสารผิดในระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะในลำไส้
  • ใช้ส่วนใบสามารถป้องกันอาการท้องผูกได้ดี ทำให้ขับถ่ายเป็นปกติ
  • ช่วยลดอาการแพ้ ลดอาการผื่นบริเวณผิวหนัง โดยใช้ใยสดตำมาทาบริเวณที่เกิดอาการ
  • บรรเทาอาการคันหรืออักเสบ จากแมลงสัตว์กัดต่อย หรือจากพืชที่ทำให้เกิดอาการคัน อาการแพ้ระอองเกสรพืชต่างๆ เกิดผื่นที่ผิวหนัง ใช้ใบสดหนึ่งกำมือตำและใช้ทาบริเวณที่เกิดอาการ
  • แก้ฝีพิษและฝีแดง แก้อักเสบ ดับพิษต่าง ๆ
  • ใช้รักษาแผลสด แผลผุพอง ใช้ใบสดและรากตำและประคบบริเวณที่มีแผล บรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน และช่วยทำให้แผลหายเร็ว
  • ใช้แก้โรคหิด โดยใช้เมล็ดตำลึง ตำผสมน้ำมันมะพร้าว นำมาทาบริเวณที่เป็น ลดอาการได้ดี
  • สามารถใช้รักษาโรคงูสวัด และโรคเริม โดยใช้ใบสด 2 กำมือ (ล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนนำมาใช้) ผสมให้เข้ากันกับพิมเสน หรืออาจจะใช้ดินสอพองแทนก็ได้ 1 ต่อ 4 ส่วน นำมาพอกบริเวณที่เกิดอาการ ช่วยบรรเทาและทำให้หายเร็วขึ่น
  • รับประทานตำลึงเป็นประจำช่วยป้องกันการเป็นตะคริวได้ดี

โทษของตำลึง

การรับประทานตำลึงเป็นอาหาร เนื่องจากสรรพคุณของตำลึงเป็นยาเย็น การรับประทานมากเกินไปอาจไม่ดีต่อร่างกาย โทษของตำลึง มีดังนี้

  • ตำลึงมีสรรพคุณเป็นยาเย็น หากนำน้ำตำลึงมาทาที่ผิวหนังแล้วไม่รู้สึกเย็น แปลว่า ไม่ถูกโรค ให้หยุดใช้ทันที เพราะ จะทำให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น
  • ตำลึง มีทั้ง ตำลึงตัวผู้ และ ตำลึงตัวเมีย ตำลึงตัวเมีย กินได้ไม่มีปัญหา ตำลึงตัวผู้ สำหรับคนที่ธาตุอ่อน อาจทำให้ท้องเสียได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย