รากสามสิบ สมุนไพร บำรุงร่างกาย บำรุงผิวพรรณ เชื่อกันว่าเมื่อกินรากสามสิบ ทำให้ผิวพรรณดี สวยงามได้ตลอดทุกวัย ช่วยให้มีบุตร และ อ่อนวัยเสมอ

รากสามสิบ สมุนไพร สรรพคุณรากสามสิบ

รากสามสิบ ภาษาอังกฤษ เรียก Shatavari ชื่อวิทยาศาสตร์ของรากสามสิบ คือ Asparagus racemosus Willd. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของรากสามสิบ คือ พอควายเมะ เตอสีเบาะ จ๋วงเครือ สามร้อยราก ผักชีช้าง ผักหนาม เป็นต้น รากสามสิบ มีชื่อเรียกในตำรับยาบำรุงสตรี ว่า สาวร้อยผัว และในตำรับยาบำรุงบุรุษว่า ม้าสามต๋อน สรรพคุณต้านทานโรคต่างๆมากมาย ต้านมะเร็ง ต้านแบคทีเรียได้ดี

รากสามสิบ สมุนไพรไม้ชนิดเถา เป็นไม้เนื้อแข็งเลื้อยพันต้นไม้อื่นได้ดีและมีหนามแหลม พบมากในประเทศไทย และประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย ศรีลังกา จีน มาเลเซีย และ ออสเตรเลีย เจริญเติยโตได้ดี ในป่าในเขตร้อนชื้น ป่าเขตร้อนแห้งแล้ง ป่าผลัดใบ ป่าโปร่งหรือ ตามเขาหินปูนในเขตแล้ง

วิธีเตรียมน้ำรากสามสิบ นิยมใช้ส่วนราก มาทำเป็นยา ล้างรากให้สะอาด และตากรากจนแห้ง นำราก แห้งประมาณ 90-100 กรัม ใส่หม้อต้มน้ำสะอาด รอจนน้ำเปลี่ยนสี ใช้ดื่มตอนเช้าวันละ 1 ครั้ง

ลักษณะของต้นรากสามสิบ

ต้นรากสามสิบ พืชประเภทไม้เถา พบได้ในพื้นที่ประเทศเขตร้อนต่างๆ เช่น ไทย อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย และออสเตรเลีย ลักษณะของต้นรากสามสิบ มีดังนี้

  • รากหรือเหง้าของรากสามสิบ ลักษณะเป็นกระจุก อยู่ใต้ดิน  คล้ายกระสวย รากจะรวมตัวกันเป็นพวง รากอวบน้ำ กลมยาว
  • ลำต้นรากสามสิบ ลำต้นไม้เนื้อแข็ง มีหนาม ทอดยาวเลื้อยตามต้นไม้ ลำต้นเป็นสีเขียว ลักษณะกลม ผิวเรียบ ลื่น และ เป็นมัน ตามข้อเถาจะมีหนาม
  • ใบรากสามสิบ เป็นใบเดี่ยว ใบแข็ง สีเขียว ใบเป็นรูปเข็ม ปลายใบแหลม โคนใบแหลม มีหนามตามซอกกระจุกใบ
  • ดอกรากสามสิบ เป็นช่อ ออกดอกตามปลายกิ่ง ซอกใบและข้อเถา ดอกสีขาว ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกบางและย่น ดอกรากสามสิบออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี
  • ผลรากสามสิบ ลักษณะค่อนข้างกลม ผิวของผลเรียบมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงหรือสีม่วงแดง ภายในผลมีเมล็ด 2 ถึง 6 เมล็ด ซึ่งเมล็ดเป็นสีดำ รากสามสิบออกผลช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี

คุณค่าทางโภชนาการของรากสามสิบ

การศึกษาประโยชน์ของรากสามสิบ พบว่ารากสามสิบมีสารสำคัญ ที่ราก คือ สาร steroidal saponins สารชนิดนี้ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนสตรี ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันโรคกระดูกพรุน

สรรพคุณของรากสามสิบ

สมุนไพรรากสามสิบ มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย มีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจน พบสาร steroidal saponins มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ยับยั้ง การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร สรรพคุณและประโยชน์ของรากสามสิบ มีดังนี้

  • แก้ปัญหาภาวะประจำเดือนไม่ปกติ บรรเทาอาการผิดปกติต่างๆจาก ภาวะหมดประจำเดือน ลดอาการปวดประจำเดือน รักษาอาการตกขาว
  • สร้างสมดุลระบบฮอร์โมนสตรี แก้อาการวัยทอง ช่วยแก้ปัญหามีบุตรยาก ช่วยบำรุงครรภ์ บำรุงน้ำนมขณะให้นมบุตร ป้องกันการแท้งในหญิงตั้งครรภ์
  • เพิ่มขนาดหน้าอก สรพคุณช่วยช่องคลอดอักเสบ ดับกลิ่นคาวปลาในช่องคลอด สรรพคูรช่วยกระชับช่องคลอด ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นหลังคลอด สรรพคุณช่วยกระชับสัดส่วน ลดไขมันส่วนเกินตามเอว ต้นแขน ตันขา
  • บำรุงโลหิต
  • บำรุงผิวพรรณ ลดสิว ลดฝ้า ทำให้ผิวขาวสวยใส ช่วยชะลอความแก่ชราก่อนวัยอันควร
  • ลดกลิ่นตัวในผู้ที่กลิ่นตัวแรง ลดกลิ่นปาก
  • สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง เป็นยาชูกำลัง
  • มีฤทธิ์ยากระตุ้นประสาท
  • ใช้เป็นยาลดความดันโลหิต และ ลดไขมันในเลือด ลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
  • ใช้รักษาโรคคอพอก
  • นิยมใช้รากต้มกับน้ำดื่มสะอาด ใช้เป็นเป็นยาแก้ไอ ช่วยขับเสมหะ
  • ลดกรดในกระเพาะอาหาร รักษาท้องอืดท้องเฝ้อ แก้อาการอาหารไม่ย่อย อึดอัด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ในผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ
  • รักษาอาการท้องเสีย โรคบิด
  • รักษาโรคริดสีดวงทวาร
  • ใช้เป็นยาแก้ขัดเบา ขับปัสสาวะ ในผู้ที่ปัสสาวะไม่ออก
  • บำรุงตับและปอดให้ทำงานเป็นปกติ
  • ใช้แก้พิษจากแมลงป่องกัดต่อย
  • บรรเทาอาการแพ้ ระคายเคืองต่างๆ
  • แก้อาการปวดข้อ
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร รักษาอาการเบื่ออาหาร
  • สรรพคุณเป็นยาบำรุงเด็กทารกในครรภ์ บำรุงน้ำนม บำรุงร่างกายหลังการคลอดบุตรของสตรี

โทษของรากสามสิบ

แนวทางการใช้ประโยชน์จากรากสามสิบ เป็นยาบำรุงหรือรักษาโรคนั้น ต้องใช้อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม โดยข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากรากสามสิบ มีดังนี้

  • รากสามสิบคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน หากรับประทานจะทำให้ผิวพรรณเต่งตึง หน้าอกกระชับ แต่อาจมีความเสี่ยงโรคมะเร็งหรือมีเนื้องอกในเต้านม
  • ไม่ควรรับประทานร่วมกับยาคุมกำเนิด เพราะ อาจทำให้ฮอร์โมนสตรีมากเกินไป
  • ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกินไปและไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเกินไป

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

กวาวเครือขาว ( White kwao krua ) สมุนไพรสำหรับเพศหญิง ทำให้มีน้ำมีนวล หน้าอกขยายเต่งตึง บำรุงผิวพรรณ บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้นมโต ช่วยชะลอวัย

กวาวเครือขาว สมุนไพร สมุนไพรนมโต

กวาวเครือขาว คือ สมุนไพรประเภทหนึ่ง พืชล้มลุก นิยมใช้หัวมาใช้ประโยชน์ ทำให้ผิวพรรณเต่งตึง นมโต กระตุ้นฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้กระชุ่มกระชวย จัดเป็นยาอายุวัฒนะ ต้นกวาวเครือเป็นอย่างไร โทษของกวาวเครือ สารเคมีในกวาวเครือมีอะไรบ้าง

กวาวเครือขาว ( White kwao krua ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกวาวเครือขาว คือ Pueraria candollei จัดเป็นไม้เลื้อยตระกูลถั่ว ( Fabaceae หรือ Leguminosae ) เป็นพืชที่มีการสะสมอาหารในรูปแป้งใต้ดินเป็นหัว เพื่อใช้สำหรับการเจริญเติบโตของต้นใหม่ แต่ละหัวจะมีลักษณะกลมสีน้ำตาล มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ สามารถหนักได้มากถึง 20 กก. เมื่อผ่าเนื้อข้างในจะมีสีขาวนวลคล้ายมันแกว มีน้ำสะสมอยู่ภายในเนื้อจำนวนมาก เป็นยาสมุนไพรประจำบ้านที่สามารถรับประทานได้ไม่เป็นอันตราย แต่ฤทธิ์จะคงอยู่จนกว่าจะหยุดรับประทานประมาณ 3 สัปดาห์ การรับประทานให้ปั้นเป็นลูกเท่าเม็ดพริกไทย รับประทานวันละ 1 เม็ด

ลักษณะต้นกวาวเครือขาว

ต้นกวาวเครือ เป็นพืชล้มลุกตระกูลถั่ว มีหัวอยู่ใต้ดิน พบมากตามป่าเบญจพรรณ พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 250 เมตร ถึง 800 เมตร พบมากในเขตภูเขาของประเทศไทย สามารถขยายพันธ์โดยใช้การเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นกวาวเครือขาว มีดังนี้

  • ลำต้นกวาวเครือขาว ลักษณะกลม ผิวเกลี้ยงลักษณะยาว ความยาวประมาณ 5 เมตร
  • ใบของกวาวเครือขาว เป็นในประกอบ มีใบย่อย 3 ใบเรียงสลับกันที่ปลายใบ ใบเป็นทรงรีปลายใบแหลม เนื้อใบเรียบ ด้านล่างของในมีขนสั้นๆ
  • ดอกกวาวเครือขาว ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกกิ่ง กลีบดอกลักษณะคล้ายกัน คือ งอนโค้งคล้ายปีกนก
  • ผลกวาวเครือขาว ออกผลเป็นฝัก ลักษณะแบน มีขน ฝักมีสีน้ำตาล ภายในฝักมีเมล็ด ลักษณะของเมล็ดกลม เมล็ดแก่จะมีลายสีเขียวปนม่วง หรือ สีน้ำตาลปนม่วง
  • หัวของกวาวเครือขาว ลักษณะเหมือนมันแกว หัวอยู่ใต้ดิน เป็นแหล่งสะสมของอาหารต่างๆ มีสรรพคุณุสูง มีฤทธิ์ทางยามากยิ่งหัวมีอายุมากขนาดก้จะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ น้ำหนักได้มากถึง 20 กิโลกรัม หัวกวาวเครือมียางสีขาวคล้ายน้ำนม เนื้อหัวกวาวเครือสีขาว เนื้อเปราะ มีเส้นมาก มีน้ำมาก

สรรพคุณของกวาวเครือ 

สรรพคุณสามารถแบ่งได้เป็นสรรพคุณบำรุงเพศหญิง สรรพคุณเพิ่มสรรถนะเพศชาย สรรพคุณบำรุงอวัยวะภายในต่างๆ สรรพคุณบำรุงร่างกายทั่วไป

สรรพคุณบำรุงเพศหญิง ด้านความงาม

  • บำรุงผิวพรรณ ให้เต่งตึง สดใส ลดรอยเหี่ยวย่น
  • บำรุงเส้นผมให้ดกดำ เงางาม ดูมีน้ำหนัก
  • ลดการเกิดสิว ฝ้า กระ
  • บำรุงฮอร์โมนเพศหญิง
  • บำรุงช่องคลอดกระชับกล้ามเนื้อ
  • ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก
  • กระชับผิวหนังลดรายแตกที่ต้นขา หน้าท้อง
  • เพิ่มขนาดหน้าอก ช่วยให้เต่งตึง

สรรพคุณบำรุงสมรรถนะเพศชาย

  • ลดการหลุดร่วงของเส้นผม ป้องกันการเกิดหัวล้าน
  • สร้างความกระชุ่มกระชวย คึกคักให้กับเพศชาย
  • เพิ่มกล้ามเนื้อ ในผู้ที่ผอมแห้ง
  • ลดอาการปวดเมื้อย อาการอ่อนเพลีย
  • เพิ่มการผลิตอสุจิ ช่วยให้มีลูกได้ง่ายขึ้น
  • ช่วยให้เกิดการผ่อนคลายจากความเครียด

สรรพคุณบำรุงระบบต่างๆในร่างกาย

  • บำรุงระบบข้อและกระดูก ลดการเกิดกระดูกพรุน ข้อเข่าเสื่อม
  • บำรุงระบบเลือด ช่วยให้มีการไหลเวียนของเลือดได้ดีขึ้น
  • บำรุงระบบตา ป้องกัน โรคต้อกระจก โรคสายตาผิดปกติ
  • บำรุงระบบสืบพันธุ์
  • บำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยให้จดจำได้มากขึ้น

สรรพคุณบำรุงร่างกายทั่วไป

  • ช่วยเรื่องการนอน ให้สามารถนอนหลับได้สนิท
  • การเคลื่อนไหวของร่างกาย กระฉับกระเฉงมากขึ้น
  • เพิ่มรสชาติให้การรับประทานอาหารอร่อยมากขึ้น
  • ชะลอการแก่ก่อนวัย ทำให้ดูเด็กลง

โทษของกวาวเครือขาว

ต้นกวาวเครือขาว มีความเป็นพิษหากรับประทานหรือใช้ประโยชน์ในปริมาณที่มากเกินไป โดยข้อห้ามใช้ประโยชน์จากกวาวเครือขาว ตามตำราแผนโบราณ ประกอบด้วย

  • ห้ามคนวัยหนุ่มสาวกิน รวมถึง หญิงวัยเจริญพันธุ์ เพราะ อาจทำให้ส่งผลต่อการทำงานของระบบฮอร์โมนเพศ และ ระบบประจำเดือน
  • เด็กหญิงวัยก่อนมีประจำเดือน ไม่ควรรับประทาน
  • สตรีที่อยู่ในระหว่างให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน
  • ผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง เนื้องอก หรือเป็นโรคต่อมไทรอยด์โต ไม่ควรรับประทาน
  • ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับทรวงอก มดลูกและรังไข่ เช่น เป็นซีสต์ พังผืด เนื้องอกเป็นก้อน มะเร็ง ก็ไม่ควรรับประทาน
  • กวาวเครือขาว ห้ามกินรวมกับของดองหมักดอง ของเปรี้ยว ของเค็ม และ ควรอาบน้ำวันละ 3 ครั้ง
  • ผู้ที่ดื่มสุรา และ ผู้ป่วยโรคตับไม่ควรรับประทาน
  • กวาวเครือขาวไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก และ ไม่ควรรับประทานต่อเนื่องติดต่อกันนานกว่า 2 ปี
  • การรับประทานกราวเครือขาวอาจทำให้ประจำเดือนมากกว่าปกติ แต่การที่ประจำเดือนมามากก็ถือเป็นผลดีต่อร่างกายในการขับของเสียในร่างกาย ทำให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
  • การรับประทานกวาวเครือขาวเกินขนาดเป็นอันตราย ทำให้มีอาการมึนเมา คลื่นไส้ อาเจียน

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย