จันทน์เทศ สมุนไพร เป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องเทศ สรรพคุณขับพิษ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม  บำรุงผิวพรรณ ต้นจันทน์เทศเป็นอย่างไร สรรพและโทษของจันทน์เทศมีอะไรบ้างจันทน์เทศ จันทน์หอม สมุนไพร สรรพคุณของจันทน์เทศ

ต้นจันทน์เทศ ภาษาอังกฤษ เรียก Nutmeg ชื่อวิทยาศาสตร์ของจันทน์เทศ คือ Myristica fragrans Houtt. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของจันทน์เทศ เช่น เงี้ยว โร่วโต้วโค่ว ปาลา เป็นต้น ต้นจันทน์เทศ มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย หมู่เกาะบันดาในหมู่เกาะโมลุกกะในอินโดนีเซีย เป็นแหล่งผลิตจันทน์เทศแหล่งเดียวในโลก

ประโยชน์ของจันทน์เทศ

ต้นจันทน์เทศ เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องเทศ เม็ดจันทน์เทศแห้ง และ ดอกจันทน์เทศ ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร ดับคาวจากเนื้อสัตว์ เป็นเครื่องเทศที่มีราคาสูง น้ำมันจันทน์เทศ นำมาเป็นวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ใช้แต่งกลิ่นสบู่ ผงซักฟอก น้ำหอม ทำแยม เยลลี่ ลูกกวาด  รวมถึงในทางการแพทย์น้ำมันจันทน์เทศ หรือ น้ำมันจันทน์หอม เป็นสมุนไพรยารักษาโรค เช่น แก้ปวดหัว แก้ปวดท้อง เป็นยาขับลม เป็นต้น

ตำรายาที่มีจันทน์เทศเป็นส่วนประกอบ

  • ตำรับยาพิกัดตรีพิษจักร ประกอบด้วยตัวยา 3 ชนิด ได้แก่ ผลจันทน์เทศ กานพลู และผลผักชีล้อม ช่วยบำรุงโลหิต แก้ธาตุพิการ แก้พิษเลือด แก้ลม
  • ตำรับยาพิกัดตรีคันธวาต ประกอบด้วยตัวยา 3 ชนิด ได้แก่ ผลจันทน์เทศ กานพลู และผลเร่วใหญ่ แก้ธาตุพิการ แก้ไข้อันเกิดแต่ดี แต่แก้อาการจุกเสียด
  • ตำรับยาหอมเทพจิตร ประกอบด้วย รกหุ้มเมล็ดจันทน์เทศ กับสมุนไพรอื่นๆ แก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืดตาลาย
  • ตำรับยาหอมนวโกฐ ประกอบด้วย รกหุ้มเมล็ดจันทน์เทศ กับสมุนไพรอื่นๆ แก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืดตาลาย
  • ตำรับยาธาตุบรรจบ ประกอบด้วยรกหุ้มเมล็ดจันทน์เทศ ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ
  • ตำรับยาพิกัดจันทน์ทั้งห้า ประกอบด้วย แก่นจันทน์เทศ แก่นจันทน์ขาว แก่นจันทน์แดง แก่นจันทน์ทนา และ แก่นจันทน์ชะมด แก้ไข้ แก้อาการร้อนใน บำรุงหัวใจ

ลักษณะของต้นจันทน์เทศ

ต้นจันทน์เทศ เป็นไม้พุ่มยืน ต้นขนาดกลาง สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด แต่หากเป็นดินร่วนปนทรายที่มีอินทรีย์วัตถุสูง จะเจริญเติบโตได้ดี สามารถเจริญเติบโตได้ในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 900 เมตร สามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์ ปัจจุบันพบว่าประเทศไทยสามารถปลูกได้ในทางภาคใต้ ลักษณะของต้นจันทน์เทศ มีดังนี้

  • ลำต้นจันทน์เทศ มีความสูงของต้นประมาณ 5 – 18 เมตร เปลือกลำต้นเรียบสีเทาอมดำ เนื้อไม้สีนวล มีกลิ่นหอม เนื่องจากเนื้อไม้จันทน์เทศมีน้ำมันหอมระเหย
  • ใบจันทน์เทศ เป็นใบเดี่ยว เป็นรูปรีปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบแข็ง หลังใบเรียบเป็นมัน สีเขียวอมสีเหลืองอ่อน ท้องใบเรียบสีเขียวอ่อน
  • ดอกจันทน์เทศ ลักษณะดอกเป็นช่อ ช่อหนึ่งจะมีประมาณ 2-3 ดอก ออกดอกตามซอกใบ ดอกสีเหลืองอ่อน
  • ผลจันทน์เทศ ลักษณะเป็นผลสด ผลค่อนข้างฉ่ำน้ำ ผลทรงกลม คล้ายกับลูกสาลี่ เปลือกผลเรียบ สีเหลืองนวล ส่วนผลแก่จะแตกและอ้าออกเป็น 2 ซีก ซึ่งภายในผลจะมีเมล็ด ลักษณะกลม สีน้ำตาล เนื้อและเปลือกแข็ง หนึ่งผลมีหนึ่งเมล็ด
  • เมล็ดจันทน์เทศ เรียกอีกชื่อว่า ลูกจันทน์ มีกลิ่นหอม ลักษณะเป็นริ้วสีแดง รูปร่างคล้ายร่างแห เมลูดจะมีแผ่นบางมีหลายแฉกหุ้มเมล็ดอยู่ เรียกว่า รกหุ้มเมล็ด

สรรพคุณของจันทน์เทศ

สำหรับการนำจันทน์เทศมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก รกเมล็ด เมล็ด แก่นไม้ ดอก และ ผล สมุนไพร สรรพคุณของจันทน์เทศ มีดังนี้

  • เมล็ดจันทน์เทศ สรรพคุณทำให้ร่างกายอบอุ่น บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด ช่วยให้หลับสบาย แก้หอบหืด แก้ปวดหัว แก้กระหายน้ำ ขับเสมหะ แก้คลื้นไส้ ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องเสีย รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แก้ปวดมดลูก ช่วยคุมกำเนิด ช่วยสมานแผล แก้คัน
  • รกหุ้มเมล็ดจัทน์เทศ สรรพคุณทำให้ร่างกายอบอุ่น บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร แก้หอบหืด แก้ปวดหัว  ลดไข้ แก้กระหายน้ำ ขับเสมหะ แก้คลื้นไส้ ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องเสีย แก้ปวดมดลูก แก้คัน บำรุงผิวพรรณ
  • แก่ไม้จันทน์เทศ สรรพคุรลดไข้
  • ผลจันทน์เทศ สรรพคุณช่วยคุมกำเนิด
  • น้ำมันจันทน์เทศ สรรพคุณแก้ปวด ช่วยขับประจำเดือน แก้ปวดกระดูก

โทษของจันทน์เทศ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากจันทน์เทศ มีข้อควรระวัง เพื่อความปลอดภัยของร่างกาย ซึ่งข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากจันทน์เทศ มีดังนี้

  • เนื้อในเม็ดจันทน์เทศ ถึงแม้จะมีสรรพคุณเป็นยา แต่การรับประทานมากเกินอาจมีความเป็นพิษอันตรายต่อชีวิตได้
  • สารจากลูกจันทน์เทศ มีสรรพคุณยับยั้งการสร้างน้ำย่อยของกระเพาะอาการ และ ยับยั้งการบีบตัวของกระเพาะและลำไส้ หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้หมดสติได้
  • ผู้ป่วยริดสีดวงทวาร ที่มีอาการปวดฟันและท้องเสียจากความร้อน ไม่ควรใช้แก่นจันทน์เทศเป็นยา

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

กระชาย สมุนไพร ฉายา โสมไทย นิยมนำเหง้ากระชายมาทำยาและอาหารรับประทาน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับเหงื่อ อยู่ในสูตรยาสมุนไพรโบราณมากมาย ต้นกระชายเป็นอย่างไรกระชาย สมุนไพร โสมไทย

ต้นกระชาย ภาษาอังกฤษ เรียก Fingerroot ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระชาย คือ Boesenbergia pandurata (Roxb. ) Schitr สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระชาย เช่น ว่านพระอาทิตย์ ขิงทราย ขิงแดง ขิงกระชาย กะแอน จี๊ปู ซีฟู เปาซอเร๊าะ เป๊าสี่ เป๊าะสี่ ระแอน เป๊าะซอเร้าะ ขิงจีน เป็นต้น กระชาย มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประโยชน์ของกระชาย รากกระชายเป็นแหล่งสะสมสารอาหารมากมาย เรียกว่า นมกระชาย รากกระชายมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว กระชายนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร หลากหลายชนิด ทั้งน้ำพริกแกง แกง ผัด ซึ่งคุณสมบัติหนึ่งของกระชายชวยดับกลิ่นคาวของอาหาร นอกจากนั้นในตำรายาแผนโบราณ ใช้รักษาปากเป็นแผล ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ เป็นต้น สำหรับกระชายนั้นมี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และกระชายเหลือง ส่วนกระชายที่นิยมใช้กัน คือ กระชายเหลือง และกระชายดำ

ชนิดของกระชาย

สำหรับกระชาย ทีนิยมปลูกกัน มี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายดำ ลักษะณะของเนื้อหัวกระชายจะมีสีดำ รสเผ็ดร้อน
  • กระชายแดง ลักษณะทั่วไปเหมือนกันกับกระชายเหลือง แต่จะแตกต่างกันตรงเหง้าและเนื้อด้านในของเหง้า โดยเนื้อจะมีสีเหลืองแกมส้ม
  • กระชายเหลือง ลักษณะของกระชายเหลือง เนื้อด้านในของหัวกระชาย มีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำมาทำอาหาร

ลักษณะของต้นกระชาย 

ต้นกระชาย เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน คล้ายกับ ขิง ข่า ขมิ้น สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นกระชาย มีดังนี้

  • เหง้ากระชาย อยู่ใต้ดิน เหง้าสั้น แตกหน่อได้ รูปทรงกระบอกยาว ปลายเรียว ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
  • ใบกระชาย ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบแทงออกมาจากเหง้ากระชาย ใบทรงรียาว โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม มีขอบเรียบ สีเขียว
  • ดอกกระชาย ลักษณะดอกเป็นช่อ ก้านดอกแทงออกมาจากเหง้ากระชาย มีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน ๆ ดอกเป็นรูปหอกกลีบเลี้ยงมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน
  • ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่

คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย

สำหรับการรับประทานกระชายนิยมรับประทานส่วนเหง้าเป็นอาหาร นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระชาย ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 2 กรัม ไขมันอิ่มตัว 0.2 กรัม โพแทสเซียม 415 มิลลิกรัม โซเดียม 13 กรัม คาร์โบไฮเดรต 17.8 กรัม วิตามินบี6 ร้อยละ 8 วิตามินซี ร้อยละ 8 โปรตีน 1.8 กรัม และ น้ำตาล 1.7 กรัม

สรรพคุณของกระชาย 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระชายด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากเหง้ากระชาย ใบกระชาย และ น้ำมันกระชาย สรรพคุณของกระชาย มีดังนี้

  • ใบกระชาย สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้โลหิตเป็นพิษ รักษาแผลปากเปื่อย ช่วยถอนพิษ
  • น้ำมันกระชาย สรรพคุณรักษาเชื้อราที่หนังศีรษะ
  • เหง้ากระชาย สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้เวียนหัว เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงกระดูก ปรับความสมดุลย์ของฮอร์โมนร่างกาย บำรุงสมอง ลดความดัน รักษาแผลปากเปื่อย แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืด แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยขับระดู ช่วยขับน้ำคาวปลา แก้ปวดเมื่อย ช่วยต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย รักษาแผลฝี ป้องกันเชื้อรา

วิธีเตรียมน้ำกระชายสำหรับดื่ม 

น้ำกระชายนอกจากจะใช้ดื่มดับกระหายได้ดี ก็ยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย รักษาโรคต่างๆได้ มีวิธีการเตรียมดังนี้

  • นำกระชายเหลืองส่วนรากและเหง้า มาล้างน้ำให้สะอาด ตัดแต่งรากที่รุงรังออก ตัดส่วนหัวและส่นท้ายทิ้งไป โดยขูดเปลือกออกล้างน้ำสะอาดอีกรอบ
  • นำมาหั่นเป็นแว่น เพื่อให้ง่ายต่อการปั่นละเอียดต่อไป
  • นำมาปั่นในเครื่องปั่นและผสมกับน้ำเปล่าต้มสุก ปั่นจนละเอียด
  • เทใส่ผ้าขาวบาง หรือ กระชอน หากน้ำกระชายไม่ไหลสามารถเติมน้ำอุ่นเพิ่มได้ คั้นเอาเฉพาะน้ำเท่านั้น
  • เก็บรักษาในตู้เย็นใช้สำหรับดื่ม สามารถเก็บรักษาได้เป็นเดือน
  • เวลาดื่มให้ผสมน้ำมะนาวและน้ำผึ้งนิดหน่อยเพื่อให้ง่ายต่อการดื่ม สามารถดื่มได้ตามใจชอบ

โทษของกระชาย

ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากกระชาย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ไม่ควรกินกระชายจำนวนมาก และ ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดแผลร้อนในที่ปากได้ เนื่องจากกระชายมีฤทธิ์ร้อน
  • การกินกระชายในปริมาณมาก ทำให้เกิดปัญหาเหงือกร่น และ ภาวะใจสั่นได้
  • กระชาย มีผลต่อการทำงานของตับ ผู้ป่วยเกี่ยวกับตับ ไม่ควรกินกระชายในประมาณมาก

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย