ส้มโอ ผลไม้แสนอร่อย พืชเศรษฐกิจ ต้นส้มโอ คุณค่าทางโภชนาการของส้มโอ สรรพคุณของส้มโอ เช่น ขับสารพิษในร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงกำลัง โทษของส้มโอมีอะไรบ้างส้มโอ ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณส้มโอ

ต้นส้มโอ ภาษาอังกฤษ เรียก Pomelo ชื่อวิทยาศาสตร์ของส้มโอ คือ Citrus maxima (Burm.) Merr. เป็นพืชตระกูลส้ม  สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของส้มโอ เช่น มะขุน มะโอ (เหนือ) โกร้ยตะลอง (ภาษาเขมร)  ลีมาบาลี (ยะลา) และ สังอู (กะเหรี่ยง) เป็นต้น ส้มโอ มีต้นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย

ส้มโอในประเทศไทย

ส้มโอ เป็นพืชชนิดหนึ่ง นิยมรับประทานผลส้มโอเป็นผลไม้ จัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกส้มโอเชิงพาณิชย์เพื่อบริโภคภายในประเทศ สำหรับการปลูกส้มโอในประเทศไทยในช่วงแรกๆ มีการปลูกบริเวณที่ราบลุ่มรอบๆแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมากมีการแพร่กระจายการปลูกทั่วภาคกลาง ประเทศไทยถือว่าเป็นที่มีการปลูกส้มโอที่มากที่สุดในโลก และ มีสายพันธ์ส้มโอที่มีมากที่สุดในโลกเช่นกัน แหล่งปลูกส้มโอของประเทศไทยในปัจจุบัน คือ จังหวัดชุมพร นครปฐม นครศรีธรรมราช เชียงใหม่ และ เชียงราย

สายพันธุ์ส้มโอ

ประเทศไทยเป็นแหล่งปลูกส้มโอ และ มีสายพันธ์ส้มโอที่หลากหลาย ซึ่งแหล่งปลูกส้มโอที่สำคัญ คือ ที่ราบลุมภาคกลาง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม สำหรับสายพันธ์ส้มโอที่นิยมปลูกทางการค้า มี 7 สายพันธ์ ประกอบด้วย ส้มโอทับทิมสยาม ส้มโอทองดี ส้มโอขาวน้ำผึ้ง ส้มโอขาวใหญ่ ส้มโอขาวพวง ส้มโอขาวแตงกวา ส้มโอท่าข่อย และ ส้มโอปัตตาเวีย รายละเอียด ดังนี้

  • ส้มโอสายพันธุ์ทับทิมสยาม เป็นส้มโอที่ปลูกมากในจังหวัดนครศรีธรรมราช ลักษณะพิเศษ คือ เนื้อส้มโอสีแดงเข้ม รสหวาน กลิ่นหอม เนื้อนุ่ม เปลือกบาง
  • ส้มโอสายพันธุ์ทองดี เป็นส้มโอที่ปลูกมากในจังหวัดนครปฐม ลักษณะพิเศษ คือ ผลโต กลม ไม่มีจุก รสหวาน ฉ่ำน้ำ เนื้อเป็นสีชมพู
  • ส้มโอสายพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ลักษณะพิเศษ คือ ผลใหญ่ กลมสูง และ ก้นเรียบ
  • ส้มโอสายพันธุ์ขาวใหญ่ เป็นส้มโอที่นิยมปลูกในจังหวัดสมุทรสงคราม ลักษณะพิเศษ คือ เนื้อขาวอมเหลือง รสเปรี้ยวอมหวานมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีเมล็ดน้อย
  • ส้มโอสายพันธุ์ขาวพวง สายพันธ์นี้เป็นสายพันธ์ดังเดิม ลักษณะพิเศษ คือ ผลกลม มีจุกสูง ผิวเรียบ สีเปลือกเขียวอ่อนอมเหลือง และ มีเมล็ดน้อย
  • ส้มโอสายพันธุ์ขาวแตงกวา เป็นส้มโอที่นิยมปลูกในจังหวัดชัยนาท ลักษณะพิเศษ คือ ผลขนาดกลาง กลมแป้น เปลือกบาง และ เนื้อสีขาว
  • ส้มโอสายพันธุ์ท่าข่อย เป็นส้มโอสายพันธ์พื้นเมืองของจังหวัดพิจิตร
  • ส้มโอสายพันธุ์ปัตตาเวีย เป็นส้มโอของทางภาคใต้

ความเชื่อเกี่ยวกับส้มโอ
ส้มโอ เป็นผลไม้ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของท้องถิ่น เนื่องจากส้มโอจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีความอุดมณ์สมบรู์ ดินดี น้ำดี จึงมีการนำส้มโอมาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชิวิต รวมถึงพิธีกรรมต่างๆในสังคม เช่น พิธีไหว้พระจันทร์ของชาวจีน จะใช้ส้มโอเป็นเครื่องเซ่นไหว้สำคัญ นอกจากนั้น ส้มโอ เป็นสัญลักษณ์แทนศีรษะของชาวจีนที่เสียชีวิตในการกู้ชาติ อีกด้วย

ลักษณะของต้นส้มโอ

ต้นส้มโอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง นิยมรับประทานผลส้มโอเป็นอาหาร สำหรับการขยายพันธ์ส้มโอสามารถใช้การเพาะเมล็ดพันธ์ การติดตา การตอนกิ่ง และ การเสียบกิ่ง ลักษณะของต้นส้มโอ มีดังนี้

  • ลำต้นส้มโอ ลักษณะของลำต้นเป็นทรงไม่แน่นอน เหลี่ยมบ้าง กลมบ้าง ความสูงของลำต้นประมาณ 10 เมตร แตกกิ่งก้านมากมาย มีขนปกคลุมตามลำต้น ลำต้นเป็นทรงพุ่ม เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาลอมเทา เนื้อไม้ค่อนข้างเหนียว
  • ใบส้มโอ ลักษณะเป็นใบเลี้ยงคู่ เรียงสลับกันตามกิ่ง ใบส้มโอมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม ใบหนา และเป็นมัน รูปร่างคล้ายรูปไข่ยาว ปลายใบมน และ ใบมีรอยเว้าตรงกลางเป็นรูปหัวใจ ขอบใบหยักเล็กน้อย มีขนนุ่มปกคลุม
  • ดอกส้มโอ ลักษณะเป็นช่อ ออกดอกเดี่ยว ดอกออกบริเวณปลายกิ่งอ่อน ดอกมีขนาดใหญ่ กลีบดอกสีขาว กลีบดอกมีรูปหอก กลีบดอกหนา ดอกส้มโอจะออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคมของทุกปี
  • ผลส้มโอ เจริญเติบโตจากดอกส้มโอ ผลส้มโอสามารถเก็บผลผลิดประมาณเดือนกันยายนถึงตุลาคมของทุกปี ลักษณะผลค่อนข้างกลม ผลมีขนาดใหญ่ ผลอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนผลสุกมีสีเขียวอมเหลือง เปลือกของผลหนา มีต่อมน้ำมันจำนวนมาก  ส่วนเนื้อผลแบ่งออกเป็นกลีบๆเรียงติดกันเป็นวงกลม ภายในกลีบจะฉ่ำน้ำให้รสหวานอมเปรี้ยว
  • เมล็ดส้มโอ อยู่ในผลส้มโอ เมล็ดส้มโอลักษณะแบน เปลือกเมล็ดมีสีเขียวอมเหลือง และเป็นร่องลึก

คุณค่าทางโภชนาการของส้มโอ

สำหรับการรับประทานส้มโอเป็นอาหาร นิยมรับประทานเนื้อของผลส้มโอ นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของส้มโอขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงานมากถึง 38 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.62 กรัม กากใยอาหาร 1 กรัม ไขมัน 0.04 กรัม โปรตีน 0.76 กรัม วิตามินบี1 0.034 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.22 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.036 มิลลิกรัม วิตามินซี 61 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.11 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.017 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 216 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม

สรรพคุณของส้มโอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากส้มโอ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผลส้มโอ เปลือกส้มโอ ใบส้มโอ รากส้มโอ เมล็ดส้มโอ และ ดอกส้มโอ สรรพคุณของส้มโอ ดังนี้

  • ผลส้มโอ สรรพคุณช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเหงือและฟัน แก้เมาสุรา แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม
  • เปลือกส้มโอ สรรพคุณแก้ไอ แก้เวียนหัว ขับเสมหะ ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ แก้จุกเสียดแน่นท้อง ช่วยขับลม แก้อาการคัน รักษาโรคผิวหนัง รักษาฝี ช่วยต้านเชื้อโรค
  • ใบส้มโอ สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปวดบวม
  • รากส้มโอ สรรพคุณแก้ไข้หวัด แก้ไอ แก้จุกเสียดแน่นท้อง ช่วยต้านเชื้อโรค
  • เมล็ดส้มโอ สรรพคุณแก้ไข้หวัด แก้ไอ แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ปวดท้อง ช่วยต้านเชื้อโรค
  • ดอกส้มโอ สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม แก้ปวดท้อง

โทษของส้มโอ 

สำหรับส้มโอ เปลือกส้มโอมีน้ำมันมาก ไม่สามารถรับประทานได้ หากน้ำมันหอมระเหยเข้าตาทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา หากรับประทานทำให้เกิดอาการเวียดศรีษะ อาเจียนได้ รวมถึงเมล็ดส้มโอ มีความขมมาก หากรับประทานเข้าไปอาจทำให้อาเจียนได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถั่วเขียว สมุนไพร นิยมรับประทานเมล็ดถั่วเขียวเป็นอาหาร ลักษณะของต้นถั่วเขียว คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว สรรพคุณช่วยขับร้อน บำรุงสายตา ลดความดันโลหิต โทษของถั่วเขียวถั่วเขียว สมุนไพร ธัญพืช สรรพุคณถุ่วเขียว

ต้นถั่วเขียว ภาษาอังกฤษ เรียก Green bean ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วเขียว คือ Vigna radiata (L.) R.Wilczek สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเขียว เช่น ถั่วจิม ถั่วมุม ถั่วทอง เป็นต้น ถั่วเขียว นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน เมนูอาหารที่มีถั่วเขียวเป็นส่วนประกอบ เช่น เต้าส่วน ถั่วทอง ขนมข้าวเกรียบอ่อน เป็นต้น

ลักษณะของต้นถั่วเขียว
ต้นถั่วเขียว พืชล้มลุก เป็นพืชอายุสั้น เพียงหนึ่งปี  ต้องการน้ำน้อย และ ทนแล้งได้ดี ระยะเวลาปลุกเพื่อได้ผลผลิต ประมาณ 60 วัน สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล้ดพันธ์ และ สามารถปลูกได้ตลอดปี ลักษณะของต้นถั่วเขียว มีดังนี้

  • ลำต้นของถั่วเขียว ลักษณะลำต้นตั้งตรง เป็นเหลี่ยม เป็นพุ่ม ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร กิ่งก้านแตแขนง มีขนปกคลุม
  • ใบถั่วเขียว ลักษณะเป็นใบประกอบ ขึ้นสลับกันตามลำต้น ลักษณะใบคล้ายรูปไข่ ปลายใยแหลม ใบมมีขนปกคลุม
  • ดอกถั่วเขียว ลักษณะดอกเป็นช่อ ขึ้นตามมุมใบ และ ปลายยอด กลีบดอกเป็นสีเหลือง หรือ สีขาว
  • ฝักถั่วเขียว ลักษณะเป็นฝัก ยาวกลม ภายในฝักมีเมล็ด ฝักอ่อนเป็นสีเขียว ฝักแก่เป็นสีน้ำตาล
  • เมล็ดถั่วเขียว ลักษณะกลมรี แข็ง เปลือกผิวเมล็ดเรียบ เมล็ดสีเขียว เนื้อในเป็นสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว

สำหรับการบริโภคถั่วเขียวเป็นอาหาร มีการใช้ประโยชน์จากเมล็ดถั่วเขียว ทั้งเมล็ดดิบ และ เมล็ดต้มสุก ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของเมล็ดถั่วเขียว ได้ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 347 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 62.62 กรัม น้ำ 9.05 กรัม น้ำตาล 6.6 กรัม กากใยอาหาร 16.3 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 23.86 กรัม วิตามินบี1 0.621 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.233 มิลลิกรัม วิตามินบี3 2.251 มิลลิกรัม วิตามินบี5 1.91 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.382 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 625 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.8 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.51 มิลลิกรัม วิตามินเค 9 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 132 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.74 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 189 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.035 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,246 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 2.68 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวต้ม ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 105 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 19.15 กรัม น้ำ 72.66 กรัม น้ำตาล 2 กรัม กากใยอาหาร 7.6 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 7.02 กรัม วิตามินบี1 0.164 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.577 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.41 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี9 159 ไมโครกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.7 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 48 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.298 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 99 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.84 มิลลิกรัม

สรรพคุณของถั่วเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้ประโยชน์จากเมล็ดถั่วเขียว โดย สรรพคุณของถั่วเขียว มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงกล้ามเนื้อ เสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • ช่วยในการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ช่วยผลิตโปรตีน และการหดตัวของกล้ามเนื้อ[5]
  • ช่วยบำรุงเลือดและหลอดเลือด และ บำรุงหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยเจริญอาหาร
  • ช่วยควบคุมน้ำหนัก
  • บำรุงข้อและกระดูก บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยทำให้ร่างกายเย็น แก้ร้อนใน แก้อาการกระหายน้ำ
  • บำรุงสมอง ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยทำให้สมองทำงานได้ฉับไวมากขึ้น
  • ช่วยบำรุงสายตา รักษาตาอักเสบ
  • ช่วยรักษาโรคคางทูม
  • ช่วยลดอาการอาเจียน ช่วยขับของเหลวออกจากร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ป้องกันโรคท้องผูก แก้ลำไส้อักเสบ
  • บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยรักษาไตอักเสบ
  • บำรุงผิวพรรณและรักษาโรคผิวหนัง ช่วยแก้ผดผื่นคัน
  • รักษาแผล ลดอาการอักเสบและบวม รักษาฝี
  • ช่วยขับสารพิษตกค้างในร่างกาย

โทษของถัวเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว หรือ การรับประทานถั่วเขียว มีข้อควรระวังในการรับประทานถั่วเขียว ดังนี้

  • การรับประทานถั่วเขียวทำให้ท้องอืด ไม่ควรกินถั่วเขียวมากเกินไป
  • การรับประทานถั่วเขียวมากเกินไป อาจทำให้แป้งในร่างกายสูง และ เปลี่ยนเป็นไขมัน ทำให้เกิดไขมันสะสมในร่างกายเกินขนาด
  • สำหรับผุ้ป่วยดรคเก๊าท์ ไม่ควรรับประทานถั่วเขียว เนื่องจากมีสารพิวรีน ( Purine ) อาจทำให้เกิดอาการของข้ออักเสบได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย