โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร พืชตระกูลหญ้า ต้นโด่ไม่รู้ล้มเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงเลือด บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย นำมาดองเหล้าเป็นยา โด่ไม่รู้ล้มเป็นพิษต่อสตรีมีครรภ์โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นโด่ไม่รู้ล้ม ( Prickly-leaved elephant’s foot ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของโด่ไม่ล้ม คือ Elephantopus scaber L. เป้นพืชตระกูลทานตะวัน ต้นโด่ไม่รู้ล้มยังมีชื่อเรียกอื่นๆอีกหลากหลายตามท้องถิ่น เช่น ขี้ไฟนกคุ่ม คิงไฟนกคุ่ม หนาดมีแคลน ตะชีโกวะ ติ๊ซิเควาะด๊ะ โน๊ะกะชอย่อตะ กาว่ะ เนาะดากวอะ เคยโป้ หนาดผา หญ้าปราบ หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าไฟนกคุ้ม หญ้าสามสิบสองหาบ ก้อมทะ เกดสะดุด ยาอัดลม จ่อเก๋ เป็นต้น

ลักษณะของต้นโด่ไม่รู้ล้ม

สำหรับต้นโด่ไม่รู้ล้ม นั้นเป็นพืชล้มลุก ลักษณะคล้ายหญ้า พบได้ทั่วไปตามป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าดิบ และป่าสนเขาทั่วไป ในประเทศเขตร้อน  สามารถขยายพันธุ์ ด้วยการเพาะเมล็ดพันธุ์ ลักษณะของต้นโด่ไม่รู้ล้ม มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นดด่ไม่รู้ล้ม ลักษณะของลำต้นกลมและสั้น ความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้นจะอยู่ในระดับพื้นผิวดิน
  • ใบโด่ไม่รู้ล้ม ลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันเป็นกระจุกที่โคนต้น ใบคล้ายรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบดค้งมน ขอบใบหยัก สีเขียวเข้ม เนื้อใบหนา ผิวใบมีขนเล็กๆ
  • ดอกโด่ไม่รู้ล้ม ลักษณะของดอกออกเป็นช่อ โดยก้านดอกจะแทงออกมาจากลำต้น ดอกลักษณะเป็นรูปหลอดเป็นสีม่วง ปลายแหลม
  • ผลโด่ไม่รู้ล้ม อยู่ภายในดอก ลักษณะของผลเป็นผลแห้ง ขนาดเล็กและเรียว รูปกรวย ผลมีขนหนาแน่น ไม่มีสัน

สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม

สำหรับว่านโด่ไม่รู้ล้ม สามารถนำมาใช้ประโยชน์รักษาโรคและบำรุงร่างกาย จากทุกส่วน ทั้งต้น ราก ใบ สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม มีรายละเอียด ดังนี้

  • ทั้งต้นโด่ไม่รู้ล้ม สรรพคุณบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร แก้กษัย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับของเสียจากร่างกาย ช่วยลดไข้ แก้ไอ รักษาวัณโรค รักษาตาแดง แก้เจ็บคอ รักษาแผลในปาก แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง รักษาโรคกระเพาะอักเสบ ช่วยขับพยาธิตัวกลม ช่วยขับระดูขาว ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด บำรุงสมรรถภาพทางเพศ  ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย ช่วยรักษาฝี แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • รากโด่ไม่รู้ล้ม สรรพคุณบำรุงกำลัง แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ แก้ไอ แก้อาเจียน แก้ปวดฟัน แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง รักษาโรคกระเพาะอักเสบ ช่วยขับพยาธิตัวกลม ช่วยขับระดูขาว เป็นยาบีบมดลูก เป็นยาคุมกำเนิดสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ๆ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด บำรุงสมรรถภาพทางเพศ  ช่วยรักษาฝี ช่วยคลายเส้น แก้อาการปวดเมื่อย
  • ใบโด่ไม่รู้ล้ม สรรพคุณบำรุงกำลัง บำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย แก้ไอ แก้ปวดท้อง รักษาโรคกระเพาะอักเสบ ช่วยขับพยาธิตัวกลม ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด บำรุงสมรรถภาพทางเพศ ช่วยรักษาฝี รักษาโรคผิวหนัง รักษาแผลสด

โทษของโด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม สรรพคุณช่วยลดไข้ ทำให้ร่างกายเย็น ไม่ควรใช้สมุนไพรโด่ไม่รู้ล้มกับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะ จะทำให้มีอาการหนาว แขนขาเย็น ไม่กระหายน้ำ ปวดท้อง ท้องเสีย ปัสสาวะในปริมาณมาก เป็นอันตรายต่อสตรีมีครรภ์และบุตรในท้อง

โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร พืชตระกูลหญ้า ลักษณะของต้นโด่ไม่รู้ล้ม เป็นอย่างไร สรรพคุณทางยา เช่น บำรุงเลือด บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย นำมาดองเหล้าเป็นยา โทษของโด่ไม่รู้ล้ม เป็นพิษต่อสตรีมีครรภ์

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ชะคราม ช้าคราม พืชตามชายฝั่งทะเล พบมากที่จังหวัดสมุทรสาครและสมุทรสงคราม ต้นชะครามเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงเส้นผม รักษาโรคผิวหนัง คุณค่าทางโภชนาการมีอะไรบ้างชะคราม สมุุนไพร วัชพืช สรรพคุณของชะคราม

ต้นชะคราม ( Seablite ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะคราม คือ Suaeda maritime (L.) Dumort. ชื่อเรียกอื่นๆของชะคราม เช่น ชักคราม ส่าคราม ชั้วคราม ล้าคราม ล่าคราม เป็นต้น ต้นชะคราม เป็นพืชที่สามารถทนต่อสภาพความเค็มของชายทะเลได้ ถิ่นกำเนิดของชะคราม อยู่ประเทศที่มีภูมิประเทศติดชายทะเล สำหรับประเทศไทย พบได้ตามป่าโกงกาง และ ชายทะเล ในภูมิภาคต่างๆ

ใบชะคราม นิยมนำมาทำอาหาร ซึ่งอาหารไทยที่มีใบชะครามเป็นส่วนประกอบ มีหลายเมนูอาหาร เช่น ยำใบชะครามทะเล แกงเลียง แกงคั่ว ห่อหมก แกงส้ม เป็นต้น

ลักษณะของต้นชะคราม

ต้นชะคราม เป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นชะคราม มีดังนี้

  • ลำต้นชะคราม ลำต้นแตกกิ่งสาขาจำนวนมาก เป็นลักษณะพุ่มขนาดเล็ก ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นอ่อนสีเขียว ลำต้นแก่สีน้ำตาลอมแดง ผิวของลำต้นเป็นตุ่มๆ ลำต้นอ่อนอวบน้ำ
  • รากของชะคราม มีรากแก้วที่แทงลึกลงดิน เป็นแนวตั้ง และ มีรากแขนง แทงออกตามด้ายข้างขนานกับพื้น
  • ใบชะคราม ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบออกตามกิ่งต่างๆ ใบลักกษณะกลมยาว อวบน้ำ ปลายใบแหลม ใบชะครามอ่อนมีสีเขียว
  • ดอกชะคราม ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกบริเวณปลายกิ่ง มีดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกอ่อนมีสีเขียว กลีบดอกแก่มีสีแดง
  • ผลชะคราม ลักษณะทรงกลม ผลอ่อนมีสีเขียวอมน้ำตาล ผลแก่มีสีน้ำตาล ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมแบน  เมล็ดมีสีน้ำตาล ลักษณะมันวาว

คุณค่าทางโภชนาของชะคราม

การบริโภคชะคราม นิยมรับประทานใบชะครามเป็นอาหาร ซึ่งสามารถรับประทานทั้งแบบใบสด และ ใบลวก ได้ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบชะครามสด และ ใบชะครามลวก มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนากการของใบชะครามลวก ขนาด 100 กรัม

ใบชะครามลวกมีสารอาหาร ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.10% ไขมัน 0.15% โปรตีน 1.58% คาร์โบไฮเดรต 2.49% โซเดียม 1,656 มิลลิกรัม แคลเซียม 43.27 มิลลิกรัม วิตามินซี 0.14 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 1,683 ไมโครกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบชะครามสด ขนาด 100 กรัม

ใบชะครามสดมีสารอาหาร ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.40% ไขมัน 0.15% โปรตีน 1.81% แคลเซียม 36.68 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 2.97% โซเดียม 2,577 มิลลิกรัม  เบต้าแคโรทีน 1,683 ไมโครกรัม และ วิตามินซี 0.14 มิลลิกรัม

สรรพคุณของชะคราม

การใช้ประโยชน์จากชะคราม ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย  สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบชะคราม รากชะคราม และ ลำต้นชะคราม สรรพคุณของชะคราม มีดังนี้

  • รากชะคราม สรรพคุณช่วยบำรุงกระดูก รักษาแผลฝี แก้น้ำเหลืองเสีย แก้อาการผื่นคัน รักษาโรคผิวหนัง และ รักษาอาการปวดตามเส้นเอ็น
  • ใบชะคราม สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคผิวหนัง รักษาอาการผื่นคัน รักษากลากเกลื้อน รักษาแผลบวมหนอง รักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคหนองใน รักษาโรคคอพอก กระตุ้นระบบประสาท บำรุงสายตา แก้ตามัว บำรุงเส้นผมและรากผม รักษาอาการผมร่วง
  • ลำต้นชะคราม สรรพคุณบำรุงเส้นผมและรากผม รักษาผมร่วง

โทษของชะคราม

  • ใบชะคราม มีกลิ่นฉุ่น สำหรับคนที่ไม่เคยชินในการกินใบชะคราม อาจทำให้อาเจียนได้
  • กลิ่นฉุนของใบชะคราม ทำให้กลิ่นตัวและกลิ่นปาก แรง ให้รับประทานในปริมาณที่เหมาะสม

ชะคราม ช้าคราม วัชพืช พืชล้มลุกตามชายฝั่งทะเล พบมากที่จังหวัดสมุทรสาครและสมุทรสงคราม ต้นชะครามเป็นอย่างไร สรรพคุณ เช่น บำรุงเส้นผม รักษาโรคผิวหนัง คุณค่าทางโภชนาการมีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย