กล้วยนน้ำว้า สมุนไพรไทย พืชท้องถิ่นที่อยู่คู่สังคมไทย ลักษณะของต้นกล้วยเป็นอย่างไร สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า เช่น เป็นยาอายุวัฒนะ เป็นยาระบาย ช่วยรักษาแผลกล้วยน้ำว้า สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า

ต้นกล้วยน้ำว้า ภาษาอังกฤษเรียก Cultivated Banana ชื่อวิทยาศาสตร์ของกล้วยน้ำว้า คือ Musa ABB cv. Kluai ‘Namwa’ สำหรับชื่อเรียกอ่ื่นๆของกล้วยน้ำว้า เช่น กล้วยใต้ กล้วยนาก กล้วยมณีอ่อง กล้วยส้ม เจกซอ มะลิอ่อง เป็นต้น กล้วยน้ำว้า จัดเป็น ยาอายุวัฒนะ เป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมมาช้านาน ด้วยรสชาติอร่อย ราคาถูก ทานง่าย หาได้ทั่วไปในพื้นที่ต่างๆ

กล้วยน้ำว้า เป็นสายพันธ์หนึ่งของกล้วย เกิดจากการผสมพันธ์ระหว่างกล้วยตานีกับกล้วยป่า กล้วยน้ำว้า สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ประกอบด้วย คือ กล้วยน้ำว้าแดง กล้วยน้ำว้าขาว และกล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยน้ำว้า สามารถรับประทานผลได้ ทั้งผลสุกและผลดิบ มีการนำเอากล้วยน้ำว้ามาทำอาหารหลายชนิด ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน กล้วยน้ำว้าสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี กล้วยตาก ข้าวต้มมัด เป็นต้น

ลักษณะของต้นกล้วยน้ำว้า

ต้นกล้วยน้ำว้า เป็นพืชล้มลุก ชอบอากาศร้อน สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นกล้วยน้ำว้า มีดังนี้

  • ลำต้นกล้วยน้ำว้า ลักษณะเป็นกาบ ลำต้นกลม ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นเป็นสีเขียว ผิวเรียบ อวบน้ำ
  • ใบกล้วยน้ำว้า ลัฏษณะเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดใหญ่ ยาว ผิวใบเรียบ เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ
  • ดอกกล้วยน้ำว้า เรียก หัวปลี ก้านดอกแทงออกจากยอดของลำต้น ลักษณะตูมเหมือนดอกบัว ขนาดใหญ่ ภายในมีกลีบดอกจำนวนมาก ซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นผลกล้วยต่อไป
  • ผลกล้วย ลักษณะเป็นเครือ ในหนึ่งเครือ มีกล้วยหลายหวี และ ในหนึ่งหวีมีผลกล้วยหลายผล ลักษณะผลกล้วยยาวเรียว ขนาดยาวประมาณ 15 เซ็นติเมตร ผลดิบเป็นสีเขียว ผิวผลเรียบ เนื้อในมีสีขาว ส่วนพอสุกเปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อสีเหลือง รสหวาน มีเมล็ดกลมๆสีดำ

กล้วยน้ำว้าในสังคมไทย

กล้วยน้ำว้าอยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน ต้นกล้วยสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน และ ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของประเพณีต่างๆในสังคมไทย เราสามารถแบ่งความสำคัญของกล้วยน้ำว้าต่อสังคมไทยในด้านต่างๆ ดังนี้

  • ด้านความเชื่อ มีความเชื่อต่างๆเกี่ยวกับกล้วยน้ำว้า มากมาย เช่น สตรีมีครรภ์หากรับประทานกล้วยแฝด จะทำให้ได้ลูกแฝด เชื่อว่าในต้นกล้วยมีผีนางตานีสิงอยู่ เป็นต้น
  • ด้านยารักษาโรค มีการนำเอากล้วยมารักษาโรคหรือใช้เป็นส่วนประกอบในการรักษาโรค เช่น ใบกล้วยใช้รองนอน สำหรับผู้ป่วยมีแผลผี หรือ แผลไฟไหม้ ผลกล้วยใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นต้น
  • ด้านอาหาร กล้วยมีคุณค่าทางโภชนาการสูง กล้วยนำมาทำอาหารหลากหลายเมนู ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน มีผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆจากกล้วยหลายชนิด เช่น กล้วยฉาบ กล้วยตาก กล้วยกวน เป็นต้น
  • ด้านประเพณีและพิธีกรรม ต้นกล้วยถูกนำมาใช้เป็นเครื่องบูชา ในพิธีกรรมต่างๆของคนไทย เช่น ต้นบายศรี กล้วยในงานแต่งงาน กาบกล้วยแทงหยวกในงานเผาศพ

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้า

สำหรับการรับประทานกล้วยน้ำว้าเป็นอาหาร สามารถรับประทานผลสุกและผลดิบ เป็นอาหาร นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้าขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 85 แคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย น้ำ 75.7 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 22.2 กรัม ะาตุแคลเซียม 8 กรัม ธาตุเหล็ก 0.7 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 370 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 33 มิลิกรัม วิตามินเอ 190 IU วิตามินซี 10 มิลลิกรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.06 มิลลิกรัม และ ไนอาซีน 0.7 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกล้วยน้ำว้าด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ลำต้น ใบ ยางจากใบ ผลสุก ผลดิบ และ หัวปลี สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า มีดังนี้

  • รากกล้วย สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ
  • ลำต้นกล้วย สรรพคุณช่วยห้ามเลือด รักษาโรคไส้เลื่อน
  • ใบกล้วย สรรพคุณใช้รักษาแผลสุนัขกัด ช่วยห้ามเลือด
  • ยางจากใบกล้วย สรรพคุณช่วยห้ามเลือด สมานแผล
  • ผลกล้วยดิบ สรรพคุณรักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย ยาอายุวัฒนะ แก้โรคบิด รักษาแผลไฟไหม้ รักษาแผลน้ำร้อนลวก รักษาริดสีดวงทวาร เป็นยาระบาย
  • ผลกล้วยสุก สรรพคุณเป็นยาระบาย
  • หัวปลี สรรพคุณช่วยขับน้ำนม

โทษของกล้วยน้ำว้า

สำหรับการรับประทานกล้วยน้ำว้าเป็นอาหาร หรือ ใช้ในการรักษาโรค มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • การรับประทานกล้วยมากเกินไป อาจทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • ยางกล้วยมีความเป็นพิษ มีสารซิโตอินโดไซด์ ซึ่งเป็นสารในกลุ่มสเตียรอยด์ ไม่ควรรับประทานยางกล้วย

กล้วยนน้ำว้า สมุนไพรไทย พืชท้องถิ่นที่อยู่คู่สังคมไทยมาตลอด ลักษณะของต้นกล้วย เป็นอย่างไร สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า เช่น เป็นยาอายุวัฒนะ เป็นยาระบาย ช่วยรักษาแผล บำรุงระบบทางเดินอาหาร โทษของกล้วยน้ำว้า มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

บุก บุกคางคก หัวบุกนำมาทำแป้งได้ กินแล้วไม่อ้วน ต้นบุกเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด ขับเสมหะ แก้ไอ รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โทษของบุก มีอะไรบ้างบุก สมุนไพร สรรพคุณบุก

ต้นบุกคางคก ภาษาอังกฤษ เรียก Stanley’s water-tub ชื่อวิทยาศาสตร์ของบุกคางคก คือ Amorphophallus paeoniifolius (Dennst.) Nicolson  สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของบุกคางคก คือ บุกหลวง บุกหนาม เบีย เบือ บักกะเดื่อ กระบุก บุกคุงคก หัวบุก มันซูรัน  กระแท่ง บุกรอ หัววุ้น บุกอีรอกเขา เป็นต้น ต้นบุกคางคกเป็นพืชตระกูลบอน

บุกในประเทศไทย

ประเทศไทยสามารถปลูกบุกได้ทั่วไป พบได้ทุกภาค การปลูกบุกนิยมนำหัวบุกมาใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม โดยนำเอามาผลิตแป้ง และ แปรรูปเป็นสินค้าด้านอาหารต่างๆ เช่น แผ่นบุกแห้ง ผงวุ้นบุก ผงวุ้นกลูโคแมนแนน และ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่างๆ นอกจากนั้นยังนำมาทำวุ้นเส้น สำหรับรับประทานได้

ลักษณะของต้นบุกคางคก

ต้นบุกคางคก เป็นพืชล้มลุก มีหัวอยู่ใต้ดิน อายุยืนยาน สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ลักษณะของต้นบุกคางคก มีดังนี้

  • ลำต้นบุกคางคก ลักษณะตั้งตรง ลำต้นอวบน้ำ ความสูงประมาณ 1 เมตร แก่นลำต้นมีผิวขรุขระ ตัวลำต้นกลมสีเขียว มีหัวบุกอยู่ใต้ดิน ลำต้นบุกแทงออกมาจากหัวบุก หัวบุกมียาง
  • ใบบุกคางคก เป็นใบเดี่ยวใบอยู่ปลายของก้านใบ ลักษณะใบยาว ลักษณะใบแผ่ออกคล้ายร่มที่กางแล้ว ขอบใบเว้าลึก ก้านใบกลม ลักษณะกาบใบอวบน้ำ
  • ดอกบุกคางคก ออกดอกเป็นช่อ ซึ่งดอกบุกแทงขึ้นมาจากโคนลำต้น ปลายช่อดอกเป็นรูปกรวยคว่ำขนาดใหญ่ ดอกมีกลิ่นเหม็นเน่า
  • ผลบุกคางคก ลักษณะของผลเป็นทรงรียาว เนื้อนุ่ม ผลจะขึ้นเป็นช่อๆจำนวนมาก ผลอ่อนบุกสีเขียว ผลสุกของบุกสีเหลืองส้ม ภายในผลมีเมล็ด ลักษณะเมล็ดกลมรี

สารสำคัญในบุก

หัวบุก มีสารเคมีสำคัญ คือ กลูโคแมนแนน ( glucomannan ) ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายเพกติน ช่วยกำจัดเสมหะ แก้ไอ แก้พิษงู รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อน ช่วยลดน้ำตาลในเส้นเลือด ได้

สรรพคุณของบุก

สำหรับการใช้ประโยชน์จากบุก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก หัวบุก ราก และ ผล สรรพคุณของบุก มีดังนี้

  • หัวบุก สรรพคุณบำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดน้ำตาลในเส้นเลือด แก้ไอ ป้องกันมะเร็ง แก้ไข้ ขับเสมหะ แก้ท้องมาน ช่วยให้ประจำเดือนมาปรกติ แก้พิษงู รักษาแผลน้ำร้อนลวก รักษาแผลหนอง แก้ปวด แก้บวม ลดความอ้วน
  • รากบุก สรรพคุณรักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดูของสตรี รักษาฝี
  • ผลบุก สรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

โทษของบุก

การรับประทานบุก หรือ ใช้ประโยชน์จากบุกในการรักษาโรค มีข้อควรระวัง เนืองจากบุกมียางและมีความเป็นพิษ ต้องมีการนำมาทำให้พิษออกก่อนจึงจะไม่เกิดโทษ โทษของบุก มีดังนี้

  • ยางจากหัวบุก หากสัมผัสทำให้ระคายเคืองผิวหนัง ทำให้เกิดอาการคัน หากเข้าตาทำให้แสบตา หากรุนแรงทำให้ตาบอดได้
  • การรับประทานบุกโดยไม่เอายางออกก่อน ทำให้ระคายเคืองปากได้
  • ผงวุ้นจากบุก หากกินในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้ท้องอืดได้

บุก หรือ บุกคางคก พืชท้องถิ่น หัวบุกนำมาทำแป้งได้ กินแล้วไม่อ้วน ลักษณะของต้นบุก เป็นอย่างไร สรรพคุณของบุก เช่น ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ขับเสมหะ แก้ไอ รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โทษของบุก มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย