งาดำ ธัญพืช สมุนไพร นิยมนำเมล็ดงาดำมาบริโภค ต้นงาดำเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงหัวใจ บำรุงผิวพรรณ บำรุงผม และ บำรุงกระดูก โทษของงาดำ มีอะไรบ้างงาดำ สมุนไพร สรรพคุณของงาดำ

งาดำ ภาษาอังกฤษเรียก Black Sesame Seeds ชื่อวิทยศาสตร์ของงาดำ คือ Sesamum indicum L. พืชตระกูลงา ต้นงาดำ เป็นพืชในเขตร้อน พืชท้องถิ่นของเอเชีย และ ทวีปแอฟริกา

งาดำ มีประโยชน์มากมาย นิยมรับประทานเป็นอาหาร เพื่อสุขภาพ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9 ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม โซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุสังกะสี และ ธาตุเหล็ก เป็นต้น

ลักษณะของต้นงาดำ

ต้นงาดำ เป็นพืชล้มลุก สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เขตร้อน ขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นงาดำ มีดังนี้

  • ลำต้นงาดำ ลักษณะลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยมๆ มีร่องตามยาว ลำต้นไม่มีแก่น อวบน้ำ มีขนสั้นปกคลุม เปลือกลำต้นสีเขียว
  • ใบงาดำ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว สีเขียว ใบเป็นรูปหอก โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย
  • ดอกงาดำ ลักษณะดอกเป็นช่อ ดอกเดี่ยว ขึ้นตามซอกใบ กลีบดอกลักษณะทรงกรวย กลีบดอกเมื่อบานเป็นสีขาว
  • ผลงาดำ หรือ ฝักงาดำ ลักษณะฝักยาวรี ปลายฝัฟแหลมทั้งสองข้าง ผิวฝักเรียบ ฝักเป็นร่องพู ฝักอ่อนสีเขียว มีขนปกคลุม ฝักแก่เป็นสีน้ำตาล
  • เมล็ดงาดำ เมล็ดอยู่ภายในฝัก ลักษณะเล็กๆ ทรงรีและแบน เมล็ดมีจำนวนมาก เปลือกเมล็ดมีสีดำ เมล็ดงาดำมีกลิ่นหอม

สายพันธุ์งาดำ

สำหรับงาดำในประเทศไทย มีหลายสายพันธ์ ซึ่ง สายพันธ์ที่นิยมปลูก มี 4 สายพันธ์ ประกอบด้วย งาดำบุรีรัมย์ งาดำนครสวรรค์ งาดำมก18 และ งาดำมข2 ลักษณะดังนี้

  • งาดำ สายพันธ์บุรีรัมย์ เป็นสายพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ เมล็ดมีขนาดใหญ่ สีเกือบดำสนิท มีอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 90 ถึง 100 วัน
  • งาดำ สายพันธ์นครสวรรค์ เป็นสายพันธุ์พื้นเมือง สายพันธ์นี้นิยมปลูกมากในทุกภาคของประดทศ ลักษณะเด่น คือ ลำต้นสูง ใบค่อนข้างกลม เมล็ดสีดำอวบและใหญ่ อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 95 ถึง 100 วัน
  • งาดำ สายพันธ์ มก.18 เป็นสายพันธ์แท้ พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลักษณะเด่น คือ ลำต้นสูง ไม่แตกกิ่ง ข้อลำต้นสั้น จำนวนฝักต่อต้นสูง ลำต้นแข็งแรง และทนต่อโรคราแป้งได้ดี
  • งาดำ สายพันธ์ มข.2 สายพันธ์ดั้งเดิม คือ ซีบี 80 เป็นสายพันธ์ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ลักษณะเด่น คือ ลำต้นสูงเมล็ดสีดำสนิท อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 70 ถึง 75 วัน ทนแล้ง และต้านทานต่อโรคเน่าดำได้ดี

การเลือกซื้อเมล็ดงาดำ

สำหรับการเลือกซื้อเมล็ดงาดำที่มีคุณภาพ เพื่อนำมารับประทาน ต้องเลือกงาดำที่สะอาด ไม่มีสิ่งเจือปน ให้สังเกตุจากการเก็ยรักษาต้องเก็บในภาชนะที่สะอาด และ ไม่ควรเลือกซื้องาดำแบบบดสำเร็จ เพราะ อาจมีเชื้อราปนอยู่

การเก็บรักษางาดำ ให้เก็บในขวดที่สะอาด ปิดฝามิดชิด และเก็บไว้ในที่แห้ง

คุณค่าทางโภชนาการของงาดำ

สำหรับการรับประทานงาดำ จะใช้ประโยชน์จาก เมล็ดในฝักของงาดำ นำมาปรุงอาหาร ให้กลิ่นหอม นักโภชนาการได้ทำการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดงาดำ มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของงาดำ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน พลังงาน 573 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.45 กรัม กากใยอาหาร 11.8 กรัม โปรตีน 17.73 กรัม น้ำตาล 0.30 กรัม ธาตุแคลเซียม 975 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 14.55 มิลลิกรัม ธาตุซีลีเนียม 5.7 ไมโครกรัม ธาตุโซเดียม 11 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 629 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 7.75 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 468 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 351 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 2.460 มิลลิกรัม ธาตุทองแดง 4.082 มิลลิกรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 18.759 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 21.773 กรัม กรดไขมันอิ่มตัว 6.957 กรัม กรดกลูตามิก 3.955 กรัม กรดแอสพาร์ติก 1.646 กรัม เมไธโอนีน 0.586 กรัม ทรีโอนีน 0.736 กรัม ซีสทีอีน 0.358 กรัม ซีรีน 0.967 กรัม ฟีนิลอะลานีน 0.940 กรัม อะลานีน 0.927 กรัม อาร์จินีน 2.630 กรัม โปรลีน 0.810 กรัม ไกลซีน 1.215 กรัม ฮิสทิดีน 0.522 กรัม ทริปโตเฟน 0.388 กรัม ไทโรซีน 0.743 กรัม วาลีน 0.990 กรัม ไอโซลิวซีน 0.763 กรัม ลิวซีน 1.358 กรัม ไลซีน 0.569 กรัม ไฟโตสเตอรอล 714 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 5 ไมโครกรัม และ มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9

น้ำมันงาดำ

เมล็ดงาดำสามารถสกัดเอาน้ำมันงาดำได้ ซึ่งสามารถทำได้โดยนำเมล็ดงาไปตำให้ละเอียดจากนั้นนำไปต้มน้ำร้อนจนน้ำมันแยกออกจากน้ำ และทำการแยกน้ำมันบริสุทธิ์ออกมาใช้ประโยชน์

สรรพคุณงาดำ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากงาดำ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค จะใช้ประโยชน์จากเมล็ดงาดำ และ น้ำมันงาดำ สรรพคุณของงาดำ มีดังนี้

  • เมล็ดงาดำ สรรพคุณป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยชะลอความแก่ บำรุงระบบประสาทและสมอง บำรุงร่างกาย แก้อาการเมื่อยล้า ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ ลดความอ้วน ช่วยบำรุงตับ ช่วยลดไขมัน ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ป้องกันหลอดเลือดอุดตัน ป้องกันโรคหัวใจ บำรุงเลือด ช่วยให้ระบบเลือดหมุนเวียนดี ช่วยกระตุ้นภูมิต้านทาน ช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย ช่วยรักษาระดับความดันเลือดให้เป็นปกติ แก้ท้องผูก ช่วยบำรุงเส้นผม ป้องกันโรคคอพอก ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงกระดูก รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยให้ผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับสบาย
  • น้ำมันงาดำ สรรพคุณช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนัง รักษาโรคผิวหนังจากเชื้อรา เป็นยาระบายอ่อนๆ รักษาแผล รักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ปวด รักษาผดผื่นคัน และ บำรุงเส้นผม

โทษของงาดำ

สำหรับงาดำ มีประโยชน์มากมายก้จริง แต่การใช้ประโยชน์ต้องเลือกใช้ในปริมาณที่เหมาะสม แต่เพื่อความปลอดภัยไม่ควรใช้นานเกินกว่า 20 วัน ข้อควรระวังในการรับประทานงาดำ มีดังนี้

  • หญิงตั้งครรภ์และสตรีที่กำลังให้นมบุตร สามารถรับประทานงาดำได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่แนะนำให้รับประทานเพื่อรักษาโรค
  • งาดำมีสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่รับประทานยารักษาโรคเบาหวานอยู่ หากกินงาดำร่วม อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป รวมถึงผู้ป่วยที่กำลังเข้ารับการผ่าตัด ควรงดการกินงาดำ
  • งาดำสรรพคุณทำให้ความดันต่ำลง สำหรับผู้ป่วยภาวะความดันต่ำ อาจทำให้ระดับความดันโลหิตลดต่ำเกินไป

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

รากสามสิบ สมุนไพรสามร้อยผัว สรรพคุณสำหรับสตรี ต้นรากสามสิบเป็นอย่างไร สารในรากสามสิบ สรรพคุณแก้กระษัย ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ บำรุงกำลัง โทษของรากสามสิบ มีอะไรบ้างรากสามสิบ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นรากสามสิบ ภาษาอังกฤษ เรียก Shatavari พืชตระกูลหน่อไม้ฟรั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของรากสามสิบ Asparagus racemosus Willd. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของรากสามสิบ เช่น สามร้อยราก ผักหนาม ผักชีช้าง จ๋วงเครือ เตอสีเบาะ พอควายเมะ ชีช้าง ผักชีช้าง จั่นดิน  ม้าสามต๋อน สามสิบ ว่านรากสามสิบ ว่านสามสิบ ว่านสามร้อยราก สามร้อยผัว สาวร้อยผัว ศตาวรี เป็นต้น

รากสามสิบ สมุนไพรที่สรรพคุณของรากมากมาย เป็นส่วนผสมของยาสมุนไพร หลายตำรับ ทั้งยาแผนไทย ยาแผนจีน สรรพคุณบำรุงสตรีเพศ กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ อกตูม รูฟิต นิยมใช้รากสามสิบเป็นยาพื้นบ้าน แก้ตกเลือด แก้ปวดเมื่อย แก้พิษแมลงป่องกัดต่อย แก้ปวดฝี บำรุงตับ บำรุงปอด

ลักษณะของต้นรากสามสิบ

ต้นรากสามสิบ พืชล้มลุก ประเภทไม้เถา สามารถพบได้ในประเทศเขตร้อน ประเทศไทย อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย และออสเตรเลีย พบตามป่าเขตร้อน หรือ เขาหินปูน ลักษณะของต้นรากสามสิบ มีดังนี้

  • รากหรือเหง้าของรากสามสิบ ลักษณะเป็นกระจุก อยู่ใต้ดิน  คล้ายกระสวย รากจะรวมตัวกันเป็นพวง รากอวบน้ำ กลมยาว
  • ลำต้นรากสามสิบ ลำต้นไม้เนื้อแข็ง มีหนาม ทอดยาวเลื้อยตามต้นไม้ ลำต้นเป็นสีเขียว ลักษณะกลม ผิวเรียบ ลื่น และ เป็นมัน ตามข้อเถาจะมีหนาม
  • ใบรากสามสิบ เป็นใบเดี่ยว ใบแข็ง สีเขียว ใบเป็นรูปเข็ม ปลายใบแหลม โคนใบแหลม มีหนามตามซอกกระจุกใบ
  • ดอกรากสามสิบ เป็นช่อ ออกดอกตามปลายกิ่ง ซอกใบและข้อเถา ดอกสีขาว ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกบางและย่น ดอกรากสามสิบออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี
  • ผลรากสามสิบ ลักษณะค่อนข้างกลม ผิวของผลเรียบมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงหรือสีม่วงแดง ภายในผลมีเมล็ด 2 ถึง 6 เมล็ด ซึ่งเมล็ดเป็นสีดำ รากสามสิบออกผลช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี

คุณค่าทางโภชนาการของรากสามสิบ

การศึกษาประโยชน์ของรากสามสิบ พบว่ารากสามสิบมีสารสำคัญ ที่ราก คือ สาร steroidal saponins สารชนิดนี้ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันโรคกระดูกพรุน

สรรพคุณของรากสามสิบ
สำหรับการใช้ประโยชน์จากรากสามสิบ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ราก ใบ และ ทั้งต้น สรรพคุณของรากสามสิบ มีดังนี้

  • ผลรากสามสิบ สรรพคุณรักษาไข้
  • รากของรากสามสิบ สรรพคุณ บำรุงครรภ์ ลดไข้ แก้ปวดหัว รักษาหอบหืด บำรุงน้ำนม บำรุงร่างกายหลังคลอดบุตร แก้ปวดเมือย แก้ปวด รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย บำรุงปอด บำรุงตับ ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ตกเลือด รักษาประจำเดือนมาไม่ปรกติ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยขับลม ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ รักษาคอพอก ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยบำรุงกำลัง
  • ใบรากสามสิบ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับน้ำนม เป็นยาระบาย
  • ทั้งต้นรากสามสิบ สรรพคุณแก้ตกเลือด รักษาคอพอก

โทษของรากสามสิบ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากรากสามสิบ ด้านสมุนไพร มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • รากสามสิบ สรรพคุณคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน เป็นฮอร์โมนเพศหญิง หากใช้จะทำให้ผิวพรรณเต่งตึง หน้าอกกระชับ แต่อาจมีความเสี่ยงโรคมะเร็งหรือมีเนื้องอกในเต้านม
  • การรับประทานรากสามสิบ ไม่ควรรับประทานร่วมกับยาคุมกำเนิด เพราะ อาจทำให้ฮอร์โมนเพศหญิงมากเกินไป เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
  • ไม่ควรรับประทานรากสามสิบ ติดต่อกันนานเกินไป และ ไม่ควรรับประทานรากสามสิบในปริมาณมากเกินไป หากรับประทานควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย