พริก นิยมนำมาทำอาหาร ให้รสเผ็ดของอาหาร สรรพคุณของพริก เช่น บำรุงระบบไหลเวียนโลหิต ช่วยขับถ่าย กระตุ้นระบบย่อยอาหาร รักษาโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้นพริก สมุนไพร สรรพคุณของพริก สมุนไพรไทย

พริก คือ พืชที่ให้ความเผ็ดของอาหาร ซึ่งสารให้ความเผ็ดในพริก เรียกว่า แคปไซซิน ( Capsaicin ) ส่วนที่เกิดรสเผ็ดมาจาก ใยที่อยู่บริเวณเยื่อแกนกลางที่มีสีขาวภายในพริก ไม่ใช่เมล็ดหรือเปลือกตามที่เข้าใจกัน โดยสารนี้จะทนความร้อน แม้นำไปต้มก็ยังคงรูปความเผ็ดอยู่ได้ พริกที่มีความเผ็ดมากที่สุดในโลก คือ พริกฮาบาเนโร

ต้นพริก ชื่อสามัญ สำหรับพริกเม็ดใหญ่ รสเผ็ด คือ Chili, Chilli Pepper และชื่อสามัญสำหรับพริกรสอ่อน คือ Bell pepper, Pepper, Paprika, Capsicum ชื่อสามัญเรียกตามสายพันธุ์ของพริก ได้แก่ พริกขี้หนู พริกเหลือง พริกชี้ฟ้า พริกหยวก พริกหวาน และ ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริก คือ Capsicum frutescens L.

ลักษณะของต้นพริกขี้หนู

ต้นพริกขี้หนู เป็นไม้ล้มลุก อายุประมาณ 1-3 ปี เจริญเติบโตได้ดี กับดินร่วนปนเหนียว ดินร่วนระบายน้ำดี ไม่ทนทานต่อสภาพน้ำขัง สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นพริกขี้หนู มีดังนี้

  • ลำต้นพริกขี้หนู เป็นลักษณะไม้พุ่ม ขนาดเล็กความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากทาย โดยกิ่งอ่อนมีสีเขียว และกิ่งแก่จะมีสีน้ำตาล
  • ใบพริกขี้หนู ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ทรงรีปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว ใบมันวาว
  • ดอกพริกขี้หนู ลักษณะเป็นช่อ ออกตามซอกใบ เป็นกระจุกๆ กลีบดอกเป็นสีขาว
  • ผลพริกขี้หนู เจริญเติบโตจากดอกพริกขี้หนู ผลมีลักษณะยาว ปลายผลแหลม ผลสดสีเขียว ผลสุกเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของพริก

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของพริก พริกมีแร่ธาตุและวิตามินต่างๆมากมาย ได้แก่ วิตามินA วิตามินB 6 วิตามินC ธาตุแมกนีเซียม ( Mg ) ธาตุโพแทสเซียม ( K ) ธาตุเหล็ก ( Fe ) กากใยอาหาร ( Fiber ) เมื่อรับประทานพริกแล้วต้องการลดความเผ็ดแสบร้อนภายในปากได้โดย การรับประทานอาหารที่มีไขมัน เช่น ไอศครีม ขนมหวาน เนื้อติดมัน เพราะ จะช่วยละลายสารความเผ็ดให้ออกไปจากเยื่อบุผนังภายในปากได้

ประโยชน์ของพริก

สำหรับพริก นอกจากการนำมาทำอาหารรับประทานแล้ว พริกสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆอีก ด้านอุตสาหกรรมอาหาร และ นำมาเป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภันฑ์ต่างๆหลากหลาย ดังนี้

  • นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ปรุงรสอาหาร เช่น ซอสพริก เครื่องแกง พริกป่น พริกดอง พริกแห้ง น้ำพริก และยังนำมาทำเป็นยาสำเร็จรูปต่างๆ
  • นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของสเปรย์พริกไทย เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง ทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่เบื่อบุอ่อนที่ตา จมูก
  • ทำเป็นยาบำรุงธาตุไฟ ตามตำรับยาจีนโบราณ
  • ทำเป็นครีมหรือเจล เพื่อลดอาการปวด จากแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

สรรพคุณของพริก

การใช้พริกเพื่อการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้ดังนี้

  • เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอความแก่ให้กับร่างกาย ให้รู้สึกสดชื่อกระปรี่กระเปร่า
  • สร้างความสุขให้กับร่างกาย โดยการเร่งการหลั่งสารความสุขให้กับร่างกาย ( Endorphin )
  • บำรุงระบบภูมิต้านทาน ให้กับร่างกาย ให้แข็งแรงมากขึ้น
  • สร้างคอลลาเจนให้กับร่างกายทำให้หน้าดูเด็กอ่อนกว่าวัย
  • เสริมสร้างการมองเห็นบำรุงระบบสายตา
  • สร้างความเจริญอาหาร ให้รับประทานได้มากขึ้น
  • สร้างความตื่นตัวของร่างกาย บำรุงระบบประสาท
  • ขับพิษออกจากร่างกาย
  • ลดไข้หวัด ลดน้ำมูก และลดเสมหะ ในผู้ป่วยที่เป็นหวัด
  • ลดอาการไอ อาการระคายเคืองคอ คันคอ
  • ลดอาการหายใจติดขัด ไข้หวัด ไซนัส หรือโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ
  • บำรุงระบบเลือด โรคลักปิดลักเปิด หรือโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • มีผลวิจัยยืนยันว่าลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
  • ลดไขมันในเลือดได้ดี โดยเฉพาะ ไขมันเลว และไตรกลีเซอร์ไรด์ ลดความเสี่ยงการเกิดการอุดตันของเส้นเลือด และเส้นเือดในสมอง
  • ช่วยสลายลิ่มเลือดในเส้นเลือดได้ดี
  • ลดความเสี่ยงโรคหัวใจล้มเหลว โรคหัวใจวายเฉียบพลัน
  • เพิ่มการไหลเวียนของหลอดเลือดในเส้นเลือด
  • รักษาโรคความดันโลหิตสูง มีผลทำให้ความดันโลหิตลดลง
  • เพิ่มการยึดตัวของผนังหลอดเลือดลดความเสี่ยงการฉีกขาดของเส้นเลือด
  • เพื่อการดูดซึมอาหารที่ดีขึ้น ช่วยย่อยลดอาการจุดเสียดแน่นท้อง
  • ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร จากสารให้ความเผ็ดในพริก
  • ช่วยบำรุงระบบขับถ่ายให้เป็นปกติ
  • ขับแก๊ซในระบบทางเดินอาหารได้ดี
  • ป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ โดยเฉพาะในระบบหายใจ ในลำคอ ปอด
  • สลายเมือกเสียที่จับตัวกัยในร่างกาย
  • ลดอาการปวดตามอวัยวะต่างๆของร่างกายได้ดี เช่น ปวดข้อ ปวดหัว ปวดฟัน

โทษของพริกขี้หนู

สำหรับการใช้ประโยชน์จากพริกขี้หนู ต้องมีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ โดยโทษของพริกขี้หนู มีดังนี้

  • พริกขี้หนูมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการแสบ ระคายเคืองที่ผิวหนัง สำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น มีโรคที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบ ไม่ควรรับประทานพริกขี้หนู
  • การรับประทานพริกขี้หนูมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการแสบท้อง ทำให้เป็นสิว ทำให้ผิวหนังเกิดอาการแสบร้อนได้
  • การสัมผัสผลพริกที่แตกหรือน้ำจากผลพริก จะทำให้เกิดการระคายเคืองผิวอย่างรุนแรง หากเข้าตาจะแสบมาก

พริก สมุนไพร พืชสวนครัวนิยมนำมาทำอาหารให้ความเผ็ดของอาหาร สรรพคุณของพริก เช่น บำรุงระบบไหลเวียนโลหิต ช่วยขับถ่าย กระตุ้นระบบย่อยอาหาร รักษาโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ท้าวยายม่อม สมุนไพร ทำแป้งได้ สรรพคุณช่วยขับถ่าย ช่วยเจริญอาหาร ลดอาการไข้ แก้พิษ ขับพิษ แก้อาการแพ้ต่างๆ ต้นเท้ายายม่อมเป็นอย่างไร ประโยชน์และโทษมีอะไรบ้างท้ายยายม่อม สมุนไพร สรรพคุณของท้าวยายม่อม

ต้นท้าวยายม่อม ภาษาอักกฤษ เรียก East Indian arrow root ชื่อวิทยาศาสตร์ของท้าวยายม่อม คือ Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze เป็นพืชในวงศ์เดียวกับกลอย ( DIOSCOREACEAE ) สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของท้าวยายม่อม คือ บุกรอ สิงโตดำ นางนวล ไม้เท้าฤาษี ว่านพญาหอกหลอก เม้ายายม่อม เป็นต้น ต้นท้าวยายม่อม พบได้ไปในประเทศเขตร้อน เช่น ทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา ไปจนถึงทวีปออสเตรเลีย สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วไปแต่พบน้อยในภาคอีสาน

ประโยชน์ของท้าวยายม่อม

สำหรับต้นท้าวยายม่อม จัดว่ามีความสำคัญทางสังคมและเศรษบกิจ สูง สามารถนำมาบริโภค และ ใช้เป็นวัตถุดิบหนึ่งของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์ ประโยชน์ของท้าวยายม่อม มีดังนี้

  • ประโยชน์ด้านการอาหาร นำท้าวยายม่อม มาเป็นส่วนหัวมาผสมของอาหารเพื่อสร้างความหนืดทดแทนการใช้แป้งมัน ทำให้อิ่มท้อง รวมถึงรับประทานดอกและยอดอ่อนของท้าวยายม่อมด้วย ซึ่งนิยมนำมาพัดใส่น้ำกะทิเป็นอาหารพื้นบ้าน แสนอร่อย
  • ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม ใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องสำอาง โดยนำมาใช้ทำครีมทาหน้า เพื่อให้หน้าขาว ผิวพรรณสดใส ลดสิวฝ้า รวมถึงเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตแป้งท้าวยายม่อม ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์หลายอย่าง

ลักษณะของต้นท้าวยายม่อม

ต้นท้าวยายม่อม จัดเป็นไม้ล้มลุก ซึ่งอายุหลายปี ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์ หรือ การแยกหน่อ ลักษณะของต้นท้าวยายม่อม มีดังนี้

  • ลำต้นท้าวยายม่อม อยู่เหนือดินมีความสูงได้ถึง 1.5 เมตร ถึง 2 เมตร  แต่ที่ใช้ประโยชน์ คือ ส่วนหัวที่อยู่ใต้ดิน เป็นลักษระต่างๆ ที่พบมาก ได้แก่ รูปกลม กลมแบน หรือรูปรี โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดประมาณ 0.5-4 นิ้ว
  • ใบท้าวยายม่อม มีลักษณะ เป็นใบขนาดใหญ่ และ เว้าลึก และ เป็นรูปลักษระคล้ายฝ่ามือ โดยที่ปลายแยกออกเป็นแฉก มี 3 แฉก
  • ดอกท้าวยายม่อม เป็นช่อ ก้านดอก มีสีม่วงอมเขียว มีลาย ช่อดอกจะมี 1-2 ช่อ กลีบรวมจะเป็นสีเขียวอมเหลือง มีสีเขียวอมม่วงเข้ม ปลายกลีบมีความแหลม โคนกลีบมีเชื่อมติดกันลักษณะเป็นหลอด
  • ผลท้าวยายม่อม เป็นผลสดมีเนื้อ รูปเกือบกลม หรือ รูปทรงรี ปลายมีความแหลมเรียว สีเขียว พบมากบริเวณที่ อยู่ใต้ร่มเงาในป่าดิบแล้งไม่มาก ป่าผลัดใบ ดินเป็นดินทราย และตามป่าชายหาด

สรรพคุณของท้าวยายม่อม

สำหรับการนำต้นท้าวยายม่อม มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เพื่อรักษาโรคและบำรุงร่างกาย ใช้ประโยชน์จากรากของท้าวยายม่อม ลำต้นท้าวยายม่อม และ หัวท้าวยายม่อม สรรพคุณของท้าวยายม่อม มีดังนี้

  • รากท้าวยายม่อม สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ลดไข้ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
  • หัวท้าวยายม่อม สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย  บำรุงหัวใจ แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย รักษาแผลฝี ช่วยห้ามเลือด แก้ผื่นคัน
  • ลำต้นท้าวยายม่อม สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ลดไข้ แก้ร้อนใน

โทษของท้าวยายม่อม

สำหรับโทษของต้นท้าวยายม่อมนั้น หัวท้าวยายม่อม ไม่สามารถนำมารับประทานแบบสดๆได้ เนื่องจากมีความเป็นพิษ มีรสขมมาก ก่อนนำมาทำอาหารต้องล้างให้สะอาด หรือ ตากแห้ง ก่อนนำมาใช้ประโยชน์

สูตรแป้งท้าวยายม่อม

สำหรับคุณสมบัติของแป้งเท้ายายม่อม คือ มีความละเอียดมาก สีขาว ใสและคงรูปไม่เหลวแตกต่างจากแป้งชนิดอื่นจนสัมผัสและสังเกตุได้ ขั้นตอนการแปรรูปหัวท้าวยายม่อม นำมาทำแป้งท้าวยายม่อม มีรายละเอียด ดังนี้

  • ล้างหัวท้าวยายม่อมด้วยน้ำสะอาด และ แช่หัวท้าวยายม่อมทิ้งไว้ก่อน จากนั้นขูดเนื้อของหัวท้าวยายม่อมให้ละเอียด หรือ นำมาปั่นก็ได้ จากนั้นผสมน้ำและแยกกากและน้ำออกด้วยผ้าขาวบาง
  • นำแป้งให้ทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้แป้งตกตะกอน เทน้ำสีเหลืองที่ลอยอยู่ข้างบนทิ้ง ใส่น้ำใหม่ลงไปกวนให้เข้ากัน และทิ้งไว้อีก 1 คืน เทน้ำออก ทำแบบนี้ซ้ำไปมา 4 ครั้ง จนน้ำกว่าน้ำตกตะกอนแป้งจะใส
  • แทน้ำใสออก ให้เหลือเฉพาะเนื้อแป้ง จากนั้นนำแป้งไปตากแห้ง ก็จะได้แป้งท้าวยายม่อมที่พร้อมใช้งาน

ท้าวยายม่อม สมุนไพร ใช้เป็นแป้งได้ สรรพคุณของท้าวยายม่อม บำรุงระบบกล้ามเนื้อ ช่วยขับถ่าย ช่วยเจริญอาหาร ลดอาการไข้ แก้พิษ ขับพิษ แก้อาการแพ้ต่างๆ ลักษณะของต้นท้าวยายม่อม ประโยชน์ของท้าวยายม่อม โทษมีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย