ดอกคำฝอย นิยมนำคำฝอยมารับประทานและใช้ทำสีผสมอาหาร สรรพคุณบำรุงโลหิต น้ำมันจากเมล็ดคำฝอยนำมาทำยาได้ ลดการปวดประจำเดือน ขับน้ำคาวปลา ทำความรู้จักกับต้นคำฝอย

ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย

ต้นคำฝอย ภาษาอังกฤษ เรียก Safflower ชื่อวิทยาศาสตร์ของดอกคำฝอย คือ Carthamus tinctorius L. จัดเป็นพืชในวงศ์เดียวกันกับทานตะวัน สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของคำฝอย ได้แก่ คำยอง คำหยอง คำหยุม คำยุ่ง ดอกคำ หงฮัว คำทอง เป็นต้น คำฝอยมีถิ่นกำเนิดใน ตะวันออกกลาง ในประเทศไทยปลูกมากทางภาคเหนือ  จังหวัดเชียงใหม่ และ จังหวัดเชียงราย

ดอกคำฝอยในประเทศไทย สำหรับดอกคำฝอยในประเทศไทย มีการใช้ประโยชน์จากดอกคำฝอยหลากหลาย โดยนำมาแปรรูป เช่น ทำชา ทำสีผสมอาหาร ทำแคปซูน หรือ สะกัดเอาน้ำมันดอกคำฝอย แหล่งผลิตดอกคำฝอยที่สำคัญของประเทศไย อยู่ทางภาคเหนือ อำเภอพร้าว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

ลักษณะของต้นคำฝอย

ต้นคำฝอย เจริญได้ดีในที่สูง แต่ไม่เกิน 1,000 เมตร ชอบดินร่วนปนทราย หรือ ดินที่มีการระบายน้ำได้ค่อนข้างดี  ไม่ชอบอาการร้อน ประมาณ 15-24 องศาเซลเซียส อายุสั้น ใช้เวลา 4 เดือน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ลักษณะของต้นคำฝอย มีดังนี้

  • ลำต้นคำฝอย ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร ลักษณะลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบคำฝอย เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับตามกิ่งก้าน ลักษณะของใบคล้ายรูปหอก ขอบใบหยัก ปลายใบเป็นหนามแหลม ใบสีเขียว
  • ดอกคำฝอย ลักษณะดอกเป็นช่อ ดอกออกที่ปลายยอดของลำต้น ลักษณะดอกกลม กลีบดอกเป็นสีเหลือง กลีบดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม
  • ผลคำฝอย เจริญเติบโตจากดอก ลักษณะผลคล้ายรูปไข่ ผลเบี้ยวๆ สีขาว เป็นผลแห้งไม่แตก
  • เมล็ดคำฝอยอยู่ในผลคำฝอย เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม ลักษณะยาวรี เปลือกแข็ง สีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของคำฝอย

สำหรับการใช้ประโยชน์ในการรับประทานคำฝอย นิยมรับประทานดอกคำฝอย นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของดอกคำฝอยมีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของดอกคำฝอย ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน กากใยอาหาร ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุเหล็ก สารคาร์ทามีดีน ( carthamidine ) และ สารคาร์ทามีน ( carthamine )

น้ำมันจากดอกคำฝอย มีสารเคมีสำคัญ ประกอบด้วย กรดไขมันไลโนเลอิก (Linoleic Acid) และกรดโอเลอิก (Oleic Acid) กรดปาลมิติก (Palmitic Acid) กรดสเตียริก (Stearic Acid)

เมล็ดของดอกคำฝอย มีสารในกลุ่มลิกแนน ไกลโคไซด์ (Lignan Glycoside) และ สารเซโรโทนิน (Serotonin)

สรรพคุณของดอกคำฝอย

มีการนำดอกคำฝอยมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ซึ่งสรรพคุณของดอกคำฝอยมีทั้งการบำรุงสตรี บำรุงเลือด ช่วยการไหลเวียนของโลหิต และรักษาอาการผิดปกติของร่างกายต่างๆได้ สรรพคุณของดอกคำฝอย มีดังนี้

  • ช่วยให้ผ่อนคลาย และ นอนหลับสบาย สามารถช่วนรักษาโรคทางจิตรเวช เช่น โรควิตกกังวล โรคนิมโพเมาเนียร์ เป็นต้น
  • ช่วยลดไข้ บรรเทาอาการป่วย
  • ช่วยขับระดูของสตรี แก้ปัญหาอาการประจำเดือนคั่งค้าง หรือ ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ
  • บรรเทาอาการปวด อาการประจำเดือน อาการปวดมดลูก และ ลดอาการอักเสบของมดลูก รักษาอาการตกเลือด ลดอาการปวดหลังคลอด ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • ลดไขมันในเลือด ป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ช่วยการไหลเวียนของเลือดให้ดียิ่งขึ้น
  • บำรุงหัวใจ ช่วยกระตุ้นให้มีเลือดไปล่อเลี้ยงหัวใจมากขึ้น
  • ช่วยขับเหงื่อ ทำให้เหงื่อออกมากขึ้น ขับของเสียออกทางรูขุมขน
  • รักษาอาการฟกช้ำดำเขียว รักษาอาการแผลกดทับ
  • ช่วยต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งการเกิดฟันผุ

วิธีทำน้ำดอกคำฝอย มีวิธีการเตรียม ดังนี้ ใช้ดอกคำฝอยแห้งหาซื้อได้ทั่วไป กะปริมาณให้ได้ประมาณ 2 หยิบมือ ( คิดเป็นน้ำหนัก 2.5 กรัม ) เติมดอกเก๊กฮวย ลงหม้อ ประมาณ 10 ดอก ผสมด้วยน้ำสะอาดที่ใช้ดื่มได้ครึ่งลิตร เคี่ยวจนงวด ใช้เวลาประมาณ 30 นาที นำมาดื่มเป็นน้ำชา ดื่มได้ทั้งแบบร้อน และ แบบเย็น ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 2-3 ครั้ง กรณีดื่มยาก สามารถเติมน้ำตาลทรายขาว หรือ น้ำผึ้ง ได้ 2-3 ช้อนชา ต่อน้ำดอกคำฝอย 1 แก้ว

โทษของคำฝอย

การใช้ประโยชน์จากคำฝอย มีข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรจากคำฝอย ดังนี้

  • การรับประทานดอกคำฝอย อย่างต่อเนื่องในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และ มีอาการวิงเวียนศีรษะ
  • การรับประทานดอกคำฝอย ในระหว่างมีประจำเดือน อาจทำให้มีประจำเดือนมากกว่าปกติ
  • สำหรับสตรีระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่รับประทานดอกคำฝอย เพราะ ดอกคำฝอยมีสรรพคุณช่วยขับประจำเดือน อาจทำให้แท้งลูกได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

มะตูม สมุนไพร สังคมไทยเชื่อว่ามะตูมเป็นพืชมงคล นิยมรับประทานผล สรรพคุณบำรุงทางเดินอาหาร แก้ท้องเสีย รับประทานได้ทั้งผลสดและผลแห้ง โทษของมะตูมเป็นอย่างไร

มะตูม สมุนไพร สรรพคุณของมะตูม

มะตูม ภาษาอังกฤษ เรียก Beal ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะตูม คือ Aegle marmelos (L.) Corrêa สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะตูมเช่น มะปิน ตูม ตุ่มตัง กะทันตาเถร เป็นต้น มะตูมมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย ใบมะตูมยังเป็นส่วนประกอบในพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การทำน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์หรือครอบครู เป็นต้น

มะตูมกับสังคมไทย

มะตูมเป็นผลไม้ที่อยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน ผลมะตูมตากแห้งนิยมนำมาต้มเป็นน้ำมะตูมดื่มแก้กระหาย นอกจากนั้นมะตูมยังเป็นพันธุ์ไม้มงคลในศาสนาฮินดู ประเทศไทยนิยมปลูกมะตูมไว้ในบ้าน ปลูกทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้าน เนื่องจากเชื่อว่า ต้นมะตูมสามารถขจัดสิ่งชั่วร้ายออกจากบ้านเรือน ป้องกันสัมภเวสีภูตผีต่างๆได้ นอกจากนี้มะตูมยังเป็นพันธุ์ไม้มงคลประจำจังหวัดชัยนาท

ประโยชน์ของมะตูม ผลมะตูม สามารถนำมารับประทานได้ทั้งแบบสดและแบบแห้ง นำมาทำน้ำมะตูม ดื่มแก้กระหาย ใบอ่อนของมะตูม สามารถรับประทานเป็นผักสดได้ นิยมทานกับน้ำพริกหรือลาบ ผลแก่มะตูมนำมาทำขนมมะตูมเชื่อม นอกจากนั้นมะตูมนำมาเป็นส่วนผสมของขนมหลายชนิด

ลักษณะของต้นมะตูม

มะตูมจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เป็นไม้มงคล สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะตูม มีดังนี้

  • ลำต้นมะตูม ลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 10-20 เมตร เปลือกของลำต้นมีสีเทา ลักษณะเรียบเป็นร่องตื้น เนื้อไม้แข็งมีสีขาวแกมเหลือง ไม้มะตูมมีกลิ่นหอม โคนต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมยาวและแข็ง
  • ใบมะตูม ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่ ใบหนา สีเขียว
  • ดอกมะตูม ดอกมีสีขาวหรือสีขาวอมเขียว ดอกมีกลิ่นหอม
  • ผลมะตูม ลักษณะผลกลม ผลมีเปลือกแข็งเรียบ เนื้อผลเหนียวข้น มีกลิ่นหอม มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมะตูมจะมีขนหนาปกคลุม

คุณค่าทางโภชนาการของมะตูม

มะตูมนิยมบริโภคผลและใบเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของผลมะตูมสุก ขนาด 100 กรัม พบว่าในผลมะตูมสุกมีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 61.4 กรัม กากใยอาหาร 2.9 กรัม คาร์โบไฮเดรต 34.7 กรัม โปรตีน 1.8 กรัม ไนอะซีน 1.1 มิลลิกรัม แคลเซียม 85 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม และในผลมะตูมสุก มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินเอ 92 มิลลิกรัม วิตามินบี1 1.3 มิลลิกรัม และ วิตามินบี2 1.19 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะตูม

สำหรับการใช้ประโชน์จากมะตูมด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากเปลือกลำต้น ราก ผลดิย ผลสุก และ ใบมะตูม สรรพคุณของมะตูม มีดังนี้

  • รากมะตูม สรรพคุณสำหรับสตรีหลังคลอด ลดอาการตกเลือดในสตรีหลังคลอด ช่วยรักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ รักษาอาการปัสสาวะเป็นเลือด ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • เปลือกลำต้นมะตูม สรรพคุณแก้ท้องเสีย รักษาอาการลำไส้อักเสบ
  • ใบมะตูม สามารถใช้ประโยชน์จากใบมะตูมอ่อน สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องเสีย ช่วยลดไข้ บำรุงดวงตา รักษาอาการตาอักเสบ ลดอาการตาบวม
  • ผลดิบมะตูม สรรพคุณป้องกันโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้กระหายน้ำ ทำให้ให้ชุ่มคอ รักษาโรคหวัด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหอบหืด รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี แก้ไข้ทรพิษ แก้ปวดฝี รักษาเยื่อบุตาอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร รักษาอาการแผลอักเสบ ฆ่าพยาธิ ต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการท้องเสีย ลดกรดในกระเพาะอาหาร
  • ผลสุกมะตูม สรรพคุณช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร บำรุงลำไส้ รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยในการขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ ชับลม ลดจุกเสียดแน่นท้อง ลดไขมันในเส้นเลือด แก้ท้องเสีย บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงผิว ป้องกันมะเร็ง บำรุงสมอง รักษาอัลไซล์เมอร์ ช่วยขับพยาธิ

วิธีทำน้ำมะตูม เริ่มจากเลือกมะตูมลูกอ่อนเท่านั้น มาใช้หันด้วยมีดเป็นแว่น หรือ ฝานเป็นแผ่นบางๆ ก็ได้ แล้วนำไปตากแดดจนแห้ง เมื่อแห้งแล้ว จึงนำไปบรรจุในภาชนะที่แห้งสนิท สามารถเก็บไว้ใช้ได้นานมากขึ้น เมื่อต้องการจะใช้ให้ล้างน้ำจนสะอาด เตรียมสะอาดต้มจนน้ำเดือด แล้วจึงนำมะตูมแห้งที่เก็บไว้แล้ว มาปิ้งไฟอ่อนให้พอมีกลิ่นหอมๆ เล็กน้อย หรือ สามารถนำไปย่างไฟอ่อนๆก็ได้ แต่ระวังอย่าให้เกิดการไหม้ ซึ่งจะทำให้น้ำมะตูมแห้ง มีความหอมมากยิ่งขึ้น จากนั้นนำลงหม้อต้มประมาณ 10-15 นาทีพอ ใช้ไฟปานกลาง เติม หรือ เติมน้ำตาลทรายลงไปก็ได้ ตามความชอบ ( แนะนำให้ใส่หวานน้อย เพื่อสุขภาพผู้ดื่ม ) ต้มจนน้ำตาลละลาย จากนั้นปิดไฟ ตั้งทิ้งไว้จนเย็น เก็ยใส่ภาชนะแช่เย็นเก็บไว้ดื่มได้เป็นสัปดาห์ ดื่มได้ทั้งสองแบบ คือ ร้อนและเย็น เป็นเครื่องดื่มสมุนไพรช่วยดับกระหายได้ดี เป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย

โทษของมะตูม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะตูมด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • มะตูมป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียใช้รักษาอาการท้องเสียได้ สำหรับคนที่ท้องผูก ไม่ควรกินมะตูม อาจทำให้ท้องผูกมากขึ้น
  • น้ำมะตูมไม่ผสมน้ำตาลช่วยลดน้ำตาลในเลือด แต่สำหรับคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำอยู่แล้ว ไม่ควรกินน้ำมะตูมที่ไม่ผสมน้ำตาล

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย