ทุเรียนเทศ ( Soursop ) สมุนไพร ต้นทุเรียนเทศเป็นอย่างไร สรรพคุณของทุเรียนเทศ เช่น บำรุงประสาท ลดการติดเชื้อ ลดความเครียด ช่วยให้หลับสบาย โทษเป็นอย่างไร

ทุเรียนเทศ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณทุเรียนเทศ

ต้นทุเรียนเทศ ภาษาอังกฤษ เรียก Soursop ชื่อวิทยาศาสตร์ของทุเรียนเทศ คือ Annona muricata L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของทุเรียนเทศ เช่น มะทุเรียน หมากเขียบหลด ทุเรียนแขก ทุเรียนน้ำ เป็นต้น ทุเรียนเทศแตกต่างจากทุเรียนทั่วไป ผลของทุเรียนเทศคล้ายผลทุเรียน คือ มีหนามแหลม เปลือกมีสีเขียวอ่อน แต่เนื้อในของทุเรียนเทศจะเป็นสีขาว ภายในผลค่อนข้างฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว พบปลูกทุเรียนเทศมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอเมริกากลาง มีการนำทุเรียนเทศมาแปรรูปจำหหน่าย เป็นน้ำทุเรียนเทศบรรจุกล่อง และ ส่งออกไปยังประเทศมาเลเซียและสิงคโปร

ประโยชน์ของทุเรียนเทศ

ทุเรียนเทศสามารถนำมารับประทานผลเป็นผลไม้สดได้ รวมถึึงผลทุเรียนเทศสามารถนำมาแปรรูปในรูปแบบต่างๆ เช่น ผลไม้กวน เยลลี่ ไอศกรีมและซอส ผลทุเรียนเทศมีคาร์โบไฮเดรตมาก โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโทส วิตามินซี และวิตามินบี ส่วนเมล็ดของทุเรียนเทศ สามารถใช้ทำยาเบื่อปลาหรือยาฆ่าแมลงได้  สมัยโบราณนิยมนำผลอ่อนของทุเรียนเทศไปแกงส้ม หรือ นำไปเชื่อมเป็นผลไม้เชื่อม

ลักษณะของต้นทุเรียนเทศ

ต้นทุเรียนเทศ เป็นในตระกูลเดียวกันกับน้อยหน่า จัดเป็นไม้ยืนต้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นทุเรียนเทศ มีดังนี้

  • ลำต้นทุเรียนเทศ ความสูงประมาณ 10 เมตร ลำต้นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนจะมีขน
  • ใบทุเรียนเทศ ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว ใบค่อนข้างหนา รูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบสีเขียว ลักษณะเป็นมัน ใบมีกลุ่นฉุน
  • ดอกทุเรียนเทศ ลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตาทซอกใบ ดอกสีเหลืองแกมเขียว ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกอวบหนา
  • ผลทุเรียนเทศ ลักษณะผลเป็นรูปไข่ เปลือกหนาและเหนียว มีหนามสั้นๆอยู่ทั่วผล ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลือง ภายในผลมีเนื้อฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลดำ

คุณค่าทางโภชนาการของทุเรียนเทศ

สำหรับการรับประทานทุเรียนเทศเป็นสมุนไพร นิยมรับประทานผลทุรียนเทศเป็นอาหาร ซึ่งนัดโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลทุเรียนเทศดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 66 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 16.84 กรัม น้ำตาล 13.54 กรัม กากใยอาหาร 3.3 กรัม ไขมัน 0.30 กรัม โปรตีน 1 กรัม วิตามินบี1 0.070 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.050 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.900 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.059 มิลลิกรัม วิตามินบี9 14 ไมโครกรัม วิตามินซี 20.6 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 14 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 278 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

สรรพคุณของทุเรียนเทศ 

สำหรับทุเรียนเทศ นอกจากจะนิยมบริโภคเป็นน้ำผลไม้บำรุงร่างกายแล้ว ยังสามารถนำมาทำสมุนไพรเพื่อรักษาโรคได้ โดยสรรพคุณของทุเรียนเทศ มีดังนี้

  • สรรพคุณต่อต้านไวรัสและเซลล์มะเร็ง ลดการติดเชื้อ
  • น้ำทุเรียนเทศช่วยเพิ่มน้ำนมสำหรับหญิงที่กำลังให้นมบุตร
  • ออกฤทธิ์คล้ายยาระงับประสาท ช่วยลดความวิตกกังวล ช่วยผ่อนคลายการทำงานของสมอง ทำให้นอนหลับสบาย
  • ช่วยลดอาการเจ็บปวดและลดการเกร็ง
  • ช่วยแก้อาการเมา
  • รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • เมื่อป่วยเป็นโรคบิด ถ่ายไม่หยุด การรับประทานผลสุก จะช่วยลดอาการเหล่านี้ให้หายไป
  • ใช้เพื่อสมานแผลและห้ามเลือด
  • ลดไข้ โดยใช้ส่วนใบ มารองที่นอน เมื่อตื่นมาจะพบว่า อาการไข้ลดลง
  • แก้อาการท้องอืด ใช้ส่วนใบขยี้ผสมกับปูนแล้วนำมาทาบริเวณท้อง
  • รักษาโรคผิวหนัง โดยใช้ส่วนใบ มาขยี้ทาตามผิวหนัง
  • แก้อาการไอ
  • อาการปวดตามข้อ ใช้ส่วนของ เปลือก ราก และดอก
  • ขับพยาธิ โดยใช้น้ำที่สกัดได้จากส่วนเนื้อ

โทษของทุเรียนเทศ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากทุเรียนเทศด้านการรักษาโรค ต้องใช้งานอย่างถูกต้องและได้รับการชี้แนะจากผู้เชี่ยวชาญมีความรู้ ซึ่งข้อควรระวังการใช้ประโยชน์จากทุเรียนเทศ มีดังนี้

  • เมล็ดและเปลือกของทุเรียนเทศ มีสารอัลคาลอยด์ที่เป็นพิษต่อร่างกาย ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะ อาจจะเป็นพิษต่อร่างกาย
  • สำหรับสตรีมีครรภ์และสตรีหลังคลอดที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตร ไม่ควรรับประทานทุเรียนเทศ
  • ใบทุเรียนเทศมีสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รับประทานยาลดน้ำตาลในเลือดไม่ควรรับประทานใบทุเรีบนเทศ
  • เมล็ดทุเรียนเทศมีพิษ ใช้ทำยาเบื่อปลาและเป็นยาฆ่าแมลง ไม่ควรรับประทานเมล็ดทุเรียนเทศ

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

มะกรูด สมุนไพรพื้นบ้าน ประโยชน์หลากหลาย นิยมเป็นส่วนประกอบในอาหาร ต้นมะกรูดเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะกรูด บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด แก้เวียนหัว โทษของมะกรูดมะกรูด สมุนไพร สรรพคุณของมะกรูด สมุนไพรไทย

ต้นมะกรูด ภาษาอังกฤษ เรียก Kaffir lime ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะกรูด คือ Citrus hystrix DC. จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับตระกูลส้ม สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะกรูด เช่น มะขู มะขุน มะขูด ส้มกรูด ส้มมั่วผี เป็นต้น มะกรูดมีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด มะกรูดสามารถพบได้ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย นิยมปลูกไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน เช่น ประกอบอาหาร ใช้ดับกลิ่นอับเหม็น ใช้ทำน้ำมันหอมระเหย และ ใช้เป็นสมุนไพรประจำบ้าน

ประโยชน์ของมะกรูด นอกจากมะกรูดจะเป็นสมุนไพร ยังมีประโยชน์ด้านต่างๆอีกมากมาย เช่น ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารไทย ต่างๆมากมาย ประกอบอาหารโรยหน้า ดับกลิ่นคาว ได้แก่ ต้มยำ แกงเผ็ด ผัดเผ็ด ฉู่ฉี่ ห่อหมก ทอดมัน โรยหน้าข้าวเหนียวหน้ากุ้ง ใช้ดับกลิ่นคาวในอาหาร ประเภทเนื้อปลาได้ดี

มะกรูดใช้ไล่แมลง เช่น มอด และ มดในข้าวสาร น้ำมันหอมระเหยในรูปแบบแคปซูลเพื่อใช้ไล่แมลงและหนอนสำหรับเกษตรกร โดยเมื่อนำแคปซูลมาไว้บริเวณใกล้ต้นไม้ แล้วรดน้ำ แคปซูลจะละลาย โดยไม่เป็นพิษต่อคนและพืช แต่ไล่หนอนศัตรูพืชได้ดี เปลือกของมะกรูดมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง เช่น สบู่ แชมพูมะกรูดหรือยาสระผมมะกรูด ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงและแมลง ใช้เพื่อดับกลิ่นเท้าเหม็น มีกลิ่นอับเชื้อรา โดยนำมะกรูด ขิง ข่า เกลือ อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาต้มรอให้อุ่นสักนิดแล้วแช่เท้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที

มะกรูดในประเทศไทย

มะกรูดในประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์หลากหลายทั้งในด้านการบริโภคและด้านอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และ เครื่องสำอางค์

ผิวมะกรูดเป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศ ใช้เป็นส่วนผสมของพริกแกงหลายชนิด น้ำมะกรูดถูกนำมาใช้เป็นเครื่องดื่มและการปรุงรสชาติของอาหาร สรรพคุณให้รสเปรี้ยวและดับกลิ่นคาว

การใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม ใบมะกรูดมักถูกนำไปใช้เป็นสารกันเสียในผลิตภัณฑ์อาหารและยังทำให้เกิดความอยากรับประทานอาหาร ส่วนน้ำมะกรูดและผิวของผลมะกรูด ส่วนมากจะใช้ปรุงรสชาติและแต่งกลิ่นอาหาร และการใช้มะกรูดในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สามารถใช้ประโยชน์ในการบำรุงหนังศีรษะ และกระตุ้นการงอกของรากผม และช่วยขจัดรังแค มะกรูดถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์แชมพู

ลักษณะของต้นมะกรูด

ต้นมะกรูด เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก เนื้อไม้เป็นเนื้อแข็ง สมารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ การทาบกิ่ง การตอนกิ่ง ลักษณะของต้นมะกรูด มึดังนี้

  • ลำต้นมะกรูด ลักษณะเป็นพุ่ม เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาลอ่อน แตกกิ่งก้านจำนวนมาก กิ่งของมะกรูดมีหนามแหลมยาว
  • ใบมะกรูด ลักษณะเป็นใบประกอบ ออกเป็นใบเดี่ยว ใบมะกรูดลักษณะหนา เรียบ ผิวมัน สีเขียว ใบมีกลิ่นหอม
  • ดอกมะกรูด ลักษณะดอกเป็นช่อ มีสีขาว ดอกออกบริเวณส่วนยอดและตามซอกใบ กลีบดอกสีขาว มีขนปกคลุม
  • ผลมะกรูด คล้ายผลส้มซ่า ขนาดใหญ่กว่าลูกมะนาวเล็กน้อย เปลือกผลค่อนข้างหนา ผิวเปลือกสีเขียวเข้ม ผิวผลขรุขระเป็นลูกคลื่น

คุณค่าทางโภชนาการของมะกรูด

การนำมะกรูดมารับประทานเป็นอาหาร สามารถใช้ประโชยน์ได้หลากหลาย ทั้ง ใบมะกรูด ผลมะกรูด และ น้ำมะกรูด ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะกรูดส่วนต่างๆ มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 171 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 6.8 กรัม ไขมัน 3.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.0 กรัม กากใยอาหาร 8.2 กรัม แคลเซียม 1672 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 303 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.35 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.0 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 20 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของผิวผลมะกรูด ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 21.3 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม ไขมัน 1.1 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม แคลเซียม 322 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 115 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมะกรูด ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.8 กรัม โปรตีน 0.6 กรัม ไขมัน 0 กรัม แคลเซียม 20 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี2 58 มิลลิกรัม และวิตามินซี 55 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะกรูด 

สำหรับมะกรูดในด้านบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากผลมะกรูด ใบมะกรูด รากมะกรูด และ ลำต้นมะกรูด ซึ่งสรรพคุณของมะกรูด มีรายละเอียด ดังนี้

  • ผลมะกรูด สรรพคุณแก้วิงเวียนศรีษะ ช่วยขับพยาธิ บำรุงกำลัง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ บำรุงเลือด ช่วยขับระดู ช่วยขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้แก้ไอ ขับเสมหะ
  • ใบมะกรูด สรรพคุณช่วยขับลม แก้อาเจียน
  • รากมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียด บำรุงเลือด
  • ลำต้นมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียด บำรุงเลือด

โทษของมะกรูด

น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด หากใช้กับผิวหนังในปริมาณที่มาก ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสง เพราะอาจทำให้เกิดพิษกับผิวหนังได้ ส่วนน้ำมะกรูดมีความเป็นกรดสูง ไม่ควรรับประทานขณะท้องว่าง เพราะ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย