พริก นิยมนำมาทำอาหาร ให้รสเผ็ดของอาหาร สรรพคุณของพริก เช่น บำรุงระบบไหลเวียนโลหิต ช่วยขับถ่าย กระตุ้นระบบย่อยอาหาร รักษาโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้นพริก สมุนไพร สรรพคุณของพริก สมุนไพรไทย

พริก คือ พืชที่ให้ความเผ็ดของอาหาร ซึ่งสารให้ความเผ็ดในพริก เรียกว่า แคปไซซิน ( Capsaicin ) ส่วนที่เกิดรสเผ็ดมาจาก ใยที่อยู่บริเวณเยื่อแกนกลางที่มีสีขาวภายในพริก ไม่ใช่เมล็ดหรือเปลือกตามที่เข้าใจกัน โดยสารนี้จะทนความร้อน แม้นำไปต้มก็ยังคงรูปความเผ็ดอยู่ได้ พริกที่มีความเผ็ดมากที่สุดในโลก คือ พริกฮาบาเนโร

ต้นพริก ชื่อสามัญ สำหรับพริกเม็ดใหญ่ รสเผ็ด คือ Chili, Chilli Pepper และชื่อสามัญสำหรับพริกรสอ่อน คือ Bell pepper, Pepper, Paprika, Capsicum ชื่อสามัญเรียกตามสายพันธุ์ของพริก ได้แก่ พริกขี้หนู พริกเหลือง พริกชี้ฟ้า พริกหยวก พริกหวาน และ ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริก คือ Capsicum frutescens L.

ลักษณะของต้นพริกขี้หนู

ต้นพริกขี้หนู เป็นไม้ล้มลุก อายุประมาณ 1-3 ปี เจริญเติบโตได้ดี กับดินร่วนปนเหนียว ดินร่วนระบายน้ำดี ไม่ทนทานต่อสภาพน้ำขัง สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นพริกขี้หนู มีดังนี้

  • ลำต้นพริกขี้หนู เป็นลักษณะไม้พุ่ม ขนาดเล็กความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากทาย โดยกิ่งอ่อนมีสีเขียว และกิ่งแก่จะมีสีน้ำตาล
  • ใบพริกขี้หนู ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ทรงรีปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว ใบมันวาว
  • ดอกพริกขี้หนู ลักษณะเป็นช่อ ออกตามซอกใบ เป็นกระจุกๆ กลีบดอกเป็นสีขาว
  • ผลพริกขี้หนู เจริญเติบโตจากดอกพริกขี้หนู ผลมีลักษณะยาว ปลายผลแหลม ผลสดสีเขียว ผลสุกเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของพริก

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของพริก พริกมีแร่ธาตุและวิตามินต่างๆมากมาย ได้แก่ วิตามินA วิตามินB 6 วิตามินC ธาตุแมกนีเซียม ( Mg ) ธาตุโพแทสเซียม ( K ) ธาตุเหล็ก ( Fe ) กากใยอาหาร ( Fiber ) เมื่อรับประทานพริกแล้วต้องการลดความเผ็ดแสบร้อนภายในปากได้โดย การรับประทานอาหารที่มีไขมัน เช่น ไอศครีม ขนมหวาน เนื้อติดมัน เพราะ จะช่วยละลายสารความเผ็ดให้ออกไปจากเยื่อบุผนังภายในปากได้

ประโยชน์ของพริก

สำหรับพริก นอกจากการนำมาทำอาหารรับประทานแล้ว พริกสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆอีก ด้านอุตสาหกรรมอาหาร และ นำมาเป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภันฑ์ต่างๆหลากหลาย ดังนี้

  • นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ปรุงรสอาหาร เช่น ซอสพริก เครื่องแกง พริกป่น พริกดอง พริกแห้ง น้ำพริก และยังนำมาทำเป็นยาสำเร็จรูปต่างๆ
  • นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของสเปรย์พริกไทย เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง ทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่เบื่อบุอ่อนที่ตา จมูก
  • ทำเป็นยาบำรุงธาตุไฟ ตามตำรับยาจีนโบราณ
  • ทำเป็นครีมหรือเจล เพื่อลดอาการปวด จากแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

สรรพคุณของพริก

การใช้พริกเพื่อการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้ดังนี้

  • เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอความแก่ให้กับร่างกาย ให้รู้สึกสดชื่อกระปรี่กระเปร่า
  • สร้างความสุขให้กับร่างกาย โดยการเร่งการหลั่งสารความสุขให้กับร่างกาย ( Endorphin )
  • บำรุงระบบภูมิต้านทาน ให้กับร่างกาย ให้แข็งแรงมากขึ้น
  • สร้างคอลลาเจนให้กับร่างกายทำให้หน้าดูเด็กอ่อนกว่าวัย
  • เสริมสร้างการมองเห็นบำรุงระบบสายตา
  • สร้างความเจริญอาหาร ให้รับประทานได้มากขึ้น
  • สร้างความตื่นตัวของร่างกาย บำรุงระบบประสาท
  • ขับพิษออกจากร่างกาย
  • ลดไข้หวัด ลดน้ำมูก และลดเสมหะ ในผู้ป่วยที่เป็นหวัด
  • ลดอาการไอ อาการระคายเคืองคอ คันคอ
  • ลดอาการหายใจติดขัด ไข้หวัด ไซนัส หรือโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ
  • บำรุงระบบเลือด โรคลักปิดลักเปิด หรือโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • มีผลวิจัยยืนยันว่าลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
  • ลดไขมันในเลือดได้ดี โดยเฉพาะ ไขมันเลว และไตรกลีเซอร์ไรด์ ลดความเสี่ยงการเกิดการอุดตันของเส้นเลือด และเส้นเือดในสมอง
  • ช่วยสลายลิ่มเลือดในเส้นเลือดได้ดี
  • ลดความเสี่ยงโรคหัวใจล้มเหลว โรคหัวใจวายเฉียบพลัน
  • เพิ่มการไหลเวียนของหลอดเลือดในเส้นเลือด
  • รักษาโรคความดันโลหิตสูง มีผลทำให้ความดันโลหิตลดลง
  • เพิ่มการยึดตัวของผนังหลอดเลือดลดความเสี่ยงการฉีกขาดของเส้นเลือด
  • เพื่อการดูดซึมอาหารที่ดีขึ้น ช่วยย่อยลดอาการจุดเสียดแน่นท้อง
  • ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร จากสารให้ความเผ็ดในพริก
  • ช่วยบำรุงระบบขับถ่ายให้เป็นปกติ
  • ขับแก๊ซในระบบทางเดินอาหารได้ดี
  • ป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ โดยเฉพาะในระบบหายใจ ในลำคอ ปอด
  • สลายเมือกเสียที่จับตัวกัยในร่างกาย
  • ลดอาการปวดตามอวัยวะต่างๆของร่างกายได้ดี เช่น ปวดข้อ ปวดหัว ปวดฟัน

โทษของพริกขี้หนู

สำหรับการใช้ประโยชน์จากพริกขี้หนู ต้องมีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ โดยโทษของพริกขี้หนู มีดังนี้

  • พริกขี้หนูมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการแสบ ระคายเคืองที่ผิวหนัง สำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น มีโรคที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบ ไม่ควรรับประทานพริกขี้หนู
  • การรับประทานพริกขี้หนูมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการแสบท้อง ทำให้เป็นสิว ทำให้ผิวหนังเกิดอาการแสบร้อนได้
  • การสัมผัสผลพริกที่แตกหรือน้ำจากผลพริก จะทำให้เกิดการระคายเคืองผิวอย่างรุนแรง หากเข้าตาจะแสบมาก

พริก สมุนไพร พืชสวนครัวนิยมนำมาทำอาหารให้ความเผ็ดของอาหาร สรรพคุณของพริก เช่น บำรุงระบบไหลเวียนโลหิต ช่วยขับถ่าย กระตุ้นระบบย่อยอาหาร รักษาโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

หญ้าคา วัชพืช มีประโยชน์หลากหลาย สมุนไพร ลักษณะของหญ้าคาเป็นอย่างไร สารในหญ้าคา สรรพคุณของหญ้าคา ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหนองใน รักษานิ่ว โทษของหญ้าคามีอะไรบ้างหญ้าคา สมุนไพร สรรพคุณของหญ้าคา

ต้นหญ้าคา ภาษาอังกฤษ เรียก Alang-alang หรือ Blady grass ชื่อวิทยาศาสตร์ของหญ้าคา คือ Imperata cylindrica (L.) Raeusch. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของหญ้าคา คือ สาแล กะหี่ บร่อง ทรูล ลาลาง ลาแล แปะเม่ากึง เตี่ยมเซากึง คา แฝกคา ลาแล เก้อฮี เป็นต้น หญ้าคากับหญ้าแฝกป็นพืชคนละชนิด หญ้าคา เป็นพืชที่ถูกจัดเป็นพืชรุกราน ( invasive alien species ) ขยายพันธ์เร็วมาก หญ้าคาหนึ่งต้นสามรถผลิตเมล็ดพันธ์ได้ 3,000 เมล็ด และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน

ลักษณะของหญ้าคา

ต้นหญ้าคา เป็นพืชที่ชอบแสงแดดและมีความทนทานสูง สามารถพบได้ตามพื้นที่รกร้าง ท้องทุ่งทั่วไป ตามหุบเขา และริมทาง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว หญ้าคาสามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นหญ้าคา มีดังนี้

  • ลำต้นหญ้าคา ลักษณะเป็นกอ ลำต้นอยู่ใต้ดินเป็นเส้นกลมทอดยาว มีข้อชัดเจน ผิวลำต้นเรียบ มีขนเล็กน้อย สามารถแตกกิ่งก้านสาขาและเลื้อยแผ่ได้มากมาย
  • ใบหญ้าคา ลักษณะใบแบนเรียวยาว ใบแตกออกมาจากลำต้นที่อยู่ใต้ดิน  ท้องใบมีขนอ่อนๆ  ขอบใบแหลมคม
  • ดอกหญ้าคา ลักษณะดอกเป็นช่อรูปทรงกระบอก มีขนฟูสีขาว ก้านดอกแทงออกจากปลายลำต้น หญ้าคาจะออกดอกในช่วงฤดูร้อน
  • เมล็ดหญ้าคา ลักษณะเมล็ดแบนรี มีสีเหลือง เกาะอยู่ที่ดอกหญ้าคา สามารถขยายพันธ์ต่อได้

สารเคมีในหญ้าคา

รากหญ้าคามีสารสกัดเมทานอล หลายชนิด ประกอบด้วย 5-hydroxy-2-(2-phenylethyl) chromone , 5-hydroxy-2-[2-(2-hydroxyphenyl) ethyl] chromone ,  flidersiachromone และ hydroxy-2-styrylchromone ซึ่งพบว่าสาร 5-hydroxy-2(2-phenylethy) chromone และ 5-hydroxy-2-[2-(2-hyroxyphenyl) ethyl] chromone สามารถป้องกันพิษต่อเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทได้ และ สารประกอบฟินอลิก อิมพิรานิน ( imperanene ) ในรากหญ้าคา สามารถยับยั้งการเกาะตัวกันของเกร็ดเลือด

สารสกัดจากเหง้าหญ้าคาแห้งสามารถยับยั้งเอนไซม์ HIV-1 protease และ ลดอาการแผลในกระเพาะอาหารได้

สรรพคุณของหญ้าคา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหญ้าคา ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ใบ ดอก ช้อดอก และ ลำต้น สรรพคุณของหญ้าคา มีดังนี้

  • รากหญ้าคา สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง รักษาตาลขโมย แก้หอบหืด ช่วยหยุดเลือดกำเดา แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ร้อนใน ช่วยขับปัสสาวะ แก้เกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แก้บิด แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ แก้ปัสสาวะเป็นหนอง รักษาหนองใน ช่วยขับระดูขาว แก้ปวดท้องประจำเดือน แก้ไตอักเสบ บำรุงไต แก้ตัวบวม ช่วยเจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย ช่วยห้ามเลือด
  • ดอกหญ้าคา สรรพคุณช่วยหยุดเลือดกำเดา แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้อุจจาระเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร  แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่วยห้ามเลือด
  • ผลหญ้าคา สรรพคุณเป็นยาสงบประสาท ช่วยห้ามเลือด
  • ใบหญ้าคา สรรพคุณแก้ลมพิษ รักษาผดผื่น ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยหลังการคลอดบุตรของสตรี

โทษของหญ้าคา

สำหรับหญ้าคา มีประโยชน์ด้านการรักษาโรค แต่จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำและใช้จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โทษของหญ้าคา มีดังนี้

  • ใบหญ้าคามีความแหลมคมมาก ให้ระวังในการเดินเข้าในดงหญ้าหรือระวังการจับใบหญ้า
  • สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการแข็งตัวของเกร็ดเลือด หรือ ผู้ที่รับยาต้านการแข็งตัวของเกร็ดเลือดอยู่ ไม่ควรใช้สมุนไพรหญ้าคา เนื่องจากในหญ้าคามีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเกร็ดเลือด
  • ไม่ควรใช้สมุนไพรจากหญ้าคาในปริมาณที่มากเกินไป หรือ ใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สำหรับสตรีมีครรภ์หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังก่อนจะใช้สมุนไพรหญ้าคา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย