มะเฟือง นิยมรับประทานผลมะเฟือง ลักษณะของต้นมะเฟือง สรรพคุณทำให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ เป็นยาระบายอ่อนๆ ผลมะเฟืองมีความเป็นกรด ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมมะเฟือง สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของมะเฟือง

ต้นมะเฟือง ภาษาอังกฤษ เรียก Star fruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะเฟือง คือ Averrhoa carambola L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะเฟือง เช่น เฟือง เป็นชื่อเรียกของภาษาใต้ การรับประทานมะเฟืองเป็นที่นิยมมากในประเทศแถบเอเชียตะวันออก ด้วนรสชาติจะออกเปรี้ยวแบบเฝื่อนๆ มีคุณค่าทางอาหารสูงมีวิตามินและแร่ธาตุอยู่หลายชนิด อาหารที่มีมะเฟือง เช่น น้ำมะเฟือง แหนมเนือง สลัดหมูย่าง เป็นต้น

มะเฟือง เป็นพืชท้องถิ่นของเอเชีย พบในประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย อินเดีย และศรีลังกา และเอเชียตะวันออกบางส่วน เป็นพืชที่สามารถปลูกได้ในประเทศแถบเส้นศูยน์สูตร ปัจจุบันมีการปลูกมะเฟืองเชิงพาณิชย์มากในประเทศสหรัฐอเมริการอยู่ที่ฟลอริดาตอนใต้และฮาวาย

มะเฟืองในประเทศไทย

สำหรับมะเฟืองในประเทศไทยมีการปลูกเชิงพาณิชย์เพื่อการส่งออกและจำหน่ายในประเทศ เป็นผลไม้เศรษฐกิจอีกชนิด การส่งออกจะส่งออกไปเฉพาะประเทศในแถบทวีปยุโรป

สายพันธ์มะเฟือง

สำหรับการแบ่งสายพันธ์ของมะเฟืองจะมี 2 สายพันธ์หลัก คือ มะเฟืองสายพันธ์เปรี้ยว และ มะเฟืองสายพันธ์หวาน โดยสายพันธุ์เปรี้ยว จะเป็นสายพันธุ์พื้นเมือง รสเปรี้ยวมาก ส่วน สายพันธุ์หวาน เป็นสายพันธืจากต่างประเทศ จะมีผลขนาดใหญ่ เนื้อให้รสหวานหรือหวานอมเปรี้ยว แต่สำหรับสายพันธุ์มะเฟืองที่พบในไทย เราพบอยู่ 5 สายพันธ์ คือ สายพันธ์พื้นเมือง สายพันธ์ศรีเวียง สายพันธ์ดารสยาม สายพันธ์กวางตั้ง สายพันธ์ไต้หวัน และ สายพันธ์มาเลเซีย โดยรายละเอียดแต่ละสายพันธ์ มีดังนี้

  • มะเฟืองสายพันธ์ุพื้นเมือง ปัจจุบันพบน้อยมาก ไม่เป็นที่นิยมเนื้องจากผลเปรี้ยวมาก
  • มะเฟืองสายพันธุ์ศรีเวียง เป็นสายพันธ์ุพื้นเมืองที่กลายพันธ์ ลักษณะรูปทรงเหมือนสายพันธ์พื้นเมืองแต่ผลมีรสหวาน
  • มะเฟืองสายพันธุ์ดาราสยาม เป็นสายพันธ์ที่ได้รับการพัฒนาจนผลมีความหวานมาก
  • มะเฟืองสายพันธุ์ไต้หวัน ลักษณะผลขนาดใหญ่ ให้รสหวาน เป็นสายพันธุ๋พื้นเมืองของประเทศไต้หวัน
  • มะเฟืองสายพันธุ์กวางตุ้ง ลักษณะผลขนาดใหญ่ รสหวาน เป็นสายพันธ์พันธุ์พื้นเมืองของประเทศจีน
  • มะเฟืองสายพันธุ์มาเลเชีย ลักษณะผลใหญ่ รสหวานอมเปรี้ยว เป็นสายพันธ์ุจากประเทศมาเลเชีย ปัจจุบันเป็นสายพันธ์ุมพเพฟืองที่นิยมปลูกมากที่สุด

ลักษณะของต้นมะเฟือง

ต้นมะเฟือง เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ใช้เวลาปลูกเพื่อให้ผล 4 ถึง 5 ปี สามารถขยายพันธุ์ด้วยการ ต่อยอด ตอนกิ่ง การติดตา และเพาะเมล็ดพันธุ์ ลักษณะของต้นมะเฟือง มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นมะเฟือง ความสูงประมาณ 10 เมตร เปลือกของลำต้นเรียบ เป็นสีน้ำตาลอมดำ ลำต้นมีลักษณะเปลือกเป็นรอยแตกตามยาว และ ลำต้นแตกกิ่งก้านจำนวนมาก
  • ใบมะเฟือง ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว จะออกใบใหม่ตลอดทั้งปี ใบมะเฟืองคล้ายใบมะยม ใบเรียบเป็นมัน มีขนปกคลุม ฐานใบเบี้ยวมน ปลายใบแหลม มีก้านใบเป็นสีม่วง ใบอ่อนมีสีแดง ใบแก่สีเขียวเข้ม
  • ดอกมะเฟือง จะออกดอกเป็นช่อ ซึ่งออกดอกตามกิ่งและลำต้น ดอกตูมจะมีสีม่วงแดง ส่วนดอกบานเป็นสีแดงม่วง สีขาว หรือชมพู ดอกมะเฟืองออกดอกทั้งปี สามารถให้ผลได้ทั้งปี
  • ผลมะเฟือง เจริญเติบโตมาจากดอกมะเฟือง ผลลักษณะกลมรี ผลยุบลงเป็นลักษณะแฉก คล้ายดวงดาว ผลหนึ่งอาจมี 5 ถึง 6 แฉก ผลอ่อนจะมีสีเขียวอ่อน ผลสุกจะเป็นสีเหลือง ภายในผลมีเนื้อที่ฉ่ำน้ำ มีรสชาติแล้วแต่สายพันธุ์ ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 5 – 10 เมล็ดต่อผล

คุณค่าทางโภชนาการของมะเฟือง

สำหรับการรับประทานมะเฟืองจะรับประทานผลมะเฟืองทั้งแบบผลสดและผลสุก ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะเฟืองสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 31 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.73 กรัม น้ำตาล 3.98 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.33 กรัม โปรตีน 1.04 กรัม ลูทีนและซีแซนทีน 66 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.014 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.016 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.367 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.391 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.017 มิลลิกรัม วิตามินบี9 12 ไมโครกรัม โคลีน 7.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 34.4 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 3 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.08 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.037 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 12 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 133 มิลลิกรัม
ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.12 มิลลิกรัม

ผลมะเฟือง พบว่ามีสารออกซาลิก ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด การรับประทานผลมะเฟืองมากเกินไปอาจทำให้เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้ สำหรับคนที่มีปัญหาปวดท้องน้อยเป็นประจำอาจเกิดจากนิ่วในไต ให้หลีกเลี่ยงการรับประทานมะเฟือง รวมถึงกลุ่มคนที่กินยาลดไขมันอยู่ ก็ควรหลีกเลี่ยงการกินมะเฟือง เน่ื่องจากมะเฟืองจะทำให้ยาออกฤทธิ์ไม่ดี

สรรพคุณของมะเฟือง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะเฟือง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผลมะเฟือง เมล็ดมะเฟือง ใบมะเฟือง ดอกมะเฟือง เปลือกต้นมะเฟือง และ รากมะเฟือง ซึ่งสรรพคุณของมะเฟือง มีดังนี้

  • รากมะเฟือง สรรพคุณแก้ปวดหัว รักษาหวัด บรรเทาอาการโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • เปลือกลำต้นมะเฟือง สรรพคุณรักษาแผลสด แก้ท้องเสีย
  • ใบมะเฟือง สรรพคุณช่วยลดไข้ รักษาหวัด ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษารังแค แก้ผื่นคัน รักษาแผล บรรเทาปวดจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ดอกมะเฟือง สรรพคุณช่วยลดไข้ ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับสารพิษ
  • ผลมะเฟือง สรรพคุณทำให้ชุ่มคอ แก้คอแห้ง รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยขับเสมหะ แก้เมารถ แก้อาเจียน ช่วยผ่อนคลาย ทำให้หลับง่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับประจำเดือน ช่วยเจริญอาหาร ขับน้ำลาย ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหนองใน ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงหัวใจ แก้ท้องเสีย
  • เมล็ดมะเฟือง นำมาต้มน้ำดื่ม สรรพคุณช่วยให้นอนหลับง่าย แก้ปวดเมื่อย ช่วยขับประจำเดือน บรรเทาอาการปวดท้อง

โทษของมะเฟือง

การใช้ประโยชน์จากมะเฟือง ด้านการรับประทานมะเฟือง มีข้อควรระวัง ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งการรับประทานมะเฟืองมากเกินไปทำให้เกิดโทษ ซึ่งโทษของมะเฟือง มีดังนี้

  • มะเฟืองมีสารออกซาลิกก่อให้เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ สำหรับผู้ป่วยโรคไตไม่ควรรับประทานมะเฟือง
  • สำหรับคนที่กินยาลดไขมันไม่ควรรับประทานมะเฟือง เนื่องจากมะเฟืองยังออกฤทธิ์ต้านยาลดไขมัน
  • เมล็ดมะเฟืองมีสรรพคุณช่วยขับประจำเดือน สำหรับสตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้เมล็ดมะเฟือง เพราะ อาจทำให้ตกเลือด แท้งลูกได้

มะเฟือง นิยมรับประทานผลมะเฟืองเป็นอาหาร ลักษณะของต้นมะเฟือง สรรพคุณของมะเฟือง เช่น ทำให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ เป็นยาระบายอ่อนๆ ผลมะเฟืองมีความเป็นกรด ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

กระทือ พืชพื้นบ้านตระกูลขิง สามารถรับประทานเหง้าได้ ลักษณะของต้นกระทือเป็นอย่างไร สรรพคุณของกระทือ ช่วยขับลม แก้เคล็ดขัดยอก บำรุงน้ำนม โทษของกระทือมีอะไรบ้างกระทือ สมุนไพร สรรพคุณของกระทือ

ต้นกระทือ ภาษาอังกฤษ เรียก Shampoo ginger ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระทือ คือ Zingiber zerumbet (L.) Roscoe ex Sm. กระทือจัดเป็นพืชตระกูลขิง สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระทือ เช่น เฮียวแดง กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ เฮียวดำ แฮวดำ ทือ เป็นต้น ต้นกระทือ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย และได้มีการแพร่กระจายไปประเทศต่างๆในเอเชีย เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เราเรียกว่า เหง้ากระทือ หรือ หัวกระทือ

มีการใช้ประโยน์จากกระทือหลากหลายทั้งด้านอาหารและการรักษาโรค หัวของกะทือนำมาแก้เคล็ดขัดยอกได้ หรือ คั้นเอาน้ำจากหัวกระทือมาดื่มช่วยขับลม บำรุงน้ำนม นอกจากนั้นหัวกระทือ และ ลำต้นอ่อน สามารถนำมาทำอาหารรับประทานเป็นผักสด ทคานคู่กับน้ำพริกได้

ลักษณะของต้นกระทือ

ต้นกระทือ สามารถพบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ชอบดินร่วนที่มีความชื้น เช่น ข้างลำน้ำ ข้างลำห้วย สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นกระทือ มีดังนี้

  • ลำต้นกระทือ ส่วนของลำต้นจะสามารถแบ่งได้ 2 ส่วน คือ ลำต้นเหนือดิน และ ลำต้นใต้ดิน ลำต้นเหนือดินมีเนื้ออ่อนเป็นเส้นใย ลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะกลม หุ้มด้วยกาบใบ ส่วนลำต้นใต้ดิน หรือเรียกว่า เหง้า ลักษณะกลมเป็นแง่งๆ คล้ายเหง้าข่า เนื้อเหง้าเป็นสีขาว เหง้าแก่จะมีเนื้อเป็นสีเหลือง
  • ใบกระทือ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ซึ่งแทงใบออกจากลำต้นหนือดิน ใบเป็นรูปหอก ยาว ใบเรียบ ใบมีสีเขียว ปลายใบแหลมเล็ก
  • ดอกกระทือ ลักษณะดอกเป็นช่อ ซึ่งดอกจะแทงออกจากก้านช่อ ออกจากเหง้าใต้ดินแทงก้านดอกขึ้นมาเหนือดิน ก้านดอกลักษณะกลม ยาวประมาณ 45 เซนติเมตร ส่วนตัวช่อดอกลักษณะกลม กลีบดอกเป็นรูปสามเหลี่ยม กลีบดอกมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ดอกกระทือจะออกดอกในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายนของทุกปี
  • ผลและเมล็ดของกระทือ ลักษณะรูปไข่ เนื้อหุ้มเมล็ดมีสีขาว เมล็ดมีลักษณะกลม เปลือกหุ้มเมล็ดมีสีดำ ผิวเรียบ เป็นมัน

สรรพคุณของกระทือ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระทือด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากเหง้ากระทือ รากกระทือ ลำต้นกระทือ ใบกระทือ และ ดอกกระทือ สรรพคุณของกระทือ มีดังนี้

  • เหง้ากระทือ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นการย่อยอาหาร บำรุงร่างกาย แก้ร้อนใน ช่วยบำรุงน้ำนม แก้โรคบิด ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปวดท้อง ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ รักษาฝี
  • รากกระทือ สรรพคุณช่วยลดไข้ ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยขับปัสสาวะ และ แก้เคล็ดขัดยอก
  • ลำต้นกระทือ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ลดไข้ แก้ไอ
  • ใบกระทือ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยขับเลือดเสีย ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • ดอกกระทือ สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยขับลม ลดไข้

โทษของกระทือ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระทือ เนื้อจากกระทือมีรสเผ็ดร้อน จึงไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเกินไป เนื่องจากอาจทำให้คลื่นไส้และอาเจียนได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย