พริก นิยมนำมาทำอาหาร ให้รสเผ็ดของอาหาร สรรพคุณของพริก เช่น บำรุงระบบไหลเวียนโลหิต ช่วยขับถ่าย กระตุ้นระบบย่อยอาหาร รักษาโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้นพริก สมุนไพร สรรพคุณของพริก สมุนไพรไทย

พริก คือ พืชที่ให้ความเผ็ดของอาหาร ซึ่งสารให้ความเผ็ดในพริก เรียกว่า แคปไซซิน ( Capsaicin ) ส่วนที่เกิดรสเผ็ดมาจาก ใยที่อยู่บริเวณเยื่อแกนกลางที่มีสีขาวภายในพริก ไม่ใช่เมล็ดหรือเปลือกตามที่เข้าใจกัน โดยสารนี้จะทนความร้อน แม้นำไปต้มก็ยังคงรูปความเผ็ดอยู่ได้ พริกที่มีความเผ็ดมากที่สุดในโลก คือ พริกฮาบาเนโร

ต้นพริก ชื่อสามัญ สำหรับพริกเม็ดใหญ่ รสเผ็ด คือ Chili, Chilli Pepper และชื่อสามัญสำหรับพริกรสอ่อน คือ Bell pepper, Pepper, Paprika, Capsicum ชื่อสามัญเรียกตามสายพันธุ์ของพริก ได้แก่ พริกขี้หนู พริกเหลือง พริกชี้ฟ้า พริกหยวก พริกหวาน และ ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริก คือ Capsicum frutescens L.

ลักษณะของต้นพริกขี้หนู

ต้นพริกขี้หนู เป็นไม้ล้มลุก อายุประมาณ 1-3 ปี เจริญเติบโตได้ดี กับดินร่วนปนเหนียว ดินร่วนระบายน้ำดี ไม่ทนทานต่อสภาพน้ำขัง สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นพริกขี้หนู มีดังนี้

  • ลำต้นพริกขี้หนู เป็นลักษณะไม้พุ่ม ขนาดเล็กความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากทาย โดยกิ่งอ่อนมีสีเขียว และกิ่งแก่จะมีสีน้ำตาล
  • ใบพริกขี้หนู ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ทรงรีปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว ใบมันวาว
  • ดอกพริกขี้หนู ลักษณะเป็นช่อ ออกตามซอกใบ เป็นกระจุกๆ กลีบดอกเป็นสีขาว
  • ผลพริกขี้หนู เจริญเติบโตจากดอกพริกขี้หนู ผลมีลักษณะยาว ปลายผลแหลม ผลสดสีเขียว ผลสุกเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของพริก

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของพริก พริกมีแร่ธาตุและวิตามินต่างๆมากมาย ได้แก่ วิตามินA วิตามินB 6 วิตามินC ธาตุแมกนีเซียม ( Mg ) ธาตุโพแทสเซียม ( K ) ธาตุเหล็ก ( Fe ) กากใยอาหาร ( Fiber ) เมื่อรับประทานพริกแล้วต้องการลดความเผ็ดแสบร้อนภายในปากได้โดย การรับประทานอาหารที่มีไขมัน เช่น ไอศครีม ขนมหวาน เนื้อติดมัน เพราะ จะช่วยละลายสารความเผ็ดให้ออกไปจากเยื่อบุผนังภายในปากได้

ประโยชน์ของพริก

สำหรับพริก นอกจากการนำมาทำอาหารรับประทานแล้ว พริกสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆอีก ด้านอุตสาหกรรมอาหาร และ นำมาเป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภันฑ์ต่างๆหลากหลาย ดังนี้

  • นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ปรุงรสอาหาร เช่น ซอสพริก เครื่องแกง พริกป่น พริกดอง พริกแห้ง น้ำพริก และยังนำมาทำเป็นยาสำเร็จรูปต่างๆ
  • นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของสเปรย์พริกไทย เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง ทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่เบื่อบุอ่อนที่ตา จมูก
  • ทำเป็นยาบำรุงธาตุไฟ ตามตำรับยาจีนโบราณ
  • ทำเป็นครีมหรือเจล เพื่อลดอาการปวด จากแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

สรรพคุณของพริก

การใช้พริกเพื่อการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้ดังนี้

  • เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอความแก่ให้กับร่างกาย ให้รู้สึกสดชื่อกระปรี่กระเปร่า
  • สร้างความสุขให้กับร่างกาย โดยการเร่งการหลั่งสารความสุขให้กับร่างกาย ( Endorphin )
  • บำรุงระบบภูมิต้านทาน ให้กับร่างกาย ให้แข็งแรงมากขึ้น
  • สร้างคอลลาเจนให้กับร่างกายทำให้หน้าดูเด็กอ่อนกว่าวัย
  • เสริมสร้างการมองเห็นบำรุงระบบสายตา
  • สร้างความเจริญอาหาร ให้รับประทานได้มากขึ้น
  • สร้างความตื่นตัวของร่างกาย บำรุงระบบประสาท
  • ขับพิษออกจากร่างกาย
  • ลดไข้หวัด ลดน้ำมูก และลดเสมหะ ในผู้ป่วยที่เป็นหวัด
  • ลดอาการไอ อาการระคายเคืองคอ คันคอ
  • ลดอาการหายใจติดขัด ไข้หวัด ไซนัส หรือโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ
  • บำรุงระบบเลือด โรคลักปิดลักเปิด หรือโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • มีผลวิจัยยืนยันว่าลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
  • ลดไขมันในเลือดได้ดี โดยเฉพาะ ไขมันเลว และไตรกลีเซอร์ไรด์ ลดความเสี่ยงการเกิดการอุดตันของเส้นเลือด และเส้นเือดในสมอง
  • ช่วยสลายลิ่มเลือดในเส้นเลือดได้ดี
  • ลดความเสี่ยงโรคหัวใจล้มเหลว โรคหัวใจวายเฉียบพลัน
  • เพิ่มการไหลเวียนของหลอดเลือดในเส้นเลือด
  • รักษาโรคความดันโลหิตสูง มีผลทำให้ความดันโลหิตลดลง
  • เพิ่มการยึดตัวของผนังหลอดเลือดลดความเสี่ยงการฉีกขาดของเส้นเลือด
  • เพื่อการดูดซึมอาหารที่ดีขึ้น ช่วยย่อยลดอาการจุดเสียดแน่นท้อง
  • ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร จากสารให้ความเผ็ดในพริก
  • ช่วยบำรุงระบบขับถ่ายให้เป็นปกติ
  • ขับแก๊ซในระบบทางเดินอาหารได้ดี
  • ป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ โดยเฉพาะในระบบหายใจ ในลำคอ ปอด
  • สลายเมือกเสียที่จับตัวกัยในร่างกาย
  • ลดอาการปวดตามอวัยวะต่างๆของร่างกายได้ดี เช่น ปวดข้อ ปวดหัว ปวดฟัน

โทษของพริกขี้หนู

สำหรับการใช้ประโยชน์จากพริกขี้หนู ต้องมีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ โดยโทษของพริกขี้หนู มีดังนี้

  • พริกขี้หนูมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการแสบ ระคายเคืองที่ผิวหนัง สำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น มีโรคที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบ ไม่ควรรับประทานพริกขี้หนู
  • การรับประทานพริกขี้หนูมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการแสบท้อง ทำให้เป็นสิว ทำให้ผิวหนังเกิดอาการแสบร้อนได้
  • การสัมผัสผลพริกที่แตกหรือน้ำจากผลพริก จะทำให้เกิดการระคายเคืองผิวอย่างรุนแรง หากเข้าตาจะแสบมาก

พริก สมุนไพร พืชสวนครัวนิยมนำมาทำอาหารให้ความเผ็ดของอาหาร สรรพคุณของพริก เช่น บำรุงระบบไหลเวียนโลหิต ช่วยขับถ่าย กระตุ้นระบบย่อยอาหาร รักษาโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ต้นบัวหลวง พืชน้ำ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับใช้บูชาพระ ลักษณะของต้นบัวหลวง สรรพคุณเช่น บำรุงกำลัง ลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเลือด โทษของบัวหลวง มีอะไรบ้างบัวหลวง สมุนไพร สรรพคุณของบัวหลวง

ต้นบัวหลวง ภาษาอังกฤษ เรียก Lotus ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวหลวง คือ Nelumbo nucifera Gaertn. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของบัวหลวง เช่น โกกระณต บัวอุบล บัวฉัตรขาว บัวฉัตรชมพู บัวฉัตรสีชมพู บุณฑริก ปุณฑริก ปทุม ปัทมา สัตตบงกช สัตตบุษย์ โช้ค เป็นต้น ต้นบัวหลวง มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ปัจจุบันมีการปลูกบัวหลวงเพื่อการพาณิชย์ในประเทศและส่งออก และ ยังได้รับการเลือกให้เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี พิจิตร สุโขทัย และ หนองบัวลำภู

สายพันธุ์บัวหลวง

สำหรับการแบ่งสายพันธ์ของบัวหลวง สามารถแบ่งได้ 4 สายพันธ์ตามลักษณะของดอกที่แตกต่างกัน โดย ประกอบด้วย บัวหลวงดอกสีชมพู บัวหลวงดกอสีขาว บัวหลวงดอกสีชมพูซ้อน และ บัวหลวงดอกสีขาวซ้อน รายละเอียด ดังนี้

  • สายพันธ์บัวหลวงดอกสีชมพู ลักษณะดอกใหญ่ ดอกตูมคล้ายรูปไข่ ปลายดอกเรียว กลีบดอกสีชมพู โคนกลีบดอกสีขาวนวล กลีบดอกเรียงตัวเป็นชั้น ประมาณ 3 ชั้น
  • สายพันธ์บัวหลวงดอกสีขาว ลักษณะดอกใหญ่ ดอกทรงรี ปลายดอกเรียว กลีบดอกชั้นนอกสีขาวอมเขียว และกลีบในสีขาวปลายกลีบดอกสีชมพู กลีบดอกเรียงตัวเป็นชั้นๆ
  • สายพันธ์บัวหลวงดอกสีชมพูซ้อน ลักษณะดอกใหญ่ ดอกตูมเป็นทรงรี ปลายดอกแหลม สีชมพู กลีบดอกเล็กเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ กลีบดอกสีเขียวอมชมพู กลีบดอกด้านในสีชมพู
  • สายพันธ์บัวหลวงดอกสีขาวซ้อน ลักษณะดอกใหญ่ ดอกตูมทรงรี ปลายแหลม ดอกสีขาวและกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น กลีบดอกชั้นในสีขาว

ลักษณะของต้นบัวหลวง

ต้นบัวหลวง เป็นพืชล้มลุก มีอายุยาวนาน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ที่อยู่ในแหล่งน้ำที่มีควาทลึกประมาณ 50 เซนติเมตร สามารถขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อและการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นบัวหลวง มีดังนี้

  • ลำต้นบัวหลวง เหง้าอยู่ใต้ดินและลำต้นเป็นไหลอยู่เหนือดินใต้น้ำ ลำต้นเป็นปล้องๆสีเหลืองอ่อนกลมๆ ลำต้นอวบน้ำ
  • ใบบัวหลวง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบกลม ขอบใบเรียบและเป็นคลื่น และใบมีขนาดใหญ่ ผิวใบด้านบนเป็นนวล
  • ดอกบัวหลวง ลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยว สีต่างๆตามสายพันธ์ กลีบดอกจะมีจำนวนมากและเรียงซ้อนกันอยู่หลายชั้น ล้อมรอบฐานรองดอก ดอกบัวหลวงจะบานในตอนเช้า โดยจะออกดอกและผลในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม
  • ฝักบัวหลวง คือ ส่วนฐานรองดอก ฝักอ่อนสีเขียวนวล รูปกรวย ฝักเมื่อแก่จะขยายใหญ่ขึ้น และจะมีผลสีเขียวอ่อนอยู่ในฝัก
  • ผลบัวหลวง หรือ เมล็ดบัวหลวง ลักษณะรี เป็นเม็ดๆอยู่ในฝักบัว ผลอ่อนมีสีเขียวนวลและมีจำนวนมาก
  • ดีบัวหลวง คือ ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ในเม็ดบัวหลวง ดีบัวจะมีรสขมจัด แต่ไม่มีกลิ่น

คุณค่าทางโภชนาการของบัวหลวง

สำหรับการบริโภคบัวหลวง นิยมรับประทานเมล็ดบัวหลวง และ และ รากบัวหลวง ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเมล้ดบัวและรากบัว รายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเม็ดบัวหลวง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 332 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 64.47 กรัม น้ำ 14.16 กรัม ไขมัน 1.97 กรัม โปรตีน 15.41 กรัม วิตามินเอ 50 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.640 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.150 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.600 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.629 มิลลิกรัม วิตามินบี9 104 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 163 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.53 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 210 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 626 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,368 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 5 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 1.05 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของรากบัวหลวง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 66 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 16.02 กรัม น้ำ 81.42 กรัม น้ำตาล 0.5 กรัม กากใยอาหาร 3.1 กรัม ไขมัน 0.07 กรัม โปรตีน 1.58 กรัม วิตามินบี1 0.127 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.3 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.302 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.218 มิลลิกรัม วิตามินบี9 8 ไมโครกรัม โคลีน 25.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 27.4 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 26 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.9 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 22 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.22 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 78 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 363 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 45 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.33 มิลลิกรัม

ดีบัวมีสารในกลุ่มอัลคาลอยด์มีฤทธิ์ช่วยลดอาการปวดและช่วยต้านอาการอักเสบ ทำให้นอนหลับ เช่น Demethylcoclaurine , Isoliensinine , Liensinine , Lotusine , Methyl corypalline , Neferine , Nuciferine , Pro Nuciferine และ สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เช่น Galuteolin , Hyperin , Rutin

ดอกมีสารกลุ่มอัลคาลอยด์ (alkaloids) มีฤทธิ์ช่วยลดอาการปวดและช่วยต้านอาการอักเสบ ทำให้นอนหลับ คือ nelumbine ส่วนเกสรมีสารฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เช่น quercetin , isoquercitrin , luteolin , luteolin glucoside

รากบัวสามารถช่วยลดการดูดซึมกลูโคส ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

สรรพคุณของบัวหลวง

สำหรับการใช้ประโยชน๋จากบัวหลวง เพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากทุดส่วนของบัวตั้งแต่รากบัว ใบบัว ดอกบัว สรรพคุณของบัวหลวง มีดังนี้

  • กลีบดอกบัว สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง
  • เมล็ดบัว สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง บำรุงเลือด บำรุงประสาทและสมอง ป้องกันมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ บำรุงหัวใจ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ รักษาอาการท้องร่วง ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี
  • ใบบัวอ่อน สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง ช่วยขับเสมหะ รักษาอาการปวดบวมและอาการอักเสบ
  • ใบบัวแก่ สรรพคุณบำรุงเลือด ช่วยลดไข้
  • รากบัว สรรพคุณแก้อาการอ่อนเพลีย ทำให้หลับสบาย ช่วยลดไข้ แก้ไอ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ดอกบัว สรรพคุณแก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ ช่วยลดไข้ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยห้ามเลือด ช่วยสมานแผล แก้อาการผดผื่นคัน ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี
  • ดีบัว สรรพคุณลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยผ่อนคลาย ช่วยลดไข้ แก้อาการติดเชื้อในช่องปาก ช่วยบำรุงถุงน้ำดี ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี
  • เกสรบัว สรรพคุณบำรุงประสาทและสมอง บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ช่วยขับเสมหะ บำรุงหัวใจ ช่วยลดไข้ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล บำรุงปอด แก้อาการท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ช่วยสมานแผล

โทษของบัวหลวง

สำหรับการนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรค มีข้อควรระวังและคำแนะนำในการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • สำหรับบางคนที่มีอาการแพ้เกสรดอกไม้ เกสรบัวหลวงอาจทำให้เกิดอาการแพ้
  • สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูก ท้องเฟ้อ อาหารไม่ค่อย ไม่ควรรับประทานเม็ดบัว เนื่องจากเม็ดบัวอาจทำให้ท้องผูกมากขึ้น

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย