กระทือ พืชพื้นบ้านตระกูลขิง สามารถรับประทานเหง้าได้ ลักษณะของต้นกระทือเป็นอย่างไร สรรพคุณของกระทือ ช่วยขับลม แก้เคล็ดขัดยอก บำรุงน้ำนม โทษของกระทือมีอะไรบ้างกระทือ สมุนไพร สรรพคุณของกระทือ

ต้นกระทือ ภาษาอังกฤษ เรียก Shampoo ginger ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระทือ คือ Zingiber zerumbet (L.) Roscoe ex Sm. กระทือจัดเป็นพืชตระกูลขิง สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระทือ เช่น เฮียวแดง กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ เฮียวดำ แฮวดำ ทือ เป็นต้น ต้นกระทือ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย และได้มีการแพร่กระจายไปประเทศต่างๆในเอเชีย เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เราเรียกว่า เหง้ากระทือ หรือ หัวกระทือ

มีการใช้ประโยน์จากกระทือหลากหลายทั้งด้านอาหารและการรักษาโรค หัวของกะทือนำมาแก้เคล็ดขัดยอกได้ หรือ คั้นเอาน้ำจากหัวกระทือมาดื่มช่วยขับลม บำรุงน้ำนม นอกจากนั้นหัวกระทือ และ ลำต้นอ่อน สามารถนำมาทำอาหารรับประทานเป็นผักสด ทคานคู่กับน้ำพริกได้

ลักษณะของต้นกระทือ

ต้นกระทือ สามารถพบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ชอบดินร่วนที่มีความชื้น เช่น ข้างลำน้ำ ข้างลำห้วย สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นกระทือ มีดังนี้

  • ลำต้นกระทือ ส่วนของลำต้นจะสามารถแบ่งได้ 2 ส่วน คือ ลำต้นเหนือดิน และ ลำต้นใต้ดิน ลำต้นเหนือดินมีเนื้ออ่อนเป็นเส้นใย ลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะกลม หุ้มด้วยกาบใบ ส่วนลำต้นใต้ดิน หรือเรียกว่า เหง้า ลักษณะกลมเป็นแง่งๆ คล้ายเหง้าข่า เนื้อเหง้าเป็นสีขาว เหง้าแก่จะมีเนื้อเป็นสีเหลือง
  • ใบกระทือ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ซึ่งแทงใบออกจากลำต้นหนือดิน ใบเป็นรูปหอก ยาว ใบเรียบ ใบมีสีเขียว ปลายใบแหลมเล็ก
  • ดอกกระทือ ลักษณะดอกเป็นช่อ ซึ่งดอกจะแทงออกจากก้านช่อ ออกจากเหง้าใต้ดินแทงก้านดอกขึ้นมาเหนือดิน ก้านดอกลักษณะกลม ยาวประมาณ 45 เซนติเมตร ส่วนตัวช่อดอกลักษณะกลม กลีบดอกเป็นรูปสามเหลี่ยม กลีบดอกมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ดอกกระทือจะออกดอกในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายนของทุกปี
  • ผลและเมล็ดของกระทือ ลักษณะรูปไข่ เนื้อหุ้มเมล็ดมีสีขาว เมล็ดมีลักษณะกลม เปลือกหุ้มเมล็ดมีสีดำ ผิวเรียบ เป็นมัน

สรรพคุณของกระทือ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระทือด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากเหง้ากระทือ รากกระทือ ลำต้นกระทือ ใบกระทือ และ ดอกกระทือ สรรพคุณของกระทือ มีดังนี้

  • เหง้ากระทือ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นการย่อยอาหาร บำรุงร่างกาย แก้ร้อนใน ช่วยบำรุงน้ำนม แก้โรคบิด ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปวดท้อง ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ รักษาฝี
  • รากกระทือ สรรพคุณช่วยลดไข้ ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยขับปัสสาวะ และ แก้เคล็ดขัดยอก
  • ลำต้นกระทือ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ลดไข้ แก้ไอ
  • ใบกระทือ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยขับเลือดเสีย ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • ดอกกระทือ สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยขับลม ลดไข้

โทษของกระทือ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระทือ เนื้อจากกระทือมีรสเผ็ดร้อน จึงไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเกินไป เนื่องจากอาจทำให้คลื่นไส้และอาเจียนได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

แห้ว Water Chestnut แห้วจีน สมุนไพร พืชน้ำ พืชเศรษฐกิจ นิยมรับประทานหัว ทนแทนแป้งได้ คุณค่าทางโภชนาการของแห้ว สรรพคุณลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงร่างกาย โทษของแห้วแห้ว สมุนไพร สรรพคุณแห้ว

ต้นแห้ว ภาษาอังกฤษ เรียก Water Chestnut ชื่อวิทยาศาสตร์ของแห้ว คือEleocharisdulcis Trin. สำหรับแห้วมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน เป็นพืชที่สามารถรับประทานหัวแทนข้าวได้ แห้วจีน มีเนื้อมาก สีขาว รสหวาน จึงมีการแพร่กระจายปลูกในประเทศเขตอบอุ่น เช่น อินเดีย ฟิลิปปินส์ ทวีปอเมริกา ทวีปอเมริกาใต้ แห้ว นิยมรับประทานหัว และ ถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋อง  หรือ แปรรูปเป็นแป้งสำหรับทำอาหารด้วย

ชนิดของแห้ว

สำหรับต้นแห้ว สามารถแบ่งได้ 3 ชนิด คือ แห้วหมู แห้วไทย และ แห้วจีน โดยรายละเอียด ดังนี้

  • แห้วหมู หรือ หญ้าแห้วหมู ลักษณะเด่นของแห้วหมู คือ ลำต้นขนาดเล็ก กลมสั้น แตกใบสูง หัวมีขนาดเล็ก เปลือกสีดำอมน้ำตาล หัวมีเนื้อแข็ง สีขาว รสเผ็ดร้อน นิยมนำมาใช้เป็นยารักษาโรค
  • แห้วไทย ลักษณะเด่นของแห้วไทย คือ หัวมีขนาดเล็กกว่าแห้วจีน เนื้อหัวมีสีขาว เปลือกสีดำ แต่เมื่อต้มจนสุกเนื้อหัวจะเป็นสีเหลืองอ่อน ลักษณะใบเป็นสามเหลี่ยม ลำต้นสูงประมาณ 80 เซ็นติเมตร
  • แห้วจีน ลักษณะเด่นของแห้วจีน คือ หัวกลม มีเนื้อมาก เนื้อสีขาว แห้วจีนเป็นแห้วชนิดที่นิยมรับประทานมากที่สุด เนื่องหัวมีรสหวาน หัวขนาดใหญ่ เนื้อสีขาว

แห้วในประเทศไทย

สำหรับแห้วในประเทศไทย จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ นิยมนำหัวแห้วมาแปรรูปบรรจุกระป๋องและทำแป้ง โดยมีการนำแห้วจีนมาปลูกในประเทษไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2493 ที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการทดลองปลูกแห้วในนาข้าว โดยกำนันวงษ์ ต่อมามีการปลูกกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งแหล่งปลูกแห้วในประเทศไทยมีการปลูกในแถบแม่น้ำท่าจีน ภาคกลางของประเทศไทย และ ปลูกที่จังหวัดสุพรรณบุรีมาที่สุด

ลักษณะของต้นแห้ว

ต้นแห้ว เป็นพืชล้มลุก อายุเพียงหนึ่งปี มีหัวอย่ใต้ดิน ชอบพื้นที่น้ำขัง ที่มีดินเป็นสภาพโคลนตมดี สามารถขยายพันธ์โดยการ แยกหน่อ แตกไหล ลักษณะของต้นแห้ว มีดังนี้

  • รากและหัวของห้ว แห้วมีรากเป็นแบบไรโซม มีการแตกไหล หัวแห้วมีลักษณะทรงกลม เปลือกของหัวแห้วในช่วงแรกจะมีสีขาว จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมดำ ต้นแห้ว 1 ต้นจะมีหัวแห้ว 7 ถึง 10 หัว
  • ลำต้นแห้ว ลักษณะเป็นกก ลำต้นคั้งตรง ทรงกลม ลำตันแข็ง อวบน้ำ ความสูงของลำต้นประมาณ 1 เมตร
  • ใบแห้ว เป็นใบเดี่ยว ใบลักษณะยาวเหมือนใบหญ้า มีสีเขียว
  • ดอกแห้ว ลักษณะดอกเป็นช่อ ดอกแห้วออกบริเวณยอดของลำต้น ดอกแห้วจะแทงออกเมื่อลำต้นสูงประมาณ 15 เซนติเมตร
  • ผลแห้ว แห้วมีเมล็ดขนาดเล็ก สีน้ำตาลอมดำ

คุณค่าทางโภชนาการของแห้ว

สำหรับการรับประทานแห้ว นิยมรับประทานเนื้อของหัวแห้ว ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวแห้วขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 730 กิโลจูล มีสารอาหารสำคุณประกอบด้วย น้ำ 48.2 กรัม โปรตีน 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 32.1 กรัม กากใยอาหาร 14.9 กรัม น้ำตาล 3.3 กรัม แคลเซียม 17.6 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.7 มิลลิกรัม โซเดียม 0.8 มิลลิกรัม และ โพแทสเซียม 468 มิลลิกรัม

สรรพคุณของแห้ว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแห้ว ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย ด้านสมุนไพร ใช้ประโยชน์จาก หัวแห้ว และ ใบแห้ว สรรพคุณของแห้ว มีดังนี้

  • หัวแห้ว สรรพคุณลดอาการอักเสบ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยบำรุงร่างกาย ลดไขมันในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน แก้กระหายน้ำ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยลดไข้ แก้ร้อนใน ช่วยขับน้ำนม รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ แก้ท้องผูก แก้เมาสุรา รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยให้หูดอ่อนนิ่มลง
  • ใบแห้ว สรรพคุณแก้ปวดเหงือก แก้ปวดฟัน แก้ฟันผุ รักษาแผลในช่องปาก รักษาแผล รักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย ลดอาการปวดบวม

โทษของแห้ว

สำหรับการรับประทานแห้ว หรือ ใช้แห้วด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค นั้นเนื่องจากเนื้อแห้วมีความแข็ง การรับประทานแห้วที่เนื้อแข็งมาก จะส่งผลการระบบย่อยอาหาร ของผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการย่อยอาหาร หรือ ผู้ป่วยที่พึ่งผ่าการผ่าตัดลำไส้หรือกระเพาะอาหาร

แห้ว ( Water Chestnut ) แห้วจีน สมุนไพร พืชน้ำ พืชเศรษฐกิจ นิยมรับประทานหัว ทนแทนแป้งได้ คุณค่าทางโภชนาการของแห้ว สรรพคุณของแห้ว ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงร่างกาย โทษของแห้ว

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย