เงาะ ผลไม้แสนอร่อย มีสรรพคุณทางยา สรรพคุณของเงาะ บำรุงผิวพรรณ ลดอาการรติดเชื้อ ช่วยขับถ่าย ลดอาการอักเสบ เงาะมีรสหวาน แหล่งปลูกสำคัญอยู่ภาคใต้และภาคคตะวันออก

เงาะ ผลไม้ สมุนไพร

เงาะ ภาษาอังกฤษ เรียก Rambutan ชื่อวิทยาศาสตร์ของเงาะ คือ Nephelium lappaceum L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของเงาะ เช่น เงาะป่า พรวน กะเมาะแต มอแต อาเมาะแต ต้นเงาะ มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย จากนั้นนำเข้ามาปลูกในไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2469 โดยสายพันธุ์ที่นิยมเพาะปลูกมากที่สุด คือ เงาะพันธุ์โรงเรียน เงาะพันธุ์สีทอง และ เงาะพันธุ์สีชมพู เป็นต้น

ประโยชน์ของเงาะ สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เงาะกระป๋อง เงาะกวน แยมเงาะ เงาะอบแห้ง นอกจากนั้นแล้วในเงาะมีสารแทนนิน ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง ย้อมสีผ้า บำบัดน้ำเสีย ทำปุ๋ย และกาว ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ป้องกันแมลง เงาะสามารถใช้เป็นยายับยั้งเอนไซน์ในกระเพาะอาหาร ทำให้อิ่มเร็วขึ้น ประโยชน์สำหรับการลดน้ำหนัก

ประวัติเงาะโรงเรียน

เงาะโรงเรียน เป็น เงาะ ที่ดีที่สุด ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะ มีรสหวาน เปลือกบาง จึงเป็นที่ชื่นชอบ โดยถือกำเนิดในปี พ.ศ. 2469 ชาวจีนสัญชาติมาเลเซีย ชื่อ นายเค หว่อง นำเมล็ดพันธุ์ เงาะ จากปีนัง มาปลูกในที่ดิน 18 ไร่ จำนวน 4 ต้น พบว่า สองต้น มีรสหวาน เปลือกบาง ต่อมาได้ขายที่ดินให้ กระทรวงศึกษาธิการ และ ได้ตั้ง โรงเรียนนาสาร ในปัจจุบัน ในขณะนั้น นายคำแหง วิชัยดิษฐ์ ได้ย้ายมา ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนนาสาร และพิจารณาแล้วว่า เงาะต้นนี้เป็นเงาะพันธุ์ดี ควรให้มีการขยายพันธุ์อย่างแพร่หลาย จึงอนุญาตให้คนทั่วไปตอนกิ่งแพร่พันธุ์ได้ จนเป็นที่มาของพันธุ์เงาะโรงเรียนจนถึงทุกวันนี้

สายพันธุ์เงาะ

สำหรับสายพันธ์เงาะที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 3 สายพันธุ์ คือ เงาะโรงเรียน เงาะสีชมพู และ เงาะสีทอง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เงาะสีทอง ลักษณะเด่น คือ ผลใหญ่ ขนสีแดงยาวปลายขนเป็นสีเขียว เนื้อเงาะเป็นสีเหลือง เมล็ดแบนสีขาวปนน้ำตาล มีรสหวานและกลิ่นหอม นิยมปลูกในจังหวัดจันทบุรีและตราด
  • เงาะสีชมพู ลักษณะเด่น คือ ผลสุกเปลือกค่อนข้างหนา ขนเป็นสีชมพู สายพันธ์นี้ปลูกมากในเขตภาคตะวันออก
  • เงาะโรงเรียน ลักษณะเด่น คือ ผลกลมรี ขนยาว เปลือกหนา เปลือกสีแดงเข้ม เนื้อเงาะหนา สีขาวนวล รสหวานจัด ปลูกมากในจังหวัดทางภาคใต้

ลักษณะของต้นเงาะ

ต้นเงาะ เป็นไม้ยืนต้น นิยมรัปบระทานผลเงาะ เป็นอาหาร สามารถขยายพัยธ์โดยการทาบกิ่ง ตอนกิ่ง เพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นเงาะ มีดังนี้

  • ลำต้นเงาะ ลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 10 เมตร เปลือกลำต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกกิ่งก้านเป็นทรงพุ่มหนาทึบ กิ่งเปราะและหักง่าย เนื้อไม้เป็นไม้เนื้อแข็ง ไม้ของต้นเงาะสามารถนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ได้
  • ใบของเงาะ เป็นใบประกอบ ลักษณะรีรูปไข่ ใบสีเขียว ขึ้นตามกิ่งก้านและปลายกิ่ง ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม
  • ดอกของเงาะ ลักษณะเป็นช่อ ดอกออกตามปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีเขียวอ่อน และ สีน้ำตาลอมเขียว มีขนสั้นๆปกคลุม
  • ผลเงาะ ลักษณะผลกลมรี เปลือกผลหนา มีขนหนา ภายในผลมีเนื้อผล และ เมล็ดภายในผล ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่จะมีสีแดง เนื้อผลมีรสหวาน เมล็ดเงาะลักษณะแบนรี

คุณค่าทางอาหารของเงาะ

การบริโภคเงาะ 100 กรัม จะได้พลังงาน 82 กิโลแคลอรี โดยมาจาก คาร์โบไฮเดรต ไฟเบอร์ ไขมัน โปรตีน วิตามินต่างๆ ได้แก่ วิตามินบี 1 2 3 6 และ 9 วิตามินซี ธาตุอาหารต่างๆ เช่น Fe Ca Mg Mn P K Zn

การปลูกเงาะ 

เงาะ ชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสม คือ 25 – 30° C ความชื้นสัมพัทธ์ คือ 75 – 85 % ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน คือ ประมาณ 5.5 – 6.5 และ แหล่งปลูก ต้องที่มีน้ำเพียงพอตลอดปี เงาะ เป็น ไม้ผล ที่มีระบบรากหาอาหารลึกประมาณ 60 – 90 เซนติเมตรจากผิวดิน ควรใช้ต้นกล้าที่มีระบบรากดี ไม่ขดงอในถุง การปลูก ควรใช้ประมาณ 25 – 40 ต้นต่อไร ระยะปลูก ทั่วไป 6 – 8 X 6 – 8 เมตร หรือ ระยะปลูกชิด 6 X 6 เมตร

สรรพคุณของเงาะ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเลาะด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากผล เปลือกของผล โดยสรรพคุณของเงาะ มีดังนี้

  • สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ ผู้ที่รับประทานเงาะ จะพบว่ามีผิวพรรณดี ดูสดใส อ่อนกว่าวัย เปล่งปลั่ง
  • เมื่อพบอาการร้อนใน มีแผลในปาก การรับประทานเงาะ สามารถช่วยลดอการอักเสบได้
  • เมื่อเกิดอาการท้องร่วง การรับประทานเงาะ ช่วยบรรเทาอาการอ่อนพลีย จากการสูญเสียน้ำของร่างกายได้ดี
  • รักษาโรคบิด ลดเชื้อที่ทำให้ท้องร่วง อาการปวดท้อง โดยรับประทานเงาะ จะมีอาการดีขึ้น
  • เมื่อเกิดอาการอักเสบ จากการติดเชื้อต่างๆ การรับประทานเงาะ ช่วยบรรเทาอาการได้ดี
  • เงาะมีฤทธิ์เป็นยา สมุนไพร ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย
  • เปลือกผลของเงาะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้ดูอ่อนกว่าวัย ชะลอการแก่ของร่างกาย

โทษของเงาะ

สำหรับโทษของเงาะนั้น มีข้อควรระวังในการรับประทานเงาะ และ การใช้เงาะในการรักษาโรค ดังนี้

  • สารแทนนิน ( Tannin ) ในเนื้อเงาะ ทำให้ท้องผูก สำหรับคนที่มีอาการท้องผูกอยู่แล้วไม่ควรรับประทานเงาะ
  • เมล็ดเงาะมีความเป็นพิษ หากกินเมล็ดเงาะอาจทำให้ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และมีไข้สูง
  • ไม่ควรรับประทาน เงาะ มากเกินไป เพราะ จะทำให้ท้องอืด ท้องเฝ้อ จากผลของสารแทนนิน ที่ยับยั้ง เอนไซน์ในการย่อยอาหารของกระเพาะอาหาร
  • นอกจากนั้น ยังมีน้ำตาลในเงาะมาก หากรับประทานมากไป อาจจะเสี่ยงทำให้อ้วน และ เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดมากเกินไป
  • ในเมล็ดเงาะมีพิษ ห้ามรับประทานเพราะอาจจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และมีไข้ได้ ถึงแม้จะนำไปคั่วจนสึกแล้วก็ตามก็ยังเสี่ยงควรหลีกเลี่ยง

ทุเรียนเทศ ( Soursop ) สมุนไพร ต้นทุเรียนเทศเป็นอย่างไร สรรพคุณของทุเรียนเทศ เช่น บำรุงประสาท ลดการติดเชื้อ ลดความเครียด ช่วยให้หลับสบาย โทษเป็นอย่างไร

ทุเรียนเทศ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณทุเรียนเทศ

ต้นทุเรียนเทศ ภาษาอังกฤษ เรียก Soursop ชื่อวิทยาศาสตร์ของทุเรียนเทศ คือ Annona muricata L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของทุเรียนเทศ เช่น มะทุเรียน หมากเขียบหลด ทุเรียนแขก ทุเรียนน้ำ เป็นต้น ทุเรียนเทศแตกต่างจากทุเรียนทั่วไป ผลของทุเรียนเทศคล้ายผลทุเรียน คือ มีหนามแหลม เปลือกมีสีเขียวอ่อน แต่เนื้อในของทุเรียนเทศจะเป็นสีขาว ภายในผลค่อนข้างฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว พบปลูกทุเรียนเทศมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอเมริกากลาง มีการนำทุเรียนเทศมาแปรรูปจำหหน่าย เป็นน้ำทุเรียนเทศบรรจุกล่อง และ ส่งออกไปยังประเทศมาเลเซียและสิงคโปร

ประโยชน์ของทุเรียนเทศ

ทุเรียนเทศสามารถนำมารับประทานผลเป็นผลไม้สดได้ รวมถึึงผลทุเรียนเทศสามารถนำมาแปรรูปในรูปแบบต่างๆ เช่น ผลไม้กวน เยลลี่ ไอศกรีมและซอส ผลทุเรียนเทศมีคาร์โบไฮเดรตมาก โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโทส วิตามินซี และวิตามินบี ส่วนเมล็ดของทุเรียนเทศ สามารถใช้ทำยาเบื่อปลาหรือยาฆ่าแมลงได้  สมัยโบราณนิยมนำผลอ่อนของทุเรียนเทศไปแกงส้ม หรือ นำไปเชื่อมเป็นผลไม้เชื่อม

ลักษณะของต้นทุเรียนเทศ

ต้นทุเรียนเทศ เป็นในตระกูลเดียวกันกับน้อยหน่า จัดเป็นไม้ยืนต้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นทุเรียนเทศ มีดังนี้

  • ลำต้นทุเรียนเทศ ความสูงประมาณ 10 เมตร ลำต้นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนจะมีขน
  • ใบทุเรียนเทศ ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว ใบค่อนข้างหนา รูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบสีเขียว ลักษณะเป็นมัน ใบมีกลุ่นฉุน
  • ดอกทุเรียนเทศ ลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตาทซอกใบ ดอกสีเหลืองแกมเขียว ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกอวบหนา
  • ผลทุเรียนเทศ ลักษณะผลเป็นรูปไข่ เปลือกหนาและเหนียว มีหนามสั้นๆอยู่ทั่วผล ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลือง ภายในผลมีเนื้อฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลดำ

คุณค่าทางโภชนาการของทุเรียนเทศ

สำหรับการรับประทานทุเรียนเทศเป็นสมุนไพร นิยมรับประทานผลทุรียนเทศเป็นอาหาร ซึ่งนัดโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลทุเรียนเทศดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 66 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 16.84 กรัม น้ำตาล 13.54 กรัม กากใยอาหาร 3.3 กรัม ไขมัน 0.30 กรัม โปรตีน 1 กรัม วิตามินบี1 0.070 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.050 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.900 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.059 มิลลิกรัม วิตามินบี9 14 ไมโครกรัม วิตามินซี 20.6 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 14 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 278 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

สรรพคุณของทุเรียนเทศ 

สำหรับทุเรียนเทศ นอกจากจะนิยมบริโภคเป็นน้ำผลไม้บำรุงร่างกายแล้ว ยังสามารถนำมาทำสมุนไพรเพื่อรักษาโรคได้ โดยสรรพคุณของทุเรียนเทศ มีดังนี้

  • สรรพคุณต่อต้านไวรัสและเซลล์มะเร็ง ลดการติดเชื้อ
  • น้ำทุเรียนเทศช่วยเพิ่มน้ำนมสำหรับหญิงที่กำลังให้นมบุตร
  • ออกฤทธิ์คล้ายยาระงับประสาท ช่วยลดความวิตกกังวล ช่วยผ่อนคลายการทำงานของสมอง ทำให้นอนหลับสบาย
  • ช่วยลดอาการเจ็บปวดและลดการเกร็ง
  • ช่วยแก้อาการเมา
  • รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • เมื่อป่วยเป็นโรคบิด ถ่ายไม่หยุด การรับประทานผลสุก จะช่วยลดอาการเหล่านี้ให้หายไป
  • ใช้เพื่อสมานแผลและห้ามเลือด
  • ลดไข้ โดยใช้ส่วนใบ มารองที่นอน เมื่อตื่นมาจะพบว่า อาการไข้ลดลง
  • แก้อาการท้องอืด ใช้ส่วนใบขยี้ผสมกับปูนแล้วนำมาทาบริเวณท้อง
  • รักษาโรคผิวหนัง โดยใช้ส่วนใบ มาขยี้ทาตามผิวหนัง
  • แก้อาการไอ
  • อาการปวดตามข้อ ใช้ส่วนของ เปลือก ราก และดอก
  • ขับพยาธิ โดยใช้น้ำที่สกัดได้จากส่วนเนื้อ

โทษของทุเรียนเทศ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากทุเรียนเทศด้านการรักษาโรค ต้องใช้งานอย่างถูกต้องและได้รับการชี้แนะจากผู้เชี่ยวชาญมีความรู้ ซึ่งข้อควรระวังการใช้ประโยชน์จากทุเรียนเทศ มีดังนี้

  • เมล็ดและเปลือกของทุเรียนเทศ มีสารอัลคาลอยด์ที่เป็นพิษต่อร่างกาย ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะ อาจจะเป็นพิษต่อร่างกาย
  • สำหรับสตรีมีครรภ์และสตรีหลังคลอดที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตร ไม่ควรรับประทานทุเรียนเทศ
  • ใบทุเรียนเทศมีสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รับประทานยาลดน้ำตาลในเลือดไม่ควรรับประทานใบทุเรีบนเทศ
  • เมล็ดทุเรียนเทศมีพิษ ใช้ทำยาเบื่อปลาและเป็นยาฆ่าแมลง ไม่ควรรับประทานเมล็ดทุเรียนเทศ
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย