โลหิตจาง ( Anemia )  ภาวะเม็ดเลือดแดงในร่างกายน้อยกว่าปกติ ทำให้เหนื่อยง่าย ตัวซีด อ่อนเพลีย มักเกิดกับสตรี สามารถรักษาได้อย่างไร แนวทางการป้องกันทำอย่างไร

โลหิตจาง โรคเลือด โรคต่างๆ

โรคโลหิตจางAnemia )  คือ ภาวะร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดง ในเลือดที่น้อยกว่าปกติ ส่งผลให้การนำเอาออกซิเจนไปยังเซลล์ และ เนื้อเยื่อต่างๆ มีประสิทธิภาพที่น้อยลง ส่งผลให้ร่างกายมีอาการผิดปกติหลายอย่าง เช่น  เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย​ หากเกิด-าวะโลหิตจางรุนแรง อาจส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะที่สำคัญอย่างหัวใจและสมองได้

เม็ดเลือดแดง

เม็ดเลือดแดงของคน ประกอบไปด้วย ฮีโมโกลบิน ซึ่งถือว่า เป็น องค์ประกอบหลัก และ มันมีหน้าที่ ลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งในผู้ใหญ่นั้นจะผลิต เม็ดเลือดแดง ที่ไขกระดูกตามความต้องการ ใน การลำเลียงออกซิเจน ไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย เม็ดเลือดแดงที่อยู่ในเลือด จะมีอายุเพียง 120 วันก่อนที่จะถูกกำจัดไป ก่อนที่มันจะถูกกำจัดออกไป โดย ตับ ม้าม และ ไขกระดูก จากนั้นจะเป็นกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่อีกครั้ง

เช็กสัญญาณภาวะโลหิตจาง

ลักษณะอาการผิดปรกติที่เป็นสัญญานเตือนว่า ท่านอาจมีภาวะโลหิตจาง มีดังนี้

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง ตัวซีด
  • หายใจลำบากขณะออกแรง
  • เวียนหัว มึนงง
  • เจ็บหน้าอก มีอาการใจสั่น
  • เป็นลม หมดสติ

หากท่านมีอาการดังกล่าว ให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค และ หาแนวทางการรักษาต่อไป

สาเหตุของโรคโลหิตจาง

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคโลหิตจากมี 3 สาเหตุ คือ ภาวะร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงน้อย ภาวะเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย และ ภาวะการสูญเสีียเลือดอย่างกระทันหัน โดยรายละเอียดต่างๆ มีดังนี้

  • ภาวะร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อย อาจเกิดจากการขาดสารอาหารที่มีธาตุเหล็ก วิตามิบบี12 กรดโฟลิค หรือ อาจเกิดจากผลกระทบจากการเกิดโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคตับ ข้ออักเสบ โรคมะเร็ง โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน โรคไตวายเรื้อรัง หรือ ภาวะการเกิดโรคของไขข้อกระดูก เช่น ไขกระดูกฝ่อ มะเร็งในไขกระดูก การติดเชื้อในไขกระดูก เป็นต้น
  • ภาวะเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย มักเกิดจากการติดเชื้อหรือเป็นโรคบางโรคที่ส่งผลต่อเม็ดเลือด เช่น โรคธาลัสซีเมีย ผู้ป่วยมักแสดงอาการ ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • ภาวะร่างกายสูญเสียเลือดอย่างกระทันหัน  มักเกิดจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด การคลอดบุตร การตกเลือด หรือเลือดออกจากทางเดินอาหารเป็นเวลานาน แผลในกระเพาะ เป็นต้น

 อาการของโรคโลหิตจาง

ผู้ป่วยโรคโลหิตจากจะแสดงอาการต่างๆ เช่น มีภาวะหายใจลำบากในขณะที่ออกแรง หายใจไม่ทัน เหนื่อยหอบง่าย ทำงานหนักไม่ได้ ออกแรงมากไม่ได้ วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว และ มึนงง เจ็บบริเวณหน้าอกใจสั่น ตัวซีด อ่อนเพลีย ผิวเหลือง ในบางรายที่อาการรุนแรง ทำให้หัวใจทำงานหนัก อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

 การวินิจฉัยโรคโลหิตจาง

  • การตรวจวิเคราะห์ชนิด และ ปริมาณของฮีโมโกลบิน ซึ่งการตรวจแบบนี้นั้นมีประโยชน์ในการวิเคราะห์ประเภทของภาวะโลหิตจาง
  • การตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด จะเป็น การนับปริมาณเม็ดเลือดแดงว่า จัดอยู่เกณฑ์ที่ปกติหรือไม่
  • การตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน จะตรวจดู การสร้างเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน ที่ไขกระดูกว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่
  • การตรวจระดับธาตุเหล็ก ในเลือดและร่างกาย เป็น การตรวจหาธาตุเหล็ก ในร่างกาย

การรักษาโรคโลหิตจาง

สำหรับแนวทางการรักษาโรคโลหิตจาง วิธีรักษามีตั้งแต่การให้เลือดแดงทดแทน การให้ออกซิเจน โดยผู้ป่วยพักฟื้นในโรงพยาบาลเป็นหลัก แต่สำหรับในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง ใช้การรักษาตามอาการ คือ ให้กินยาบำรุงโลหิตรับประทานเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของเลือด

อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคโลหิตจางต้องตรวจหาสาเหตุของโรคให้ชัดเจน เพื่อวิธีการรักษาที่เหมาะสม

การป้องกันโรคโลหิตจาง

แนวทางการป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาก ต้องป้องกันโดยลดความเสี่ยงจากสาเหตุของโรค แนวทางการป้องกันโลหิตจาง มีดังนี้

  • พยายามออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ ไม่หักโหมจนเกินกำลัง เริ่มจากการเดินเบาๆก่อน
  • ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ ตับหมู ตับวัว เลือดหมู ไตหมู นม ไข่ ตำลึง กะหล่ำ มะเขือเทศ ผักโขม ใบชะพลู กวางตุ้ง เป็นต้น พร้อมทั้งรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง เพราะ จะช่วยให้ดูดซึมธาตุเหล็กได้มากขึ้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่นน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

ระบบประสาทถูกทำลาย คือ ระบบประสาทส่วนกลางและเส้นประสาทถูกทำลาย ทำให้เสี่ยงอัมพาตและเสียชีวิต มักเกิดจากอุบัติเหตุ การกระแทกอย่างรุนแรง แนวทางการรักษามีอะไรบ้าง

ระบบประสาทถูกทำลาย ระบบประสาทและสมอง

ระบบประสาท

ระบบประสาทของสิ่งมีชีวิตสัตว์ มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆในร่างกาย หากระบบประสาทถูกทำลาย มักจะส่งผลให้เป็นอัมพาตหรือตายได้

ระบบประสาทของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง นั้นมีสองส่วน คือ ระบบประสาทกลาง ( central nervous system – CNS ) และ ระบบประสาทนอกส่วนกลาง ( peripheral nervous system – PNS )

  • ระบบประสาทกลาง คือ สมองและไขสันหลัง
  • ระบบประสาทนอกส่วนกลาง คือ เส้นประสาทและนิวรอนที่ไม่ได้อยู่ในระบบประสาทกลาง โดยระบบประสาทนอกส่วนกลาง  แบ่งออกเป็นระบบประสาทกาย ( somatic nervous system )  และระบบประสาทอิสระ ( autonomic nervous system )

ภาวะระบบประสาทถูกทำลาย คือ ภาวะระบบประสาทถูกทำลาย จากสาเหตุต่างๆ ส่งผลต่อระบบการควบคุมร่างกายทุกส่วนมีปัญหาการทำงาน เป็นอาการของโรคอย่างหนึ่ง โรคระบบประสาทและสมอง มักเกิดกับผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุ แรงกระแทก แรงอัด การได้รับปาดเจ็บจากการต่อสู่ โดยการใช้อาวุธ เช่น ปืน มีด ดาบ ทำให้เส้นประสาทได้รับความเสียหาย หากโดยเส้นประสาทที่สำคัญบริเวณกระดูกสันหลัง ก้านสมอง สมอง มักจะมีอาการรุนแรง

ทำให้เกิดโรคอัมพฤษ์ อัมพาต ได้ ทั้งนี้อาการต่างๆของโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย แต่เพศชายมักมีความเสี่ยงมากกว่าเนื่องจากวิธีการใช้ชีวิตที่มีโอกาสประสบกับเหตุการณ์รุนแรงๆต่างๆได้มากกว่าเพศหญิง

สาเหตุของระบบประสาทถูกทำลาย

สาเหตุของระบบประสาทถูกทำลาย คือ การถูกทำลายที่ระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทส่วนนอกส่วนกลาง ซึ่งอาจเกิดได้หลายสาเหตุ แต่โดยมากเกิดจากการถูกกระแทกอย่างรุนแรงไม่ว่าจะด้วยอุบุติเหตุหรือการถูกกระแทกอย่างตั้งใจ โดยสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • การเกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรง แรงกระแทกทำให้ระบบประสาทโดยเฉพาะ สมอง และ กระดูกสันหลังถูกทำลาย
  • การได้รับบาดเจ็บจากอาวุธ เช่น ปืน ไม้ หรือ มีด เป็นต้น โดยโดนทำร้ายที่ระบบประสาทในจุดที่สำคัญ เช่น สมอง กระดูกสันหลัง หรือ เส้นประสาท
  • การรับสารพิษบางชนิดทำลายระบบประสาทโดยตรง หรือ การถูกสัตว์มีพิษทำลายระบบประสาท เช่น งูกัด

การรักษาระบบประสาทถูกทำลาย

สำหรับผู้ที่ป่วยภาวะระบบประสาทถูกทำลาย มีความเสี่ยงสูงในการอัมพาต หรือ เสียชีวิต ถือเป็นภาวะวิกฤต ซึ่งแนวทางการรักษาระบบประสาทถูกทำลาย ต้องรักษาจากสาเหตุ โดยต้องตรวจการตอบสนองของระบบประสาท การตรวจรีเฟรกซ์ของอวัยวะที่สำคัญต่างๆ และรักษาตามอาการ เท่าที่จะสามารถรักษาได้ โดยแนวทางการรักษามีดังนี้

  • หากเส้นประสาทฉีกขาดสามารถ ผ่าตัดเพื่อต่อเส้นประสาทได้
  • การรักษาตามอาการที่พบ เช่น หากมีการตกเลือดจะต้องห้ามเลือดก่อน การรักษาการติดเชื้อต่างๆ การขับพิษออกจากร่างกาย
  • การผ่าตัดเพื่อทำวัตถุที่ฝังในร่างกายออก
  • การผ่าตัดเพื่อต่อเส้นประสาท
  • การฟื้นฟูร่างกาย เช่น การทำกายภาพบำบัด
  • การฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ป่วยในรายที่ไม่สามารถรักษาให้หายกลับมาเดินได้ ให้สามารถยอมรับความจริงและใช้ชีวิตต่อไปอย่างมีความสุขได้
  • การฝึกการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินต่างๆ เช่น ไม้เท้า วิลแชร์
  • การอบรมญาติผู้ดูแลให้มีการดูแลอย่าใกล้ชิด ฝึกการทำกิจวัตรประจำวัน ให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้

การป้องกันระบบประสาทถูกทำลาย

สาเหตุของระบบประสาทถูกทำลายมาจากการถูกกระแทกที่ระบบประสาทอย่างรุนแรง ดังนั้น การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะทำให้เกิดการกระแทกอย่างรุนแรง โดยแนวทางการป้องกันมีดังนี้

  • พักผ่อนร่างกายและจิตใจให้พร้อมสำหรับทำกิจกรรมในแต่ละวัน การขาดการพักผ่อนทำให้ระบบสมองสั่งการช้า ทำให้เกิดอุบัตติเหตุได้ง่าย
  • หลีกเลี่ยงการขับรถด้วยความเร็วสูงเกินไป การขับรถเร็วทำให้ีโอกาสเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงได้มากกว่าคนขับรถช้า
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องเสี่ยงต่อการกระแทกอย่างรุนแรง
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีความเสียงในการติดเชื้อโรคหรือการได้รับสารพิษอย่างรุนแรง เช่น น้ำโคลน โรงงานที่มีสารพิษ เป็นต้น
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย